"อย่าปล่อยให้ใครมาดับฝันของคุณ"

Image
พี่มาร์ค มักบอกเราว่า "อย่าปล่อยให้ใครมาดับฝันของคุณ"  Trader’s Journey: กว่าจะสำเร็จ...นักเทรดต้องเจออะไรบ้าง? มีจำหน่ายเป็นอีบุ๊กที่  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=270047 อย่าให้ใครก็ตามมาทำลายความฝันของคุณ ไม่ว่าคำพูดหรือการกระทำของพวกเขาจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่บั่นทอนพลังใจของคุณ แม้บางครั้งสิ่งนั้นอาจมาจากคนใกล้ตัวอย่างครอบครัวหรือเพื่อนสนิทก็ตาม ความจริงคือ "เพื่อนแท้" จะสนับสนุนความฝันของคุณเสมอ   ลองคิดดู  คุณเคยได้ยินแชมป์หรือคนที่ประสบสำเร็จระดับโลกพูดหรือเปล่าว่า “มันเป็นไปไม่ได้... คุณไม่มีทางทำได้”?  คำพูดแบบนี้คุณมักจะได้ยินจากคนที่ยังไม่เคยทำอะไรสำเร็จ  พวกเขาเป็น "คนที่ขาดศักยภาพ" หรือ "ผู้ไม่ประสบความสำเร็จ" (underachievers) ซึ่งมักจะพูดว่า “ทำไม่ได้” เพราะตัวพวกเขาเองก็ยังไม่เคยลงมือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เลย   "คำพูดของคนเหล่านั้นไม่มีน้ำหนักพอที่จะเชื่อถือได้"  พวกเขาไม่ใช่คนที่เข้าใจความสำเร็จ  ดังนั้นอย่าปล่อยให้คำพูดของพวกเขามีผลกระทบกับความฝันของคุณ   ข้อคิดสำหรับนักเทรดมือ

PTL หุ้นซิ่งในตำนาน (หุ้นวัฏจักร)

PTL หรือ บริษัท โพลีเพล็กซ์ จำกัด นั้นเคยวิ่งซิ่งแหลกเป็นที่ฮือฮามาแล้วครั้งหนึ่งครับ
จากกราฟ ในช่วง 2010 ถึง 2011 มันวิ่งจากโซน 5 บาท ไปทะลุ 45 บาทในเวลาไม่ถึงปี
เหตุผลเบื้องหลังของการซิ่งโหดในครั้งนั้นคือ สินค้าประเภทฟิล์มที่ PTL ผลิตอยู่นั้น ในต่างประเทศเกิดขาดตลาดอย่างรุนแรง ผู้ผลิตบ้านเราอย่าง PTL กับ AJ ก็เลยรัับส้มหล่นไปเต็มๆ โดยในบทนี้ผมขอยกเคส PTL ก่อนนะ เดี๋ยว AJ ป้ายหน้า

ก่อนเข้าเรื่อง ขอโม้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของ PTL กับ AJ ก่อน
พวกมันเป็นหุ้นที่มีธุรกิจเป็น "วัฎจักร" ครับ คือสินค้าที่ผลิตได้จะไม่มีความต่าง ผลิตได้เยอะ ตัวอย่างง่ายๆเช่น ข้าว เงาะ น้ำมัน เหล็กเส้น กระดาษ ฯลฯ ด้วยความที่มันผลิตได้เรื่อยๆ จำนวนมาก กำไรจึงต้องโตตามความต้องการซื้อ  ซึ่งพี่หมอบำรุง ศรีงาน โปรทางด้านนี้ เขาบอกว่าหุ้นหุ้นวัฏจักรน่ะ "เมื่อถึงรอบของมันช้างยังบินได้เลย" คือราคาซิ่งกำไรเป็นเด้งๆแน่นอน บางทีเด้งเดียวน่ะมันจ้อยมาก แค่ตีนเขาเท่านั้น อย่างที่เกิดกับ PTL นี่แหละ

คำว่า "ถึงรอบ" ก็คือ มันมีความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น แต่สินค้ากลับผลิตได้น้อยลง ถ้าเป็นแบบนี้ขายดิบขายดี กำไรเละแน่นอน และมันก็จะส่งถึงราคาหุ้น ให้มีสตอรี่น่าตื่นเต้น ข่าวออกมาว่าบริษัทนี้กำไรดีขึ้นเพราะขายดีมาก สินค้าขาดตลาด ต้องขยายกำลังการผลิต ก็จะเก็งกำไรกันสนุก ราคาก็เลยซิ่งโหด



ต่อมาคือ "นิสัยเฉพาะ" ของธุรกิจประเภทนี้
ต้องบอกเลยว่าพวกเขา "อินดี้" มาก เพราะว่ามันอ่อนไหวไปตามเศรษฐกิจหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ตัวอย่างของบริษัทเหล่านี้คือ ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตเหล็ก หุ้นธุรกิจกระดาษ บริษัทเคมีภัณฑ์ ฯลฯ
ปีเตอร์ ลินช์ บอกไว้ว่า "ซื้อหุ้นวัฏจักรหลังแสดงกำไรมาหลายปีและซื้อตอนค่า P/E ทำจุดต่ำสุด เป็นวิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าทำให้เงินคุณหายวับไปครึ่งหนึ่งได้เลยในชั่วระยะเวลาสั้นๆ"
ดังนั้นถ้าเราอยากทำกำไรจากหุ้นให้มากๆก็ต้องเริ่มต้นจากช่วงที่มันอยู่ในภาวะที่ตกต่ำมากๆ

ซึ่งในจุดต่ำสุด ธุรกิจจะอยู่ในลักษณะดังนี้
1.กำไรลดลง
2.ลดหรืองดจ่ายปันผล
3.ค่าP/Eสูงมากๆ
4.ข่าวต่างๆมักเป็นข่าวร้าย

ส่วนจุดสูงสุดของมันจะมีเหตุการณ์ดังนี้
1. ผลกำไรกำลังเพิ่มขึ้น
2. เงินปันผลกำลังปรับขึ้น
3. ค่า P/E ต่ำ
4. ข่าวต่างๆมักเป็นข่าวดี



ประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์รอบวัฏจักรต่อไปของหุ้นประเภทนี้ ว่าจะเกิดช้าหรือเร็วกว่าปกติ สินค้าคงคลัง กับ อุปสงค์และอุปทาน (Demand และ Supply) เป็นตัวแปรสำคัญมากที่สุด เรียกว่าถ้ามี demand มากมาย แต่สินค้าไม่มีขายก็ไร้ประโยชน์ ดังนั้นต้องจับตาสินค้าคงคลังให้ดี ซึ่งคนในวงการที่คร่ำหวอดจะมองอะไรๆในตลาดนั้นๆออก ถ้าเขาเห็นแล้วว่าความต้องการซื้อฟื้นตัว พวกเขาต้องมีการเตรียมสต็อกของกันมโหฬารแน่นอน แต่ก็อย่ายึดเป็นสรณะกับส่วนนี้มากไป เพราะอะไรๆก็ไม่แน่นอน ดูตัวอย่างอุตสาหกรรมเหล็กสิ SSI น่ะ พวกนี้ผมแนะนำให้ดูกราฟเป็นหลักก่อน ข่าวดีแต่กราฟเน่าก็อย่าเพิ่งไปยุ่ง หลุดแนวรับใหญ่ หนีทันที เพราะมันจะลงแรงมาก แรงจนคุณต้องหมดตัวกันเลยทีเดีย ฉะนั้นอย่าเถียงตลาด
คือถ้ามันดีจริงๆ ดีแน่ๆ คนวงในเขาไม่ปล่อยให้ราคาซึมแน่นอนครับ พวกเขาจะทยอยเข้ามาเก็บ ราคาก็ต้องมีกระตุกขึ้นอยู่แล้ว ให้รอดูลักษณะการวิ่งขึ้นเป็นหลัก ถ้ามันใช่ในเวลาไม่ช้า ใกล้ถึงเวลาคราวนี้แหละซิ่งแหลก

แถมวิธีตรวจสอบหุ้นวัฏจักรของปีเตอร์ ลินช์ จากหนังสือ "เหนือกว่าวอลสตรีท"
1. จับตาดูสินค้าคงคลัง และหาความสัมพัทธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานอย่างใกล้ชิด ดูคู่แข่งหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาด
2. จับตาดูการลดลงของอัตราส่วน PE จำไว้ว่าจุดสูงสุดของธุรกิจคือค่า PE ต่ำสุด
3. ถ้าคุณรู้ความผันผวนของวัฏจักร คุณจะได้เปรียบในการหารอบ

สรุปนะ เล่นหุ้นวัฏจักร ดู 3 ตัว
๑ สินค้าคงคลัง(หรือในงบให้ดูที่สินค้าคงเหลือ)
๒) อุปสงค์และอุปทาน
และ ๓) กราฟ




ทีนี้เรามาดูเหตุผลที่หุ้นฟิล์มในช่วงนั้นวิ่งโหดกัน
จากการค้นกลับ อ้างจากเพจมีความสุขกับหุ้นปันผล by หมีส้ม คือ....
ในช่วงปี 2553-2554 (2010-2011) ที่ฟิล์มขาดตลาดชั่วคราวทำให้กำไรดีดตัวมหาศาล เพราะเป็นช่วงที่ฟิล์ม BoPET เกิดการขาดตลาด ทำให้ราคาของฟิล์มชนิดนี้มีราคาสูงขึ้นจนกำไรสูงขึ้นไปหลายเท่าตัว ราคาหุ้น PTL ก็เลยขยับขึ้นจาก 6 บาทไปสุงถึง 42 บาท เนื่องจากเป็นผู้ผลิตส่วนน้อยที่เหลืออยู่ในตลาด ก็เลยฟันกำไรมหาศาล
เท่านี้ เราก็พอจะรู้แล้วว่าในตอนนั้น มันเป็น "เหตุการณ์พิเศษ" ที่ร้อยปีเกิดครั้งเดียว/หรืออาจจะไม่เกิดเลยก็ได้
แต่กระนั้น ถ้ามองอีกมุมก็จะรู้ว่า กำไรของหุ้นประเภทนี้ขึ้นอยู่กับ "Demand กับ Supply"
หาก Demand มากมาย แต่ Supply น้อยมาก ก็จะกำไรมหาศาล
แต่ถ้า Demand น้อย แต่ Supply กลับล้นตลาด ก็จะขาดทุนบักโกรก เป็นหุ้นเน่าไปเลย

ในกรณีของหุ้น PTL กับ AJ เป็นเรื่องของส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัจจัยชั่วคราว หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ขาดตลาดชั่วคราว ผู้ผลิตต่างก็เร่งผลิตวัตถุดิบออกมาจนกระทั่งพอเพียง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์กลับมาเท่าราคาเดิม และอาจจะลดต่ำกว่าราคาเดิมด้วย หากผู้ผลิตต่างแย่งกันผลิตจนเกิดอุปทานของสินค้าล้นตลาด (Excess supply) ซึ่งจะส่งผลต่อกำไรของกิจการด้วย เราจึงได้เห็นว่าต่อมาราคากับลงมาอยู่ที่จุดเริ่มต้นภายในเวลาไม่นาน
นับว่าเคสของ PTL กับ AJ ในช่วงนั้นเป็นตัวอย่างที่อธิบายการขึ้นลงของราคาหุ้นวัฏจักรได้ดีที่สุด เห็นภาพชัดเจนมากๆ

ก่อนจะเข้าไปหาจุดซื้อ เรามาดูเบาะแสที่เราพอคุ้นเคยกัน
ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ราคาก็เริ่มฟื้นขึ้นจากก้น 3 บาท ไปทำทรง cup with handle เพราะขึ้นไปหยุดที่ 6 บาทกว่า แล้วย่อทำ handle กลับไปหยุด 4.5 แล้วก็เด้งกลับขึ้นไปข้ามจุดสูงสุดนั้น แต่ก็ไปได้ไม่ไกล ข้าม 7 บาทแต่ยืนไม่อยู่ โดนถล่มขายหนักซะหลุดไฮของ handle จนกลายเป็น failed handle ไปเลย
แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ยอมแพ้ พอราคาลงไปถึง 5.5 บาท ก็มีการเข้ามาซื้อยันราคาไว้ แล้วก็ออกข้างย่อยแรงขายไปสองเดือน จึงพยายามยกตัวขึ้น ยกไฮยกโลว์ขึ้นไปทำทรง cup with handle1 ซ้อนอยู่ใน handle อีกที และคราวนี้มันก็ไม่พลาด เมื่อทะลุฐานราคาขึ้นไปได้ ก็พรวดๆขึ้นไป All time high เลย

ช่วงตรงนี้เองครับที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตเอาไว้ ว่าคนที่ซื้อไล่ราคาจากก้น น่าจะเป็นคนวงในของอุตสาหกรรมฟิล์มนี่แหละ เพราะมีข้อมูลต่างของคู่แข่ง และเห็นรอบของอุตสาหกรรมกำลังมา โดยการซื้อของพวกเขาจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป พอเจอแรงขายหนักๆขวางก็ปล่อยให้ขายเพื่อเก็บหุ้นเข้าคลังไปเรื่อยๆ เมื่อมีการไล่ซื้อสะสมหุ้นแบบนี้ สภาพคล่องก็น้อยลง ราคาก็ขึ้นแรง จนสามารถทะลุกกรอบสะสมไปทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลได้

คือถ้าเราดูย้อนหลังแล้วแบ่งระยะของมันก็จะได้ว่า
ช่วงที่ราคาไม่สามารถทำ All time high ได้ ก็ยังเป็นช่วงสะสม หรือ Accumulation
พอราคาทำจุดสูงสุดตลอดกาลได้ ก็ซึ่งโหด ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นช่วง Public participation เพราะในตอนนั้นข่าวการขาดตลาดของฟิล์มน่าจะออกไปสู่สาธารณะแล้ว
คือถ้าเรามีความเชื่อว่าหุ้นวัฏจักร พอถึงรอบแล้วมันจะซิ่งโหด แม้ช้างยังบินได้เนี่ย ราคาจะต้องไม่หยุดอยู่แค่จุดสูงสุดในรอบปีหรือ 52 week high เป็นแน่ครับ ดังนั้นเรารอไปดักตอนที่ราคา All time high ก็ยังทันนะ หรือไม่ก็รอดู pattern ที่น่าเชื่อถืออย่าง cup with handle แบบที่ PTL ทำ

ต่อมาครับ หลังจากที่ ATH แล้วเราจะหาจังหวะเข้าได้มั้ย เพราะดูทรงแล้วเหมือนจะวิ่งพรวดเดียว
เมื่อเราซูมดูใกล้ๆ จะเห็นว่าในช่วงขาขึ้นรอบใหญ่ครั้งนั้น มันมีช่วงพักเหนื่อยให้ท่านได้เข้า ถึง 5 ครั้ง ด้วยกัน และใหสังเกตจุดที่เขาหยุดขึ้นสิครับ 15, 16, 17, 18 บาท ตัวเลขกลมๆทั้งนั้นเลยครับ
เดี๋ยวต่อไปเราลองเข้าไปซูมดู รายละเอียดของ Base กันครับ
เริ่มที่เดือน Jul 2010 ครับ Base1 ท่านจะเห็นว่าราคามันวิ่งออกข้าง ทำแท่งสั้น ปิดราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งโซนราคานี้มันเป็นระดับเดียวกับจุดสูงสุดที่ทำไว้ในปี 2008 ครับ เพราะว่ามันมีนัยยะแบบนี้แหละที่คนเล่นสั้นเขาเอาหุ้นมาวางขายดักกัน คนทำราคาก็รู้ครับว่ามีคนอยากขายเยอะ เขาก็เลยตั้งรับซื้อหุ้นไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมด ท่านจะเห็นเลยว่ายิ่งเนิ่นนานไปวอลุ่มก็เหือดแห้ง จนในที่สุดมันก็แทบจะถูกลืมว่าหุ้นนี้มีในตลาด เพราะไม่มีคนที่ต้องการขายเหลืออยู่แล้ว เมื่อนั้นคนทำราคาก็รู้ว่าได้เวลาแล้ว จึงไล่ซื้อดันราคาให้ขึ้นไปอย่างรวดเร็ว พอราคาวิ่งความคึกคักก็บังเกิด นักเก็งกำไรเข้ามาร่วมวงมากมาย วอลุ่มก็เลยออกมาเยอะกว่าช่วงออกข้างแท่งสั้นอย่างหนังคนละม้วน
การที่วอลุ่มเข้าพร้อมกับราคาเคลื่อขึ้นก็สื่อว่าขบวนรถการขึ้นครั้งใหม่ได้เริ่มออกตัวแล้วครับ



พอมา Base2 ราคาไปถูกหยุดที่โซน 15 บาทครับ ถึงตัวเลขกลมๆ ผู้โดยสารบางส่วนก็อยากลงครับ เพราะได้กำไรมาพอสมควรแล้ว อยากเอาเงินไปกินฉลองกันก่อน คนทำราคาก็ปล่อยให้ลงครับ ราคาจึงย่อตาม supply ที่ออกมาปล่อยหุ้นสู่ตลาด ซึ่งถ้านับแท่งราคาก็ใช้เวลาประมาณ 15 วันหรือ 3 สัปดาห์ ในการสร้างฐาน cup with handle นี้ ซึ่งหากดูวอลุ่มประกอบก็พบว่ามันแห้งลงอีกครั้ง
นี่คือสัญลักษณ์ของการสร้างฐานครับ วอลุ่มต้องลดลงอย่างชัดเจน ราคาก็ไม่ควรสวิงแรง

Base3 ก็ย่อเมื่อราคาขึ้นไปแตะ 20 บาท เหตุผลก็เช่นเคยครับ แต่คราวนี้ไม่ทำ handle ได้แค่ cup ก็ดีดขึ้นแรงแล้ว และดูวอลุ่มก็ลดลงในช่วงสร้างฐานนั้น พอราคาดีดขึ้น วอลุ่มก็โดดพรวดเป็นแท่งเสาอากาศเลย

ต่อไปก็เป็น Base4 ครับ คราวนี้เป็น flag ท่านก็เข้าซื้อตอนที่ราคาข้ามเส้นกดขึ้นไปได้

ต่อมาครับ มันเปิด gap ให้ท่านเห็น ซึ่งไม่ใช่ breakaway gap แน่นอนครับ เพราะแม้ว่าวอลุ่มจะพุ่งสูงมากจนเหมือนจะพีค แต่ราคาก็ไม่ได้ข้ามการอั้น หรือฐานราคาที่บีบตัวมาอย่างยาวนานแต่อย่างไรเลย
ผมขอเดาว่าช่วงนั้นข่าวดีออกมาครับ ออกผ่านสื่อมากมายหลายแหล่ง โหมประโคมว่า PTL ได้ประโยชน์จากสินค้าขาดตลาดอะไรต่างๆนาๆ นักวิเคราะห์อาจจะปรับราคาเป้าหมายเพิ่มอีกระดับ และที่รู้ๆกันว่ามีแต่รายย่อยเท่านั้นที่เข้ามาซื้อในตอนนี้

สัญลักษณ์ช่วงท้ายของการขึ้นที่รุนแรงก็มักจะเป็น Shooting star ครับ แท่งนี้จำให้ดีเลย ยิ่งมาพร้อมกับวอลุ่มที่พีคแบบทะลักทลายด้วยละก็เชื่อขนมกินได้เลยว่า มันมีโอกาสจบสูงมาก
และมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆครับ จากนั้นมาราคาก็ปีกหักร่วงลงอย่างจริงจัง แม้จะมีเด้งกลับขึ้นไปก็ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ เจอแบบนี้ก็ให้ขายทำกำไรซะครับ และถ้าหากยังอาลัยอาวรณ์อยู่ ก็ขอให้จุดสุดท้ายตอนที่ราคาหลุด neckline เป็นเสียงกริ่งปลุกเตือนให้ท่านตัดใจเสีย



ขออธิบายเหตุผลที่ทำไม Shooting star มันถึงได้มีนัยยะสื่อถึงการจบรอบได้
๑) มันจะน่าเชื่อถือว่าจบรอบ เมื่อราคาวิ่งเป็นขาขึ้นมาไกลแล้ว เช่นตัวนี้จาก 3 ไปถึง 46 ก็เกิน 1400% แล้วนะครับ กำไรมหาศาลขนาดนี่ เป็นพระอิฐพระปูนก็กระโดดกำแพงออกไปขายหุ้นครับ
๒) ตัวแท่ง Shooting star นี่ ถ้าเราดูการเคลื่อไหวระหว่างวัน มันจะเปิดกระโดดวิ่งขึ้นไปก่อนนะครับ (ตัวนี้เริ่มประมาณ 43 บาท) ซึ่ง gap แบบนี้มันก็คือ Exhausting gap อันเป็นการเปิดโดดครั้งสุดท้ายก่อนกลับตัว  พอเปิดโดดก็มีการไล่ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่คือถึง 46 บาท ซึ่งก็ดูดีสำหรับคนที่ไม่เฉลียวใจเพราะกำไรของตัวเองโตขึ้น
แต่สักพักก็อ่อนแรง ไม่มีใครช่วยซื้อดันราคาต่อ และเมื่อนั้นเองนักเก็งกำไรที่เฝ้าจอแบบไม่กระพริบก็สบโอกาสขายหุ้นออกครับ เพราะเขามองว่าราคาหมดโมเมนตัมเสียแล้ว น่าจะถึงเวลากลับตัว เมื่อคนที่ active ขายหุ้นออก คนอื่นก็ขายตามครับ รายใหญ่หรือมืออาชีพคนอื่นก็มองว่ามันไปไม่ไหวแล้วก็เลยร่วมวงขายด้วย ผลก็คือราคาร่วงหนักลงไปปิด gap ที่เปิดตอนเช้า แถมยังกราวรูดลงไปหลุดต่ำกว่าแท่งเขียวก่อนหน้านั้นได้อีก แม้ก่อนปิดตลาดสิ้นวันจะมีการซื้อดันราคากลับขึ้นไปปิดสูงกว่าโลว์เดิม แต่ภาพรวมก็เสียหมดแล้วครับ
เมื่อภาพทางราคาไม่สวย คนที่เพิ่งรู้ข่าวก็ขายตามครับ ที่ยังไม่รวมรายใหญ่หุ้นเยอะที่ขายไม่หมดด้วยนะ เขาก็พยายามดันและพยุงราคาให้อยู่ในระดับที่กำไรดีไปเรื่อยๆครับ จนกว่าของจะหมด และพอเคลียร์หุ้นได้แล้วก็ปล่อยให้รายย่อยเล่นกันเอง ผลก็จะออกมาอย่างที่เห็นเมื่อไม่มีใครพยุงราคาอีก มันก็กราวรูดลงหนัก หลุดแนวรับทุกแนวอย่างง่ายดาย

ต่ออีกประเด็นนะ เรื่องการ Run trend หุ้นตัวนี้
EMA10 ครับ ช่วยรันไม้เดียวจบเลย น่าจะเริ่มจาก ต่ำกว่า 10 จนถึง 35 บาทเลย ก็มากกว่า 300%
เดี๋ยวมาซูมดูใกล้ๆกันว่ามันเริ่มจากตรงไหน และ pattern อะไรอยู่ใกล้ๆบ้าง
มันเริ่ม หลังจากที่ราคาข้าม 7 บาทได้ครับ ตอนนั้นทำแท่งสูงยาวจุดพลุเรียกแขก วอลุ่มก็เข้าแบบสูงโดดเด่นในรอบปีครับ และวันต่อมาก็เจอขายขัดขวางทันทีครับ แท่งแดงยาวมาก วอลุ่มก็สูงกว่าวันก่อน แต่ดูสิครับตอนนั้น แท่งแดงยาวนั้น มันหยุดบน EMA10 พอดีเลย วันถัดมาก็ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยสิบวันได้อีก ก่อนที่หลังจากนั้นมันจะดีดแรงขึ้นไปวิ่งออกข้างเหนือ 7.5 บาทร่วมเดือน ก็ยัง sideway เหนือ EMA10 อยู่นัั่นเองครับสาเหตุที่ออกข้างก็น่าจะมาจากรอให้คนหมดใจขายหุ้นออกไปจนหมดนั่นแหละครับ ซึ่งมันก็เป็นปกตินะครับ คือถ้าหุ้นตัวหนึ่งจู่ๆถูกไล่ราคาขึ้นแรงๆทำแท่งเขียยาววอลุ่มสูง วันต่อไปมันจะต้องถูกต่อต้านอย่างหนักครับ ถ้าคนทำราคาไม่ใจถึง หรือคิดจะสะสมหุ้นอีกก็ต้องชะลอตัวออกข้างเพื่อรับซื้อหุ้นที่เขาออกมาวางขายจนหมดเสียก่อนแล้วจึงค่อยไล่ราคาขึ้นไป ยกกรอบขึ้นไปช้าๆ คล้ายเพิ่มราคารับซื้อ
และเมื่อไม่มีใครขายตามหลัก เขาก็ไล่ราคายกกรอบขึ้นไปอีก เพื่อเพิ่มราคารับซื้อครับ คราวนี้ไปหยุดที่โซนเหนือ 9 บาท (ตรงนี้แหละที่เป็น Base1) ก็ตั้งรอคนอยากขายไปอีกสิบวัน ก็คิดว่าได้ของจนพอใจแล้ว จึงไล่ราคาแรง ข้ามสิบบาทไปแบบไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม

เมื่อถอยกลับมาดูภาพรวมของขาขึ้นอีกครั้ง ก็พบว่า EMA10 รับเหมาหน้าที่ได้ดีตลอดงานเลยครับ ร่วมๆ 5 เดือนมันเป็นแนวรับที่ดีโดยตลอด และพอหลังจากที่ราคาทำ Shooting star วอลุ่มพีค ซึ่งเป็นสัญญาณการจบรอบแล้ว มันก็ไม่เคารพ EMA10 อีกต่อไปครับ ลงไปละเมิดเส้นนี้แบบง่ายๆ พอเด้งกลับขึ้นไปก็ไม่สามารถทำนิวไฮก็ย่อลงไปหลุดอีก แบบนี้ชันมากว่าอยู่ในช่วงแจกจ่ายแล้ว รีบหนีให้ไวครับ

จุดที่ควรขาย
1) คือถ้ามองย้อนหลังแบบนี้นะ เราจะเห็นจุดขายที่ดีอยู่จุดหนึ่งคือ ตอนที่ราคาทำ shooting star พร้อมวอลุ่มพีคนั่นแหละ ซึ่งมันน่าจะเข้าข่าย Buying climax ของปู่โอนีล ท่านก็น่าจะใช้จังหวะนี้ขายออก แบบนี้ท่านจะได้ขายในราคาเกิน 40 บาทแน่ครับ ถือว่าราคาดีมาก
2) อีกจุดคือแท่งราคาลงไปหลุดปิดต่ำกว่า EMA10 เป็นครั้งแรก ก็เข้าหลักการละเมิดเส้นค่าเฉลี่ย สื่อว่าราคาแสดงออกว่าหมดโมเมนตัม ยิ่งเกิดหลังจาก Buying climax ก็ยิ่งน่าเชื่อถือ ซึ่งท่านจะได้ขายที่ราคาต่ำว่า  35 บาท ก็ค่อนข้างเสียเปรียบ
3) ขายแบบเซียน คือ ถ้าเห็นราคาเด้งขึ้นไปไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ ก็ขายครับ แบบนี้ท่านน่าจะได้ขายในโซน 40 บาท ไม่น้อยกว่า 35 บาท
4) จุดสุดท้ายคือ ท่านรอให้ราคาหลุดทรงของขาขึ้นตามหลัก Dow theory ซึ่งต้องลาก neckline เพื่อให้พาดผ่านแนวรับ ต่ำกว่า 35 บาท คือราคาขายครับ



(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino