บทความนี้ผมแปลจากหน้าเว็บต่างประเทศครับ เนื่องจากเห็นว่ามันมีเนื้อหาน่าสนใจ หากแปลออกมาได้ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อใครสักคนที่เกิดความสับสนในเส้นทางนี้ เผื่อจะมีทางออก แต่ขอสารภาพเลยนะครับว่าอังกฤษของผมห่วยมาก จึงแปลออกมาแบบงูๆปลาๆ ใครเก่งภาษาแนะนำให้อ่านต้นฉบับครับ
www.tischendorf.com/2010/01/16/bo-yoder-and-vadym-graifer-6-stages-of-a-trader/
Bo Yoder กับ Vadym Graifer ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับพัฒนาการของเทรดเดอร์ได้น่าสนใจมากครับ
โดยบอกว่า "พัฒนาการของเทรดเดอร์" มี ๖ ระยะ ด้วยกันครับ ดังนี้
ระยะแรก : หลงผิด
ระยะนี้เป็นของรักเทรดหน้าใหม่ซิง พวกเขามีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดที่น้อยมาก มองไม่ออกว่าตลาดจะมีความสัมพันธ์กับอะไรบ้าง ยิ่งระหว่างสภาพเศรษฐกิจกับตลาดด้วยก็แทบจะไม่รู้อะไรเลย พวกเขามองกราฟไม่ออก รู้แต่เพียงว่ามันเหมือนกับเส้นสีหลากหลายวิ่งพัวพันกันยุ่งเหยิงไปหมด ไม่รู้ว่ามันให้ข้อมูลอะไรกับเขาได้บ้าง จึงทำให้คิดไปเองว่าใครก็ตามที่อ่านกราฟออก-ก็ต้องมีความสามารถพิเศษหรืออัจฉริยะตั้งแต่เกิดกันเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม, ถ้าหากเขาเริ่มพยายามสังเกต, อ่าน, ศึกษา ก็จะพบว่าตัวเองเริ่มเข้าใจและเห็นเบาะแสอะไรบางอย่างจากกราฟได้บ้าง
ระยะที่ ๒ : Hot Pot Stage
หลังจากที่คุณพอจับทางการอ่านกราฟได้บ้างแล้ว ก็เริ่มสแกนหุ้นทุกวัน(ดูย้อนหลัง back test) จากนั้นก็เห็นรูปแบบซ้ำๆที่คุณคิดว่าเป็นโอกาสในการเข้าทำเงินได้แน่(เช่น golden cross, MACD ตัด 0, RSI >70 แล้วกลับตัว หรือ RSI<30 แล้วกลับตัว , price pattern แล้วกลับตัว ฯลฯ อะไรสักอย่างหนึ่งในนี้) ก็เลยโฟกัสและจำจนขึ้นใจ จากนั้นก็เริ่มมองหาทรงเดียวกันนี้ต่อ ก็พบว่ายิ่งหาก็ยิ่งเจอ นั่นทำให้คุณมั่นใจว่านี่แหละคือสูตรทำเงินที่ใช่ของคุณ จึงกำเงินก้อนใหญ่ที่มีอยู่เอาไว้รอทุ่มซื้อกับหุ้นตัวต่อไปที่ทำทรงแบบที่คุณมั่นใจว่าใช่ พอเข้าซื้อ - และแทบจะในทันที ราคาก็กลับตัวลงไปหลุด stop loss - ก็ต้องยอมตัดใจขายออกตามกฎ
จากนั้นคุณก็กลับไปศึกษารูปแบบนี้อีกครั้ง ก็ยังพบว่ามันก็ยังเวิร์คอยู่นี่นา ยิ่งทำการบ้าน(ย้อนหลัง)ก็ยิ่งเจอ จึงตัดสินใจลองอีกครั้ง และมันก็เข้าอีหรอบเดิม คือคุณต้อง stop loss ออกมา
ในทางปฏิบัติแล้ว ทุกคนก็ต้องประสบกับเหตุการณ์แบบนี้กัน แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่านี่คือวงจรของการชนะกับแพ้(win-lose cycle) พวกเขาไม่เข้าใจว่าการขาดทุนเป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของทุกระบบ/กลยุทธ์/แนวทางการเทรด มันไม่มีระบบไหนที่สามารถเทรดชนะ 100% เลย
เมื่อไม่เข้าใจธรรมชาติของมัน พวกเขาจึงตั้งหน้าตั้งตาหาแนวทางที่ "ชนะเท่านั้น" ไม่อยากขาดทุนเลยแม้แต่นิดเดียว ไม่พยายามทำความเข้าใจด้วยว่าทำไมต้องขาดทุน อุปมาเหมือนการเอามือไปสำผัสกับหม้อ hot pot แล้วมันลวกมือจนไหม้ ไม่เข้าใจว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวหม้อ(pattern/setup)หรอก แต่เป็นความล้มเหลวที่มาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจว่ามันมีต้นตอจากความร้อนที่มาจากเตา(ตลาด) ที่ซึ่งพวกเขาไม่เคยให้ความสนใจกับมันเลย
ดังนั้น แทนที่เขาจะให้พยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของการถ่ายโอนความร้อน(ตลาด) พวกเขาก็ละเลยหม้อ(pattern) ย้านไปหารูปแบบ/สูตรอื่นๆโดยที่ไม่ต้องรำคาญในการหาเตา(แหล่งความร้อน)อีก
พูดง่ายๆคือ ระยะนี้ นักเทรดยังมองไม่ออกว่า อะไรเป็นต้นเหตุที่แท้จริง ของความผิดพลาด จึงคาดเดาและตีความเปะปะไปทั่ว โดยส่วนใหญ่จะโฟกัสต้นตอไปที่ระบบเทรด ไอเดีย เพราะตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าการเทรดยังง่ายอยู่ อยากรวยเร็วๆง่ายๆ ถ้าได้สูตรลับรวยหุ้นมานะ ฉันสบายเลย ทำนองนี้
ระยะที่ ๓ : คลางแคลง
เมื่อคุณได้ทุ่มเทศึกษาแนวทางการเทรดของตัวเองอย่างหนักหน่วง แต่กลับพบว่าตัวเองยังขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จึงรู้สึกว่ากำลังถูกตลาด, กูรู, เคล็ดลับ, หนังสือ หักหลัง
เพราะทุกคนล้วนอ้างว่าแนวทางของเขาสามารถช่วยให้คุณได้กำไรแน่ๆ แต่ทุกครั้งที่คุณเทรดก็มักจะลงเอยด้วยการขาดทุนตลอด แม้กระทั่ง setup ที่สมบูรณ์แบบตามแผนการเทรดก็ยังไม่วาย เมื่อประสบการณ์ขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกิดขึ้น(ในระยะที่คุณเคยมองว่าการเทรดให้รวยโคตรง่าย) มันทำให้เกิดความเก็บกด กลายเป็นความโกรธ คุณเริ่มต่อว่ากูรู, โบรคเกอร์, นักเขียน, คอร์สสัมนา, คนทำราคา, ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ
เมื่อคุณเริ่มโกรธ ให้โทษต่อทุกสิ่งทุกอย่าง(ที่ไม่ใช่ตัวคุณ) มันก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์และพัฒนาการเทรดของตัวเองให้ดีขึ้น
ถ้าคุณเข้าเว็บพันทิพ ก็จะเห็นนักเทรดที่กำลังตกอยู่ในระยะนี้มากมาย ผ่านการโพสต์กระทู้ก่นด่าเจ้ามือ, รายใหญ่, กูรู, นักวิเคราะห์ ฯลฯ ที่เป็นสาเหตุให้พวกเขาขาดทุน โดยที่ไม่เคยมองดูตัวเองเลย
ระยะที่ ๔ : สับสน
ถ้าคุณไม่ล้มเลิกความตั้งใจในการเป็นนักเทรด ยังอยากสู้ต่อ ระยะจากนี้ไปก็คือ "เกิดความสับสน" เมื่อคุณรู้ตัวเองว่า ไม่มีอาวุธลับทำเงินล้านแบบง่ายๆ ไม่มีจอกศักดิ์สิทธิ์บันดาลกำไรในชั่วข้ามคืน สูตรสำเร็จสร้างเงินสิบเด้ง ซึ่งเคยคิดว่ามันต้ออยู่ที่ไหนสักแห่งแน่ๆ(แต่ก็ไม่เจอสักที)
ตอนนั้นคุณได้ทำการศึกษาทุกๆแนวทางการเทรดจากเหล่าเซียน กูรูทั้งแสดงตัวและบอกต่อ รวมถึงอินดิเคเตอร์ทุกอย่างตั้งแต่เก่าจนถึงใหม่ล่าสุด คุณซื้อหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวกับการเทรด เข้าคอร์สอบรมไปทุกที่ สมัครสมาชิกรับข้อมูล/ให้คำปรึกษาแทบทุกแห่งที่สามารถจ่ายเงินไหว ซื้อ software ที่ซับซ้อนคำนวนไว-โคตรแม่นยำ คือซื้อทุกอย่างที่เชื่อว่ามันจะเป็นรากฐานสนับสนุนให้คุณประสบความสำเร็จ
แต่น่าเสียดายที่ คุณมีข้อมูลมากเกินไป เยอะจนตัดสินใจไม่ถูก เหมือนเป็นอัมพาตชั่วขณะเพราะไปไม่เป็น เมื่อตัดสินใจไม่ได้ ก็ต้องไปขอควาคิดเห็นจากคนอื่นเพื่อเอามาสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของ scared money แปลเป็นไทยน่าจะหมายความว่า การเทรดด้วยความกลัว ถ้าหากปราศจากการยอมรับความจริงว่าการเทรดต้องมีการขาดทุนและความเสี่ยง คุณก็จะเป็นหมือนเรือที่ขาดหางเสือ พายวนในอ่าง พยายามค้นหาใครหรือสิ่งใดก็ตามที่บอกได้ว่าคุณเป็นใคร กำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเร้นลับอยู่ ๒ ประการ
๑) โยนความรับผิดชอบไปให้นอื่นเมื่อเกิดความผิดพลาด
๒) เกิดความขัดแย้ง สับสน เพราะอินดิเคเตอร์ระบุไม่ตรงกัน เช่น MACD บอกให้ซื้อ แต่ STO บอกให้ขาย, ADX บอกว่าเกิดแนวโน้มแล้ว, OBV กลับบอกว่า overbought กลายเป็นว่ายิ่งข้อมูลเยอะมันไม่ได้ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้นเลยแม้แต่นิด
อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ก็เป็นประโยชน์อยู่บ้าง ถ้าหากนักเทรดเรียนรู้ได้ว่าอะไรที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้มากสุด ก็สามารถรู้ได้ว่า mass น่าจะคิดยังไงกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการตัดสินใจตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ของตลาดได้ โดยยเฉพาะในช่วงที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่กล้าหรือกลัวสุดขีด คือถ้าไม่หลงไปกับความสับสนตัดสินใจไม่ถูก(ไม่เป็นตัวของตัวเอง) ก็สามารถแยกตัวออกห่างจากฝูง mass ได้เลย(เป็นปัจเจก) ถ้าคุณเป็นแบบหลัง-ก็เริ่มแยกแยะออกได้ว่าสิ่งไหนเป็นตรรกะหรือไร้สาระ จากนั้นเขาหรือเธอจะเริ่มเรียนรู้ความเป็นตัวตน ว่าเป็นเทรดเดอร์ประเภทไหนกัน มีสไตล์การเทรดแบบไหนที่เหมาะกับตัวมากที่สุด รู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดพึงปรารถนา(ควรทำ)และไม่ควรค่าต่อการสนใจ
แต่ท่านเชื่อมั้ยว่า เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ยังติดกับอยู่ในวังวนระยะนี้แหละ โดยมัวแต่หาคำตอบที่ใช่(เรื่องภายนอกตัว) มุ่งมันที่จะเอาชนะตลาด (หรือบางคนก็ทนไม่ไหวเลิกเทรดไปเลยก็มีแยะ) ทำให้พวกเขาไม่เคยประสบความสำเร็จจากการเทรดอย่างแท้จริง
ระยะที่ ๕ : เชื่อมต่อกับภายใน
หากเทรดเดอร์คนนั้นสามารถเอาชนะตัวเอง จนหลุดกรอบของระยะ ๔ ได้ ก็จะเริ่มใช้ประสบการณ์ของตนเองอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้เรียนรู้ว่าสไตล์, เทคนิค, กลยุทธ์ที่คนทั่วไปนิยมคืออะไร
แต่นอกเหนือจากการโฟกัสไปทุกสิ่งที่อยู่ภายนอกตัว เขาเริ่มตั้งคำถามกับตนเอง ดังนี้
๑) ฉันต้องการอะไรกันแน่?
๒) ฉันกำลังพยายามทำอะไรอยู่?
๓) การเทรดแบบไหนที่เหมาะสมกับฉัน?
๔) ฉันชอบการเทรดระยะสั้นหรือระยะยาว?
๕) แบบไหนที่ชอบมากกว่า Day trade, เทรดตามแนวโน้ม, Scalping, ฯลฯ?
๖) ชอบการลวทุนแบบไหน? ฟิวเจอร์, หุ้น, ETF, พันธบัตร, option?
๗) ระดับความผันผวนที่ฉันชอบ?
๘) ความเสี่ยงมากที่สุด ที่ฉันยอมรับได้?
๙) อินดิเคเตอร์ตัวไหนที่ฉันชอบและใช้ดีที่สุด?
มันเป็นการ "ออดิชั่น" หรือ ทำตัวเป็นนักวิเคราะห์ตัวเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหาสิ่งทีเหมาะกับตัวเองโดยใช้ทุกอย่างที่เขาได้เรียนรู้และทดลองไปแล้วในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา
จากนั้นเขาก็เริ่มนำ science method หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาแผนการเทรดรวมถึงบริหารความเสี่ยงและบริหารจัดการเทรดของตัวเอง เริ่มเรียนรู้เห็นค่าของความอยากรู้อยากเห็น , ความสนใจแบบกัดไม่ปล่อย, ความมุ่งมั่นและขยันหมั่นเพียร, เหล่านี้กลายเป็นเหมือนการเอาจิ๊กซอว์มาเรียงต่อกันให้กลายเป็นแนวทางและยุทธศาสตร์การเทรดของตัวเองที่ไม่ซ้ำใคร ซึ่งเขาก็มั่นในในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ เพราะได้ทดลองมาอย่างละเอียดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรงของตนเอง อันเป็นผลให้ได้กำไรมาอย่างต่อเนื่อง
ระยะนี้ พวกเขามีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อการเทรดของตัวเองอย่างเต็มร้อย ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน เขาเชื่อว่ามันล้วนเกิดจากตัวเขาเองทั้งสิ้น ไม่สามารถเลี่ยวความรับผิดชอบจากความเสียหายแต่ละครั้งได้เลย แทนที่จะโยนความผิดให้คนอื่น เขาพร้อมอ้าแขนรับมันทั้งหมด "ฉันทำเอง ฉันพลาดเอง โทษใครไม่ได้เลย" เขายอมรับในสิ่งที่มันเป็น ในสิ่งที่ตลาดมอบให้และส่งถึงการตัดสินใจของตัวเอง ยอมรับธรรมชาติของการเทรดเป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง พวกเขาเฝ้าติดตามเพื่อทดสอบระบบการเทรดของตัวเอง โดยหวังพัฒนาให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง แก้ไขได้แม่นยำมากขึ้น พวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับการขาดทุนมากนัก-แค่ยอมรับว่าตัวเองผิดแล้วก็ตัดขาดทุนไป เอาเงินก้อนที่ขายออกนั้นไปรอเริ่มธุรกิจเทรดตัวใหม่ที่ตลาดหยิบยืนโอกาสให้ พวกเขาเริ่มเข้าใจภาพรวมทั้งหมด เข้าใจว่าสิ่งที่ทำได้คือควบคุมความเสี่ยงของตัวเองเท่านั้น
พวกเขาไม่โทษโบรกเกอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือคนทำราคา หรือการสมรู้ร่วมคิดใดๆที่ทำให้เขาต้องขาดทุน ไม่พยายามแก้แค้นรีบเทรดเพื่อเอาเงินขาดทุนคืนโดยไว ไม่หงุดหงิด, ไม่คาดหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้, รู้ว่าตัวเองกลัว, โลภ แต่ก็ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง เขาแค่เทรดตามที่มันเป็น
ระยะที่ ๖ : Mastery
ในระยะนี้ พวกเขาได้ก้าวเข้าสู่สภาวะการเทรดที่คล้ายกับ Zen (Zen-like trading state) การวางแผน, การวิเคราะห์, การวิจัย, เป็นการทำแบบมุ่งเน้น(โฟกัส)ในช่วงเวลาที่กำหนดจนเป็นนิสัย เมื่อตลาดเปิดก็เทรดตามแผน พร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยสภาพจิตที่มีความนิ่ง, ผ่อนคลาย และมั่นคง
การเทรดกลายเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยความพยายามอะไรมากมายนัก พวกเขาคุ้นเคยกับแผนของตัวเองเป็นอย่างดี รู้ดีว่าจะทำอะไรตอนไหน,ยังไง เพื่อรับมือกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะหมายรวมถึงการที่เขาต้องตัดขาดทุนออกจากสถานการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน แต่เพราะเข้าใจว่าการขาดทุนก็เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการเทรด แม้ขาดทุน-มันก็ไม่ได้ทำร้ายเขามากมายอะไร เนื่องจากเขามีระบบป้องกันความเสียหายที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนและวินัยมาแต่ต้น
พวกเขาให้ความใส่ใจต่อการไหลและพฤติกรรมของตลาดอย่างปราศจากอคติ โดยมีปฏิกริยาต่อการเปลี่ยนแปลงของมันตามธรรมชาติแบบที่มันเป็น ไม่ต่อต้านทวนกระแส แต่เป็นไปตามกระแสตลาด ซึ่งมันเป็นปฏิกริยาที่เกิดมาจากการวิจัย/ทำการบ้าน/วางแผนรับมือมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมันได้ระบุแนวทางตั้งรับที่เหมาะสมไว้แล้ว
พวกเขาไม่ได้ให้ความสนใจว่าตลาดจะทำยังไงต่อไป ไม่จำเป็นต้องรู้ เพราะเขาตระหนักชัดแล้วว่าตัวเองจะต้องตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของตลาดในแบบไหน และก็มั่นใจในความสามารถของตัวเองว่าจะตอบสนองได้ถูกต้อง
การลงมือปฏิบัติของพวกเขาเกิดจากความเข้าใจ รู้ชัดว่าตัวเองต้องการอะไรอย่างแท้จริง จึงมองหาและตั้งตารออย่างอดทนเพื่อให้ได้รับโอกาสที่ถูกต้องและเหมาะสม
ถ้าโอกาสนั้นปรากฎขึ้น, พวกเขาก็จะลงมืออย่างมั่นใจโดยปราศจากความลังเล จากนั้นก็รอ, อดทน และรอโอกาสที่ใช่ครั้งใหม่
พวกเขาไม่พยายามหลอกตัวเองว่าเป็น "คนถูกต้องเสมอ" เขามองราคาเคลื่อนไหวและหาข้อสรุปจากมัน เมื่อพฤติกรรมตลาดเปลี่ยนไป ก็ลงมือปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่วางไว้ เขายอมรับอย่างสุดใจว่าการเคลื่อนไหวของตลาดคือความจริงที่ไม่สามารถโต้แย้งได้(ตลาดไม่เคยผิด) จึงไม่คิดที่จะเอาชนะตลาดหรือคาดเดาตลาด
พววกเขามีการมองโลกจากภายนอกตัว, เป็นโค้ชของตัวเอง, หมั่นถามตัวเอง, และคอยตอบคำถามด้วยเหตุผลที่ปราศจากการเข้าข้างสนับสนุนตามสิ่งที่เขาตั้งตารอ, อะไรก็ตามที่ได้ลงมือทำ ก็รู้ตัวเอง อยู่ในปัจจุบัน มั่นคงกับสิ่งที่ตัวเองกำลังโฟกัส มีสมาธิ
พวกเขาไม่ได้ตื่นเต้นกับการเทรดที่ได้กำไร และก็ไม่หดหู่ถ้าขาดทุน เขายอมรับว่าราคาก็เคลื่อนไหวเป็นไปตามครรลองของมัน บังคับมันไม่ได้ ต้องยอมรับมันและใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด
ในระยะนี้เองที่เกิด "สภาวะหยั่งรู้" ปรากฎขึ้นมาเอง แต่ก็เกิดไม่บ่อยนั พวกเขาต้องพยายามทดสอบความแม่นยำนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากความรู้สึกพิเศษนั้น
ในตอนท้ายของวัน พวกเขาก็ใช้เวลาในการทบทวนผลงานของตัวเอง วิเคราะห์สภาพจิตและการกระทำเพื่อหาแนวทางปรับปรุงให้ดีขึ้น และก็ใช้เวลาจากนั้นเพื่อเตรียมตัววางแผนรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในวันถัดไปเพื่อที่จะให้การเทรดของตัวเองเกิดความราบรื่น
ความรู้ที่เขามีอยู่กับตัว เกิดจากการค้นคว้า วิจัย ว่า price pattern หรือพฤติกรรมราคาได้เปิดโอกาสให้เขาสามารถคาดการณ์โอกาสและความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง อันจะทำให้เขาสามารถทำกำไรจากมันได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว