ก็จะไม่ปูพื้นให้เยิ่นเย้อนะ ขออธิบายผ่านมุมมองของผมเลย มันคือ "ขั้นตอนของการเรียนรู้" ที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดครับ
ดียังไง?
ง่ายๆ คือ ถ้าคุณจะเป็นเลิศในทางใดทางหนึ่งนะ คุณต้องสามารถเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ซึ่งลำดับความยากของมันจะเป็นลำดับจากล่างขึ้นบน
ภาพจาก https://www.flickr.com/photos/nickwebb/3262584707/
Data = ข้อมูลที่เลื่อนลอย ยังไม่ถูกจัดระเบียบ มีจำนวนมหาศาลในโลก
Information = ข้อมูลที่ถูกคัดสรร จับแยก จัดกลุ่มมาแล้ว โดยผ่านคำถามที่ว่า ใคร-อะไร-ที่ไหน-อย่างไร ซึ่งมันจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ data นั้น ว่ามีประโยชน์กับเขาแค่ไหน แน่นอนเมื่อถูกกรอง ก็ต้องมีน้อยลง
Knowledge = กรอง information ด้วยคำว่า "อย่างไร" หรือ how
Understand = กรอง information ด้วยคำว่า "ทำไม" หรือ why
(ปล. ส่วนใหญ่เขาจะรวมสองคำนี้ไว้ด้วยกันครับ)
Wisdom = ตกผลึก เข้าใจผ่านมุมมองของตัวเอง และเข้าใจว่าอะไรดีที่สุด
ภาพจาก http://www.systems-thinking.org/dikw/dikw.htm
จากภาพนี้ เราจะเห็นพัฒนาการของการเรียนรู้ ที่ยกระดับตามความเข้าใจและการเชื่อมโยง
๐) ข้อมูลที่เลื่อนลอยมีมหาศาล
๑) เมื่อเราเข้าใจความสัมพันธ์ของมัน ก็จะได้กลุ่มของข้อมูล หรือ information
๒) เมื่อโฟกัสที่ information ถ้าเราเจอรูปแบบซ้ำๆ ก็จะได้ออกมาเป็น knowledge
๓) เมื่อเอา knowledge มาสรุปเป็นหลักการ คุณจะได้ wisdom ของคุณเอง
ความจริงเขามีการแยกแยะออกไปเยอะมากมายกว่านี้ แต่เราเอาแค่หอมปากหอมคอก็พอนะ เพราะไม่ใช่ประเด็นหลัก ผมแค่เอามาปูพื้นเพื่อเข้าหัวใจของบทความนี้ นั่นคือการเอามาใช้กับการเล่นหุ้น
VIDEO
ยกตัวอย่าง หนังสือสอนเล่นหุ้น ก่อน
- บ้านเรามีหนังสือสอนเล่นหุ้นในตลาดจำนวนมาก ทั้งใหม่และเก่า มีในร้านหนังสือ และห้องสมุด
ถ้าผมพูดลอยๆขึ้นมาแบบนี้ ถือเป็น data ครับ
- ต่อมา ถ้าคุณอยากอ่านหนังสือหุ้นสักเล่ม โดยสนใจเกี่ยวกับเทคนิคอล คุณก็จะได้ชุดหนังสือมากลุ่มหนึ่งที่คุณให้ความสำคัญกับมัน แล้วเปิดอ่าน เหล่านี้คือ information แล้ว
ย้ำนะครับ แค่อ่าน ยังไม่ใช่ knowledge เป็นแค่ข้อมูลเท่านั้น
- เมื่อคุณเอามันไปประยุกต์ใช้จริง ใช้ซ้ำ พบความบกพร่อง และปรับแก้ให้ error ลดน้อยลงได้ และใช้ซ้ำ นี่แหละคือ knowledge และ understanding ในที่สุด
- ส่วน wisdom ถือเป็นขั้นสุดครับ คือกาละเทศะ ใช้ให้มันถูกที่ถูกเวลา
ซึ่งกว่าจะถูกที่ถูกเวลาได้ มันต้องผ่านสามขั้นตอนที่ผ่านมาให้ได้ก่อน
ปัญหาของนักเล่นหุ้นบ้านเราก็คือ มองไม่ออก และเข้าใจผิด
ผมคิดว่า wisdom ของใคร ก็จะเหมาะสำหรับคนนั้น
ซึ่งมันก็จะเป็นแค่ information คนอื่น
นึกภาพออกมั้ยครับ?
ยกตัวอย่าง เซียนหุ้นเขาบอกว่า ผมจะซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อ MACD รายเดือนตัดขึ้น
พวกเราก็มองว่านี่คือเคล็ดลับขั้นสุด เป็น wisdom เข้าซื้อตามหลักการนี้เพราะเชื่อว่าเซียนเขารวยเพราะซื้อแบบนี้ มันก็ต้องเป๊ะ ไม่มีอะไรผิดพลาดแน่นอน
ผลก็คือ เละ
เพราะอะไร ทำไมถึงใช้ไม่ได้?
ก็เนื่องมาจาก มันยังมีสิ่งแวดล้อมอีกบล็อกที่หล่อหลอมให้เซียนคนนั้นเขากรองก่อนไง ซึ่งบางทีมันก็อธิบายไม่ได้ เพราะมันต้องใช้ "ใจ" ซึ่งต้องผ่านกระบวนการ I - K -U ที่เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล
ถ้ายังไม่เห็นภาพนะครับ ขอเสนออีกตัวอย่าง
นี่คือหนึ่งในหนังสือหุ้นที่ดีที่สุดในโลก (ในความเห็นของผมนะ) เขียนโดยปู่โอนีล
ผมมองว่าเนื้อหาในเล่มนี้ ถือเป็น wisdom ของแกทั้งนั้นเลยครับ
แต่กระนั้น ผมก็มองว่า น้อยคนนักที่จะเข้าใจถ่องแท้เท่าคนเขียน
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ยังไม่กำไรหุ้นอย่างที่ปู่เค้าทำได้
นี่แหละครับ ที่ผมบอกว่า wisdom ของเซียน ก็เป็นแค่ information สำหรับเม่าเท่านั้น
แล้วถ้าอยากไปให้ถึงขั้น wisdom จะต้องทำยังไง?
คุณต้องทำการบ้าน หาจุดร่วม ทดสอบและปรับจนเจอทางของคุณเองสิครับ
ถ้าเอาจริง คุณก็จะเป็นแบบนี้
พี่มาร์ค เป็นตัวอย่างที่ดีครับ แกชอบไอเดียของปู่โอนีล แต่ก็มองว่ามันยังมีบางส่วนที่ยังมีช่องโหว่ หรือแกไม่เข้าใจ ก็เลยต้องไปค้นคว้าเพิ่ม เพื่อทำให้ตัวเองเห็นภาพ cup with handle ได้ชัดขึ้น หรือเห็นจุดร่วมว่าทำไมหุ้นถึงได้วิ่งขึ้นแรงๆ เมื่อรวบรวมและปรับใช้จนสามารถทำซ้ำได้ ก็กลายเป็น wisdom ของตัวเอง คือเนื้อหาเล่มนี้ในที่สุด
แม้แต่ลูกศิษย์ที่เทรดมาด้วยกัน ยังต้องหา wisdom ของตัวเลย
Trade like an O'Neil Disciple เป็นงานเขียนของศิษย์ก้นกุฏิปู่โอนีล ที่เทรดมาด้วยกันกับอาจารย์แท้ๆ
แต่ในที่สุดก็ต้องมีแนวทางของตัวเอง
เนื้อหาในเล่ม ถ้าคุณเคยอ่าน ก็จะพบว่า เป็นการมองในมุมของ daily chart ซึ่งต่างจากงานของซือแป๋ที่ใช้การฟวีค แถมยังมีไอเดียเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการมอง pivot buy point, buyable gap รวมถึงวอลุ่ม ที่ขยายความแต่แตกประเด็นต่อจากต้นฉบับ จนในที่สุดก็กลายเป็น wisdom ของพวกเค้าเอง
อีกเล่มก็คือ Monster Stocks ผู้เขียนก็ได้รับแรงบันดาลใจจากปู่โอนีลเช่นกันครับ งานที่ออกมาก็มีน้ำเสียงที่ต่างออกไปทั้งการใช้เส้นค่าเฉลี่ยและไอเดีย
นี่คือเคสที่สนับสนุนไอเดียที่ว่า wisdom ของเซียน ก็เป็นแค่ information สำหรับเม่าเท่านั้น
ดังนั้นต่อไป เราอย่าเข้าผิดและคิดไปเองว่าเคล็ดลับที่เรารู้มามันจะเป็น holy grail เพราะไม่มีทาง แนวใครก็แนวมัน ส่งต่อไม่ได้หรอก ไหนจะสิ่งแวดล้อม กำลังทรัพย์ สภาพจิต มันต่างกันสิ้นเชิงครับ ดังนั้นคุณต้องยอมรับและตั้งคำถามกับมันก่อนเสมอ ทำความเข้าใจที่มาที่ไป แล้วปรับใช้ให้เหมาะกับตัว
การประยุกต์ใช้
เวลานักวิเคราะห์ให้หุ้นมาสักตัว ต้องคิดวิเคราะห์ต่อด้วยครับว่า
๑) หุ้นที่เราได้มานั้น เป็นแค่ Data เท่านั้น
๒) คุณต้องเอาไปเข้ากระบวนการเพื่อหา information
- ใครให้ ข้อนี้สำคัญ แต่ละคนก็มีความน่าเชื่อถือต่างกัน บางคนบอกเพื่อให้เล่นสั้นเท่านั้น อีกคนก็เหมาะสำหรับเล่นยาว คุณต้องแยกให้ออกก่อนเป็นเบื้องต้น
- ทำไมเขาให้หุ้นตัวนี้
- ให้เมื่อไหร่ มีข่าวมาด้วยมั้ย? สภาพตลาดเป็นยังไง
ในขั้นตอนนี้ คุณควรแยกแยะหุ้นออกว่ามันเป็นประเภทไหนบ้าง เล่นสั้น กลาง หรือยาว
๓) กรองต่อด้วยการเข้าสู่ Knowledge และ Understand
พอมาถึงขั้นตอนนี้ คุณต้องใช้ความรู้ขั้นกว่าเข้ามาช่วยกรอง ทั้งพื้นฐานและเทคนิคอล
- มันดีจริงอย่างที่เขาว่าหรือเปล่า จะโตได้จริงอย่างที่บอกมั้ย
- กราฟเป็นยังไง ถ้าซื้อตอนนี้จะได้เปรียบมั้ย
๔) ใช้ wisdom
- เลือกว่าตัวไหนดีที่สุดสำหรับเข้าซื้อ ทรงราคาแบบไหนที่เราถนัดที่สุด เข้าแล้วมีโอกาสแพ้น้อย
- จัดการเงินหน้าตักของตัวเอง เพื่อเข้าซื้อ ให้เหมาะกับตัวนั้น
- จุดหนีที่เราต้องการ และสบายใจ ที่เหมาะสำหรับเงินต้นของเรา
ฯลฯ อะไรก็ตามที่ทำเพื่อให้คุณได้ประเปรียบ และเสียหายน้อยที่สุด
คลิปที่มีเนื้อหาคล้ายกัน
VIDEO
VIDEO
VIDEO
VIDEO
(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
คลิกลิ้งนี้ครับ
https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ