David Ryan มีความสนใจที่จะเล่นหุ้นตั้งแต่เด็ก เขาเคยคิดอยากจะซื้อหุ้นตั้งแต่อายุ 13 สาเหตุที่เขาสนใจเรื่องของการเล่นหุ้นก็เพราะว่าเขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือโดยเฉพาะหนังสือ Wall Street Journal มันทำให้เขาได้รู้จักหุ้นราคา 1 ดอลลาร์ และอยากจะซื้อมาก แต่พ่อบอกว่ามันยังไม่ดีพอให้เขาทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับหุ้นนั้นก่อนซื้อ อีกไม่กี่วันเด็กชายไรอันไปเจอบทความเกี่ยวกับบริษัทผลิตขนมหวานและคิดว่าน่าจะเป็นการลงทุนที่สมบูรณ์แบบ พ่อเลยเปิดบัญชีให้เขาลงทุน 10 หุ้น จากนั้นความสนใจเกี่ยวกับตลาดหุ้นก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเขาโตเขาได้สมัครบริการด้านข้อมูลและสัมมนาด้านการลงทุนของปู่โอนีล ตั้งแต่อายุ 16 จนกระทั่งเข้าเรียนมหาลัยเขาก็อ่านหนังสือทุกเล่มเกี่ยวกับตลาดหุ้นเท่าที่เขาจะหามาได้
แน่นอนว่า William o'neil คือไอดอลของเขา หลังจากที่เขาจบมหาลัยก็เดินทางเข้าไปของานทำที่บริษัทของโอนีลทันที โดยเขาไม่เอาค่าจ้างแต่ขอให้ได้ทำงานที่นั่น ซึ่งก็ได้รับการจ้างงาน และด้วยความมุ่งมั่นความกระตือรือร้นของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการลงทุนจนได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานในเวลาแค่ 4 ปีจากนั้น
มีคุณสมบัติของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จอยู่เต็มเปี่ยม
จากเคสของ David Ryan เราจะพบว่าเขามีคุณสมบัติพื้นฐานที่ถูกต้องของการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จอยู่ นั่นก็คือ
๑) มีความหลงใหลต่อการลงทุนหุ้นตั้งแต่ยังเด็กเลย ต้องการจะลงทุนตั้งแต่ยังจำความได้
๒) และก็มีความมุ่งมั่นจริงจังให้ความสนใจเกี่ยวกับตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีแม้สักวันที่เขาจะไม่ให้ความสนใจมัน ในประวัติถึงกับบอกว่าตอนที่เรียนมหาลัยเขาก็อ่านหนังสือทุกเล่มเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นเท่าที่จะหามาได้ แสดงว่าเขาหลงใหลในเรื่องของการลงทุนเป็นอย่างมาก
๓) แน่นอนอีกคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จก็คือการเป็นหนอนหนังสือ ใช่แล้ว...เขาอ่านทุกเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับตลาดหุ้นก็แสดงว่า เขาชอบอ่านหนังสือมาก ซึ่งคนที่ปลูกฟังเขาก็น่าจะเป็นพ่อเขาเองนั่นแหละที่เป็นตัวอย่าง ตั้งแต่เด็กเข้าอ่านหนังสือ Wall Street journal ได้แล้ว (ซึ่งก็น่าจะเอาอย่างพ่อที่ทำตัวอย่างให้เห็นทุกวัน) ยิ่งโตมาก็ยิ่งอ่านมากขึ้น การที่เขาได้อ่านหนังสือมากขึ้นนี่เองมันทำให้เขาเห็นโอกาสที่ดีๆมากมาย
๔) เขาหลงใหลในการเทรดมาก จากข้อสังเกตของผู้เขียนหนังสือ market Wizard ยังบอกว่าที่ทำงานเขานั้นไม่ได้มีเครื่องอำนวยความสะดวกอะไรที่ดีเยี่ยมเลย จึงเขียนลงไปว่า "สงสัยว่าตราบเท่าที่เขายังมีชาร์ทของเขาและเครื่องคอมพิวเตอร์ เขาก็คงเต็มใจที่จะทำงานในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าได้เลยด้วยซ้ำ" นี่ก็ย้ำชัดว่าพี่ไรอันชอบการเทรดซะเหลือเกิน
Passion : การลงทุนในหุ้นเหมือนการล่าสมบัติ
การล่าสมบัติ ถ้านึกถึงคำนี้ ความเป็นเด็กน่าจะสื่อได้ดีที่สุด ดังนั้น ประโยค "การลงทุนในหุ้นเหมือนการล่าสมบัติ" ของพี่ไรอันนั้น มันน่าจะเป็นภาพสะท้อนที่ถูกปูให้เขาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคนทำให้ก็น่าจะเป็นพ่อของเขาเอง แม้จะไม่มีรายละเอียดที่บอกว่าพ่อแม่เขาทำงานอะไร แต่ก็พอเดาออกว่าพ่อของพี่ไรอันน่าจะทำงานเกี่ยวกับการลงทุนนี่แหละ ไม่งั้นคงไม่อ่านหนังสือ Wall Street journal ให้ลูกเห็นและเอาอย่าง ซึ่งแน่นอนว่าพ่อน่าปลูกฝังให้เด็กชายเดวิดรู้จักกับการลงทุนตั้แต่เด็ก ผ่านการชวนลูกเล่นเกมล่าสมบัติ ซึ่งอาจจะเป็นการหาหุ้นที่น่าลงทุนผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์
ที่ผมตั้งข้อสังเกตแบบนี้ก็เพราะว่า ในหนังสือ Market Wizard บอกไว้ว่าตอนอายุ 13 ก็บอกพ่ออยากซื้อหุ้นที่มีราคา 1 เหรียญจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์ที่เพิ่งอ่าน แสดงว่าพ่อกับลูกน่าจะคุยกันเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งตอนนั้นพ่อก็สอนว่า "ลูกต้องทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับบริษัทนั้นให้ดีเสียก่อน"
ยิ่งต่อมา เขาไปเจอหุ้นที่ผลิตขนมหวาน ก็ชอบเพราะกินบ่อย จึงเอาไปบอกพ่อว่าต้องการซื้อ ก็ได้รับการอนุมัติ ให้ซื้อตั้ง 10 หุ้น แสดงว่าพ่อเป็นผู้ปลูกฝังและปูทางให้ลูกเอาดีในทางนี้อย่างแน่นอน
ตรงนี้เองที่ทำให้พี่ไรอัน มี passion อย่างแรงกล้าที่จะเอาชนะในเกมหุ้นให้ได้ โดย "สมบัติ" ในความหมายของเขา นั่นคือ "หุ้นผู้ชนะ" ซึ่งเขาได้ไปเรียนรู้จากปู่โอนีลตั้งแต่อายุ 16 นั่นเอง
CANSLIM พ่อทุกสถาบัน
เพราะการที่เขามีความหลงใหลเขาชอบอ่านหนังสือ รวมถึงการได้ไปทำงานได้อาจารย์ดีอย่างปู่โอนีล, David Ryan จึงได้อาวุธดี โดยเฉพาะแนวทางการหาหุ้นทั้งแบบเทคนิคอลและพื้นฐาน ตามหลัก CANSLIM และเอาหลักการนี้ไปแข่งขันจนสร้างชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการเป็นแชมป์ลงทุนแห่งอเมริกา(U.S. Investing Championship) ในสาขาการเทรดหุ้นถึง 3 ครั้งด้วยกัน
มีอีกสองคนที่ใช้ CANSLIM เป็นอาวุธในการแข่ง คือ Dan Zanger กับ Mark Minervini ก็เป็นชนะเลิศ นี่หมายความว่าแนวคิดนี้ดีจริง
ตอนนี้พี่ไรอันได้ออกมาจากบริษัทของปู่โอนีลแล้ว และก็มาตั้งบริษัทเองซึ่งผลประกอบการของเขาก็ยังอยู่ในระดับขั้นดีเลิศเหมือนเดิม
เทพก็เคยขาดทุนมาก่อน
จากที่อ่านมาเราคงคิดว่าชีวิตของพี่ไรอันนั้น ช่างเพียบพร้อมเสียเหลือเกิน มีพื้นฐานที่ดี เทรดก็เป็นผู้ชนะมาโดยตลอด แต่บอกเลยว่ามันยังไม่ใช่ทั้งหมด เทพอย่างเขาก็เคยขาดทุนมาก่อนเช่นกัน
ในช่วงแรกของการเทรดนั้นเขาก็แพ้เหมือนกันเขาเปิดบัญชีไปสองหมื่นเหรียญในช่วงต้นที่เข้ามาร่วมงานกับบริษัทของปู่โอนีล ในช่วงแรกเงิน 20,000 เพิ่มไปเป็น 52,000 เหรียญในปีต่อมา แต่จากนั้นก็เสียกำไรคืนให้ตลาดไปหมดรวมทั้งเงินต้นอีกด้วยบัญชีเขาลดลงมาเป็น 16,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว
แน่นอนว่าเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังเป็นคนผิดเขาเลยนั่งศึกษาข้อผิดพลาดของตัวเองซึ่งเขาก็ทำทุกครั้งตั้งแต่เขาขาดทุนเป็นครั้งแรกซึ่งเขาพบว่าความร้ายแรงที่สุดของเขาคือเขาไม่รู้จักกาละเทศะ ก็คือว่าเขาไม่ได้เลือกว่าควรเล่นเวลาไหนแต่เขาจะเล่นหุ้นตลอดเวลา ไม่ว่าตลาดจะเป็นขาลงเขาก็ยังเล่นเต็มพอร์ท (ซึ่งในช่วงที่ตลาดเป็นขาลงนั้นมั่นใจได้เลยว่าเขาไม่สามารถที่จะกำไรกับหุ้นได้ทุกตัวไหมว่าหุ้นตัวนั้นมันจะมีกราฟสวยพึ่ง Breakout จากฐานราคาก็ตามแต่มันก็มีโอกาสที่จะล้มเหลวมากกว่าไปต่อทำกำไรให้กับเขาอย่างมากมาย)
และข้อผิดพลาดอีกอย่างก็คือเขาซื้อหุ้นในตอนที่ราคาเลยระดับที่ breakout ขึ้นไปมากแล้ว คือเขาซื้อตอนที่ราคาสูงขึ้นมาจากฐานราคา 15 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงต้องมีความเสี่ยงจากการเทรดนั้นอย่างมากมาย
เมื่อเขารู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนตรงไหนแล้วความผิดพลาดทั้งหมดถูกบันทึกเอาไว้ เขาจึงคิดจะเริ่มต้นใหม่ด้วยการขายอสังหาบางชิ้นของตนเองและเอาเงินก้อนนั้นมาเพิ่มในบัญชีหุ้น
ที่เขามั่นใจอย่างนั้นเพราะว่านอกจากการเรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วเขาก็ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเทรดอย่างหนักมาก และตั้งใจว่าตัวเองจะต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด
เมื่อตัวเองมีปณิธานแบบนั้นแล้ว เขาจึงพิสูจน์ตัวเองด้วยการเข้าร่วมการแข่งขันการลงทุนแห่งอเมริกา (U.S. Investing Championship) ซึ่งเขาชนะด้วยผลตอบแทน 161 เปอร์เซ็นต์ และในปีต่อต่อไปก็ได้ผลตอบแทนมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเขาก็ชนะอีก 2 ครั้ง
ตรงนี้แหละที่เป็นตัวพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาได้ตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดของตัวเอง และพยายามที่จะศึกษาอย่างหนักรวมถึงมีวินัยต่อตัวเองอย่างเคร่งครัดเขาถึงทำได้สำเร็จ
การได้ทำงานร่วมกับปู่โอนีล ทำให้ David Ryan ได้ทักษะที่โดดเด่นอย่างหนึ่ง ก็คือเขามีข้อมูลหุ้นที่เป็นผู้ชนะให้ศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกราฟ หรือด้านของพื้นฐาน คือเขาจะรู้และเห็นจุดร่วมเลยว่าหุ้นผู้ชนะมีกราฟแบบไหน มันวิ่งขึ้นยังไง มันเกาะเส้นค่าเฉลี่ยเส้นไหนขึ้น ก็อย่างที่เราได้เห็นจากหนังสือคัดหุ้นชั้นยอดด้วยระบบชั้นเยี่ยม ในช่วงกราฟช่วงแรกของหนังสือนั่นเองครับ นั่นแหละคือลักษณะของหุ้นผู้ชนะที่แสดงออกผ่านกราฟ มันจะเกาะเส้นค่าเฉลี่ย 10 สัปดาห์ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งจบรอบก็หลุดเช่นนี้ลงมาและจบเลย
David Ryan ก็ใช้ข้อมูลนี้ในการคัดหุ้นชั้นยอด แล้วเอาไปใช้เทรดแข่งขันจนชนะด้วยนั่นเอง
อีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเขา พี่ไรอันบอกว่าคุณสามารถเรียนรู้ได้มากที่สุดจากตลาด คือทุกครั้งที่เขาซื้อหุ้นเขาจะเขียนเหตุผลลงไปว่าทำไมถึงซื้อมัน ด้วยการปริ้นกราฟออกมาแล้วเขียนเหตุผลประกอบลงไปบนนั้น การที่เขาทำแบบนี้เขาบอกว่ามันจะช่วยฝังลักษณะการวิเคราะห์ของหุ้นผู้ชนะลงไปในใจของเขา และสำคัญที่สุดก็คือการบันทึกเหตุผลที่ซื้อลงไป-มันจะทำให้เขารู้ว่าได้ผิดพลาดจากเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งมันจะทำให้เขาได้มีโอกาสกลับมาทบทวนความผิดพลาดนั้น และก็ปรับปรุงให้มันดีขึ้น
ซึ่งการได้บันทึกลงไปบนกระดาษมันก็เป็นเหมือนกับการตอกย้ำว่าตรงนี้นายเคยทำผิดพลาดมาแล้วนะนายไม่ควรทำพลาดเรื่องเดิมอีก
Win Rate 50% (เทพก็ยังขาดทุน)
นี่เป็นยอดนักเทรดอีกท่านที่ออกมาเผยว่าเขาชนะแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
ทำไมเขายังอยู่รอดได้ และทำกำไรอย่างโดดเด่น?
วิธีการก็เรียบง่ายมาก คือ "ตัดขาดทุนให้เร็วที่สุด" พี่ไรอัน บอกว่า เขาไม่รีรอที่จะตัดขาดทุน โดยเขาให้ลิมิตของความเสียหายอยู่ที่ 7% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม น้อยครั้งนักที่เขาจะปล่อยให้เสียหายถึงระดับนั้น แสดงว่าขาดทุนแค่ 3-5% นี่ก็น่าจะสาดทิ้งหมดแม็กแน่นอนครับ
ชนะแค่ครึ่งเดียว ตัดขาดทุนบ่อย แล้วรวยได้ไงวะ? บางท่านอาจสงสัย
พี่ไรอันบอกว่า ในแต่ละปีเขาจะได้หุ้นเด้ง 2-3 เท่า เป็นประจำทุกปี แม้ว่าปีนึงจะได้เด้งไม่กี่ตัว ก็สามารถชดเชยการขาดทุนระดับ 3-5% ที่มากมายนั้นได้
ผมขอมโนแบบนี้นะ สมมุติว่าปีนึงเขาเทรด 100 ตัว
ขาดทุนไปเสีย 50 ตัว แต่รีบขายตัดขาดทุน ไม่ให้เกิน 7%
กำไร 50 ตัว ก็มีตัวที่กำไร 5%-20% ซะส่วนใหญ่ เฉลี่ย 10% ก็จะไปถัวส่วนที่ต้อง stop loss นั้น
แต่เพราะในแต่ละปีเขาก็ได้หุ้นที่เป็นผู้ชนะ วิ่งแรง บวกเป็นเด้ง ให้เขาสองสามตัว แค่นี้พอร์ตก็โตได้แล้ว
จากข้อมูลที่ว่ามาทั้งหมด มันจึงตรงกับคำกล่าวของพี่ไรอันที่ว่าด้วยการถือหุ้น ว่า
๑) หุ้นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ ถือ 6-12 เดือน ชุดนี้แหละที่ได้เป็นเด้ง ปั้นพอร์ตให้โต
๒) หุ้นไม่แข็งแกร่งมาก ถือประมาณ 3 เดือน พวกนี้ก็น่าจะทำกำไรให้ ไม่เกิน 20%
๓) หุ้นที่ต้องตัดขาดทุน ทนไม่ถึง 2 สัปดาห์ คือถ้าซื้อแล้วขาดทุน แกสาดลูกเดียวไม่ให้ลุกลามถึง 7%
"จงอดทนต่อหุ้นขาขึ้น(ทำกำไรให้เรา)แต่อย่าให้เวลากับหุ้นขาลง(สร้างความเสียหายให้เรา)"
ยอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้จากมัน
เขาสามารถหาความผิดพลาดของตัวเองได้จากบันทึกการเทรด
จึง List ความผิดพลาดของตัวเองและแนวทางการแก้ปัญหาออกมาดังนี้
ความผิดพลาด
๑) เข้าซื้อหุ้นเพราะกลัวตกรถ ทำให้ได้ต้นทุนที่สูงกว่าจุด breakout 15-20% ซึ่งทำให้ต้องเจอการเขย่า จนต้องตัดขาดทุนออกมาด้วยความสูญเสียที่มากเกินความจำเป็น
๒) ไม่รู้จักกาละเทศะ พยายามเล่นหุ้นตลอดเวลา แม้แต่ช่วงตลาดไร้แนวโน้มและขาลง จึงทำให้เขาต้องขาดทุน คืนกำไรให้กับตลาดไปจนหมด
หนทางแก้ไข
1) ไม่ซื้อหุ้นที่ราคาวิ่งห่างจากจุดบริการของฐานราคามากเกินไป
2) ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ของการคัดสรรหุ้นที่ได้เรียนมาจากปู่โอนีล
3) มีวินัยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งคุณมีวินัยและเคร่งครัดกับมันมาก คุณก็จะทำได้ดีมากขึ้นเท่านั้นในตลาด
4) ไม่สนใจข่าวลือหรือข้อมูลลับที่คนอื่นมาบอกคุณเพราะมันไม่มีประโยชน์ไม่เป็นวิทยาศาสตร์สู้เราหาหุ้นเองและค้นข้อมูลเองจะดีกว่าเพราะเราจะได้รู้ที่มาและที่ไปรวมถึงวางแผนการเทรดเองได้ด้วย
5) โฟกัสอย่างจริงจังไปที่ระบบการซื้อหุ้นแบบเดียวเท่านั้นและไม่สนใจวิธีการคนอื่นหรือการกระทำรูปแบบอื่น นั่นจึงเป็นเวลาที่ผลตอบแทนของเขาเริ่มพุ่งทะยานขึ้น
Wisdom ของ David Ryan
ถ้าท่านจำ DIKW model ที่ผมเคยเขียนถึงไว้ได้ หน้าตาแบบนี้
ก็น่าจะรู้จักคำว่า Wisdom ดีมันก็คือการเอาความรู้ที่ตัวเองได้ศึกษามาไปปรับและประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะกับนิสัยของตัวเอง ซึ่งมันเป็นขั้นสุดของกระบวนการเรียนรู้ ซึ่ง wisdom ของพี่ไรอัน ก็คือการปรับปรุงแนวทางการซื้อขายที่หลากหลายขึ้น
เริ่มจากหนังสือที่แกชอบก่อน
- How i made two million dollars in the stock market (บ้านเราก็เคยมีขาย ชื่อ ผมทำเงิน 2 ล้านในตลาดหุ้นได้อย่างไร)
อ่านสรุปหนังสือได้ที่นี่
- Stan Weinstein, "Secrets for Profiting in Bull and Bear Markets"
อ่านสรุป Stan Weinstein' Method
- How to trade in stocks (Institute for economic & financial research)
- Richard Love, "Super Performance Stocks"
- Kermit Zieg, "Profile of a Growth Stock"
- Marty Zweig, "Winning on Wall Street"
- Frost & Prechter, "Elliot Wave Principle"
- Beckman, "Super Timing"
หนังสือพวกนี้แหละครับที่เป็นพื้นฐานให้แกเอาไปใช้เทรด
แต่ด้วยความที่พี่ไรอันมีการตรวจสอบผลงานของตัวเองตลอด จึงต้องมีการพบจุดอ่อนของความรู้ที่ได้มานั้นแน่นอน เพราะนิสัยของแต่ละคนก็ต่างกันไป จึงไม่อาจลอกแบบกันได้ 100% คนที่จะไปได้ไกลจริงต้องมีการปรับวิธีการให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ wisdom ที่เขาจะรู้ได้เฉพาะตัวเท่านั้น
ถ้าเราจำแนวทางการซื้อหุ้นของปู่โอนีลผู้เป็นต้นฉบับ ก็จะพบว่าแกชอบซื้อตอนที่ราคา breakout แต่เมื่อพี่เค้าได้เอาไปใช้ก็พบจุดอ่อน(ในมุมมองของเขานะ) โดยเขาให้ชื่อใหม่ว่า ‘CANTSLIM’ เพราะมีหุ้นหลายตัวที่เขาพบว่าหลังจาก breakout ขึ้นไปแล้วมันไม่ยอมไปต่อ ขึ้นได้ไม่กี่วันก็ร่วงกลับตัวลงไปอยู่ที่เดิม ซ้ำร้ายลงต่อให้ขาดทุนไปซะงั้น
ด้วยเหตุนี้ แกจึงไม่เล่นเฉพาะ breakout แต่จะซื้อตอนย่อด้วย โดยแกบอกว่า(ส่วนใหญ่ผมแปลไม่ออก)
I’m looking for much different entry points. You could probably change the name to ‘CANTSLIM’ – a lot of stocks break out, go a few days, and the stocks turn and go right back down.
I’m looking to buy much, much more on pullbacks – pullbacks of 10, 15, 20, 25 per cent. The risk is a lot lower down there than it is buying breakouts; with breakouts you’re just going to get whipsawed and take loss after loss after loss. There are few breakouts this year that have worked. There will be a time when breakouts will work again for many stocks but this is not that type of market.
ที่มา
http://www.newtraderu.com/2013/04/27/3409/
พูดง่ายๆคือแกไม่ยึดติดความรู้จากอาจารย์เดียว ถ้าพบว่าแนวคิดที่ได้มานั้น มันไม่สมบูรณ์ ไม่ตรงกับจริตของเขา ก็จะพยายามหาแนวทางอื่นมาช่วยปกปิดจุดอ่อน เพื่อให้มันพาเขาไปสู่จุดหมายได้ไงครับ นั่นคือได้สมบัติที่เขาต้องการ คือเป็นผู้ชนะ เป็นผู้มั่งคั่งจากการเทรดในบั้นปลาย
ส่งท้ายด้วยประโยคทองของพี่ไรอัน ที่ผมชอบมาก
"สำหรับผม(การเทรด)มันก็เหมือนกับการล่าสมบัติขนาดยักษ์ ตรงไหนสักแห่งนี้(เขาตบสมุดชาร์ทรายสัปดาห์) มันมีหุ้นที่จะเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ และผมกำลังพยายามที่จะค้นพบ"
คุณล่ะ หาหุ้นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ตัวต่อไป เจอหรือยัง?
ที่มา
http://www.newtraderu.com/2013/04/27/3409/
https://dinosaurtrader.blogspot.com/2009/03/david-ryan-market-wizard.html
หนังสือ Market Wizard
อ่านแนวคิดเพิ่มเติม
การเล่นหุ้นแบบ David Ryan
(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
คลิกลิ้งนี้ครับ
https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ