การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

วิธีทำลายพอร์ต : เปลี่ยนแนวทางจาก Trader เป็น Invester (วีไอจำเป็น)

ผมได้รวบรวมแนวทางการเจ๊งหุ้นจากอินเตอร์เน็ทมาให้ท่านอ่านกันสนุกๆครับ
เปลี่ยนแนวทางการเทรดจากเป็น Trader เป็น Invester กลางทาง


คลิปนี้เขาบอกว่า การเปลี่ยนจากก่อนหน้านี้ตั้งใจจะเป็น Trader แล้วต่อมาก็เปลี่ยนใจอยากเป็น Invester ไปซะงั้น
เผื่อใครไม่เข้าใจ
Trader คือลักษณะการเทรดที่ ไม่ถือยาว ซื้อแล้วขายในระยะเวลาหนึ่ง ที่สำคัญความเป็นเทรดเดอร์คือ การเคารพกฎของตัวเอง โดยเฉพาะ stop loss แค่ราคาร่วงถึง 10% ก็ต้องตัดขาดทุนตามระบบแล้วครับ

ส่วน Invester ก็หมายความถึงนักลงทุน พวกเขามองระยะยาว ไม่สนใจต่อความผันผวนของราคาในระยะสั้น อย่างวอเรน บัฟเฟต์ บอกว่า "คุณไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น นอกเสียจากจะสามารถนั่งมองหุ้นที่คุณถือมีราคาลดลง 50% โดยไม่ตื่นตระหนก"

ดังนั้น invester นั้น จะไม่ตระหนกเมื่อราคาหุ้นร่วงทำให้เขาต้องขาดทุนไปแค่ 10% เอง แต่ trader ทนไม่ได้แล้ว ต้องทำอะไรสักอย่าง

สาเหตุที่ทำให้เทรดเดอร์เจ๊งหุ้น ต้องเสียเงิน ขาดทุนไปมากมาย ทำลายเงินในพอร์ตให้เสียหายมากที่สุด ประการหนึ่งก็คือเรื่องนี้แหละครับ

ตอนแรกซื้อหุ้น เพราะต้องการเล่นแบบเทรดเดิ้ง คือ ซื้อมาขายไปในกรอบเวลาหนึ่ง ไม่คิดถือยาว มีแผนอยู่แล้วว่าจะต้องตัดขาดทุนตรงไหน อาทิ ซื้อที่ 46 บาท ให้ stop loss ที่ 40 บาท หลุดราคานี้ขาย
แต่หลังจากนั้น เมื่อราคาลงไปหลุด 40 บาท อาทิ 38 บาท กลับเกิดเปลี่ยนใจ อยากถือยาวซะงั้น พยายามหาเหตุผลมากมายมาสนับสนุนการตัดสินใจของตัวเอง

ถ้าเหตุผลที่เอามาอ้างมันสมเหตุ และมีความรอบด้านก็ดีไปครับ
แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแนวทาง เพราะ "ไม่อยากเป็นคนผิด" กลัวเสียเงิน รอให้ราคาเด้งกลับไปคืนทุนก็ขาย ตามคำโบราณที่ว่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" แล้วล่ะก็ มีโอกาสซวยสูงมาก


เพราะอะไร?
คุณไม่ได้ทำการบ้านในเชิงของมูลค่า เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นมาก่อน นี่แหละสำคัญ การที่คุณจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้ มันไม่ง่ายเลยนะครับ แค่ดู PE ไม่พอหรอก คุณต้องมองอนาคตของมันให้ออกด้วย ต้องรู้จักสิ่งแวดล้อมของมันให้ทุกซอกทุกมุม มองให้ออกว่ามันต้องเติบโตได้อีก จะโตยังไง มีอะไรสนับสนุน ความรู้มุมมองทางด้าน Macro ของคุณต้องมี คุณอ่านงบแตกมมั้ย ว่ามันทำกำไรได้จากอะไร คุณภาพของกำไรเป็นยังไง โอ้ย...เยอะแยะ อย่าคิดว่าการเป็นนักลงทุนแบบวีไอ หรือ ดร.นิเวศน์ คือ ซื้อแล้วถือนะครับ กว่าที่แกจะเลือกหุ้นได้สักตัว ต้องพลิกแล้วพลิกอีก ติโน่นตินี่ไปเรื่อย มอง business model มองภาพรวมในอนาคต คำนวนมูลค่าออกมาได้โดยไม่มีอคติ บอกอีกครั้งว่าเยอะ ทำการบ้านหนักมากครับ
ดังนั้นการที่คุณ คนที่ไม่มีความรู้ทางด้านพื้นฐานเลยยยย มอง business model ไม่อก ไม่รู้ว่ามันมีจุดดีจุดแข็งในการแข่งขันยังไง รู้จักแค่ค่า PE ก่อนหน้านี้เล่นแบบเทรดเดอร์มาโดยตลอด แล้วจู่ๆกลับคิดอยากถือยาวกับหุ้นที่คุณไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า โอกาสชิบหาย มีสูงมากครับ

โอเค สมมุติว่าคุณโชคดี ตัวนั้น ไม่ตัดขาดทุนแล้ว อีกสักพักมันดีดกลับขึ้นไปคืนทุนแล้วก็ทำกำไรให้อย่างงามเลย คุณก็ยังไม่พ้นความซวยครับ ผมบอกเลย
ทำไม?
เคสที่คุณได้กำไรเพราะความฟลุคนี้ มันจะกลายเป็นนิสัย เป็นการรับรู้ที่คุณเชื่อไปแล้วว่าถูก และคุณก็จะเอาไปใช้กับตัวต่อไป นี่แหะครับ มันจะถึงคราวซวยของคุณแล้ว

เพราะว่า คุณก็เหมือนเดิม ดูหุ้นด้วยเทคนิคอล เปิดกราฟ ไม่สนพื้นฐาน พอซื้อแล้วขาดทุน ก็ไม่ยอมขายอีกเพราะเชื่อว่าเดี๋ยวมันก็กลับมา ไม่ขายไม่ขาดทุนคือคาถาศักดิ์สิทธิ์ของคุณเลย ท่องก่อนนอนทุกวัน แต่คราวนี้ ผมมั่นใจว่าคุณไม่อยู่เฉยๆ ทนดูราคาร่วงอย่างเดียวแน่นอน คุณจะหาเงินก้อนใหม่มาซื้อถัว แน่นอนว่าคุณเอาเงินจำนวนมากมาจมอยู่กับหุ้นตัวนี้ เพราะคุณเชื่อว่าเดี๋ยวมันก็เด้งกลับขึ้นไปทำกำไรให้อย่างงาม การถัวคือการดึงต้นทุนให้ต่ำลง พอราคาเด้งกลับไปทำนิวไฮ ก็จะได้กำไรเยอะขึ้น


แต่ๆๆๆๆ หากราคาหุ้นไม่หยุดลงเสียทีล่ะ มันลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ได้อีก คุณก็ไม่ยอมแพ้ ขนเงินมาซื้อเพิ่มอีก โดยต้องเป็นก้อนใหญ่กว่าเดิมเดี๋ยวจะถัวแล้วราคาไม่ลงตาม
ถ้าหุ้นตัวนั้นพื้นฐาน+ความสามารถในการทำกำไรที่อ่อนแอ ด้วยล่ะก็ มันจะลงแบบไม่มีก้นเลยครับ

ยกตัวอย่าง EFORL ผมพนันได้เลยว่าคุณไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อได้ทุกช่วงราคาหรอก แค่สองครั้งก็เต็มกลืนแล้ว ครั้นพอราคาร่วงไปทำนิวโลว์ เงินหมด ก็ต้องยอมแพ้ เข้าสู่โหมด hold and hope เงินทั้งพอร์ตหายไปหมดแล้ว คุณได้แต่รออย่างเดียว พอเห็นรายใหญ่ให้ความสนใจ ท่านก็อาจถึงขึ้นเดินทางไปกราบให้เขาไล่ราคาขึ้นมาเพื่อคืนชีวิตให้คุณ
แต่ไม่มีวันเสียล่ะ ผมบอกคุณไว้เลย ในโลกของการเทรดไม่มีใครใจบุญยอมเสียเงินเพื่อให้คุณมีชีวิตที่สุขสบายหรอกนะ ตลาดหุ้นมันเป็นสงคราม ไม่ใช่โรงทาน
บอกไว้เลยว่า อีกนาน ไม่รู้จะมีวันนั้นอีกหรือเปล่า
ดังนั้น ถ้าคุณอยากได้อิสระจากพันธนาการติดหุ้นตัวนี้ คุณต้องยอมขายขาดทุนแบบเละเทะ เหลือเศษเงินไม่กี่พัน ซึ่งมันเลวร้ายมาก ทำใจโคตรยาก
โชคดีนะ ตัวนี้ไม่โดน SP แบบ IEC หรือ PAE นั่นดูไม่จืดเลยนะครับ

ทำไมต้องจบที่หุ้นต่ำบาท?
มันเป็นความโลภของคุณเอง ที่มีพื้นฐานสนับสนุนจากความมั่นใจเกินเหตุ ฉันเคยถัวแล้วได้กำไรมาแล้วนะ แต่มันยังไม่สะใจเลย เพื่อจะสนอง need จึงหนีไม่พ้นการส่องหาหุ้นต่ำบาทที่ลงมาหนักๆ เพราะคุณเชื่อศักยภาพของการถัวตนเองไง แหม..ตอนนี้ลงมาถึง 40 สตงค์แล้ว ถ้าดีดกลับไปที่ราคาเดิม 2 บาทนะ รวยเละเลยเรา ฝันเห็นบ้าน ฝันเห็นรถหรู ไปก่อนแล้ว

เมื่อคุณมั่นใจเกินไป ตลาดก็จะเอาคืนทันทีครับ

ทั้งหมดนี้ มันมาจากสาเหตุเดียว คือ คุณโลเล ไม่ยอมตัดขาดทุน ทำตามวินัย ตั้งแต่ครั้งนั้นแหละครับ เมื่อคุณทำผิด แต่กลับฟลุ๊ค ได้กำไร โชคที่ได้มาก็กลายเป็นทุขลาภไปในที่สุด เพราะท่านเริ่มเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจที่ผิดๆนั้นมันถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เมื่อท่านมั่นใจมากเกินเหตุ เมื่อนั้นตลาดก็จัดการเอาคืนในแบบทบต้นทบดอกทันที

กว่าจะรู้ตัว รู้งี้...เงินที่คุณได้มามหาศาล ก็คืนตลาดไปจนหมดในพริบตา

-------------------------------------------

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ