ช่วงนี้ SET ร่วงแรงและต่อเนื่อง ทำให้บรรยากาศการลงทุนเกิดความอึมครึม ความกลัว เข้ามาปกคลุมในใจของนักลงทุนทุกหมู่เหล่า หุ้นในตลาดส่วนใหญ่จึงร่วงแรงตามดัชนีแบบกลัวน้อยหน้า
เมื่อพี่ใหญ่ออกอาการเป๋แบบนี้ ลูกน้องที่ภักดีจะทำอย่างไรได้ ก็ต้องทำท่าทางเลียนแบบให้เหมือนที่สุด แต่กระนั้น, ก็ยังมีสมาชิกจำนวนหนึ่ง ไม่นึกสนุกที่จะต้องทำตัวง่อยเปลี้ยเสียขาแบบ SET ให้ดูทุเรศ พวกเขาแสดงความอึด อดกลั้น ยืนหยัดต่อสู่กับแรงขาย จนยืนนิ่งเฉยได้ หนำซ้ำบางตัวห้าวจัด ก็ดีดแรงสร้างความคึกคัก สวนความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ได้แบบท้าทายอำนาจ SET
"ฝรั่งใช่พ่อกรูซะเมื่อไหร่" พวกเขาอาจจะคิดในทำนองนี้......
ว่างๆหลังจากบันทึกการเทรดผมเลยลองสแกนหุ้นแข็งกว่าตลาดตามสูตรที่เคยเขียนไว้ในหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" บทที่ 5 ชื่อ Market Leader ที่ใช้หลักคัดหุ้นแกร่งจากการเทียบกราฟของมันกับ SET
ซึ่งมันละม้ายกับตอนที่เขียนต้นฉบับในตอนนั้นมาก เพราะ SET ก็ร่วงแรงเช่นกัน
ในสภาวะที่ดัชนีร่วงหนักเหมือนซาอุโดนรัสเซียระเบิดถงขี้ซะ 5-0 แบบนี้ มันก็ไม่ได้มีหุ้นทุกตัวที่เห็นด้วยกับการร่วงของ SET เสมอไปนะครับ ยังมีหุ้นผู้กล้าที่สามารถยืนแข็งกว่าดัชนีได้หลายตัวเลย ดังนี้
ปล. ในกราฟนี้ ผมขอใช้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน(สีฟ้า) กับ 100 วัน(สีขาว) เท่านั้นนะครับ
แต่ก่อนอื่นดูสภาพ SET ก่อนนะ ไว้เป็นอ้างอิง
ท่านจะเห็นว่าแท่งเทียนของ SET วิ่งอยู่ใต้ EMA10 ที่เฉียงลง ด้วยความชันที่แข็งแรง แม้จะไม่ได้ลลงพรวดๆ แต่ก็เด้งแล้วย่อลงไปทำนิวโลว์ได้อย่างต่อเนื่อง เส้น EMA100 ก็หักหัวลงด้วย
แบบนี้น่าเป็นห่วงครับ
ถ้าคุณมีหุ้นที่อ่อนแอตามดัชนี และคุณเป็นขา long
แต่ขา short คงร่าเริงกันไป
(ไม่รู้ใช่หรือเปล่านะ ผมไม่ได้เล่นสองขา ผมยังเล่นแบบเดิมๆอยู่ คือง่ายๆโง่ๆ)
กลับมาที่หุ้นแข็งกว่าตลาด หรือหุ้นนำตลาดในช่วงนี้บ้าง มีตัวไหนที่โดดเด่นเข้าตาผมบ้าง
ก็ไม่ได้เชียร์นะ เอามาให้ดูเฉยๆ เป็น fact ท่านต้องไปวางแผนเอาเองว่าจะเล่นยังไง
ขอเรียงตามตัวอักษรนะ
โคตรแกร่ง
โคตรแข็ง ไปกินอะไรมาครับพี่ราคาวิ่งเหนือ EMA10 ที่เฉียงชันขึ้น EMA100 ก็ยกเฉียงขึ้นด้วย เรียกว่าตรงข้ามกับ SET แบบหน้ามือกับหลังเท้า หุ้นกลุ่มนี้ demand มีกำลังกล้าแข็งกว่า supply เด็ดขาด
(ควรระวังให้ดีนะตัวนี้ น่ากลัวกำลังของ supply)
(ควรระวังให้ดีนะตัวนี้ supply เริ่มโหด)
(ควรระวังให้ดีนะตัวนี้ สัญญาณ distribution แรงมาก)
ยังแข็ง แต่ไม่แกร่งมาก
sideway ในขาขึ้น พวกนี้จับจังหวะยาก คือแกว่งนัวเนียกับ EMA10 แต่ก็ยังยกโลว์ และยืนเหนือ EMA100 ที่เฉียงชันขึ้น พูดง่ายๆว่า demand มีมากกว่า supply แต่ก็ไม่เด็ดขาด
หยุด/รอเลือกทาง
พวกนี้เป็นหุ้นที่ไม่ขึ้นตาม ไม่ลงตาม แต่เลือก sideway แกว่งออกข้างในกรอบ เหมือนหยุดรอจังหวะ SET เนื่อจาก supply น้อย(คนไม่ค่อยอยากขาย) หรือ มี demand มายันเอาไว้
คือจะขึ้นต่อก็ได้หาก SET กลับมาดี แต่โอกาสลงก็ยังมีเช่นกัน 50-50
แข็งนอก อ่อนใน
ยังเป็นแนวโน้มขาขึ้น แต่หมดโมเมนตัมกระทิงคึกไปแล้ว พวกนี้ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจาก supply มีกำลังที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ก็มาจากความกลัวตาม SET นั่นแหละครับ
เท่าที่สูตรของผมจะสแกนเจอก็มีเท่านี้ครับ แต่ถ้าท่านลองเช็คด้วยสูตรของท่านเอง ก็อาจจะได้เยอะกว่านี้ก็ได้นะ สูตรใครสูตรมัน ซึ่งถ้าใครสแกนเป็นแล้ว ก็คงไม่ต้องบอกแนวทางการเล่นกันอีก เพราะน่าจะรู้วิธีการเข้าทำกันอยู่แล้ว
อีกอย่างนะครับ ถ้าเห็นหุ้นที่วิ่งแรงๆ แท่งเขียวยาวอย่าไปหลงตามซื้อนะครับ เพราะโอกาสที่คุณจะติดดอยสูงมาก มันคืออาการ
FOMO ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้
อีกอย่างมันมีความน่าจะเป็นที่ราคาได้เข้าสู่โซน
Excess phase สูงครับ
Excess phase คือระยะฟองสบู่ครับ เป็นช่วงท้ายของการไล่ราคา ซึ่งเป็นช่วง "
ปล่อยของ" โดยคนทำราคาหรือไม่ก็รายใหญ่ และเทรดเดอร์ผู้ช่ำชองครับ
เรื่องนี้ ผมก็ได้เขียนไว้ในหนังสือ "
หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" บทที่ 10 Selling into strenght
ซึ่งในเล่มจะมีทั้งทฤษฏีและเคสให้ท่านดูพอสมควรเลย
จากการทำการบ้าน เช็คย้อนหลัง เก็บประวัติหุ้นที่วิ่งแรงๆ จำนวนหนึ่ง ก็พบว่าหุ้นที่ดีดเขียวยาวต่อเนื่อง แล้วเจอแท่งแดงยาวสวนกลับลงมาแบบมีนัยยะ (ประเภท bearish engulfing) มันมีความน่าจะเป็นที่ราคาได้เข้าสู่ excess phase แล้ว ก็ให้ท่านระวังตัวเตรียมขาย ไม่ใช่ไล่ซื้อนะครับ เพราะโอกาสเสียหายที่เกิดจากการขายอย่างรุนแรงมีสูงกว่าราคาวิ่งต่อให้ท่านกำไรครับ
กลับมาที่ประเด็นกราฟหุ้นแข็งกว่าตลาดอีกครั้ง ถ้าใครยังไม่มีแนวทางของตัวเอง
ก็บอกท่านดักไว้ก่อนเลยว่า กราฟที่ลิสต์ให้มาดูทั้งหมดนี้เป็นแค่ data หรือข้อมูลเท่านั้นนะครับ
ไม่ใช่ว่าคุณจะซื้อได้เลย หากซื้อไม่คิดแบบแทงหวย โอกาสซวยมากกว่าโชคครับ
คุณต้องทำการบ้านต่อว่า
๑) จะซื้อตรงใหน ราคาไหนที่ฉันจะได้เปรียบที่สุด? โดยใช้ความรู้เรื่องสัญญาณต้นเทรนด์ขาขึ้น เช่น breakaway gap, price pattern breakout ในรูปแบบตามที่เขียนไว้ใน
บทที่ 6 : Buying Strength = Price Pattern
บทที่ 7 : Buying Strength = Breakout & Gap
บทที่ 8 : Buying Weakness
(ถ้าท่านมีตำราอยู่ในมือ ก็ลองกลับไปพลิกอ่านดูได้ครับ)
๒) จะซื้อเมื่อไหร่?
๓) จะขายตรงไหน? อย่างน้อยที่สุดท่านต้องรู้ว่าถ้าราคาวิ่งสวนทาง ทำให้ท่านขาดทุน ต้องขายที่ราคาเท่าไหร่? ภายใต้เงื่อนไขที่ท่านเสียหายน้อยที่สุดตาม limit loss ที่ตั้งเอาไว้
๔) จะซื้อเท่าไหร่? กี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต แนะนำว่าอย่าเกิน 20% ของพอร์ตเลย
๕) อย่าเพิ่งสนใจกำไร แต่จงโฟกัสไปที่การป้องกันไม่ให้ขาดทุนก่อนเสมอ
แถม ๖) ให้ความสำคัญกับพื้นฐานความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้นๆด้วยครับ หากมันมีพื้นฐานความสามารถในการทำกำไรที่ดี แถมทรงของกราฟก็เป็นขาขึ้นด้วย = เยี่ยมยอด
แต่ถ้าบริษัทนั้น ทำธุรกิจที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันเลย หนำซ้ำเรื่องธรรมาภิบาลก็ยังไม่น่าไส้ใจ ทางที่ดีก็เล่นใหน้อยครับ อย่าไปร่วมหัวจมท้ายกับบริษัทพวกนี้เลยครับ ได้ไม่คุ้มเสียหรอก
อีกอย่างนะครับ, หุ้นที่เป็นขาขึ้น ใช่ว่าจะขึ้นต่อขึ้นไปได้ตลอดนะครับ มันต้องมีพักมีย่อ หรือบางตัวก็พีคแล้วจบรอบก็มี
ดังนั้น หากคุณเข้าผิดจังหวะ คุณก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้คุณต้องวางแผนจุดซื้อที่ได้เปรียบ แต่ทางที่ดี ถ้าไม่มั่นใจ สภาวะตลาดแบบนี้อยู่เฉยๆจะดีที่สุด
โอกาสมีมาให้คุณเสมอ แค่คุณมีเงินลงทุน ไม่ต้องรีบรวยหรอกครับ เน้นเอาเฉพาะที่หุ้นที่มีความน่าจะเป็นที่คุณมีโอกาสชนะมากกว่าแพ้ไว้ก่อน แต่ก็อย่าไปเชื่อมั่นกับหุ้นที่เราเลือกมากไปจนเกิดอาการ overconfidence เพราะตลาดหุ้นเกิดอะไรขึ้นก็ได้ ผืดทางหนีก่อน เก็บสิ่งสำคัญที่สุดของอาชีพเทรดเดอร์เอาไว้ก่อน นั่นคือ "เงินต้น" ของคุณครับ
มีเวลาสองวัน ลองเอาไปทำการบ้านต่อครับ
-------------------------------------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดย
หนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด