การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

How to raise your Self-Esteem - พลังแห่งการเพิ่มความนับถือตัวเอง


หนังสือ How to raise your Self-Esteem  มีชื่อไทยว่า พลังแห่งการเพิ่มความนับถือตัวเอง
คำนำของสำนักพิมพ์ได้โปรยไว้อย่างน่าสนใจว่า ....
"ทำไมหลายคนมีคุณภาพชีวิตตัวเองที่ตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็นหรืออยากจะเป็น
มันมีอะไรที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ตัวเองไปไม่ได้ดีกว่าเดิม โชคชะตาหรืออะไรกันแน่?"
นั่นเป็นไปได้มากว่าคุณมีความนับถือตัวเองต่ำ

เล่มนี้จึงมีหน้าที่ในการบอกอ่านว่า
ความนับถือตัวเองคืออะไร?
เกิดขึ้นจากอะไร?
ทำไมมันถึงสำคัญขนาดนั้น?
มันสามารถกำหนดชะตาชีวิตและส่งผลกับชีวิตเราในทุกด้านจริงหรือ?
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเรามีความนับถือตนเองต่ำและสูง?
กลไกทางจิตใจและพฤติกรรมของมันเป็นอย่างไร?
และหัวใจหลักก็คือเราจะมีวิธีเพิ่มความนับถือตัวเองให้สูงขึ้นอย่างไร?
เริ่มต้นตรงไหนและด้วยวิธีใด?

บางทีคุณอาจจะไม่ต้องไปสัก 5 แถว, สะเดาะเคราะห์, แก้กรรม, เปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนหมายเลขเบอร์โทรศัพท์, ถอยบิ๊กไบค์ ฯลฯ หรอก
ขอแค่คุณรู้จักการนับถือตัวเอง บางทีมันก็เพียงพอต่อการสร้างความนับถือตัวเองได้ไม่ยาก

เราคิดกับตัวเองอย่างไรเราก็จะเป็นอย่างนั้น
ถ้าเรายังมองว่าตัวเองมันต่ำต้อยด้อยค่า แล้วจะหวังให้คนอื่นเขาเห็นคุณค่าในตัวเราได้อย่างไร เงื่อนไขสำคัญจึงอยู่ที่เรานั้นเอง

องค์ประกอบสำคัญของการนับถือตัวเอง คือความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ และความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า
หรือนัยหนึ่งของความนับถือตัวเอง คือผลรวมของความเชื่อมั่นในตัวเอง และการเคารพตัวเอง มันสะท้อนความรู้สึกลึกๆที่มีคุณค่าต่อความสามารถในการจัดการกับสิ่งท้าทายในชีวิตของคุณเอง(ความสามารถในการเข้าใจและเอาชนะปัญหา)
รวมถึงสิทธิจะมีความสุขของคุณ (สิทธิที่จะเคารพและยืนหยัดเพื่อประโยชน์และความต้องการของคุณ)

การมีความนับถือตัวเองสูง คือความรู้สึกเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความเหมาะสมกับชีวิต รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถและมีคุณค่า
ส่วนการนับถือตนเองต่ำคือความรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับชีวิต รู้สึกผิดพลาด

การเพิ่มความนับถือตนเอง คือการเพิ่มความเชื่อมั่นว่าเรามีความสามารถที่จะใช้ชีวิต และคู่ควรกับความสุข ฉะนั้นจึงเผชิญชีวิตอย่างมั่นใจ เมตตา และมองโลกในแง่ดีมากขึ้น
ซึ่งช่วยให้เราให้บรรลุเป้าหมาย และรู้สึกถึงความอิ่มเอม
การจะเติบโตอย่างคนที่นับถือตัวเองนั้น เราต้องขยายขีดความสามารถที่จะเปิดรับความสุขด้วย

ยิ่งมีความนับถือตัวเองสูงขึ้น เราก็ยิ่งพร้อมเผชิญความทุกข์ยากในชีวิตมากขึ้น ยิ่งมีความยืดหยุ่นเราก็ยิ่งมีพลังต้านแรงกดดันให้สยบต่อความสิ้นหวังหรือความพ่ายแพ้มากขึ้น
ยิ่งมีความนับถือตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีความสร้างสรรค์ในการทำงานมากขึ้น ซึ่งหมายถึงมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย

ยิ่งมีความนับถือตัวเองสูงเท่าไหร่ เราก็มีแนวโน้มที่จะกล้าคิดกล้าฝันมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาชีพการงานหรือเงินทองเสมอไป แต่เป็นเรื่องของสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้ประสบในชีวิต ทั้งในแง่ของอารมณ์ความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณ

ยิ่งมีความนับถือตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ เมตตากรุณาและเป็นมิตรมากขึ้น เพราะเราไม่ได้มองพวกเขาเป็นภัยคุกคาม ไม่รู้สึกว่าเป็นคนแปลกหน้าและเกรงกลัวโลกที่เราไม่ได้เป็นผู้สร้าง เพราะการเคารพตัวเองคือรากฐานของการเคารพผู้อื่นนั่นเอง

ยิ่งมีความนับถือตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็มีแนวโน้มที่จะเบิกบานกับการมีชีวิต การตื่นเช้ามาในยามเช้า การมีชีวิตอยู่ในร่างกายตัวเองมากขึ้นเท่านั้น

นี่คือรางวัลของความเชื่อมั่นในตนเองและการเคารพตัวเอง

การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัวนั้น สื่อโดยนัยว่าเราเคารพข้อเท็จจริงของความเป็นจริง ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงของโลกภายในตัวเราและโลกภายนอก การใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบจึงเป็นการใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบกับความเป็นจริง

การใช้ชีวิตอย่างรู้ตัว หมายถึงการรับผิดชอบต่อการรับรู้ที่เหมาะสมต่อการกระทำที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และที่สำคัญเหนืออื่นใดนี่คือรากฐานของการมีความเชื่อมั่นในตนเองและการเคารพตัวเอง
ไม่ได้หมายความว่าเราต้องชอบสิ่งที่เราเห็น แต่หมายความว่าเรารับรู้ว่าอันไหนใช่ อันไหนไม่ใช่ไปตามความเป็นจริง นั่นหมายความว่าความอยาก ความกลัว หรือการปฏิเสธ ไม่อาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงได้

การยอมรับตัวเองคือเงื่อนไขที่ต้องมีก่อนการเปลี่ยนแปลง ถ้าเรายอมรับความเป็นจริงของสิ่งที่เรารู้สึกและสิ่งที่เราเป็นในช่วงเวลาใดๆของการดำรงอยู่ เราจะเปิดโอกาสให้ตัวเองตระหนักถึงธรรมชาติของการเลือกและการกระทำของเราอย่างเต็มที่และพัฒนาการของเราก็จะไม่ถูกสกัดกั้น

อย่าไป "เข้าพวก" กับความกลัว ให้คิดว่า "ฉันรับรู้ความกลัวของฉัน และฉันยอมรับมัน แต่ตอนนี้ขอฉันดูก่อนว่าฉันสามารถจดจำว่าร่างกายฉันรู้สึกอย่างไรตอนที่ฉันไม่กลัวได้ไหม" นี่คือกลไกจัดการความกลัวที่มีประสิทธิภาพมากๆ เป็นการกระทำที่คุณสามารถเรียนรู้ซักซ้อมในจินตนาการ และปฏิบัติเวลาที่เกิดสถานการณ์ความกลัวขึ้นมาได้

เมื่อคุณเรียนรู้ที่จะเลือกยอมรับความกลัว เท่ากับคุณหยุดที่จะสร้างภาพความหายนะของมัน แล้วมันก็จะยุติเป็นนายคุณเช่นกัน
คุณไม่ต้องทรมานกับความฟุ้งซ่าน ซึ่งอาจมีผลหรือไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงอีกต่อไป
คุณมีอิสระที่จะมองคนและสถานการณ์อย่างที่มันเป็น คุณรู้สึกมีสมรรถภาพมากขึ้น รู้สึกว่าควบคุมชีวิตตัวเองได้มากขึ้น มีความมั่นใจและความเคารพตัวเองมากขึ้น

การยอมรับอย่างเต็มใจและจริงใจ มักช่วยบรรเทาความรู้สึกเชิงลบ หรือความรู้สึกไม่พึงปรารถนา เช่น ความเจ็บปวด โกรธ ริษยา หรือกลัว ให้เบาบางลงได้

เรารู้สึกผิดเมื่อ...
- ครุ่นคิดถึงสิ่งที่เราทำหรือไม่ได้ทำแล้วรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลง
- เรารู้สึกว่าต้องหาเหตุผลมารองรับความชอบธรรมให้กับพฤติกรรมของเรา
- เรารู้สึกว่าต้องป้องกันตัวหรือต้องตอบโต้เวลามีคนพูดถึงพฤติกรรมดังกล่าว
- เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญปวด ที่จะจดจำหรือทบทวนตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าว

วิธีแก้ความรู้สึกผิดของคุณ คือ จงซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่นเรื่องความไม่พอใจของคุณ
อย่างแรกเลย คุณต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง ยอมรับความโกรธของคุณ ยอมรับความไม่พอใจมาตรฐาน และความคาดหวังที่ไม่ใช่ของคุณอย่างแท้จริง แล้วจะได้เห็นว่าความรู้สึกผิดในใจคุณเริ่มหายไป แม้ว่าคุณยังต้องสู้เพื่อจะเป็นอิสระมากขึ้น

ชายและหญิงที่นับถือตัวเองสูง เห็นคุณค่าในตนเอง มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตแบบผลักดันตัวเอง มากกว่าเฉยชา
เขาจะรับผิดชอบต่อการบรรลุความปรารถนาของตนอย่างเต็มที่ ไม่รอให้คนอื่นมาช่วยเติมเต็มความฝันให้

ถ้ามีปัญหาเขาจะถามว่า
"ฉันพอจะทำอะไรให้กับมันได้บ้าง?"
"มีแนวทางการกระทำใดที่เป็นไปได้บ้างสำหรับฉัน?"
เขาไม่มัวร่ำร้องว่า "ไม่มีใครทำอะไรสักอย่าง!!"
ถ้ามีอะไรผิดพลาด เขาจะถามว่า "ฉันมองข้ามอะไรไปบ้าง? คาดการณ์ตรงไหนผิดไป?"
เขาไม่จมปลักกับการตำหนิติเตียนแต่อย่างใด
สรุปคือ เขารับผิดชอบต่อการมีชีวิตอยู่ของตัวเอง

คนที่รับผิดชอบชีวิตของตนจึงมักจะสร้างความนับถือตัวเองที่ดีขึ้นมา ถ้าเราเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยเฉยชา เป็นกระตือรือร้น เราก็จะชอบตัวเองมากขึ้น ไว้ใจตัวเองมากขึ้น และรู้สึกว่ามีความสามารถที่จะมีชีวิต และสมควรได้รับความสุขมากขึ้นด้วย

เรื่องบางอย่างเราควบคุมได้ แต่บางอย่างก็ไม่ได้ ถ้าเราบังคับตัวเองให้รับผิดชอบต่อสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา เท่ากับเราทำให้ตัวเองเป็นอันตราย เพราะเราไม่สามารถทำตามความคาดหวังของตัวเองอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าเราปฏิเสธความรับผิดชอบสิ่งที่อยู่ในการควบคุมของเรา เราก็ทำให้ความนับถือของตัวเองเสียหายเช่นกัน
ต้องรู้ด้วยว่าเรายังต้องรับผิดชอบต่อทัศนคติและการกระทำของตัวเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น พฤติกรรมของคนอื่น เป็นต้น

ถ้ามีด้านไหนในชีวิตที่คุณรับผิดชอบตัวเองสูงกว่าด้านอื่นๆ
ผมเดาว่ามันคือด้านที่คุณชอบตัวเองมากที่สุด
ส่วนด้านที่คุณพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ คือด้านที่คุณชอบตัวเองน้อยที่สุด

ไม่แน่ใจว่าตอนนี้มันจะมีขายในร้านหนังสือหหรือเปล่านะครับ
ก็ลองเดินดูตามร้าน ซีเอ็ด-นายอินทร์ ดูได้

หนังสือแนะนำที่คล้ายกัน(เป็นสรุปหนังสือนะครับ)
Mindset ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา
- ชวนคุณให้รวย
- จงหางานที่มีแต่คุณนั้นทำได้
- กฎคูณสิบ : The 10X Rules
- คิดอย่างผู้ชนะ คิดอย่างทรัมป์



(อื่นๆ - ไม่เกี่ยวข้อง)
- หนังสือกราฟแท่งเทียน
- คำสารภาพจากผู้เขียนหนังสือหุ้นเทคนิคอล (หนังสือ Technical Analysis)
- ซื้อหนังสือหุ้น 2018
- หนังสือหุ้นที่ดีที่สุด
- หนังสือหุ้นที่ปล่อยของไม่มีกั๊ก

สนับสนุนโดย เพจ แกะหนังสือขายดี

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ