การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

ความกลัว 4 ประเภทของเทรดเดอร์


4 Trading Fears and How to Overcome Them
แปลจาก moneyshow.com

สำหรับในโลกของการเทรด, ไม่ว่าจะเป็น นักเทรด, นักลงทุน, คนทำราคา มักจะมีความกลัวอยู่ในใจไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะมาจากการอ่านข่าว สภาพตลาดที่เจอการขายหนักๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความกลัวขึ้นมาในใจของพวกเรา



แต่กุญแจไปสู่ความสำเร็จ, ให้ได้กำไรอย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆตลาด ทุกการเทรด เราต้องกล้าเผชิญหน้ากับความกลัว แม้จะเทรดด้วยความกลัวก็ต้องกล้าทำ ซึ่งถ้าอยากให้การเทรดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่มืออาชีพเขาทำกันก็คือ เตรียมตัวเพื่อรับมือกับความกลัว ไม่ใช่หลบหนีไปให้ไกล

Mark Douglas ผู้เขียนหนังสือ Trading in the zone ได้ระบุความเห็นเกี่ยวกับความกลัวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า "นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าพวกเขารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ตรงนี้แหละที่มันเป็นสาเหตุให้พวกเขากล้าทุ่มกับการเทรดครั้งล่าสุดเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองถูก
ในขณะเดียวกันนั้น พวกเขาก็มองข้ามการประเมินประสิทธิผลของตัวเองผ่านรูปแบบของเกมของความน่าจะเป็น(คือเชื่อว่าตัวเองต้องชนะ โดยไม่ได้เผื่อใจว่าอะไนก็เกิดขึ้นได้) ซึ่งพวกเขาทำมาโดยตลอดแท้ๆ เมื่อพวกเขาไม่อยู่ในเกมที่ควรจะเป็น หากเกิดความผิดพลาดไปจากที่คาดหวังไว้ มันก็จะทำให้พวกเขาตัดสินใจด้วยอารมณ์(เพราะทุ่มเยอะ คาดหวังสูงเกินไป) ผสมไปด้วยความกลัว แต่ถ้าพวกเขาชนะ ก็จะสร้างความโลภให้พวกเขาอยากได้มากขึ้น

เมื่อพวกเขาได้ทุ่มเงินมากขึ้น สภาพจิตที่ใช้มองกระบวนการเทรดและการตามความเคลื่อนไหวของราคาจะเปลี่ยนไป ระดับของความกลัวจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ เกิดความลังเลและระมัดระวังมากขึ้น  ความกดดันก็เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเองต้องเกิดความผิดพลาด

อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่า เทรดเดอร์ทุกคนล้วนมีความกลัว เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย, โดยปกติแล้วสัญชาติญาณตอบโต้คือ สู้ หรือไม่ก็ หนี ซึ่งถ้าหากเรามีการเตรียมตัวที่ดี ก็สามารถรับมือกับการคุกคามนั้นว่าจะเลือกสู้หรือหนีจากอันตรายนั้น

เมื่อนักเทรดตีความสถานะที่กำลังปลุกเร้าอารมณ์ในเชิงลบ เช่น กลัว หรือ เครียด ประสิทธิภาพของการทำงานจะลดลงทันที และในที่สุดมันก็จะส่งผลให้เกิดการชะงักหรือสตันท์ไปชั่วขณะ

ความหวาดกลัวในการเทรด มีอยู่ ๔ เรื่องใหญ่ๆ เดี๋ยวเรามาดูและหาทางแก้ไขไปด้วยกัน

๑) กลัวขาดทุน
ถ้าเกิดความกลัวขาดทุนขึ้นแล้ว มันจะส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายอย่าง หากคุณกลัวขาดทุนก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความลังเลในการลงมือกระทำตามกลยุทธ์ที่ตัวเองได้วางไว้ ในที่สุดมันก็จะผลักดันให้คุณไม่กล้าเข้าซื้อหรือขายออกตามแผน ซึ่งมันเกิดจากความไม่มั่นใจในกลยุทธ์, หรือที่สำคัญกว่านั้นคือความสามารถในหารตัดสินใจลงมือทำตามแผนในอนาคตจะไม่มั่นคงเหมือนเดิมอีกต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองจะยังสามารถขายหุ้นออกเมื่อราคาวิ่งไปถึงโซนที่กำนดไว้ในแผนได้หรือไม่, แต่ในขณะเดียวกัน-กลไกการปกป้องตัวเองมันกลับแย้งว่าคุณไม่ควรทำตาม ช่วงนี้แหละที่จะทำให้คุณเกิดอาการชะงักชั่วขณะ ส่งผลให้ไม่สามารถลงมือทำได้ทันท่วงที สิ่งที่จะตามมาก็คือความเสียหายที่รุนแรงมากกว่าเดิม

ทำไมกลไกการป้องกันตัว มันออกโรงมาขัดขวางการขายหุ้นออกเพื่อลดความสูญเสีย? นั่นเป็นเพราะว่ามันรู้สึกว่า ไม่อาจทนรับความเจ็บปวดจากการขาดทุนครั้งนี้ได้ จึงอยากจะประวิงเวลาให้ยอมทนขาดทุนไปก่อน โดยคาดหวังว่าในอนาคตราคาจะดีดกลับไปคืนทุนแล้วค่อยขาย

ไม่มีใครชอบการขาดทุน แต่ความจริงก็คือ แม้แต่มืออาชีพที่เก่งที่สุดก็ยังขาดทุน แต่ที่พวกเขายังสามารถยืนหยัดในตลาด ทำเงินได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะเขารีบตัดขาดทุนให้ไวที่สุด ทำให้เกิดการสูญเสียน้อยมาก ซึ่งมันจะช่วยให้เงินทุนของพวกเขายังอยู่ สภาพจิตก็ยังสมบูรณ์ สามารถอยู่ในเกมได้ยาวนาน

คือนักเทคนิคอลอย่างพวกเรา มักจะโฟกัสไปที่จังหวะการเข้าซื้อที่ดี เราต้องการเป็น market timer แต่ปัญหาคือความรู้ในเชิงการระบุจังหวะมันไม่พอ ถ้าหากคุณไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจของตัวเองไม่ให้กลัวขาดทุนได้ ดังนั้นมันจึงต้องอาศัยประสบการณ์จากการเรียนรู้ เมื่อคุณมีทั้งความสามารถในการจับจังหวะตลาดได้โดยปราศจากความกลัวได้ ผลการเทรดของคุณก็จะดีขึ้นแน่นอน

ดังนั้น ถ้าคุณพบว่าตัวเองมีปัญหาในการลงมือทำตามแผน ก็ให้กลับมาทบทวนตัวเองดูอีกทีว่า คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการเทรดมากเกินกว่าการลงมือทำตามระบบหรือไม่

ด้วยการทำตามกลยุทธ์โดยปราศจากความรู้สึกได้ ไม่ว่าจะต้องซื้อหรือขาย คุณก็ทำตามได้แบบไม่มีข้อโต้แย้ง มันก็จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากความกลัวได้

นักเทรดผู้มั่งคั่งได้เรียนรู้มานานแล้วว่า การดำเนินการตามกลยุทธ์โดยปราศจากอารมณ์นั้น มันสามารถช่วยป้องกันการขาดทุนอันเกิดจากการใช้อารมณ์ในขณะเทรดได้ เพราะเขารู้กว่ากลยุทธ์มันใช้การได้ดีอยู่แล้ว พวกเขาก็แค่กันไม่ให้ความกลัวเข้ามารบกวนการเทรดของตัวเองเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

และต้องจำไว้ว่า คุณสามารถขาดทุนได้ พิจารณาให้มันเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ถ้าคุณไม่สามารถทำได้, คุณก็ไม่อาจได้กำไรก้อนใหญ่เนื่องจากคุณจะมัวกังวลแต่เรื่องของการตั้งการ์ดวิตกว่าตัวเองต้องขาดทุนอยู่ตลอดเวลา

และโปรดจำไว้ว่า กลยุทธ์การเทรดที่ดีต้องออกมาเพื่อป้องกันการขาดทุนเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว (คงไม่มีใครตั้งจุด stop loss ที่ 50% หรอกนะ ส่วนใหญ่ก็แค่ 5%-10% เท่านั้น) ท่านก็ต้องยอมรับว่าในทุกการเทรดล้วนแต่มีโกาสขาดทุน จงทำใจให้ชินกับมัน ขาดทุนก็ตัดขายตามระบบไป รักษาเงินก้อนใหญ่เอาไว้เทรดในโอกาสใหม่ต่อไป เมื่อทุกอย่างเป็นใจ คุณสามารถเกาะแนวโน้มรอบใหญ่ได้ เมื่อนั้นคุณก็สามารถทำเงินก้อนใหญ่มาคืนส่วนที่ต้องตัดขาดทุนเล็กๆน้อยๆได้หมด

๒) กลัวตกรถ(FOMO)
ทุกๆการเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้ม มักจะต้องมีคนระแวง ในช่วงที่แนวโน้มกำลังก่อตัวจนเริ่มมีความชัดเจ คนที่เคยระแวงก็เริ่มมีการเปลี่ยนใจกลับเข้ามาไล่ซื้อ(เกิดอาการ FOMO หรือ Fear of Missing Out) กลัวตกรถ กลัวไม่ได้กำไร หรือแม้กระทั่งกลัวเจ็บปวดจากการขาดทุนจากการเดิมพันกับแนวโน้มดังกล่าว

ความกลัวตกรถยังสามารถแสดงออกผ่านคาแร็คเตอร์ของความโลภที่แปลก นั่นคือ มันทำให้นักลงทุนที่ไม่เคยให้ความสนใจ ไม่เคยทำการวิเคราะห์ หรือทำการบ้านหุ้นตัวนั้นเลย มาให้ความสนใจและไล่ซื้ออย่างไม่น่าเชื่อ

โดยอาการ FOMO ที่เป็นกับนักลงทุนจำนวนมากโดยเฉพาะหน้าใหม่ก็มักจะเกิดในช่วงที่ตลาดอยู่ในช่วงฟองสบู่สุดขีด เนื่องจากพวกเขาได้ยินเพื่อนๆพูดถึงกำไรที่ได้มาหมาดๆ จึงทำให้คนนั้นต้องรีบตาลีตาเหลือกไล่ซื้อตาม เพื่อให้ตัวเองได้ประสบกับความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจแบบนั้นบ้าง

เมื่อใดก็ตามที่คุณตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ก็จงระลึกเอาไว้ว่านั่นเป็นสถานการณ์อันตรายมาก ยิ่งถ้าคุณพูดกับตัวเองว่า "อยากได้มาก ขอราคาเท่าไหร่ก็ได้ ฉันยอมจ่าย" แบบนี้ล่ะก็ แววขาดทุนหนักมันชัดเจนมาก

ผลกระทบของ FOMO คือมันทำให้ท่านไม่สนใจความเสี่ยงอีกต่อไป คุณโฟกัสไปที่กำไรเท่านั้น เมื่อคุณโอหังถึงขนาดคิดได้ว่าไม่มีเหตุผลที่คุณจะไม่ได้กำไร นั่นแหละครับ แววเจ๊งเด่นชัดเอามากๆ


๓) กลัวปล่อยกำไรให้กลายเป็นขาดทุน
ไม่น่าเชื่อว่านักเทรดส่วนมากชอบทำสิ่งที่ตรงข้ามกับการเทรดที่ถูกต้องคือ "รีบตัดขาดทุนให้ไว  และ ปล่อยตัวกำไรให้เติบโต" โดยพวกเขากลับชอบ "รีบขายตัวที่กำไร ปล่อยให้ขาดทุนลุกลาม"

ทำไมมันเป็นเช่นนั้น? เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับความรู้สึกมากกว่ามูลค่าน่ะสิ พูดง่ายคือการที่เขารีบขายตัวที่กำไรออกก็เพราะว่าต้องการรับประกันว่าตัวเองเป็นผู้ชนะบ้าง

พอจะมีวิธีแก้บ้างมั้ย?
คุณต้องเทรดตามแนวโน้มสิ เมื่อได้หุ้นที่มีแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเทรนด์ คุณก็ทนรวยต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าแนวโน้มมันจบแล้ว จึงค่อยขายออก

แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า แนวคิดนี้ไม่ได้การันตีว่าคุณจะกำไรทุกครั้งหรอกนะ มันก็มีสัญญาณผิดพลาดในช่วงที่เราคิดว่ามันเป็นต้นเทรนด์แล้วเข้าซื้อตามระบบ แต่เมื่อมันเป็นสัญญาณหลอก ท่านก็แค่ขายออกมา ให้ขาดทุนน้อยที่สุด

นั่นหมายความว่า การเทรดแนวนี้มันมีทั้งสำเร็จและล้มเหลวปะปนกัน แต่ถ้าท่านเจอหุ้นที่เป็นขาขึ้นแข็งแรงจริง ท่านก็จะได้กินกำไรคำใหญ่(หากท่านสนใจแนวทางนี้ สามารถซื้อหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ กับ หุ้นซิ่งสวิงเทรด มาอ่านได้ครับ ติดต่อเพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks) แต่เนื่องจากเราก็ไม่รู้ว่าตัวไหมันจะขึ้นจริงหรือแค่หลอก(เราเดาอนาคตไม่ได้) ก็ต้องเทรดทุกตัวที่คิดว่าน่าจะใช่ แล้วค่อยๆคัดตัวที่ล้มเหลวออก

ในการเทรดแนวทางนี้, คุณต้องอนุญาติและยอมรับว่ามันต้องมีการพักตัวในช่วงสั้นๆ เพราะเป้าหมายของเราคือหวังกำไรก้อนใหญ่ ตราบใดที่มันยังแกว่งในแนวโน้มขาขึ้นก็ต้องทนถือต่อไปเรื่อยๆ เราจะไม่พยายามรีบขายไวจนเกินไป แต่จะรอให้มันแสดงออกว่าไปไม่ไหวจึงขายออก

ด้วยวิธีนี้ เราจะได้ผลประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาอย่างเป็นกอบเป็นกำตามที่ตลาดเขามอบให้ และเราก็ไม่ต้องไปมัวกังวลกับการที่ต้องคอยล็อกกำไร รอขายครั้งเดียวเมื่อตลาดส่งสัญญาณว่าไปต่อไม่ได้อีก

๔) กลัวเป็นคนผิด
มีนักเทรดจำนวนมากที่ให้ความสำคัญต่อการพิสูจน์ว่าตัวเองวิเคราะห์ตลาดได้ถูกต้องในทุกๆการเทรด ซึ่งมันเป็นสิ่งตรงข้ามกับการเทรดที่แท้จริง เพราะมันคือการซื้อขายในเกมของความน่าจะเป็น โดยผลของการเทรดจะมีทั้งถูกและผิด กำไรและขาดทุนปะปนกันไป

การให้ความปรารถนาที่จะเป็นฝ่ายถูกมีอำนาจเหนือความต้องการทำเงินถือเป็นอีโก้ของเทรดเดอร์คนนั้น ซึ่งผลของการคิดแบบนี้มักจะต้องลงเอยด้วยการขาดทุนเงินก้อนใหญ่
ถ้าหากท่านอยากประสบความสำเร็จในการเทรด ก็ต้องละทิ้งอีโก้ไว้ข้างหลังเสีย

อีโก้จะทำให้คุณรีบขายไวเกินไปเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นผู้ชนะ แต่จะไม่ยอมขายขาดทุน ยอมทนรอให้ราคากลับขึ้นมาเท่าทุนก่อนค่อยขายออก

เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามทำให้ตัวเองสมบูรณ์แบบในธุรกิจการเทรด คุณจะต้องเผชิญกับความเครียดอย่างเหลือประมาณ และในที่สุดมันต้องมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

อีโก้มีหน้าที่ปกป้องความรู้สึกของคุณเอง แต่มันใช้ไม่ได้ในโลกของการเทรดแม้แต่นิดเดียว

หากคุณเอาความเชื่อในเรื่องของความสมบูรณ์แบบมาใช้ร่วมกับการเทรดแล้ว คุณได้ตั้งเวลาขาดทุนให้กับตัวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ เพราะคุณจะไม่ยอมเป็นฝ่ายผิด หรือไม่ยอมรับว่าตัวเองขาดทุน จึงไม่ขายไม่ขาดทุน ทนดูยอดขาดทุนที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่ยอมทำอะไรเลย เพราะไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ

ในโลกของการเป็นนักเทรด คุณไม่สามารถเป็นมิสเตอร์เพอร์เฟคท์ได้หรอก ถ้าไม่รีบยอมรับความตัวเองเป็นฝ่ายผิด ไม่รีบตัดขาดทุนตั้งแต่มันยังเสียหายน้อย ยิ่งปล่อยไว้ก็ยิ่งลุกลาม ในที่สุดพอร์ตก็จะพังทลายจนแทบไม่เหลือชิ้นดี

วัตถุประสงค์ของความเป็นเลิศในอาชีพเทรดเดอร์ - ไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบหรอก คุณควรที่จะมุ่งมั่นเป็นเลิศในความยั่งยืนระยะยาวมากกว่าการต้องนั่งจ้องพิสูจน์ตัวเองว่าต้องเทรดชนะทุกตา

สรุป
ในฐานะที่เราเป็นนักเทรด คุณต้องเปลี่ยนจากจิตใจที่เต็มไปด้วยความรู้สึกกลัวให้เป็นจิตใจที่เปี่ยใไปด้วยความมั่นใจ คุณจำเป็นต้องเชื่อมั่นในความสามารถลงมือทำตามระบบในทุกๆการเทรดโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาวะ/อารมณ์ตลาดในช่วงนั้น(ซึ่งมักจะขัดแย้งกับระบบการเทรดของคุณเสมอ)

จงตระหนักรู้ว่า ถ้าคุณมีความมั่นใจมันก็จะส่งผลให้ผลงานการเทรดของคุณดีขึ้นตาม นอกจากนี้มันยังช่วยให้คุณไม่สะทกสะท้านกับการจำต้องตัดขาดทุนก้อนเล็กๆ เพื่อที่จะรักษาเงินต้นเอาไปเริ่มต้นกับโอกาสที่ดีครั้งใหม่

ในทางจิตวิทยานั้น ความกลัวมันกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักเทรดเลิกล้มความตั้งใจกลางคัน  ทั้งๆที่ความสามารถในการทำกำไรของหุ้นตัวนั้นยังดีอยู่ มีแนวโน้มไปต่อได้อีกแท้ๆ

นักเทรดจำนวนมากมักจะมีความคิดในแบบ "ถ้าไม่ได้ก็เสียไปทั้งหมด(all-ar-nothing)" เนื่องจากพวกเขาปรารถนาที่จะเป็นคนรวยให้ไวหรือไม่ก็หมดตัวไปเลย ถ้าคุณไม่อยากเป็นแบบนั้นก็จงทำตัวให้ตรงกันข้าม ด้วยการมองภาพในระยะยาว อย่าเพิ่งอยากรวยด่วน

ให้คุณมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการตามกลยุทธ์ของตนเอง , ขณะเดียวกันก็คอยจัดการกับความกลัว, ไม่เลิกล้มความตั้งใจง่ายๆแม้จะต้องเจอการขาดทุน ท่านจะเป็นผู้ชนะได้เมื่อสามารถสยบความกลัวทั้งสี่อย่างที่ว่ามาแล้วข้างต้น, สร้างความมั่นใจในกลยุทธ์ของตน และในที่สุดคุณก็จะเป็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จได้ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ