คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม

Image
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี กล่าวว่า “หากคุณต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม” การเป็นนักเทรดที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอไม่ได้หมายถึงการชนะทุกครั้งที่คุณเข้าเทรด แต่หมายถึงการมีวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดเพื่อให้คุณสามารถปกป้องทุนของคุณและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว  นี่คือการขยายความแนวคิดที่ว่า "การเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม" สำคัญอย่างไร: eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://t.co/YaO0CIQq8J 1. ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ในตลาดการเงิน ไม่มีใครสามารถควบคุมผลลัพธ์ของแต่ละการเทรดได้ การเคลื่อนไหวของตลาดขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความสำเร็จจึงไม่ได้มาจากการ "เดาถูก" แต่เป็นการรู้วิธีจัดการความเสี่ยงเมื่อคุณ "เดาผิด" ตัวอย่าง:   สมมติว่าคุณมีเงินทุน 100,000 บาท หากคุณใช้เงินทั้งหมดในการเ

การเคารพความเสี่ยงแบบพี่มาร์ค


"ทุกเช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการผมมองเข้าไปในกระจกและพูดกับตัวเอง ว่า 
"มาร์ค..นายยังมีศักยภาพในการทำร้ายตัวเองได้อย่างสาหัสเหมือนเคยนะวันนี้" 
(“Mark, you have the capacity to do serious damage to yourself today.”)
แล้วผมก็ไปทำงาน 
การฝึกแบบนี้เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนให้ผมกล้ายอมรับว่าตนเองสามารถทำลายตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันยังทำให้ผมจำสี่คำที่สำคัญที่สุดในการเทรดไว้ขึ้นใจก็คือ "เคารพความเสี่ยง!"

พอดีผมเพิ่งได้อ่านหนังสือเล่มใหม่ของพี่มาร์ค คือ Think and trade like a champion และทำสรุปไปให้อ่านในวันก่อน พออ่านต่ออีกก็ได้เจอไอเดียใหม่เกี่ยวกับการเคารพความเสี่ยง ด้วยการวางแผนขายหุ้นออกของแก ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย
จึงนึกถึงแฟนหนังสือ อยากเอามาให้ได้อ่านกันเน้นๆ
เผื่อท่านจะได้เอามันไปปรับใช้ให้ระบบรัดกุมขึ้นครับ

ผมเห็นด้วยกับพี่เค้าอย่างสุดใจเลย ว่าหัวใจสำคัญของการเทรด
คือการยอมรับว่าการเทรดมีความเสี่ยงสูง และหาทางรับมือกับมันให้ได้นี่แหละ

ดังประเด็นที่อยากเอามาฝากท่าน มี ๕ เรื่องครับ
๑) การวางแผนเพื่อรับมือกับการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต
๒) ลำดับสำคัญในการขายหุ้น
๓) แนวทางการเคารพความเสี่ยง
๔) แนวทางการตัดขาดทุน เริ่มที่เท่าไหร่ดี
๕) วิธียกจุดขายหุ้น เมื่อราคาวิ่งทำกำไรให้แล้ว เพื่อปิดโอกาสขาดทุน
ลองไล่อ่านเนื้อหาข้างล่างดูครับ ผมได้จัดเรียงตามลำดับแล้วครับ


การที่คุณจะขายหุ้นให้ได้จังหวะดีๆ ต้องมีแผนการเทรด
เพราะการเทรดคือการทำธุรกิจแบบจริงจังเพราะต้องลงเงินจริง ดังนั้นคุณต้องมีแผนประกอบการลงทุนทุกครั้ง แต่ไม่น่าเชื่อว่านักเทรดส่วนใหญ่ไม่มีกันเลย

ส่วนประกอบสำคัญของแผน
- จุดเข้าซื้อที่แม่นยำ
- วิธีจัดการกับควาามเสี่ยงถ้าผิดแผน
- วิธีการล็อกกำไร
- จำนวนเงินที่เข้าซื้อ

ความหวังไม่ใช่แผนหรอกนะ
เมื่อไม่มีแผน คุณก็จะใช้อารมณ์แทน มันจะคอยบอกให้คุณถือเมื่อขาดทุน และกระตุ้นให้ขายเมื่อราคาย่อในขาขึ้นทำให้ต้องขายหมูตัวใหญ่

วางแผนรับมือสิ่งฉุกเฉิน
เป้าหมายของคุณในฐานะผู้เก็งกำไรหุ้น คือการเตรียมพร้อมเพื่อให้การเทรดปราศจากความประหลาดใจ  เมื่อต้องการเช่นนี้คุณต้องพัฒนาวิธีที่สามารถการจัดการเกือบทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การคิดล่วงหน้าว่าอาจมีเหตุการณ์และสถานการณ์ที่น่ากลัวเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องบัญชีเงินทุนของคุณ
การวางแผนเพื่อรับมอกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือสิ่งที่มืออาชีพต้องทำกัน
คุณต้องมีแผนรองรับความฉุกเฉินนั้น แม้มันไม่มีทางเกิด ก็ต้องทำเผื่อเอาไว้

คุณควรจะมีแผนฉุกเฉินสำหรับต่อไปนี้:
1. ระดับราคาที่ต้องขายออกเมื่อมีการดิ่งแรง
2. การแสดงออกของราคาที่ส่งสัญญาณว่าได้เวลาซื้อคืน
3. เกณฑ์การขายแบบ selling into strength เพื่อล็อกกำไรที่งดงาม
4. เมื่อไหร่ที่จะ selling into weakness เพื่อปกป้องผลกำไรของคุณ
(ใครไม่รู้แนวทางขายทั้งสองแบบ หาอ่านได้จากหนังสือเล่มเขียวของผมได้ครับ)
5. คุณจะจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันได้อย่างไร ในช่วงที่ต้องมีการตัดสินใจเด็ดขาดภายใต้ความกดดัน

เสริม : เพิ่งมีเคสที่สดๆร้อนเลย กับหุ้นที่เป็นขาขึ้นแล้วทิ้งดิ่งแรงๆ คือ KTC, AKR, BEAUTY, GGC
ถ้าคุณไม่มีแผนรองรับไว้ก่อน ก็มีโอกาสขาดทุนหนัก
แต่ถ้าไม่รู้มาก่อนก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีประสบการณ์ก็คาดเดายาก
ดังนั้น ท่านต้องเอาเคสของหุ้นทั้งคู่มา วางเป็น scenario ไว้ตลอดทุกวันว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นท่านจะทำยังไง ขายออกที่ราคาไหน


แผนฉุกเฉินของคุณควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้:
๑) ระดับเริ่มขายเพื่อหยุดการขาดทุน
เมื่อราคาลงไปหลุดระดับนี้ต้องขายออกอย่างไม่มีข้อยกเว้น ขายออกไปให้หมด
เมื่อไม่มีหุ้น หัวของคุณจะโล่ง
โดยระดับที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องขาดทุนตลอดนะ คือตอนที่ราคาวิ่งขึ้น ถ้าคุณมี traling stop ยกตามไป ก็สามารถขายเพื่อล็อกกำไรออกมาก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรอวัดใจตอนขาดทุน(อันนี้ทำยาก เพราะเราอยากต่อราคา ต่อไปต่อมาโน่นได้ขายตัดขาดทุนทุกที)

๒) เกณฑ์การซื้อคืน
หุ้นบางตัวย่อแรงเพราะตลาดตกใจ แต่หลังจากนั้นมันก็พักตัวได้สวย น่าดึงดูดให้ซื้อคืน ซึ่งการสร้างฐานครั้งที่สองมักจะน่าเชื่อถือและแข็งกว่าครั้งแรก(ถ้ายืนได้ เวลาดีดจะไปแรง) เพราะมันได้เขย่าคนใจฝ่อออกไปอีกจำนวนมากนั่นเอง
พี่มาร์คแนะนำว่า หลังจากขายอกแล้วก็อย่าทิ้งไปเลย รอดูการสร้างฐานของมัน ถ้ามันทำดีก็ต้องเข้าใหม่อีกครั้ง บางทีแกต้องเข้าๆออกสองสามรอบกว่าจะได้กำไร แต่ต้องทำ (ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานดีจริงๆนะ) เพราะนี่คือความเป็นมืออาชีพ

๓) ขายเมื่อมีกำไร
เมื่อหุ้นที่คุณซื้อมันวิ่งทำกำไรให้คุณอย่างน่าพอใจ อาทิ วิ่งไปได้เท่าตัวจากเปอร์เซ็นต์ stop loss
สมมติว่า คุณตั้งไว้ที่ 7%หากคุณมีกำไรถึง 20% แล้วไม่ควรปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน อย่างน้อยก็ต้องยกระดับตัดขาดทุนมาอยู่ที่จุดคุ้มทุนไว้ก่อน หรือไม่ก็ใช้ trailing stop เป็นตัวช่วยล็อกกำไร คุณอาจรู้สึกโง่เมากที่ต้องขายทำกำไรเล็กน้อยที่ trailing stop เมื่อเทียบกับจุดสูงสุด หรือต้องขายที่ระดับคุ้มทุน
แต่ผมบอกเลยว่าคุณจะรู้สึกแย่กว่านั้นถ้าคุณปล่อยให้ผลกำไรที่ดีกลายเป็นต้องขายตัดขาดทุน

๔) แผนพิบัติภัย ที่อาจกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคุณ
การวางแผนฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับปัญหาเช่นว่าจะทำอย่างไรถ้า...
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตล่มหรือไฟฟ้าขัดข้อง คุณมีแผนสำรองบ้างหรือเปล่า?
- หรือการตอบสนองของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าคุณตื่นขึ้นในวันพรุ่งนี้ ตอนเช้าและรู้ว่าสต็อกที่คุณซื้อเมื่อวานนี้มันเปิด gap ลง เนื่องจาก บริษัทนั้นกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีปัญหาทุจริต คุณจะทำยังไงกับมันบ้าง?

จัดลำดับความสำคัญในการขาย

a) จำกัดการสูญเสีย(limit loss)  กำหนดเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องขายเพื่อหยุดการสูญเสีย
b) ปกป้องเงินต้นของตัวเอง เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นและคุณมีกำไรที่ดี หลังจากที่คุณซื้อหุ้นไปแล้ว คุณควรเลื่อนจุดขายหุ้นขึ้นไปอยู่ที่จุดคุ้มทุนของคุณ
c) ปกป้องผลกำไรของคุณ อย่าปล่อยให้กำไรดีหลุดมือ ใช้ trailing stop ช่วย

สัญญาณที่น่ากลัวหลังจาก Breakout ว่ามีโอกาสล้มเหลวสูง
1 ราคาเบรกไปด้วยวอลลุ่มที่น้อย
2 จากนั้นราคาร่วงแรงแท่งแดงยาวติดต่อกัน 3 4 วันโดยที่หาแนวรับไม่เจอ (ไม่มีทีท่าจะหยุด)
3 วันที่ราคาร่วงแรงติดต่อกันมากกว่าวันเขียว พูดง่ายๆคือทำนิวโลได้ต่อเนื่อง
4 แท่งเทียนปิดไม่สวยมากกว่าสวย
5 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
6 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันด้วยวอลลุ่มที่สูงมาก
(รายละเอียดพวกแท่งเทียน เส้นค่าเฉลี่ย ลองกลับไปเปิดอ่านเล่มเขียวกันดูเพิ่มเติมนะ
ผมได้ยกเคสให้ดูเยอะแยะเลย)

เคารพความเสี่ยงก่อนเสมอ
ก่อนเปิดตลาด ต้องเตือนตัวเองให้มีความระมัดระวังไม่ให้ตัวเองขาดทุนหนักเป็นอันขาด
ทำให้เป็นนิสัย พี่มาร์คแกพูดหน้ากระจกทุกวัน
"ทุกเช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการผมมองเข้าไปในกระจกและพูดกับตัวเอง ว่า 
"มาร์ค..วันนี้นายมีศักยภาพในการทำร้ายตัวเองได้อย่างสาหัส" 
(“Mark, you have the capacity to do serious damage to yourself today.”)
แล้วผมก็ไปทำงาน 
การฝึกแบบนี้เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนให้ผมกล้ายอมรับว่าตนเองสามารถทำลายตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันทำให้ผมจำสี่คำที่สำคัญที่สุดในการเทรดไว้ขึ้นใจก็คือ "เคารพความเสี่ยง!"

ระดับการตัดขาดทุนควรไม่เกิน 10%โดยน้อยกว่านั้นได้ยิ่งดี
สิ่งที่คุณควบคุมได้ก่อนการเทรดก็คือ
- ซื้ออะไร
- ซื้อเมื่อไหร่
- ซื้อเท่าไหร่
หลังจากที่คุณซื้อไปแล้วสิ่งที่คุณควบคุมได้ก็คือ
- ต้องขายตอนไหน

มีการตั้งคำถามว่าถ้าคุณซื้อหุ้นไปแล้วราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณขายโดยขาดทุน 2,500
วันต่อมามันวิ่งกลับขึ้นไปทำ New High คุณรู้สึกอย่างไร?
กับอีกเคสหนึ่งคือราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณก็ขายขาดทุน 2,500 เหมือนกัน
แล้วจากนั้นมันก็เปิด gap ลงแรงแดงยาว คุณรู้สึกอย่างไร?

ทั้งๆที่คุณขาดทุนเท่ากันแต่คนละอารมณ์กัน
สิ่งที่ถูกต้องก็คือเคารพกฎไว้ก่อนเพราะเราไม่รู้อนาคตว่ามันจะเป็นอย่างไร
เหตุผลที่นักเทรดส่วนใหญ่ไม่กล้าตัดขาดทุนเพราะว่าพวกเขากลัวขายแล้วเด้ง


แนวทางการตัดขาดทุนของพี่มาร์ค
ระดับการตัดขาดทุนของพี่มาร์คอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ไม่ถึง 10 ด้วยซ้ำ
ยกตัวอย่างคือ หลังจากซื้อไปแล้ว ราคาร่วงสวนทางให้ขาดทุน
แกจะเริ่มตัดขาดทุนครึ่งนึงของก้อนที่ซื้อไปแล้ว ที่ - 4% ก่อน
อีกครึ่งถ้าราคาร่วงไปเป็น - 8%  แกก็ขายที่เหลือออก
ทำให้ค่าเฉลี่ยของการตัดทุนของแกอยู่ที่ - 6% เท่านั้น


วิธีการยกจุดตัดขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งไปทำกำไรให้แล้ว
สมมุติว่าแกซื้อหุ้นตัวนึงที่ราคา $50 และให้เสี่ยงได้ 5%
นั่นคือ ราคาขายที่ $47.50 หรือหายไป $2.50

เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปถึง $57.50 หรือ วิ่งไปแล้ว $7.50 =  3×2.50 สามเท่าของความเสี่ยง
แกจะยกระดับตัดขายหุ้นไปวางที่ $50 ทันที
นั่นหมายความว่าแกปิดโอกาสขาดทุนไปแล้ว

เป็นไอเดียที่ผมคิดว่านาสนใจและนำไปใช้ง่าย อยากให้ท่านเก็บไปใช้ดูครับ
ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่น้อย


- ขอให้ท่านได้กำไรจากการเทรดอย่างยั่งยืนครับ - 

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino