มนุษย์ชอบการเล่าเรื่อง
มันเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชอบดูลิเก เราชอบฟังนิทาน ชอบอ่านนิยาย ชอบดูละคร ชอบดูหนัง ล่าสุดก็มีหนังกับละครที่เป็นปรากฏการณ์อย่าง Avengers: Infinity War กับบุพเพสันนิวาส
บ่งบอกชัดว่า เรายังให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่องเสมอ แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็เต็มใจให้หลอก เพื่อพาตัวเองหลีกหนี(escape)ความจำเจของ life style
ขอให้มีการเล่าเรื่องที่สมเหตุสมผล การ production ที่สมจริง เราก็พร้อมและยอมเสียเงิน/เวลาไปเสพ
สรุปคือ อะไรที่มันมีสตอรี่ มีความน่าเชื่อถือ จึงมักจะขายได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในตลาดหุ้น
บริษัท ก. มีโปรเจกต์ทำแบตเตอรี่ พลังงานแห่งอนาคต ซื้อเลย เป้า 110 บาท
บริษัท ข. ราคพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ล่าสุด ร่วมมือกับบริษัท ค. ซื้อโรงไฟฟ้า ซื้อเลย เป้า 2 บาท
บริษัท ง. ราคาต่ำกว่ามูลค่า เพราะมีที่ดินยังไม่ได้ประเมินราคาใหม่ ซื้อดักไว้เลย เป้า 5 บาท
บริษัท จ. ราคาลงมาถึงจุดต่ำสุดแล้ว ไม่มีทางลงต่ำกว่านี้ได้อีก ซื้อทิ้งไว้เลย มีแต่กำไร
บริษัท ฉ. เสี่ย ซ. แอบดอดซื้อ pp ราคาต่ำ หวังพลิกฟื้นธุรกิจเครื่องสำอาง
ฯลฯ
นี่เป็นเรื่องราว เป็นพล็อตซ้ำๆที่เราเห็นผ่านตาตลอด เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์เชียร์หุ้น
เรามักจะติดกับดักใยแมงมุมดักกินตังค์ของนักเชียร์หุ้นเสมอ
แต่ทำไมมันถึงยังใช้การได้เสมอ แม้ตลาดหุ้นบ้านเราจะดำเนินการมาแล้วนับครึ่งอายุคน
เพราะเขารู้ว่าเราชอบสตอรี่ เรื่องราวที่คิดไปเองว่าเรารู้ก่อนใคร ทั้งที่แท้จริงแล้ว กว่าเรื่องจะออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ มันถูกตัดต่อมาแล้ว ไม่รู้กี่เวอร์ชั่น
ซึ่งบ่อยครั้งมันเปลี่ยนแค่ชื่อตัวละครเท่านั้นเอง ก็ขายได้อย่างถล่มทลาย
(แนะนำให้อ่านบทความ วิธีการตีความข่าวหนังสือพิมพ์หุ้น เพื่อให้ได้ไอเดียที่มากขึ้น)
โลกนี้คือละคร คนเก่าคนแก่เคยว่ากันไว้
ชีวิตเราๆ แต่ละคน, มันเหมือนมีใครบางคนเขียนบทเอาไว้
ผมก็แอบคิดไปเองว่า ราคาหุ้น ก็น่าจะมีใครบางคน "เขียนบท" เอาไว้แล้วเช่นกัน
เหตุผลคือ ผมไปเจอชาร์ท การวางพล็อต (plot diagram) ก็ยิ่งสนับสนุนไปใหญ่
เทียบกับชาร์ทนี้
แทบไม่ต่างกันเลยนะ
ถ้ามองว่าราคาหุ้นมันเป็นเกมที่ถูกเขียนบทโดย Market Maker ล่ะ มันจะเป็นยังไง?
ก็น่าจะออกมาในทางเดียวกันเลยครับ
Explosion = Stage 1 = สะสม
Explosion ในทางการเขียนคือ ช่วงแนะนำตัวละครครับ นิสัย สิ่งแวดล้อมของพวกเขา
สำหรับหุ้น, ตอนสะสมก็จะเงียบๆ มีกระตุกเรียกแขกเป็นระยะๆเพื่อเรียกแขกให้สนใจ แต่ก็ยังไม่ไปไหนหรอก อารมณ์ประมาณแนะนำตัวละครนะ ว่าหุ้นตัวนี้มันยังมีตัวตนอยู่นะ มาสนใจฉันหน่อย
Rising Action = Stage 2 = ขาขึ้น
Rising Action ก็คือ เหตุการณ์ที่ทำให้พวกเราตื่นเต้นกับสิ่งที่ตัวเอกเจอ ช่วงนี้ผู้เขียนจะหาอุปสรรคต่างๆนาๆมาให้ตัวเอกเจอ ทำให้กดดัน ให้เราลุ้น เอาใจช่วย เหมือนจะแพ้ แต่ไม่แพ้ แก้ปัญหาไปได้ทีละเปลาะๆ โดยอุปสรรคที่คนเขียนบทใส่มานั้น มันจะเริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ
ในทางของการทำราคา, เขาก็จะไล่ราคาให้ทะลุกรอบขึ้นไป และแน่นอนจากนั้น,พระเอกก็ต้องเจออุปสรรค โดนกีดกัน เข้าใจผิด ราคาจึงวิ่ง-ย่อ นิวไฮ-พูลแบ็ค ยกไฮยกโลว์ ไปเรื่อยๆ ช่วงนี้จะมีข่าวลือ แว่วออกมาเป็นระยะ
Climax
ทุกอย่างมาพีคเอาตอนนี้ คนเขียนจะสร้างฉากประทับใจแบบมิรู้ลืม หรือไม่ก็หักมุมให้สะดุ้ง
ในทางของการทำราคาหุ้น, ก็มีการเก็งกำไร จากข่าวดีจากสื่อหลัก จึงไล่ราคากันแบบสุดขีด ราคาวิ่งขึ้นแบบไม่ย่อเลย บวกแรง ใครๆก็รู้จักชื่อหุ้นตัวนี้กันหมด เพราะติด top gainer
Falling Action = Stage 4 = ขาลง หรือ ทุบ
Falling Action เป็นช่วงเฉลย หรือคลี่คลาย ให้คนดูเข้าใจ หรือปูทางเพื่อรอจบ
ส่วนทางหุ้น, หลังจาก climax ราคาก็จะโดนเทขายแบบงงๆ เพราะข่าวดียังมีอยู่
Resolution = เฉลย
และจะมาเฉลยเมื่อราคาลงจนนิ่งแล้วนั่นเองครับ
ในละครหรือหนังก็เป็นการนำเสนอบรรยากาศ happy ending นั่นเอง
เราได้ประโยชน์อะไรจากแนวคิดนี้?
๑) รู้ว่าข่าวน่ะ มาช้าเสมอ บ่อยครั้งที่มีข่าวดี แต่ราคาร่วง
และบ่อยครั้งที่ราคาวิ่งทั้งๆที่ไม่มีข่าวอะไรเลย
๒) ช่วงขาขึ้นน่ะ ราคาไม่วิ่งพรวดเดียวหรอก มันเด้ง มันย่อ ยกไฮยกโลว์ไปเรื่อย
เพราะตัวเอกต้องเจออุปสรรคหลายด่านทดสอบ
๓) หน้าที่เราคือพยายามหาช่วงเปลี่ยนเป็นขาขึ้นให้เจอ แล้วทนถือไปให้นานที่สุดตราบใดที่มันยังยกไฮยกโลว์ เป็นขาขึ้น อาจะใช้ตัวช่วยเป็นเส้นค่าเฉลี่ย หรือ trend line เพื่อเป็นตัวกำหนดกรอบการขึ้น เพื่อให้ดูง่ายขึ้น
๔) ที่สำคัญคือ อย่าหลงระเริง เคลิ้มไปกับการดำเนินเรื่องโดยเด็ดขาด พยายามสังเกตการดคลื่อนไหวของราคา เพื่อจจับสัญญาณการทำ climax run หรือ การอ่อนแอก่อนจบรอบ (ซึ่งได้ว่าไว้ในหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ครับ) เพื่อที่จะหาจังหวะขาย ก่อนที่ราคาจะร่วงแรงกลับลงไปทำให้เราขาดทุน
The Market Discounts Everything : ที่ใดมีควัน ที่นั่นย่อมมีไฟ
“ในขณะที่นักลงทุนอีก 99% ใช้เวลาเวลาอันมีค่ารวบรวมบทความ,รายงาน
และข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหุ้นที่น่าสนใจทุกตัว,
แต่คุณสามารถรู้จิตวิทยาของมันได้ทั้งหมด-จากการดูกราฟเพียงสองวินาที
... เพราะกราฟมันฉายภาพรวมของเดือนหรือแม้ทั้งปีที่ผ่านมา
ก่อนที่ “สตอรี่” ทางพื้นฐานจะปรากฎให้เห็น”
Jessie Stine
สิ่งที่พี่ Stine เอ่ยไว้นี่แหละครับคือการอธิบายความหมายของคำว่า
The Market Discounts Everything หรือ “ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดไปหมดแล้ว”
คือผมเห็นด้วยกับสิ่งที่พี่เค้าพูดอย่างสุดใจนะ เพราะผมเชื่อว่าคนในตลาดนั้นมีข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นตัวหนึ่งๆ
นั้นแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ตั้งแต่รู้ลึกมากคือ insider จนถึง ไม่รู้อะไรเลย คือ แมงเม่า
ด้วยความที่ตลาดหุ้นคือเกมส์ที่ถูกสร้างเพื่อกินเงินของคนอื่น คือหากใครคนหนึ่งกำไร
-ก็ต้องมีอีกคนขาดทุน ดังนั้น-คนที่มีสายป่านยาว ทั้งกำลังเงิน+ข้อมูลเชิงลึก+เข้าใจจิตวิทยาตลาด
ก็มักจะเป็นผู้ชนะและได้เงินเสมอ
ราคาหรือดัชนีหลักทรัพย์ที่เราเห็นมันปิดในแต่ละวัน มันได้สะท้อนถึงข้อมูลข่าวสารทั้งหมด
ที่มาจากนักลงทุนแต่ละคน-ซึ่งมีไม่เท่ากัน แต่สุดท้ายก็มีอยู่ราคาหนึ่งที่ทั้งคนซื้อและคนขายเห็นว่า
ราคานี้เหมาะสมที่สุด อารมณ์เดียวกับตลาดประมูล
ครับ...ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เชื่อว่า “ตลาดไม่สมบูรณ์แบบ” มันมีความไม่ยุติธรรมอยู่ในนั้น
โดยเฉพาะเรื่องของข่าวสาร
ขนาดเสี่ยยักษ์ ก็ยังเคยกล่าวไว้ในหนังสือ “กูรูหุ้นพันล้าน” ว่า
“เทคนิเคิลไม่เคยหลอก ปฏิวัติเนี่ยะนะ เทคนิคเคิลก็ยังรู้เลย แต่ก็รู้แค่เล็กๆ เพราะว่าอะไรนะรึ
เพราะว่าผมจะปฏิวัติ ผมก็ต้องไปบอกญาติ บอกเพื่อนบอกแฟน เพราะก่อนหน้านี้ก็มีคนโทรมาบอกว่า
มันจะไม่ดีนะ แต่บอกก่อนล่วงหน้าตั้งสิบวัน เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เทคนิคอล
เทคนิคอลช่วยกำหนดการซื้อให้เราได้“
ซึ่งประโยคนี้ก็ช่วยตอกย้ำเข้าไปอีกว่า “ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดไปหมดแล้ว”
โดยการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละวัน มันได้ส่งสัญญาณต่างๆให้เราเห็นไปหมดเปลือกไปแล้ว
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็น หรือบางคนก็เห็นแต่ก็ไม่ใส่ใจ ก็มีเยอะ
มันจึงมีคำว่า “รู้งี้” ขึ้นมาไงครับ
คือเกือบทุกครั้งที่เราอดหลุดคำว่า “รู้งี้” ขึ้นมาไม่ได้ เมื่อเห็น “ผลสรุป” ที่ “ร้ายแรง”
หรือ “ดีเลิศ” เกิดกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะจากการดูกราฟย้อนหลังไปไม่กี่คาบเวลา
ใช่ครับ...เรามักพบว่าตลาดส่งสัญญาณพิเศษให้เราเห็นไปหลายครั้งแล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ให้
ความสำคัญกับมัน
การที่ “ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดไปหมดแล้ว” มันจะเป็นไกด์ให้เราเชื่อว่าราคาได้สะท้อน
ทั้งข้อเท็จจริง,ข่าวลือ,ควาดคาดหวังของนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญ
ของข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เลย
เราจะเอาแนวคิดนี้ไปใช้ได้ยังไง?
ต้องแยกประเด็นให้ออกเป็น ๒ ส่วนที่เกี่ยวพันกัน คือ “ข่าว” กับ “ราคา”
คือถ้ามี “ข่าว” ออกมา ก็ให้เช็ค “ราคา” ว่าตลาดตอบรับกับข่าวนั้นยังไง
ถ้าตลาดตอบสนอง คุณก็วางแผนหาประโยชน์จากมัน ถ้าเห็นว่าเป็นโอกาส
ในทางตรงกันข้าม คุณก็กำหนดจุดหนีและยึดมั่นกับมัน ถ้าหากมันมีโอกาสทำให้คุณเสียหาย
ให้เชื่อ “ราคา” มากกว่า “ข่าว” นั่นเอง
อย่าลืมนะ เราเป็นนักเก็งกำไรที่ทำเงินจากการเปลี่ยนแปลงของ “ราคา” มิใช่ “ข่าว”
ที่ใดมี “ควัน” ที่นั่น ย่อมมี “ไฟ”
ควัน คือ “การเคลื่อนไหวของราคา”
ไฟ ก็คือ “ข่าว”
บ่อยครั้งที่ “ควัน” ถูกปล่อยออกมานานแล้ว แต่เราเพิ่งเจอ “ไฟ”
ใครเห็น “ควัน” หรือ “การเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นนัยยะ” ก่อน - คนนั้นได้สิทธิ์จองของถูกก่อนใคร
จำบทที่ผมเขียนในหนังสือ “หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่” ที่ว่าด้วย Smart Money ได้มั้ยครับ
คนที่ปล่อยสัญญาณควันออกมา คือคนกลุ่มนี้เอง
Smart Money คือคนที่มีข้อมูลเชิงลึก มีเงินจำนวนมาก มากกว่าใครในตลาด
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของพวกเขา ย่อมปล่อย “ควัน” ออกมาให้เห็นเสมอ
และบ่อยครั้งที่พวกเขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งของคนเขียนบทละครของราคาหุ้นนั้นด้วย
หน้าที่เราคือ ตาม “ควัน” ให้เจอ แล้วเกาะติดไป เดี๋ยวก็เจอ “ไฟ”
สัญญาณควันที่ผมแนะนำก็คือ "ความเป็นแนวโน้มขาขึ้น" นั่นเองครับ
ตามไปเรื่อยๆ เดี๋ยว "ไฟ" ก็ลุกพรึ่บขึ้นให้เห็น ซึ่งมันก็คือข่าว และการไล่ราคาแบบ climax นั่นเอง
สุดท้ายเมื่อทุกอย่างคลี่คลาย ราคาก็จะร่วงกลับไปอยู่ที่เดิม จบรอบ
ตัวอย่างละครที่เพิ่งลาโรงไป
สนับสนุนโดยหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" และ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"