การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

OverTrading โอเวอร์เทรด คือ อะไร จะแก้มันยังไง?

โอเวอร์เทรด คือ

บทความโพสต์นี้ผมเอามาจากงานของลุง Rande Howell แห่งเว็บ www.mytradersstateofmind.com
ความโดดเด่นของแกก็คือ การเอาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมองมาอธิบายกลไกการคิดของเทรดเดอร์ได้อย่างน่าสนใจมากครับ
แกมีหนังสือที่น่าสนใจอยู่เล่ม คือ Mindful Trading: Mastering Your Emotions and the Inner Game

แต่ที่มีมากมายกว่า ก็คือคลิปเสียงที่แกทำในช่องยูทูปของตัวเอง ก็คือ Rande Howell :  https://www.youtube.com/channel/UCETBN5OuJ_jktX7V0txmbKg
และมีไปทำ webinar ที่ช่อง FXStreet หลายคลิปเลย
หากท่านสนใจก็ไปค้นชื่อแกจาก google videos ได้ครับ เจอเพียบ
จากประวัติ แกเป็นนักจิตวิทยาการเทรด (Trader Psychologist) ที่มีประสบการณ์ 15 ปี ในการเป็นนักบำบัดและโค้ชในเรื่องของจิตวิทยาประสิทธิภาพ (performance psychology coach)
การทำงานของเขาเน้นไปที่วิธีการทำลายความกลัว, การจำกัดกรอบคิด, การปรับตัวให้เข้ากับสมองเพื่อการอยู่รอด และการจัดระเบียบตัวเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นในการทำงาน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเรียนรู้วิธีการจัดการความกลัวทางชีวภาพ (และผลกระทบต่อความคิด) และทำให้เข้าถึงส่วนที่มีอำนาจมากขึ้นของตัวเองที่เปลี่ยนความสามารถของเราสำหรับการปฏิบัติงานในเชิงบวก (เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ต้องซื้อขายในสภาพที่น่ากลัว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถเปิดโอกาสในการดำเนินการได้ในระดับที่สุดยอดได้) งานของลุง Howell จึงเป็นการสอนวิธีเปลี่ยนวิธีทำความเข้าใจและทำงานกับชีววิทยาของคน ซึ่งช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการควบคุมอารมณ์ของคุณและทำลายข้อจำกัด (ซึ่งมันสำคัญต่อความสำเร็จในการเทรดมาก) การฝึกการควบคุมด้านอารมณ์ของเขา ยังถูกนำไปใช้เพื่อรักษาผู้ต้องขังที่มีความรุนแรง ทำลายวงจรความรุนแรงในครอบครัว และปลดปล่อยคนทั่วไปจากข้อจำกัดของความคิดที่น่ากลัว
ที่มา https://www.mytradersstateofmind.com/about-us.html




Breaking the Habit of Over-Trading
https://www.mytradersstateofmind.com/breaking-the-habit-of-over-trading.html
"ทุกๆวันผมเริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าวันนี้จะต้องมีวินัยในการเทรดตามแผน 
ผมเชื่อจริงๆนะว่าผมจะทำมันได้ในครั้งนี้
มันเริ่มต้นด้วยดี ทุกอย่างดูเหมือนจะเรียบร้อย แต่แล้วบางอย่างก็เกิดขึ้น 
ก่อนที่จะรู้ตัวผมก็ overtrade อีกจนได้
ผลก็คือผมต้องขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปัญหาของมันคือผมไม่รู้ว่ามันเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ผมไม่สามารถสังเกตเห็นมันได้
แต่เท่าที่จำความได้ ก็คือพอผมเริ่มเทรดนอกเหนือจากแผนของตัวเอง มันก็มักจะจบลงด้วยการ overtrade ผมไม่เข้าใจว่าทำไมผมถึงได้สร้างนิสัยที่ผิดพลาดเดิมๆแบบนี้?"


สาเหตุของการ overtrade โอเวอร์เทรด
ลักษณาการ overtrade ถ้าไม่ใช่การพยายามเอาคืน(REVENGE TRADING) ก็มีพื้นฐานมาจากอคติในการดำเนินการ ซึ่งนักเทรดเป็นคนทำมันให้เกิดขึ้นเอง มันเป็นพฤติกรรมที่นักเทรดต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าตัวเองมีความกระหายที่จะประสบความสำเร็จ เขามองการเทรดของเขาในตอนนั้นว่ามันมีโอกาสถูกมากกว่าที่จะเสียหาย แต่สุดท้ายแล้วมันก็จบลงด้วยการขาดทุน
แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีนักเทรดน้อยคนนักที่จะสังเกตเห็นการกระทำเช่นนี้ ทั้งๆที่มันเป็นกลยุทธ์การเทรดที่ไม่สมบูรณ์แท้ๆ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือว่า ตอนทำการบ้านน่ะเขามีชุดหุ้นจำนวนหนึ่งที่ต้องเฝ้าและรอดูจังหวะเพื่อที่จะแอคชั่น แต่ว่าในระหว่างเฝ้านั้นกลับมีหุ้นบางตัวที่วิ่งอย่างโดดเด่นจนกระตุ้นให้เขารู้สึกว่าเขาน่าจะเข้าไปร่วมวงกับการซิ่งนั้นเพื่อที่จะทำเงินในระยะสั้นระหว่างที่หุ้นใน watchlist ยังไม่วิ่ง แต่เมื่อเขาหลวมตัวเข้าไปซื้อแล้ว ปรากฏว่ามันเป็นจังหวะสุดท้ายของการเคลื่อนพอดี ซ้ำร้ายหลังจากนั้นมันก็กลับตัวแรงจนเขาต้องตัดใจขายขาดทุนในที่สุด

คงเป็นเพราะว่าพวกเขาคุ้นเคยกับการทำสิ่งนี้และเห็นใครๆก็ทำกันแพร่หลาย จึงไม่คิดว่ามันจะเป็นปัญหา เขาคิดว่าการไล่ราคามันไม่ได้เป็นอันตรายถ้ารู้เท่าทันและวางแผนจุดนี้ไว้ก่อนถ้าหากผิดแผนก็รีบตัดขาดทุนออกมาเขาคิดถูกแต่เขาลืมไปว่าถ้าเขาจำเป็นต้องตัดขาดทุนบ่อยๆการสะสมของยอดขาดทุนนั้นมันก็สามารถสร้างผลกระทบต่อความเสียหายสำหรับพอร์ตของเขาเหมือนกัน

overtrade โอเวอร์เทรด มันมีต้นต่อมาจากความกลัวที่จะตกรถ เชื่อว่าถ้าตัวเองรีบเข้าซื้อหุ้นตัวนี้ได้ทันก็มีโอกาสเก็บกำไรเล็กๆน้อยจากหุ้นตัวนี้ได้สูง คือพวกเขามองที่กำไรเป็นหลัก แต่ลืมว่าโอกาสขาดทุนก็มีเช่นกัน กลัวพลาดโอกาสได้กำไร แต่ลืมว่ามันก็มีโอกาสขาดทุนพอๆกัน อุปมาเหมือนง้างหมัดเตรียมน็อค แต่แขนอีกข้างก็ลืมตั้งการ์ดป้องกัน มุ่งมั่นอยากน็อคคู่แข่งแต่ตัวเองกลับลืมไปว่าได้ยื่นหน้ารอรับหมัดน็อคของเขาเช่นกัน

การกลัวตกรถนั้นมันเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้รับการฝึกฝนไม่ได้ถูกตอกย้ำให้มันฝังเข้าไปในใจของนักเทรดให้เขาเกิดความระแวงและฉุกคิดในเรื่องนี้อยู่ตลอด

ความเสียหายมันเกิดขึ้นเพราะว่าเมื่อเราเป็นนักเทรด, เราก็คือนายพรานผู้ซึ่งควรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการซุ่มโจมตีเหยื่อเมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม แต่กลับกลายว่าจู่ๆคุณกลับเปลี่ยนเป้าหมายกระทันหันไปล่าสัตว์ตัวอื่นเพื่อฆ่าเวลา ซึ่งการกระทำลักษณะนี้เอง ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คิดว่าไม่สำคัญ ไม่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเขา

สาเหตุของการ Overtrading โอเวอร์เทรด
หาเรื่องเทรดแก้เบื่อ
แน่นอนว่าการรอคอยให้หุ้นวิ่งเข้ามาถึงจุดเข้าทำของเราอาจจะสร้างความเบื่อหน่ายสำหรับคนที่คุ้นเคยกับการขยันเทรด หรือในอดีตเขามีความเชื่อว่าการจะได้อะไรต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่อง ยิ่งขยันก็ยิ่งได้เยอะ แต่ความจริงแล้วในโลกของการเทรดการขยันซื้อขายอาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการทำเงินก็ได้
ความเบื่อหน่ายกลายเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้เราลงมือทำเรื่องไร้สาระต่างๆนาๆ ซึ่งมันมักจะเป็นการแกว่งเท้าหาเสี้ยนถ้าเอามาใช้ในการเทรด ความคิดที่มุ่งหวังต่อกำไรเล็กๆง่ายๆระยะสั้นมันฟังดูเหมือนทำง่าย แต่มันแฝงด้วยผลร้ายที่เกิดจากนั้นมากมาย หากนักเทรดคนนั้นมีความหวั่นไหวต่อแรงกระตุ้นด้วยแล้ว ก็รับรองว่าถอดเขาสามารถพังทลายเสียหายได้ในระยะเวลาอันสั้น

มันอาจจะทำให้เรารู้สึกดีเมื่อได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง ดีกว่านั่งอยู่เฉยๆปล่อยให้เวลามันผ่านไป แน่นอนว่ามันน่าเบือมาก เมื่อความรู้สึกลบเข้ามาปกคลุมจิตใจ มันก็ชักนำให้คุณเลิกล้มความตั้งใจที่จะทำตามแผนที่วางไว้แต่แรกได้อย่างง่ายดาย
เมื่อความเบื่อมันมาคู่กับความกระหายอยากเทรด อยากทำเงินไวๆ มันก็จะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เราเกิดการ overtrade ในที่สุด


ขยันทำเอาปริมาณ vs ทำน้อยแต่มีประสิทธิภาพ
นอกจากการลงมือทำเพื่อหลีกหนีจากความเบื่อหน่าย ความต้องการทำเงินด่วนมันก็เป็นอีกแรงกระตุ้น หนึ่ง ในใจคุณมักจะมีคำพูดประมาณว่า
 "ทำไมไม่ตามมันไปเลยล่ะ นายสามารถทำกำไรกับมันได้นะ ถ้าไม่ลองทำดูก็ไม่รู้หรอกนะ"

ในโลกของการทำธุรกิจโดยทั่วไปแล้วความขยันทำงานอาจจะทำให้คุณได้ประสิทธิผลได้ผลงานมากขึ้น แต่มันจะใช้ไม่ได้เลยสำหรับในโลกของการเทรด เพราะว่าการเทรดนั้นมันต้องอาศัยความอดทนและความแม่นยำ คือคุณไม่จำเป็นต้องทำเยอะ(ขยันซื้อขาย) แต่ถ้าขอแค่รู้จักรอและลงมือเมื่อโอกาสนั้นมันมีแนวโน้มที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้แค่นั้นก็พอ อารมณ์เหมือนคุณเป็นนายพราน ไม่ว่าชอบแกะรอยหรือ ชอบดักรอซุ่มยิง ทั้งคู่ก็สำเร็จเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมตอนนั้น

สาเหตุทางชีวภาพที่อยู่เบื้องหลังของการ overtrade เพราะกลัวตกรถ เนื่องมาจาก ต่อม dopamine และ testosterone ได้หลั่งความรู้สึกสบายออกมา(เป็นความรู้สึกดีหรือมีอำนาจ) ที่ชักนำให้สมองกระตุ้นให้จิตใจเกิดความเชื่อมั่น(เกินไป)ในการเทรด จึงทำการเข้าซื้อขายในแบบที่เอามันส์ ทุกครั้งที่เราเทรดแล้วได้กำไรจากสภาวะไม่แน่นอน สมองในส่วนของการให้รางวัลก็จะฉีดพ่น dopamine ออกมา แม้จะมีปริมาณเล็กน้อย แต่ก็สามารถทำให้เรารู้สึกดีเอามากๆ

ญาติสนิทของ nuro-transmitter dopamine ก็คือ โคเคน! ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่เราจะรู้สึกดีแค่ไหนเมื่อได้รับรางวัลจากสมอง ซึ่งมันก็ค่อยๆเรียนรู้และให้คุณได้ตลอดทุกครั้งที่คุณชนะ กว่าคุณจะรู้ตัว มันก็กลายเป็นความเคยชินไปแล้ว และกลายเป็นนิสัยให้คุณกล้าเสี่ยงในภาวะที่ไม่แน่นอนลักษณะนี้ไปอีก

ดังนั้น ในระดับชีวภาพ มีสองสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ overtrade
ประการแรก คือ อยากเก็งกำไรระยะสั้น(ลงมือทำเยอะได้เยอะ) 
ซึ่งมันกลายเป็นนิสัยที่เกิดจากความรู้สึกดีจากผลของ dopamine เมื่อคุณลงมือทำก็จะได้รางวัลนี้ เมื่อเห็นอะไรที่เหมือนจะเป็นโอกาสคุณก็เลยเกิดอาการ "คัน" อยากเข้าร่วมกับเขาไปเสียทุกที

ประการที่สอง คือ สมองและจิตที่ไม่ได้รับการฝึกของคุณ จะรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อต้องเผชิญกับภาวะของความไม่แน่นอน ทันทีที่เกิดอาการคัน(อยากซื้อหุ้นมาก) ด้วยการที่มีความต้องการ dopamine และความไม่แน่นอนที่รุนแรงขึ้น สมองที่ยังไม่ได้ฝึกของคุณก็ส่งสัญญาณให้กระโจนหนีออกไปจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนนั้นทันที เพื่อที่ตัวเองจะได้ถอยออกมาดูสถานการณ์อยู่รอบนอก


เมื่อความตื่นเต้นของการไล่ล่า พบกับ ความอยากหาอะไรทำแก้เบื่อ
สิ่งกระตุ้นที่แข็งแรงให้เกิดการ overtrade ก็คือความกระหายต่อ testosterone
Testosterone มักจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเสมอ เมื่อสมองไม่ได้รับการฝึกต้องมาเผชิญกับปัญหายุ่งยาก 
ในขณะนั้นสมองของเราจะมีทางเลือกอยู่สองทาง คือพยายามทนอยู่ในสถานการณ์ที่กดดันให้ได้ หรือออกไปทำอะไรสักอย่าง
ถ้าหากสถานการณ์นั้นมันกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น ให้ลงมือทำ อีกทั้งยังมีแรงจูงใจที่จะหาอะไรทำแก้เบื่อด้วยล่ะก็ สมองประมวลผลโอนเอียงไปทางตัดสินในเชิงลดการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงลง
เมื่อความเสี่ยงมีน้ำหนักน้อยกว่าความต่นเต้นของการไล่ล่า(ลงมือทำอะไรสักอย่าง) ความกระหายก็รุนแรงขึ้นได้อีก
ความไม่สบายใจเกี่ยวกับความกำกวมของสถานการณ์ถูกกดให้มองข้าม
ในที่สุด ความเชื่อมั่นใจการวางแผนเทรดอย่างอดทนของคุณก็ถูกแทนที่ด้วยความเชื่อมั่นใจการไล่ล่า(คือเปลี่ยนตัว และลงมือทำทันที)
ต่อไปก็รู้กันดีว่า การ overtrade ได้กลับมาทำร้ายเขาอีกจนได้

Biology and Beliefs Meet
เคมีของการ overtrade เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นที่ว่าตัวนักเทรดเองสามารถเทรดชนะได้ ซึ่งความเชื่อกับความจริงอาจจะไม่ไปในทางเดียวกันก็ได้ บ่อยครั้งที่นักเทรดบอกใครๆหรือแสดงออกถึงความเชื่อมั่น หากมองเผินๆก็คิอว่าเขาเก่ง แต่จริงๆแล้วสิ่งที่จะช่วยยืนยันว่าเขาไม่โม้เกินจริงก็คือผลการเทรดที่ผ่านมาของเขาครับ ตัวเลขในบัญชีไม่เคยโกหกใคร มันสามารถบอกได้ทันทีว่ามาตรฐานของนักเทรดคนนั้นดีหรือเลว

นักเทรดมักจะมีความมั่นใจเกินจริงโดยเฉพาะในช่วงที่ตัวเองต้องเจอกับความเสี่ยง แต่ถ้าดูบัญชีแล้วคุณจะรู้เลยว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ควรทำอะไรเกินตัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะยอดเงินและประวัติของการเทรดมันเป็นตัวสะท้อนประสิทธิภาพของนักเทรดคนนั้นได้ดีที่สุด ถ้าหากเขารู้ศักยภาพ(ที่เละเทะ)ของตัวเองดี สิ่งที่ควรทำก็คือให้เวลากับการฝึกสมองและจิตใจให้ตัวเองมีความอดทนมากขึ้น มีการวางแผนการเทรดและมีวินัยต่อมันอย่างจริงจัง พวกนี้จะมีประโยชน์มากกว่าที่จะเสี่ยงแบบโง่ๆทั้งๆที่ตนเองก็มีแผลสดเต็มหลังแบบนั้น

เมื่อเกิดการ overtrade มันจะบังคับให้คุณหวังผลต่อการเทรดครั้งนั้นสูงกว่าปกติ แต่ถ้ามองให้ดี, มันเป็นความย้อนแย้งในตัว เพราะว่าช่วงนั้นสถานการณ์ไม่แน่นอน(เกิดความผันผวน) แต่จิตใจของเทรดเดอร์กลับผลเลิศจากความไม่แน่นอน ผลลัพธ์ที่เขาต้องการ มันก็คือภาพลวงตามากกว่าโอกาสที่จะเป็นจริง ถ้าเขาคิดได้-การให้เวลาในทำความเข้าใจตัวเองและบัญชีผลงาน แล้วเอามันไปเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเทรด ก็สามารถช่วยลดความห้าวเกินลิมิตของเทรดเดอร์คนนั้นได้

ความเชื่อมั่นผลงานของตัวเองในอดีตของเทรดเดอร์ก็ไม่เป็นผลดีสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าทุกการเทรดครั้งใหม่มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติที่ดีเลิศของนักเทรดเลย เขาจำเป็นต้องควบคุมตัวเองให้อยู่ในกรอบของวินัยเหมือนเดิม ถ้าหากคุณมั่นใจเกินไป คุณก็จะ overtrade แล้วมันก็กลายเป็นตัวทำลายล้างกำไรที่คุณเพิ่งภาคภูมิใจไปหมดภายในเวลาไม่นาน


การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้เป็นเครื่องสร้างความแตกต่าง
เมื่อเทรดเดอร์ต้องพบว่าตัวเองไร้อำนาจในการควบคุมผลลัพธ์ เคมีในร่างกายก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เริ่ม overtrade และก็จะโดนตลาดถล่มให้เสียหายหนักอย่างเลี่ยงไม่ได้ จากนั้นคุณก็รู้สึกตัว แล้วกลับมาทบทวนตัวเองอีก ดูผลงาน-พบคุณค่าที่แท้จริง รู้แจ้งว่าตลาดคือความไม่แน่นอน และคุณไม่สามารถควบคุมตลาดให้แสดงผลตามที่ต้องการได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เทรดเดอร์ผู้มีพัฒนาการได้ค้นพบ Overtrading โอเวอร์เทรดจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าหากเขาไม่กล้ายอมแพ้ในความพยายามควบคุมผลลัพธ์ของตลาด แล้วกลับมาควบคุมสิ่งเดียวที่เขาสามารถทำได้อย่างเบ็ดเสร็จ นั่นคือควบคุมจิตใจของเขาที่จะเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายให้การเทรดของเขาได้ เมื่อพยายามสำเร็จ,ความน่าจะเป็นก็ย้ายมาอยู่ฝั่งเขาอย่างเต็มตัว นี่เป็นข้อได้เปรียบที่นักเทรดส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจมัน เนื่องจากพวกเขายังติดหล่ม,เกิดความขัดแย้งเรื่อง ผลงาน = การกระทำ อยู่เลย จึงคิดว่าหากอยากได้กำไรดีๆเยอะๆ ก็ต้องเทรดให้บ่อย แต่ที่จริงแล้วการเทรดน้อย แต่เน้นเฉพาะตัวที่มีความน่าจะเป็นชนะสูงจริงแล้วลงมือ กลับสามารถให้ผลกำไรที่สูงกว่าอย่างชัดเจน

โอเวอร์เทรด กระตุ้นให้เห็นโอกาสแบบฉาบฉวย(ล่อเม่า)และความต้องการหนีความเบื่อหน่ายจากการอยู่เฉยๆ แล้วพยายามลงมือทำตลอดเวลา-กลายเป็นความเชื่อล้าหลังของคนไม่เคยเทรด ซึ่งมันไม่เคยทำให้เทรดเดอร์ได้ประโยชน์จากมันจริงๆแม้แต่ครั้งเดียว




สรุปต้นตอของการ Overtrade โอเวอร์เทรด
1) ต้องทำให้ยุ่งเข้าไว้ ต้องเทรดตลอดเวลา
คือมองว่าอาชีพการเทรดก็คือการซื้อซื้อขายขายถ้าคุณมาเสร็จแล้วคุณไม่ได้ขายไม่ได้ซื้อเลยอยู่ที่เฉยๆมันก็ไม่ใช่อาชีพนี้ดังนั้นพวกเขาเลยมีความเชื่อผิดผิดว่าเป็นเทรดเดอร์ก็ต้องซื้อซื้อใครขายทุกวัน

2) กระบวนการเทรดมันทำให้เกิดความตื่นเต้น ลุ้นสนุกดี อะดรีนาลีนหลั่งไหล
ถูกกระตุ้นจากสาร dopamine ทำให้มีความสุขในเวลาที่ได้ทำเรื่องตื่นเต้นโดยเฉพาะได้ลุ้นในขณะที่ทำการเทรด ซึ่งมันก็เป็นอารมณ์เดียวกับพวกเสพติดการพนันเขาก็ได้รับการล่อลวงจากสารเคมีนี้เช่นกัน ทำให้พวกเขาอยู่เฉยๆไม่ได้หยุดไม่ได้ต้องทำต่อเนื่องและมากขึ้นเพื่อที่จะได้รับสารนี้ให้เขามีความสุขต่อไปอีก แต่ในทางตรงกันข้ามข้อเสียของมันก็คือว่ามันจะทำให้คุณสูญเสียความรอบคอบในการเทรดขาดความยั้งคิดและไม่ได้สนใจในเรื่องของการจัดการเงินทุนอีกเลยคุณแค่อยากเทรดอยากสนุกไม่อยากพลาดเท่านั้นเองที่เหลือจะเป็นอะไรคุณก็ไม่สนใจแล้ว

3) ต้องเทรดเพราะอยากได้ผลงาน
คิดว่าการเทรดเป็นประจำตลอดเวลามันจะทำให้เขาได้งานมากขึ้นแต่ความจริงแล้วกำไรที่สวยๆก็มักจะมาจากการอยู่ที่เฉยๆซะมากกว่า มันมาจากความเชื่อของประสบการณ์เก่าด้วยแหละถ้าหากเขาเคยทำงานประจำมาก่อนก็จะรู้ว่าถ้าตอกบัตรเข้าไปแล้วก็ต้องหาอะไรทำอ่ะถ้าไม่ทำอะไรอยู่ที่เฉยๆมีโอกาสจะโดนไล่ออกสูงเพราะไม่มีงานออกมาดังนั้นเขาเรียกเอาความเชื่อนี้มาใช้กับการเทรดด้วยซึ่งมันคนละเรื่องกันเลยการเทรดถ้าไม่ละเอียดไม่รอบคอบพอยิ่งทำเยอะก็ยิ่งเสียหายเยอะ

4) ต้องการควบคุมผลลัทธ์
อยากสร้างเป้าทำให้ได้ตามเป้าต้องการควบคุมทุกอย่างให้มันได้ตามความต้องการของตัวเอง มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำอะไรก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการเทรดเราไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์มันได้เลยเพราะเราไม่ใช่ตลาดเราเป็นแค่ตัวจ้อยเท่านั้นเอง

5) เชื่อว่าถ้ามาทำอาชีพเทรดเดอร์แล้วก็ต้องซื้อขาย
ถ้ามาเป็นเทรดเดอร์แล้วไม่ซื้อไม่ขาย วันๆไม่ทำอะไรมันก็ไม่สมควรเป็นเทรดเดอร์สิ เดี๋ยวคนอื่นจะว่าเอาว่าเราว่างเกินไปหรือเปล่า เป็นอาชีพสบายเกินไปไหม แล้วจะมีอะไรกิน?
มันเลยบังคับให้เขาต้องพยายามหาหุ้นซื้อเข้าไปเข้ามาเพื่อให้ตัวเองดูไม่ว่าง 1 เกินไป

6) กลัวตกรถ (FOMO)
นี่สำคัญเลยส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบนี้กันเยอะก็คือว่าโดนล่อลวงด้วยแท่งเขียว โดนล่อลวงด้วยการงับซื้ออย่างต่อเนื่องและโดดเด่น มันก็ทำให้เขาอดไม่ได้ที่จะตาม เพราะอารมณ์ไม่เหมือนแฟชั่นนะครับอะไรก็ตามที่มีคนทำให้เยอะมันก็ดึงดูดทำให้เรานิอยากทำกับเขาบ้างก็เลยเป็นอาการอยู่ดีๆต้องทำอะไรที่มันไม่จำเป็นก็คือนั่นแหละวุทธเนตร
คุณจะเห็นอะไรเป็นโอกาสไปหมดเปิดกราฟ do any จังหวะตรงนี้ใช่แน่ๆมันเป็นพระที่ถูกต้องนะเนี่ยอะไรประมาณเนี้ย Volume เข้ามาตีตัดขึ้นหรือบานเบอะเลยเห็นโอกาสทำกำไเยอะไปหมด

7) อยากหารายได้เป็นค่ากับข้าว

8) มีความปรารถนาที่จะทำเงินอย่างรวดเร็ว
อยากรวยไวก็เลยต้องทำเยอะๆพยายามทำการบ้านและหาโอกาสเยอะๆเพื่อที่จะซื้อแล้วขายเอากำไรทบต้นสมมุติวันนี้ทำได้ 10000 บาทก็คุณไม่ได้เลยว่าถ้าเดือนหนึ่งมี 20 วันทำเงินได้เป็นแสนเลย 20,0001 ปีก็ได้หลายล้านนี่แหละคืออารมณ์ของการมีความปรารถนาที่จะรวยเร็วเมื่ออยากรวยมากๆก็ต้องพยายามหาหุ้นมาเล่นให้ได้ทุกวันพอเล่นไปมีตัวใหม่ดีกว่าก็ขายเอาเป็นตัวใหม่หรือไม่ก็ซื้อเพิ่มซื้ออะไรมากมายใครมันว่าเขาวุ่นวายมีหุ้นเยอะซึ่งไปครั้งมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

9) อยากหาอะไรทําแก้เบื่อ
นี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่นักเทรดทั่วโลกเป็นกันก็คืออยู่เฉยไม่ได้มันรู้สึกคันจะต้องหาหุ้นมาเล่นให้ได้คือมีเงินเหลือเยอะไงพอเยอรมันอยากจะซื้อเล่นๆขำๆเพื่อแก้เบื่อแต่ด้วยความที่บางทีก็แม่ทำการบ้านอะไรดีมากมายกลายเป็นเศษหุ้นไปซะงั้น

วิธีการแก้ไขก็คือคุณต้องรู้สึกตัวและถอยออกมาพิจารณาตัวเองและทบทวนสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ว่ามันเหมาะสมหรือไม่


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ