การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

ย้อนรอยหุ้น PTT ตั้งแต่ IPO ตามเสี่ยยักษ์


สารภาพว่าผมน่ะ เคยอยากรู้มากๆว่าตอนที่ PTT หรือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หุ้นที่เป็นเบอร์หนึ่งของประเทศในขณะนี้ ช่วงที่เข้าตลาดมาใหม่ๆ จะทำทรงยังไง ก็เคยอ่านจากหนังสือ "กูรูหุ้นพันล้าน" ของเสี่ยยักษ์ที่แกบอกไว้ว่า PTT เป็นหนึ่งใน Big Shot ของแกเลยคือกำไรตัวเดียว 700 ล้านบาท

จึงอยากทำบทความย้อนรอย แกะร่อง ว่าที่แกพูดถึงนั้นมันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงไหน
เริ่มจากส่วนหนึ่งของบทที่ 11 ก่อนเลย เพราะแกอธิบายเรื่องนี้ไว้



ปล. บทความนี้ถูกรวมไว้ในหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ครับ



********
แนะนำช่องยูทูปใหม่ของผมครับ 
จะโฟกัสไปที่ Crypto Currency และ หุ้นจีน ครับ
ผมจะแชร์ประสบการณ์การเทรด, คัดหุ้น/เหรียญ, ซื้อ ถือ และขาย
ด้วยการใช้ความรู้ที่เขียนไว้ในหนังสือ
หุ้นซิ่ง สวิงเทรด และ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่
ไปประยุกต์ใช้ ในการเทรดให้เห็น
ใครสนใจเทคนิค และการใช้งาน สามารถตามได้นะครับ 

 คลิกเพื่อเข้าชมช่อง CryptoZyo
ความต่างกันระหว่างช่อง Zyo กับ CryptoZyo
ช่อง Zyo ผมจะเน้นหนักไปเรื่องของ mindset, trading psychology
ส่วน CryptoZyo จะเน้น Methods เทคนิคการคัดหุ้น เทรด ครับ

***********


ได้ราคาจอง 35 บาท แต่เจอเขย่าจึงต้องรีบล็อกกำไร
...สำหรับหุ้นที่เป็น "จุดหักเห" ของพอร์ตวิชัย ตัวหนึ่งก็คือ หุ้นปตท.(PTT) เขาบอกว่าหุ้นตัวนี้ทำกำไรให้มากที่สุด ประมาณ 700 ล้านบาท เสี่ยยักษ์ เล่าว่า ก่อนที่หุ้นปตท.จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ช่วงปลายปี 2544 ก่อนหน้านั้นรู้อยู่แล้วว่าหุ้นตัวนี้ต้องดีแน่ เป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดด้านพลังงานของประเทศ ทุกคนมองหุ้นตัวนี้ดีหมด "ผมจ้างคนไปเข้าคิวจองหุ้นปตท. ตั้งแต่ตี 5 ใช้ชื่อญาติพี่น้องเป็นสิบๆคน กระจายกันไปจอง จำได้ว่าคนหนึ่งจองได้ 20,000 หุ้นราคาไอพีโอ 35 บาท ก่อนหน้านั้นผมกลับไปที่จังหวัดอยุธยา ไปเขียนใบจองล่วงหน้า 2-3 วัน โดยขอออเดอร์แรกทุกสาขา ทุกธนาคารที่เปิดจอง เพราะในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีคนนิยมเล่นหุ้น ผมก็ไปเตรียมการไว้ก่อน

...สรุปว่า ได้หุ้นมารวมกัน 7 แสนหุ้น ผมไม่มีเส้นสาย ไม่มีพวก จำนวนหุ้นขนาดนี้ถือว่าเยอะมาก ได้มา 35 ใบจอง ลงทุนไป 24.50 ล้านบาท" วิชัย จำได้ว่า ความคิดตอนนั้น จะฝากชีวิตไว้กับหุ้นปตท. นี่แหละ!!

 แต่ที่ไหนได้..หลังจากหุ้นปตท.เข้ามาเทรดในตลาดวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ขึ้นไป High ที่ราคา 38.25 บาท แล้วถูกกดลงมาปิดที่ราคา 35.75 บาท "ชั้นเชิงของรายใหญ่ (พวกกองทุน) เขาจะต้องขยายหุ้นหรือเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต ก่อนลากราคาขึ้นไป พอเปิดมา 35.75 บาท เขาบี้อยู่อย่างนั้นตั้งนาน จนผมทนไม่ไหว ต้องขายออกไปที่ราคา 35.50 บาท การที่เราโฟกัสหุ้นตัวนี้ตัวเดียว เวลาที่หุ้นลง ความรู้สึกมันอึดอัดมาก"


วิชัย บอกความรู้สึกว่า รายใหญ่เขาจะจับเรา(นักลงทุน)เข้าเครื่องเขย่าหุ้น ให้คนที่ใจไม่ถึงต้องออกไป กลยุทธ์ของเขาคือ ทำให้พวกที่ใจไม่ถึงต้อง "คืนของ" หรือ "ขายคืน" ประจวบกับช่วงนั้นดัชนี SET อยู่แถว 300 จุดต้นๆ หุ้นตัวเล็กตัวน้อยขึ้นตลอด จนวิชัยทนไม่ไหว ต้องขายหุ้นปตท.ที่เป็นหุ้นในดวงใจในขณะนั้น ทิ้งไปทั้งก้อน "ช่วงนั้น ผมซื้อหุ้นปตท.เพิ่มเป็น 1 ล้านหุ้น ลงทุนไปประมาณ 35 ล้านบาท กู้เครดิตบาลานซ์ซื้อเพิ่มอีก 1 ล้านหุ้น รวมเป็น 2 ล้านหุ้น แต่ไม่สำเร็จก็ต้องออก เอาเงินไปเล่นเก็งกำไรหุ้นตัวอื่น" หลังจากนั้นดัชนี SET ก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ


ขาย PTT ออกไปเล่นหุ้นเก็งกำไร พอร์ตโตเท่าตัวแต่ใจสั่นตลอดทาง
แม้พอร์ตของวิชัยจะเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านบาท (ช่วงหุ้นปตท.เข้าตลาด) เพิ่มขึ้นมาเป็น 70 ล้านบาท จากการเล่นหุ้นเก็งกำไร พอร์ตหุ้นโตขึ้นมา 1 เท่าตัว แต่เขาก็รู้สึกว่าชีวิตเสี่ยงมาตลอดทาง



ขณะเล่นหุ้นซิ่ง PTT แอบ sideway up
ขณะเดียวกันหุ้นปตท. ก็ค่อยๆ แอบขึ้นมาเงียบๆ แต่ก่อนจะขึ้นใหญ่ ราคาหุ้นปตท.วิ่งในลักษณะ "ไซด์เวย์" อยู่นานเป็นปี (2545-กลางปี 2546) จากราคาจอง 35 บาท ราคาหุ้นลงไปต่ำสุด 28.75 บาท ในวันที่ 30 เมษายน 2545 แล้วไล่ขึ้นไป 38 บาทในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากนั้นก็กดราคาลงมาอีกทีเหลือ 34 บาทในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 ต่อจากนั้นราคาก็เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 38 - 45 บาทนานอีกหลายเดือน จนถึงกลางเดือนเมษายน 2546 ราคาหุ้นปตท.ทะยานขึ้นไปเร็วมาก ขึ้นไป 78 บาทในวันที่ 8 กรกฎาคม 2546

วิชัย อธิบายว่า จากช่วงเดือนธันวาคม 2544 ถึงกรกฎาคม 2546 พอร์ตหุ้นของตัวเองเพิ่มขึ้นมา 1 เท่าตัวจากการเล่นหุ้นปั่น ขณะที่หุ้นปตท. ก็ขึ้นมา 1 เท่าตัวเหมือนกัน
"ถ้ามองย้อนกลับไป มันก็ดีที่คุณมีเงิน 35 ล้านบาทเพิ่มเป็น 70 ล้านบาท แต่ผมฉุกคิดได้ว่า เวลาที่เราเล่นหุ้นปั่นกำไร 100% ก็จริง แต่มันเสี่ยงตลอดทาง เข้าถูกตัวบ้าง เข้าผิดบ้าง ที่บอกว่ามันเสี่ยงก็เพราะว่าหุ้นหลายตัวที่เล่น พี/อี 30-40 เท่า แล้วบางตัวขาดทุน เพราะหุ้นปั่นส่วนใหญ่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี ยิ่งถือนานยิ่งเสี่ยง"
ช่วงปี 2545 ในก๊วนตีกอล์ฟ วิชัยยังจำได้ว่า เคยบอกให้เพื่อนๆ เก็บหุ้นปตท. เดี๋ยวมีรถเฟอร์รารี่ขับ "เชื่อผมซิ!" แต่ไม่มีใครซื้อ เพราะมันไม่สนุก เขาไปเล่นหุ้นปั่นกันหมด "...ช่วงที่หุ้นปตท.อยู่แถวๆ 35 บาท ผมเชียร์ให้ทุกคนซื้อเก็บยาวเลย แล้วไม่ต้องมอง เพราะผมมองว่ารายใหญ่ รายย่อย มีต้นทุนเท่ากัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ
......แต่ผมดันทนไม่ไหวเอง ขายหุ้นทิ้งออกไปก่อน" เสี่ยยักษ์ กล่าวถึง การตัดสินใจที่ผิดพลาดในครั้งนั้น

ตัดสินใจเข้าซื้ออีกครั้ง ตั้งแต่ 70 บาท
ช่วงนี้พูดไว้ในบทที่ 12
ตอนซื้อหุ้นปตท.ใหม่ๆ ผมก็ไม่รู้ มันทำให้หุ้น ปตท.พุ่งขึ้นจาก 70 บาทไป 190 กว่าบาท ภายในเวลาแค่ 5-6 เดือนเท่านั้น"



ถ้าย้อนหลังกลับไปในเดือนมิถุนายน 2546 ราคาหุ้น ปตท.ปิดตลาดที่ 66.50 บาท อีก 6 เดือนต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 ราคาหุ้น ปตท.ทะยานขึ้นไปสูงสุดที่ 193 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 190% ในรอบ 6 เดือน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ค่อยๆขยับขึ้นจาก 25-27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 ทะยานพุ่งขึ้นไปสูงสุด 72-73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2549 เป็นทิศทางขาขึ้นนานถึง 3 ปีเต็ม

ระหว่างที่ราคาหุ้น ปตท.กำลังปรับขึ้นเพื่อสร้างสถิติใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยสัญชาตญาณของ "นายพราน" เสี่ยยักษ์ ขณะนั้นมีหุ้นปตท.อยู่แล้ว 2 ล้านหุ้น (กู้เครดิตบาลานซ์ 1 ล้านหุ้น เงินตัวเอง 1 ล้านหุ้น) พอหุ้น ปตท.ปรับขึ้น "อำนาจซื้อ" ก็เพิ่มขึ้น หมายความว่า วงเงินกู้เครดิตบาลานซ์ ก็เพิ่มขึ้นตาม เขาก็ใช้วิธีกู้เงินซื้อหุ้น ปตท.เพิ่มเข้าพอร์ตไปเรื่อยๆ ราคาหุ้นยิ่งปรับขึ้น อำนาจในการ (กู้) ซื้อก็ยิ่งเพิ่มขึ้น "

...จาก 2 ล้านหุ้น ผมก็มีหุ้นเพิ่มเป็น 4 ล้านหุ้น" ทั้งๆ ที่เสี่ยยักษ์มีทุนซื้อหุ้นครั้งแรกเพียง 70 ล้านบาทหรือ 1 ล้านหุ้นเท่านั้น "ข้อดีของการเล่นหุ้นด้วย "เครดิตบาลานซ์" เมื่อมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น (ราคาหุ้นสูงขึ้น) ผมก็กู้เงินซื้อหุ้น ปตท.เพิ่มเข้าพอร์ตตลอดเวลา

ที่มั่นใจก็เพราะว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกมันขึ้นไปเรื่อยๆยิ่งขึ้น ผมก็ยิ่งซื้อหุ้น ปตท.เก็บ" เขาบอกว่า ขณะนั้นมีต้นทุนถัวเฉลี่ยในพอร์ต (จำนวน 4 ล้านหุ้น) อยู่ที่หุ้นละ 90 บาท


จนถึงต้นปี 2547 หุ้น ปตท.ขึ้นไป 193 บาทก็ยังไม่ขาย มาขายที่ราคา 170 กว่าบาท "สาเหตุที่ยังไม่ขาย ก็เพราะว่าเราไม่รู้ว่าหุ้นจะขึ้นต่อไปอีกหรือไม่ เราต้อง Let the Profit Run ปล่อยให้กำไรวิ่งเต็มสตีม เมื่อไรที่ราคาเริ่มปรับฐานลงมาพร้อมวอลุ่ม เราก็ล้างพอร์ตออกไปให้หมด"

วิชัยสรุปว่า หุ้นปตท.ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะหุ้นปตท.ตัวเดียวทำกำไรให้รวมกันมากที่สุด ประมาณ 700 ล้านบาทจากเงินลงทุนเพียงแค่ 70 ล้านบาท

นี่คือร่องรายที่ผมแกะและชี้กราฟให้ท่านเห็นจากคำบอกเล่าครับ



มั่วหลังเกมส์
ต่อไปจะเป็นการมองหลังเกมของเม่านะครับ
ต้องออกตัวก่อนว่าเป็นการตั้งข้อสังเกตจากคนนอกที่ร้อนวิชาเท่านั้น ถ้าอยู่หน้างานจริงๆคงทำไม่ได้แบบที่โม้ไว้แน่นอน เริ่มต้นเรามาดูภาพใหญ่ของมันก่อน
จากคำบอกเล่าของเสี่ยยักษ์จุดต่ำสุดของ PTT คือ 28.75 กลมๆ 30 บาท จุดสูงสุดกลมๆ 440 บาท
วิ่งไกลมากกว่า 1300%  ในเวลา 6 ปี จากนั้นก็วิ่งแกว่งขึ้นลงในลักษณะ sideway up กระทั่งในวันนี้ราคาก็ไปหยุดที่ 425 บา ซึ่งไกล้ๆไฮเดิมแบบหายใจรดต้นคอ และผมก็แอบคิดว่า ถ้า SET จะไปถึง 2000 จุดได้ PTT สมควรต้องถูกเข็นให้ All time high อย่างไม่ต้องสงสัย

แต่นั่นเป็นอนาคตครับ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะไปได้จริงหรือเปล่า ดังนั้นอย่าไปกังวลกับมัน
ย้อนกลับไปดูอดีตก่อนดีกว่า ถ้าเรามีความรู้เรื่องฐานราคา เราจะได้จุดซื้อที่งามๆตรงไหนบ้าง
ต่อมา ผมอยากชวนให้ท่านดูวอลุ่มในช่วง (A) กับ (B) ซึ่งเป็นช่วงที่ราคากำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากการ Base 1 ซึ่งผมมองว่าเป็นช่วง Accumulation ตามหลักการของ Wyckoff Logic และจากนั้นมันก็ยกฐานขึ้นไปทีละนิด เป็น Base 2 และ Base 3 ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นการสะสมเช่นกัน คือสะสมในขาขึ้น

เมื่อเราซูมมาเจาะดูช่วงนี้แบบจริงจัง ระดับราคา 38.25 หรือจะว่าไปแล้วผมคิดว่า 38 บาท น่าจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสำคัญมากกว่า เพราะบางที 38.25 อาจจะเป็นการไล่ซื้อแค่เขี่ยๆไม่กี่ร้อยหุ้นก็ได้
จาก A ไป B จนถึง C นั้น 38 บาท มีส่วนพัวพันตลอดๆ

เนื่องจากเพราะมันเป็นระดับ All time high นั่นเองครับ เป็นราคาที่คนมองกำไรระยะสั้นให้ความสำคัญมาก เพราะพวกเขาจะคิดว่ามันไม่น่าผ่านไง ต้านใหญ่มาก ต้องขายเท่านั้น
ตั้งแต่จุด A มาแล้ว ราคาวิ่งขึ้นไปเขี่ยก็เจอถีบร่วงทันที

พอมา B ก็มีความพยายามขนสรรพกำลังเงินเข้ามาไล่ซื้อให้ข้ามจงได้ แต่ก็ได้แค่สะกิดๆเท่านั้น เจอขายทำกำไรขวางตลอดทางขึ้นนั้นจนราคาต้องย่อลงไปปิดต่ำว่า 38 และวันต่อมาก็ไม่เหลือ โดนขายกดให้ลงไปย่ำ 37 บาท เด้งกลับขึ้นไปชน 38 หลายครั้ง ซึ่งถ้าท่านใช้เวลาละเลียดให้ดีนะ ช่วงแท่งขาวอันเป็นตังแทนของการซื้อ demand ชนะวอลุ่มจะสูง พอเป็นแท่งแดงที่สื่อว่า supply ชนะวอลุ่มจะน้อยลงกว่ามาก แบบนี้ก็สื่อว่า แรงขายอ่อนกำลังลง คนอยากขายยิ่งนานยิ่งร่อยหรอ แบบนี้อีกไม่นานก็วิ่งแน่

และอีกไม่กี่วัน ราคาก็ดีดข้าม 38 ได้อย่างง่ายดายเลยครับ มันวิ่งไปต่อจนข้าม 40 บาท ได้แล้ว แต่ก็ยืนไม่อยู่ ซึ่งผมก็เดาเอาว่าคนเล่นรอบเอาอีกแล้ว เมื่อเจอขวางไม่ให้ไปต่อ ราคาก็ย่อลงหนักสิครับ  ก็รุนแรงเสียจนหลุด 38 บาทไปเลย ใครที่คิดว่าแนวต้านที่ผ่านยากอย่าง 38 บาท ต้องมีตาลีตาเหลือกคัทหนีกันแน่ แต่ถ้าหากเขายังใจเย็นพอรอดูอีกสองสามวันก็จะพบว่ามันเด้งกลับไปยืนเหนือ 38 ได้แบบไม่ยากเย็น แถมดีดแรงไปทำ All time high ได้เฉยเลย

แต่ด้วยความที่ช่วงนี้ คนอยากขายมีมากกว่าอยากซื้อ เพราะแบบนี้นะ ผมคิดว่าคนเราก็เหมือนธรรมชาติแหละ ในช่วงที่ฤดกาลเปลี่ยน อากาศมักแปรปรวน อาทิ จากหนาวเป็นร้อน ช่วงเปลี่ยนผ่าน มันก็จะมีการต่อสู้ของอุณหภูมิที่ต่างขั้ว และด้วยความที่ความหนาวชักจะอ่อนแรงเจอกับความร้อนที่เพิ่งก่อนตัว มันก็เลยไม่ร้อนทันที สลับหนาวสลับร้อน และช่วงที่กำลังสูสีกันก็เกิดฝน



หุ้นก็เหมือนกันครับ มันมีคนสองกลุ่ม คือ
๑) นักเล่นเก็งกำไรสั้นๆ มีจำนวนเยอะ แต่เงินน้อย
๒) นักลงทุนระยะยาว มีจำนวนน้อย แต่เงินหนา
ช่วงที่ stage เพิ่งเปลี่ยน จากสะสมเป็นขาขึ้น นักเล่นเก็งกำไรส่วนใหญ่คิดว่าไม่น่าไว้ใจ ไม่อยากจะเชื่อว่าราคาขึ้นจริงหรือเปล่า มันยังมีความเสี่ยงอยู่ จึงคิดเล่นสั้นกันเท่านั้น
ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวเงินหนา ที่มองออกว่า PTT จะต้องไปได้ไกลกว่านี้อีกหลายร้อยโยชน์ ก็อาศัยคนเล่นรอบสั้นนี่แหละคาบและคายหุ้นให้เขา ช่วยดึงสภาพคล่อง ช่วยเก็บหุ้นที่ถูกขายมากมายในตลาดเอามาขายให้รายใหญ่ในราคายังถูกๆอยู่ ซึ่งพวกเขาก็ชอบใจมาก จึงไม่ไล่ราคาแรง ขึ้นแบบยึกยัก ขึ้นแรงย่อหนัก sideway up สะสมหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆแบบใจเย็นสุดๆ

เมื่อเราได้ไอเดียเปรียบเทียบแบบนี้แล้ว ก็น่าจะทำให้เข้าใจว่าทำไมราคาดีดขึ้นไปแรงแล้วลงมาย่ำ 38 บาทหลายครั้ง เพราะในช่วงเปลี่ยนผ่าน การเขย่าเอาของย่อมมีตลอด
แต่กระนั้น, ในความผันผวนเราน่าจะจับสังเกตได้ว่า 38 บาท มันมีนัยยะจริงๆ จาก B ไป C ราคาจะค่อยๆยกโลว์จากต่ำใต้ เข้าไปไกล้ 38 บาท และใช้เป็นฐานย่ำเพื่อเด้งในที่สุด

นี่แหละครับคือการอธิบายบริบทของการเปลี่ยนจากแนวต้านเป็นแนวรับได้สมจริงที่สุด เพราะถ้าเราอ่านหนังสือมาจะจำได้แค่ว่าระดับราคา 38 บาทต้องเอาอยู่เท่านั้น ลงมาชนแล้วต้องเด้ง
แต่ในโลกแห่งความจริงแล้ว มันจะไม่แข็งโป๊กขนาดนั้น ราคามีหลุดไปบ้าง แต่ก็จะรีบดีดกลับขึ้นไปยืนเหนือระดับนั้น การมองให้เป็นโซนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่นในเคส PTT 38 บาท เป็นแนวรับก็จริง แต่เราก็ควรขยายขอบเขตเผื่อให้ย่อ ให้เขย่าเสียหน่อย เป็นสัก 37 ต่อให้บาทนึงเป็นต้น

เมื่อราคาย่ำฐาน 38 บาทได้หุ้นมากพอแล้ว ก็ดีดขึ้นแรงเลยครับ มันวิ่งขึ้นพรวดๆ ไปถึง 43 บาท แล้วโดนกดพรวดให้ย่อลงไปหยุดที่ 41 เพื่อที่จะเด้งกลับขึ้นไปทำนิงไฮที่ 45 ก่อนที่จะโดนขายหนัก ผสมโรงกับการเขย่าให้ลงจนถึง 41 สร้างความหวาดเสียวให้กับกองเชียร์ยิ่งนัก

ถ้าเราจำการเปรียบเทียบกับสภาวะอากาศได้ ก็จะเข้าใจและอดทนในวันที่ฝนพรำแบบนี้ได้ครับ ว่าถ้ามันได้เปลี่ยนเทรนด์เป็นขาขึ้นแล้ว ยังไงมันต้องไปต่อแหละ แต่ในระหว่างทางของการเปลี่ยนผ่านก็ต้องเจอวันที่เมฆครึ้มฝนฟ้าคะนองเป็นปกติ

ตั้งแต่ราคาข้าม 38 บาท เป็นช่วงเปลี่ยนแนวโน้มครับ คล้ายช่วงฤดูการเปลี่ยนแปลง ราคาจึง sideway up ทยอยสร้างฐานขึ้นไปทีละนิด อารมณ์เหมือนฝนตกเมฆครึ้ม น่าหดหู่

แต่ธรรมชาติก็มีจังหวะของมันเสมอ ฝนมีตก ก็มีหยุด เมื่อฝนหยุดอากาศปลอดโปร่ง สรรพสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ก็ออกมาหากิน ต่างเบิกบาน ราคาหุ้นก็เหมือนกัน เมื่อทุกอย่างเคลียร์ รายใหญ่เก็บหุ้นได้จนพอใจแล้ว คนขายน้อยลงจนไม่คุ้มที่จะรอแล้ว เขาก็ไล่ราคาขึ้นครับ พอราคาข้าม 45 บาทได้ ก็ซิ่งแรงเลย โน่นไปหยุดที่ 80 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขกลมๆ ถ้าคิดดูให้ดี ก็อาจจะเป็นหลักไมล์เด้งแรกจาก All time high ก็ได้นะ ที่คนเล่นรอบระยะกลางต้องการขาย ราคาก็เลยย่อแรงด้วยเหตุนี้ก็ได้
เพื่อความแน่ใจว่าตัวเองไม่มโน ก็ต้องเปิดกราฟ SET ขึ้นมาดูประกอบว่าในช่วงนั้นเป็นยังไง
ก็จะได้เบาะแสเพิ่มว่า ตอนนั้นดัชนีตลาดบ้านเราวิ่งไปเจอต้านใหญ่คือ 500 นั่นเอง และแน่นอนจุดนั้นใครๆก็จ้องจะขายเพื่อล็อกกำไรครับ พวกเขาคิดว่ามันไม่น่าจะผ่านไปได้ง่ายๆแน่ ซึ่งมันก็จริงครับ พยายามชนสองครั้ง แต่ก็ไม่ผ่าน ซึ่งความหวาดกลัวต่อดัชนีมันก็ส่งผลไปถึงราคาหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดครับ PTT ก็ไม่ยกเว้น (ไม่แน่ใจว่าตอนนั้น Market Cap จะมากพอที่จะชี้นำตลาดได้หรือยังนะ) มันย่อตามตลาดหลักครับ ซึ่งถ้าเราจำจังหวะการเข้าซื้อ PTT ของเสี่ยยักษ์ได้ ท่านก็น่าจะเข้าซื้อในช่วงนี้แหละ ตลาดย่อราคาหุ้นย่อ แต่ท่านมองว่าราคาหุ้นปตท.ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลก และตอนนั้นราคาน้ำมันก็วิ่งขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น PTT ต้องไปต่อได้อีก จากความเชื่อแบบนี้เองที่ทำให้ท่านกัดฟันเข้าซื้อสะสมหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ 70 บาท และจากนั้นเมื่อมันขึ้นแกก็ซื้อเพิ่มจนได้ราคาเฉลี่ย 90 บาท ตามข้อมูลในหนังสือ



ซึ่งสิ่งที่เสี่ยยักษ์คิดไว้ก็ถูกต้องครับ แม้ว่าราคาหุ้น PTT จะซึมออกข้างนานกว่า SET ที่ย่อสองขยักแล้วเด้งขึ้นทันที แต่ PTT กลับ sideway อยู่สามเดือนก่อนที่จะดีดขึ้นแรงครับ ซึ่งพอมันดีด SET ก็ร่วงแรง (เดือน Oct) แท่งราคาก็เลยร่วงทิ้งไส้ยาวลงไปปิดที่ 90 บาท จากนั้นก็ย่อตาม SET ไปตามระเบียบ
และเมื่อดัชนีดีดขึ้น PTT ก็ขึ้นตาม เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ

 และช่วงที่เสี่ยยักษ์ซื้อรอบใหม่นั้น มันก็สร้างฐานซ้อนฐานอีกครับ
ตอนที่มันทำ Base 4 ไป Base 5 นี่แหละครับที่ผมเดาว่าเป็นช่วงที่ท่านเข้าเก็บหุ้นครั้งใหม่ โอโห...ท่านดูสิราคามันผันผวนขนาดไหน ดีดข้าม 70 ขึ้นไปได้ ก็ไปเกือบถึงร้อย แต่ก็เจอขายกดไปครึ่งหลอด ให้ลงไปย่ำ 80 บาท กำไรหายไปบานเลยครับ เป็นผมนะ หนีไปแล้วครับ (ก็แบบนี้ไงถึงได้เฉียดรวยไปนับครั้งไม่ถ้วน) แต่แกยังอึดครับ ค่อยๆเก็บหุ้นเพิ่ม(คิดว่านะ)ไปเรื่อยๆ
และฟ้าก็เข้าข้างคนมุ่งมั่นครับ พอมันพ้นจาก Base 6 ได้ ก็ซิ่งแรงแบบ parabolic move เลยคราวนี้ จาก 110 ไป 190 ในเดือนเดียว

ดู SET สิว่าช่วงนั้นมันเป็นไง
ดัชนีก็ซิ่งเหมือนกันครับ คึกตามกันนี่เอง มิน่าล่ะ
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการเล่นหุ้นให้กำไรตามสภาวะตลาดเลยนะครับ ท่านต้องเลือกหุ้นที่วิ่งสอดคล้องกับตลาด ตลาดขึ้นมันต้องขึ้นด้วย ถ้าท่านมีสักตัวในพอร์ต ด้วยจำนวนเงินที่มีนัยยะ มันเป็น Big shot ที่สามารถทำให้ท่านสามารถรวยได้เลยครับ

ด้วยเพราะการเคลื่อนไหวของ PTT สอดคล้องและอิง SET แทบทุกจังหวะที่เองครับ เมื่อดัชนีทำจุดสูงงสุด (1) และกลับตัว ปตท.ก็เอาด้วยครับ จำได้มั้ยว่าตอนนั้นเสียยักษ์ท่านไม่ได้ขาย เพราะว่าท่านมองว่ามันยังมีโมเมนตัมอยู่ น่าจะไปต่อได้อีก เป็นผมก็ไม่ได้ขายครับ เพราะตอนนั้นน่าจะโคตรฟิน คิดว่าการย่อในครั้งนี้น่าจะย่อเพื่อไปต่อทำกำไรให้เราได้อีกไงครับ



แต่เมื่อเราดูเทียบกับดัชนี พบว่า SET ดีดขึ้นไปทำ double top ด้วยระดับที่สูงกว่าเดิมเล็กน้อย (จุด 2) แต่ก็ยืนไม่อยู่ทิ้งไส้นกลับลงมาเล่นในกรอบ
ตรงข้ามกับ PTT ครับ ตัวนี้ไม่ยอมดีดกลับขึ้นไปนิวไฮ แล้วทิ้งไส้ตาม มันกลับเด้งแบบอ่อนแอมาก เจอแบบนี้ก็น่าจะขายจริงๆครับ
แต่กระนั้น, ผมไม่แน่ใจว่าเสี่ยยักษ์ของผม แกจะขายตอนไหนนะ อาจจะเป็นแท่งแดงยาวกลับตัวจากจุด (1) ก็ได้ เพราะแกบอกว่า ราคาย่อด้วยวอลุ่มสูงแบบนี้ ขายล้างพอร์ตออกไปก่อน

และจากนั้นไป SET ก็ร่วงลงไปทำนิวโลว์ เหมือนจะจบรอบ โดย PTT ก็ลงตามเช่นกันครับ
แต่...เมื่อหุ้นเป็นขาขึ้นแล้ว มันจะไม่ยอมลงยกเว้นว่าจะเจอของแข็งขวางไม่ให้ไปต่อครับ
จากที่เสี่ยท่านขายหุ้นออก PTT ย่อจริงครับ แต่ไม่ลงหนักจนจบรอบ มันแค่พักฐานใหญ่เท่านั้นเอง หลักฐานก็คือมันไปย่ำที่โซน 150 บาทหลายเดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นไปหาไฮเดิม (และดู้หมือนจะทำ cup with handle ด้วยนะ) จากนั้นก็ดีดต่อไปทำ All time high แต่ก็ไม่ได้วิ่งแรงกำไรเร็วอีก มันทำ sideway up เป็นขาขึ้นไปแบบเงียบๆ จนไปหลุดที่ไกล้ๆ 275 บาท ก็ขึ้นจาก 150 ไปเกือบเด้งเหมือนกัน

ซึ่งช่วง sideway up จากปี 2004 ไป 2007 นั้น ผมขอข้ามไปนะ เพราะมันมีไฮไลท์จากนั้นที่ว่าราคาวิ่งแรงพรวดๆจาก 200 บาท ไปทะลุ 425 ในเวลาปีเดียว น่าสนใจกว่า

(ความจริงแล้วนะ ผมชอบแบบเสี่ยยักาษ์นะ คือเอาเฉพาะตอนที่มันวิ่งแรงๆพอ กำไรไวดี)

ขอซูมดูไกล้ๆ
ซึ่งตามหลักการของผมแล้ว จะไม่ได้ซื้อที่ 200 บาทหรอกครับ เพราะไม่มีภูมิรู้ที่เทพขนาดนั้น แม้จะได้ซื้อก็คงทนถือได้ไม่นานเพราะคงได้อึดอัดขายทิ้งที่สองร้อยกว่าบาทแน่นอน
เอาเป็นว่าเราไปดูจังหวะที่จับต้องได้ แม้คนจบป. 4 ก็เห็นตรงกันดีกว่าครับ
ตรงนั้นก็คือช่วงที่ราคามันทำ All time high false breakout นั่นแหละครับ

ที่ผมชอบจุดนี้เพราะมันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของแนวโน้มครับ คือมันต้องเลือกว่าจะย่อกลับลงไปอยู่ในกรอบต่อแบบคนขี้แพ้ หรือจะดีดกลับขึ้นไปสูดอากาศข้างบนแบบผู้ชนะเขาทำกัน
และเมื่อ PTT แสดงออกด้วยการดีดขึ้นไปทำ All time high ด้วยการข้ามระดับ false breakout ขึ้นไปได้ เราก็ตามครับ เพราะเขาเลือกวิ่งไปทางตามที่เราหวัง คือทางของผู้ชนะ

จากนั้นมันก็วิ่งขึ้นดีครับ จาก 280 ไป 330 ก็ 50 บาท ประมาณ 17% แต่ด้วยดัชนีมันเจอแรงขายหนักมากครับ  ก็คิดว่าน่าจะมาจาก PTT นี่แหละ เพราะตอนนี้ผมคิดว่า Market Cap น่าจะมากพอที่จะชี้นำ SET ได้แล้วนะ
คือเมื่อเห็นการย่อของ PTT ในครั้งนี้ ถ้าเราเป็นคนที่มองไกล แล้วไม่คิดขายเมื่อเห็นราคาย่อลงไปหลุดระดับ handle ได้เนี่ย ผมว่าท่านบรรลุธรรมแล้วครับ เป็นผมอาจได้ขายขาดทุนตอนที่มันหลุดลงไปให้ขาดทุนก็เป็นได้
จึงทำให้นึกถึงคำพูดของปู่โอนีลที่ว่า การปล่อยให้กำไร 20% ร่วงกลับลงไปขาดทุนแล้วค่อยขาย ถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง
ดังนั้น หากราคาย่อหนักจนทำให้เราไม่มั่นใจในอนาคตของมัน ต้องหนีก่อนนะครับ

โอเค แม้ว่า PTT จะลงไปหลุดระดับ handle ที่เราซื้อไปได้ แต่อีกสองวันมันก็ดีดกลับขึ้นไปได้ครับ และจากนั้นราคาก็ดีดแรงวิ่งพรวดๆขึ้นไปทำ All time high เพราะอะไรครับ ทำไมถึงเด้งที่จุดนี้ท่านรู้มั้ย?
EMA100 นี่เองครับ ที่ทำให้คนใจถึงบางคนทนถือได้ พวกเขาไม่ได้บรรลุธรรมอะไรหรอก การที่ราคาลงไปหลุดเส้นร้อยวันลงไปในระหว่างวันแต่มีการซื้อกลับขึ้นไปปปิดเหนือเส้นนี้ได้ภายในสิ้นวัน ก็ถือว่ามันเคารพเส้นค่าเฉลี่ย และมีโอกาสไปต่อและทำ All time high ได้ครับ ซึ่ง PTT ก็ทำได้



จุดขายอยู่ตรงไหน (ถ้าดูย้อนหลังนะ บอกก่อน)
มันมีจังหวะบอกเบาะแสการจบรอบให้เราเห็นอยู่นะ เริ่มจากราคาเปิดโดดทำ Exhausting gap วอลุ่มพีค ก็เป็นสัญญาณการเข้าซื้อที่ผิดจังหวะของเม่า ตามแนวคิด Contrary Opinion ครับ สาเหตุน่าจะมาจากข่าวหรืออะไรก็ตามที่ทำให้เม่าเฮโลเข้ามาแย่งซื้อหุ้นกัน มันเปิด gap สองครั้งด้วยครับ แบบนี้น่ากลัว
และเมื่อราคาวิ่งขึ้นแรงก็จะมีการขายทำกำไรจากนักลงทุนที่เข้าใจสภาพแวดล้อมครับ ดูแท่งแจกจ่ายที่ผมชี้ให้ดูนะครับ มันเปิด gap ขึ้นไปหาไฮเดิมแต่ไม่ไปต่อ เจอขายหนักทำแท่งแดงยาว นี่ก็สื่อว่าเป็นสัญญาณการแจกจ่าย และวันต่อไปมันเปิด gap ลงไปต่อ โดยวอลุ่มพุ่งสงมาก ก็ให้นึกตามสูตรเสี่ยยักษ์ไว้ครับตอนที่แกขายหุ้นครั้งนั้น ว่าถ้าเห็นย่อแล้ววอลุ่มพีค ต้องล้างพอร์ตหนีก่อน
ท่านจะได้ขายมากกว่า 400 บาท

แต่ถ้าหากท่านใช้เส้นค่าเฉลี่ย 100 วันก็จะได้ขายออกที่ประมาณ 330 บาทครับ
และจากนั้นมันก็ลงแรงครับ

ไหนๆก็มั่วไปถึงเส้นค่าเฉลี่ยแล้วนะ เราลองเอามันมาจับจังหวะดูต่ออีกสักนิด
หลัการการใช้เส้นค่าเฉลี่ยให้ได้ประโยชน์ที่สุดคือ "ต้องเป็นช่วงที่ราคามีแนวโน้มที่แข็งแรงเท่านั้น"
คือขาขึ้นก็ขึ้นจริงๆ ลงก็ลงจริง การที่ราคาวิ่งเหนือ(ในกรณีขาขึ้น) หรืออยู่ใต้(กรณีขาลง) มันบอกว่าการเคลื่อนไหวนั้นมีโมเมนตัม พอได้ขึ้นแล้วจะขึ้นได้อีก จนกว่าจะย่อลงไปหลุดเส้นค่าเฉลี่ยลง เท่ากับจบรอบ
ไม่เหมาะกับตอน sideway เพราะราคาจะวิ่งพัวพันเส้นค่าเฉลี่ย ซื้อๆขายๆ กินคำเล็กมาก เสียเวลา

หลักการของมันก็มาจากทฤษฎีนี้ครับ จำกันได้มั้ย


 ยกตัวอย่างกับ EMA10 ก่อนเลย ตัวนี้ใช้เพื่อกินกำไรคำเล็กๆครับ ระดับ 10% ก็พอได้
กับเคสของ PTT ที่เกิดในช่วงปี 2003 - 2004 ครับ มันจะมีช่วงที่ราคาวิ่งขึ้นดีๆ ราคาเกาะ EMA10 แล้วเด้งขึ้นไปทำนิวไฮได้อย่างเร็วและต่อเนื่อง พูดง่ายๆคือราคาวิ่งขึ้นไวนั่นเอง ผมเรียกว่าช่วง Bullish
เราก็เอากำไรแค่ช่วงนั้นพอครับ พอราคาหลุด EMA10 ลงไปพัวพันนัวเนียเส้นนี้ก็ให้ปล่อยไปก่อน เพราะเป็นช่วงราคาสร้างฐานเพื่อเตรียมวิ่งขึ้นแรงครั้งใหม่

เริ่มจาก Bullish 1 ก่อนครับ
ช่วงที่ราคาทำ Base เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันวิ่งพัวพันกับแท่งราคา เดี๋ยวราคาก็วิ่งขึ้น เดี๋ยวก็อยู่ข้างล่าง แบบนี้ไม่น่าเล่น เพราะไม่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ จุดที่น่าเล่นก็คือราคาทะลุจุดสูงสุดของ Base ขึ้นไปได้ครับ เพราะมันแสดงออกว่าพร้อมวิ่งเป็นขาขึ้นแล้วครับ และจุดยืนยันว่ามันจะไปต่อแรงได้อีก ก็คือราคาย่อลงมาแล้วเด้งที่เส้น EMA10 ขึ้นไปครับ จากนั้นก็พอครับ ปล่อยให้ราคาวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ภาวนาให้มันเด้งจากเส้นนี้ขึ้นไปทำนิวไฮไปเรื่อยๆครับ แล้วก็รอดูพฤติกรรมของราคาครับ เพื่อหาจังหวะกลับตัว
จังหวะกลับตัวที่ว่านี้ จะมีเบาะแสที่สำคัญอย่างหนึ่งครับ คือราคาวิ่งแรงจนห่างจาก EMA10 มากๆ แล้วจากนั้นมันเจอแรงขายหนักจนลงไปหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน ก็ขายออก ง่ายๆแบบนี้
เมื่อเอาไอเดียนี้ไปใช้กับหุ้น PTT เราจะได้จุดซื้อประมาณ 50 บาท ไม่เกินนี้ จุดขายออกก็ประมาณ 70 บาท คิดเป็น 40% ครับ พอไหวมั้ย ผมว่าเริ่ดเลยล่ะ

ต่อมา ดูช่วง Bullish 2
จากภาพนี้ มี 2 ช่วงที่แตกต่างกัน คือ
Weak bullish ราคาเกาะ EMA10 แบบไกล้ชิด ทำนิวไฮก็ช่องสองช่องแล้วออกข้าง แม้จะอยู่บนเส้น 10 วัน แต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับ Strong Bullish ความต่างคืออะไรครับ ราคาทำแท่งเขียวบวกขึ้นต่อเนื่องไงครับ มันบินเหนือ EMA10 ไปเลยครับ

ไอเดียแบบนี้ อาจจะไม่ได้กำไรเป็นเด้ง แต่ถ้าเข้าถูกตัว ก็ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำครับ



(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน