การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Golden Cross & Dead Cross : Winning & Losing Trade

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

หลังจากโพสต์ที่แล้ว ผมได้เอ่ยถึง  RSI 30 Failure Swing : Winning & Losing Trade แม้ได้รับความสนใจจากสมาชิกไม่มากนัก แต่ผมก็รู้สึกติดลม ก็เลยอยากจะวิจารณ์กระบี่ ต่ออีกสักสองสามกระบวนท่า ก็ขอเอาเฉพาะตัวที่ผมเคยใช้แล้วเห็นจุดบอดเท่านั้นนะ ก็มีไม่เยอะหรอกเพราะผมใช้ไม่กี่ท่าจริงๆ เอาแต่ที่เบสิคเท่านั้น และต้องออกตัวเสียงดังบอกท่านอีกครั้งว่า อินดิเคเตอร์ทุกตัวไม่แม่น 100% หรอกครับ อย่าไปคาดหวังกับมันมาก มันก็เป็นของมันอย่านั้นมานานแล้ว เรียกว่าเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เราไม่สามารถบังคับให้มันไม่ดับไปได้หรอก มันฝืนธรรมชาติ หน้าที่เราคือใช้ประโยชน์ในช่วงทีมันเกิดขึ้นและตั้งอยู่ แล้วขายออกตอนที่มันดับไป แค่นั้นพอ

แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนไม่แน่นอน สัญญาณที่เราเคยรับรู้มาว่าเป็น buy signal เพราะหนังสือบอกเรา มันก็จะแม่นแค่บางครั้งเท่านั้น ซึ่งหนังสือมักจะยกเอามาให้เราเห็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น ที่เหลือส่วนใหญ่คือล้มเหลว

ดังนั้น อย่าคาดหวังกับสัญญาณซื้อมาก เราต้องเข้าเทรดด้วยจิตที่ตระหนักถึงความเสี่ยงเสมอ ก่อนซื้อวางจุดหนีไว้ก่อน ถ้าโอกาสเสียหายกับโอกาสได้กำไรไม่คุ้ม ก็อย่าเสี่ยงเลยครับ ไม่มีใครเทรดชนะทุกตาหรอก ธรรมชาติมีสมดุลของมันเสมอ

วันนี้ขอยกอีกไอเดียที่ผมเคยเชื่อในอดีต คือ Golden cross ครับ
กระซิบบอกท่านเลยว่า บทความนี้ผมเคยเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด"  เพราะมันมีเนื้อหาเกี่ยวกับเส้นค่าเฉลี่ยพอดี แต่ด้วยความที่ผมคิดว่าหน้ามันเยอะเกินไปแล้ว จึงตัดออกไป
ไหนๆก็มำมันมาแล้ว ก็เลยเอามาให้อ่านกันเล่นๆดีกว่านะ


Golden Cross
มีศัพท์คำหนึ่งเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยที่คนส่วนใหญ่บอกว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้น คือคำว่า golden cross มันเป็นชื่อเรียกลักษณะการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลางกับระยะยาวขึ้นไปครับ โดยทั่วไปตามหลักสากล เขาจะใช้เส้น 50 วัน ตัดเส้น 200 วัน ขึ้น ก็จะเรียกว่า golden cross ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณยืนยันที่เขาว่ากันว่าราคาได้เปลี่ยนแนวโน้มจากขาลง หรือจากสภาวะไร้แนวโน้มหรือขาลง เป็นขาขึ้นครับ

นี่คือหน้าตาของ golden cross ครับ คือเป็นลักษณะการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง (EMA50) กับเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว(EMA200) โดย EMA50 วิ่งจากข้างล่าง ตัด EMA200 (ที่อยู่ข้างบน) ขึ้นไปได้ พร้อมกันนั้นราคาก็วิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง

อะไรทำให้เกิด golden cross?
ต้นตอคือ “ราคาวิ่งขึ้นแรง” ครับ(1) จน breakout ข้ามจุดสูงสุดเก่าในรอบสองเดือนกว่า(A)ไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้ แล้วจากนั้นก็วิ่งขึ้นไปทำนิวไฮได้ได้ต่อเนื่อง เพราะเส้นค่าเฉลี่ยเป็นผลที่เกิดจากการคำนวนของราคาปิดย้อนหลังไปตามระยะที่ต้องการ เมื่อราคาวิ่งขึ้นแรง ก็จะพาให้เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกว่า (EMA50 ที่วิ่งตามราคาได้ไว) ตัดเส้นยาวกว่า(EMA200 ที่วิ่งตามราคาช้าเพราะเป็นค่าเฉลี่ยที่ยาวกว่า) ขึ้นไปได้ จึงทำให้เกิด golden cross ครับ


Dead Cross
ส่วน Dead cross ก็เป็นในลักษณะตรงกันข้าม ก็คือเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกว่า(ในที่นี้คือ EMA50) ตัดเส้นระยะยาวกว่า(EMA200) ลงไป ซึ่งมันเป็นสัญญาณยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นหรือสภาวะไร้แนวโน้มเป็นขาลง



นี่คือหน้าตาของ dead cross ที่เกิดกับหุ้น KOOL ระหว่างเดือน May - Jun ลักษณะของมันคือ ตอนแรก EMA50 วิ่งอยู่เหนือ EMA200 ต่อมามันก็ดิ่งลงไปตัดเส้น EMA200 ลงไป สุดท้าย EMA50 ก็วิ่งอยู่ข้างล่าง EMA200 ดังรูปครับ

ความหมายของ dead cross คือมันเป็นอีกสัญญาณที่บอกว่าราคาได้เปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปราคามีโอกาสลงต่อได้อีก

อะไรทำให้เกิด dead cross?
ก็ต้องบอกว่าการเคลื่อนไหวของราคาที่วิ่งลงทำจุดต่ำสุดใหม่ได้อย่างต่อเนื่องนั่นแหละครับที่เป็นต้นตอหลัก เมื่อราคาปิดยิ่งวันก็ยิ่งลดลงจนหลุดต่ำกว่า EMA200 ก็ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นผลพวงจากการคำนวนราคาปิดของแต่ละวันย้อนหลัง ก็จะดิ่งลงตามครับ และในที่สุด EMA50 ก็ตัด EMA200 ลงตามราคา และถ้าราคายังลงต่อได้อีกก็จะนำให้ทั้งสองเส้นดิ่งลงตามไปได้เรื่อยๆ

หลังจาก dead cross อารมณ์ตลาดก็เข้าสู่โซนแห่งความกลัวที่หนักข้อมากขึ้น เพราะเป็นสัญญาณยืนยันให้คนอีกกลุ่มตัดสินใจขายหุ้นออก ทำให้ราคาลงแรงได้อีก


ข้อสังเกตเกี่ยวกับ golden & dead cross
ความเห็นส่วนตัวของผมนะ มันไม่ค่อยเวิร์คสักเท่าไหร่ ถ้าจะใช้เป็น buy หรือ sell signal
๑) เพราะมันเป็นตัวบอกสัญญาณตัวสุดท้ายที่ยืนยันการเปลี่ยนเทรนด์ครับ บ่อยครั้งที่เราพบว่า ราคาวิ่งไปไกลแล้วเส้นเพิ่งตัดกันให้เห็นเป็น golden cross พอเข้าซื้อตามก็กลายเป็นเข้าไปซื้อที่ดอย เพราะราคาวิ่งขึ้นมาถึงจุด overbougth เช่นกันกับสัญญาณขาย ที่กว่าจะเกิด dead cross ราคาก็ลงลึกเกินไปแล้ว
๒) อีกอย่างถ้าราคาอยู่ในช่วงไร้แนวโน้ม หรือ sideway จะมีการเกิด golden cross หรือ dead cross บ่อยมาก ทำให้การตัดกันในแต่ละครั้งจะกลายเป็นสัญญาณหลอกทันที กลายเป็นซื้อช้า ผิดจังหวะเช่นกัน
แต่กระนั้น บางคนก็เสนอไอเดียว่า ถ้าเราใช้เส้นสั้นกว่านี้เป็นสัญญาณได้มั้ย เอา 10 วัน ตัดกับ 50 วัน น่าจะไวขึ้น ลองดูกันครับว่าผลจะเป็นยังไง


ด้วยความที่เป็นเส้นระยะสั้น มันจึงมีการตัดกันหลายครั้งให้คุณต้องซื้อๆขายๆบ่อยในช่วงที่ราคา sideway ในกรอบ ซึ่งคุณก็ต้องยอมเล่นสั้นไปก่อน คือยอมขายตอนที่ราคาติดแนวต้านหรือหลุด EMA10 ลงไป หรือช้าสุดก็คือราคาหลุด EMA50 ซึ่งยิ่งขายช้า กำไรของคุณก็ยิ่งลดลงไปเรื่อยๆครับ ดังนั้นถ้าจะให้ได้กำไรแบบยาวๆ ก็ต้องลุ้นให้ราคา breakout กรอบการสะสมขึ้นไปได้ หรือไม่ก็รอซื้อตอนที่ราคาทะลุไฮเดิมขึ้นไปได้แล้ว



สำหรับเคสของ MALEE ที่ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง หากราคามีการสวิงขึ้นลงแรงเป็นลูกคลื่นใหญ่ ก็จะเกิดการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสองได้เช่นกันครับ หากเราเอามาใช้เป็นจุดซื้อขายก็เสียเงินทั้งสองครั้งเลย เพราะแท่งราคามันวิ่งนำเส้นค่าเฉลี่ยไปไกลมาก กว่าที่จะเกิดสัญญาณเราก็เสียหายไปเยอะแล้ว


เราซื้อ/ขายที่ราคาซึ่งเกิดหลังการ cross
อีกประเด็นที่สำคัญมากก็คือ เราไม่ได้ซื้อที่เส้นตัดกัน แต่เราซื้อที่แท่งราคา นึกออกมั้ย ดูโซนซื้อขาย 1 ของหุ้น MALEE รูปบนนะครับ ตอนที่เส้นค่าเฉลี่ยตัด golden cross นั้น คุณจะได้ซื้อที่ราคาประมาณ 53-55 บาท แต่พอ dead cross คุณได้ขายที่ 50 บาท หรือต่ำกว่านั้น ขาดทุนสิครับ ต่อมาอีกจุดซื้อขาย 2 ทุนซื้อที่ประมาณ 42-43 บาท ขายตอน dead cross ที่ 40 บาทหรือต่ำกว่านั้น ก็ขาดทุนได้อีกครับ นี่แหละคือด้านมืดของ golden และ dead cross ที่ท่านต้องระวังไว้ให้มากๆครับ

ดังนั้น บทความนี้ผมเขียนเพื่อบอกท่านว่าอย่าพึ่งพาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นสัญญาณซื้อขายเลย ดูว่ามันเป็นตัวยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้มที่ล่าช้าอีกตัวก็พอ อยากให้เน้นไปใช้มันเพื่อดูการเคลื่อนไหวของราคาดีกว่า โดยเฉพาะการเป็นแนวรับ หรือเป็นกรอบการวิ่งของราคา และระบุแนวโน้มเท่านั้นพอครับ

-------------------------------------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดยหนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่(2017) และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด(2018)
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ แนวทางการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเทรด ด้วย กราฟวีค
หุ้นซิ่ง สวิงเทรด(2018) แนวทางการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเทรด ด้วย กราฟรายวัน

ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?
อ่านที่มาจากบทความนี้ครับ หนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หนังสือหุ้น 2018
สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ