คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม

Image
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี กล่าวว่า “หากคุณต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม” การเป็นนักเทรดที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอไม่ได้หมายถึงการชนะทุกครั้งที่คุณเข้าเทรด แต่หมายถึงการมีวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดเพื่อให้คุณสามารถปกป้องทุนของคุณและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว  นี่คือการขยายความแนวคิดที่ว่า "การเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม" สำคัญอย่างไร: eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://t.co/YaO0CIQq8J 1. ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ในตลาดการเงิน ไม่มีใครสามารถควบคุมผลลัพธ์ของแต่ละการเทรดได้ การเคลื่อนไหวของตลาดขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความสำเร็จจึงไม่ได้มาจากการ "เดาถูก" แต่เป็นการรู้วิธีจัดการความเสี่ยงเมื่อคุณ "เดาผิด" ตัวอย่าง:   สมมติว่าคุณมีเงินทุน 100,000 บาท หากคุณใช้เงินทั้งหมดในการเ

เรียนรู้วัฏจักรราคาหุ้น กับเคสหุ้น PTG

หุ้น growth ตัวนึงที่ผมอยากจะชวนแกะเคสสนุกๆ ก็คือ PTG หรือ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด
ที่ว่ามันเติบโตนี่ ก็เนื่องมากจากการดูกราฟนะครับ พื้นฐานไม่ได้จริงจังมากนัก เพราะตัวเองไม่ค่อยรู้เรื่องการคำนวนมูลค่าอย่างที่นักลงทุนสายมูลค่าหรือวีไอเค้าทำกัน

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา จึงชวนท่านดูกราฟกันเลยดีกว่า
นี่คือกราฟของภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่เข้าตลาดครับ จะเห็นคร่าวๆว่ามันวิ่งจาก 4 บาทไปเกือบถึง 34 บาท ผมตีเป็นตัวเลขกลมๆที 33 บาทก็แล้วกัน ก็ 725% ภายในเวลา 3 ปีกว่าๆเอง

ต่อมาก็จะเป็นเรื่องการจับจังหวะจุดซื้อขายที่ได้เปรียบนะครับ
เริ่มต้นจากการแบ่ง stage ให้ได้ก่อน ในที่นี้จะขอใช้ตาเปล่ากับแนวระนาบก่อนนะ
วิธีการนี้มันง่ายดีคครับ เพราะผมเป็นคนชอบความสูง ไฝ่สูง จึงมักจะดักซื้ออะไรที่ยอดเสมอ ด้วยความเชื่อว่า ถ้าหุ้นตัวนั้นมันไฝ่สูง ต้องการความก้าวหน้า อยากเป็นผู้ชนะ มันต้องขึ้นไปต่อ
ถ้าเราเชื่อในแนวทางนี้ ถ้าดักหุ้นถูกตัว มันจะกลายเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งให้เรากำไรอย่างงามเลยครับ

เพราะอะไรน่ะเหรอ? ต้องกลับไปดูที่แนวคิดพื้นฐานของไอเดียนี้กันก่อนครับ
ก็มาจากแนวคิดของ Wyckoff Logic นี่แหละครับ
ทฤษฎีนี้ บอกให้เรารู้ว่าในวัฎจักราคานั้น มันจะมีช่วง
1) สะสม หรือ Accumulaion
2) จากนั้นก็ไล่ราคาเป็นขาขึ้น หรือ Mark up
3) พอขึ้นมาได้สักพักหนึ่งก็จะถูกเทขาย ขวางไม่ให้ราคาไปต่อ ราคาก็ต้องพักตัวสะสม หรือเก็บหุ้นที่กระจัดกระจายมารวมกันอีกครั้ง หรือที่เราเรียกว่า Re-Accumulation
4) พอสะสมดูดหุ้นได้มากพอ ก็ไล่ราคาขึ้นต่อ เป็นช่วง Mark up อีกรอบ
5) เมื่อราคาวิ่งมาไกลมาก ใครๆก็อยากขาย โดยเฉพาะคนทำราคา ก็เริ่มตั้งขายที่จุดสูงสุด ราคาก็วิ่งออกข้างคล้ายกับการสะสมเลย แต่คราวนี้มีความพิเศษกว่าคือกรอบการแกว่งที่กว้างและสวิงแรง และราคาไม่สามาถทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกเลย
6) เมื่อราคาไปต่อไม่ได้ รายใหญ่แจกจ่ายหุ้นหมดแล้ว ก็ไม่มีใครมาช่วยดูดหุ้นและพยุงราคาอีก ดังนั้นเมื่อมีแรงขายหุ้นออกมา แม้จำนวนไม่มากมันก็สามารถร่วงหนักได้ จึงเรียกว่า ขาลง หรือ Mark Down
7) พอราคาลงมาถึงระดับหนึ่งก็จะมีการวิ่งออกข้าง คล้ายสะสม แต่ไม่ยอมขึ้นต่อ กลายเป็นทำเพื่อลงต่อ
8) ราคาก็ลงต่อไปได้อีก
9) พอราคาลงถึงระดับที่คนวงใน, Smart money รู้ว่าต่ำกว่ามูลค่า ก็เข้ามาค่อยๆเก็บหุ้นอย่างใจเย็น ราคาไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่อีกแล้ว มันออกข้างเพื่อที่จะวิ่งขึ้น เพราะยิ่งนานวัน สภาพคล่องยิ่งน้อย
10) เมื่อสภาพคล่องเบาบาง การจะซื้อหุ้นให้ได้ก็ต้องเพิ่มราคา จึงเข้าสู่ระยะขาขึ้นหรือ Mark up อีกครั้ง



จากไอเดียทั้งหมดนี้ เราจะได้ข้อมูลมาว่า
๑) ในช่วงที่เกิดการสะสมของราคานั้น มันจะวิ่งออกข้าง ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ เราก็ลากกรอบบนดักเอาไว้เลย รอดู รอให้เกิดการ breakout จุดสูงสุดของกรอบการสะสม
๒) เมื่อราคาข้ามกรอบการสะสมขึ้นไปได้ ก็ถือว่าเป็นจุดซื้อที่น่าสนใจ เพราะว่าถ้ามันเป็นไปตามทฤษฎีนี้ มันจะเป็นขาขึ้น ทำกำไรให้เราอย่างรวดเร็ว


แต่ในโลกความเป็นจริง อะไรๆก็ไม่เป็นไปตามทฤษฎีเป๊ะๆหรอกครับ
อย่าง PTG หลังจากที่ราคาทะลุข้าม Base หรือทำ All time high ได้ก็ไม่ยอมขึ้นไปต่อเลย มันมีการย่อหนักจนราคาร่วงลงไปเล่นในกรอบเดิม ซึ่งน่าจะสร้างความผิดหวังให้กับคนที่เชื่อหลักการ follow buy เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาคิดว่าหลังจากราคา breakout แนวต้านได้ ต้องวิ่งแรงเสมอ ตามที่อ่านมา
โดยเขาลืมว่าหลังจากที่ราคาข้ามกรอบได้ มันต้องมีช่วง Pullback หรือ Throwback ตามมาเสมอ

ซึ่งช่วงนี้แหละที่มีสำคัญและเป็นจุดตัดสินว่าราคาจะไปต่อหรือแค่เด้งหลอก
ถ้าคุณเผลอเข้าไปตั้งแต่ราคา breakout ก็ต้องมีโอกาสเจอการทดสอบช่วงนี้เสมอ

เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับ PTG ก็จะระบุจุดตามทฤษฎี ก็จะได้ดังนี้
โดยเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวแบบนี้ก็เนื่องมาจาก ความต้องการขายทำกำไรของคนเล่นรอบเป็นสำคัญ เพราะในสังคมของคนที่ถือหุ้นตัวหนึ่งๆนั้น จะมีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือคนเล่นรอบสั้น(เก็งกำไรระยะสั้น) กับคนที่ซื้อแล้วถือ(เก็งกำไรระยะกลางถึงยาว)

คนที่เล่นรอบสั้น มักจะชอบซื้อที่จุดต่ำสุดหรือแนวรับ แล้วไปรอขายที่แนวต้านสำคัญ เช่นไฮเดิม หรือตัวเลขกลมๆ หรือราคาเป้าหมายทาง fibonacci

เช่นในเคสนี้ พวกเขาอาจจะได้ซื้อหุ้นที่ราคาประมาณ 3.5 บาท โดยตั้งใจจะไปขายที่จุดสูงสุดของกรอบคือประมาณ 5 บาทเท่านั้นเอง และเมื่อราคาวิ่งไปถึงเป้าหมาย พวกเขาก็ขายออก ท่านจึงเห็นว่า แม้ราคาจะพยายามวิ่งให้ข้าม 5 บาทไปได้ในครั้งแรก แต่ก็ยืนไม่อยู่ ก็เพราะเจอการขายทำกำไรของคนเล่นรอบสั้นนี้เอง และเมื่อราคาข้ามไปไม่ได้ คนที่เคยคิดจะถือยาว(แต่เฝ้าจอ)บางส่วน  จะเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ จึงมีการขายออกมา และก็อย่าลืมอีกคนคือ Market maker ซึ่งเป็นคนมองยาวกว่า แถมอาจจะมีราคาเป้าหมายอยู่ในแผน ก็รู้ว่าระดับราคานี้มีนัยยะ จึงใช้จังหวะนี้เอาหุ้นบางส่วนมาผสมโรงขาย กดให้ลงแรงจนน่ากลัว ทำให้คนใจฝ่อบางส่วนตกใจ ปล่อยหุ้นออก โดยคนที่ตั้งโต๊ะรอรับซื้อหุ้นที่ถูกขายออกมาในช่วงนี้ก็ไม่ใช่ใครอื่น ก็ Market maker นี่เองและครับ



เมื่อหุ้นที่ถูกปล่อยขายออกมาเริ่มร่อยหรอ คนทำราคาก็ต้องไล่ราคาขึ้นไป เพื่อหวังจะได้หุ้นเพิ่ม แต่เมื่อไล่ขึ้นไปแล้วเจอขายหนักขวางทางอีก เขาก็หยุด และทำการเขย่าอีกครั้ง เพื่อเก็บหุ้นของคนหมดใจ ที่ต้องการขายออกมาเพราะเห็นว่าราคาไม่ยอมไปไหน รวมทั้งคนเล่นรอบสั้นซื้อๆขายๆก็ช่วยโยกย้ายหุ้นจากอีกมือมาสู่อีกมือได้ด้วยเช่นกัน

มันจึงกลายเป็นช่วงสะสม ที่ยกระดับขึ้น หรือที่เขาเรียกกันว่า Base on base นั่นเอง

เมื่อมีการสะสมหลายขั้น ยกกรอบขึ้นไป หุ้นในตลาดก็ถูกดูดเข้าไปเก็บในคลังของ Market maker เป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพคล่องของหุ้นในตลาดเหลือน้อยลง
เมื่อหุ้นเหลือน้อยลง หากมีการไล่ราคาแบบจริงจัง การวิ่งก็จะเป็นแบบ parabolic move
เมื่อราคาวิ่งไปถึงระดับที่มีนัยยะ หรือเป็นแนวต้านที่คนเล่นรอบสั้นต้องขาย มันก็จะหยุดขึ้น เช่นเมื่อถึงระดับตัวเลขกลมๆอย่าง 10 บาท ก็จะมีการขายทำกำไรครั้งใหญ่อีกครั้ง
หากราคายังไม่ถึงเป้าหมายตามที่ Market maker ตั้งใจไว้ พวกเขาก็จะเก็บหุ้นเข้าคลังเพิ่มขึ้นอีก
ในที่นี้ ผมไม่แน่ใจว่า คนทำราคาจะเป็นกลุ่มเดิมอยู่หรือเปล่านะ อาจจะเปลี่ยนมือกัน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเขามองสั้นมองยาวแค่ไหน ข้อมูลลึกเท่าไร
แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาของเรา ไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อเจ้ามือเราก็ทำกำไรได้ ขอแค่เข้าใจพฤติกรรมของราคาก็เพียงพอแล้ว การพยายามรู้ในสิ่งไม่จำเป็นต่อเป้าหมายชีวิตนั้น เป็นการทำลายคุณค่าของเวลาอย่างยิ่ง



หลังจากที่ราคาย่อหนัก หากเราพบว่ามันดีดกลับขึ้นไปทำนิวไฮได้ ก็ถือว่ามันมีโอกาสที่จะวิ่งขึ้นต่อได้อีก แม้การดีดขึ้นไปครั้งใหม่มันจะไปต่อได้ไม่ไกล เพราะมีคนเล่นรอบที่ซื้อได้ที่ราคาต่ำสุดของการย่อ ต้องการขายทำกำไร ขัดขวางไม่ให้ราคาวิ่งขึ้นไปต่ออีก และแน่นอนเมื่อมีคนอยากขายจำนวนมาก การวิ่งออกข้างเพื่อย่อยและเก็บหุ้นที่กระจัดกระจายในตลาดจนหมดถือเป็นหน้าที่ของคนทำราคา

เมื่อเก็บหุ้นหมด ไม่มีใครอยากขายอีกก็เป็นจังหวะไล่ราคาขึ้นไปอีกครั้ง และเมื่อหุ้นมีน้อยลงเพราะถูกดูดเข้าโกดัง ราคาก็จะวิ่งแรงเป็น parabolic move อีกครั้ง

หุ้น 3 ใน 4 ของตลาดจะวิ่งตามดัชนี นักเก็งกำไรระดับโลกบางคนเคยกล่าวไว้
แม้คนกล่าวจะเป็นฝรั่ง แต่ในเมืองไทยบ้านเราก็ไม่ยกเว้น เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นคือความโลภและความกลัว ไม่ว่าจะหัวดำหรือหัวทองก็กลัวเป็นเหมือนกัน

ในช่วงเดือน Jun ถึง Dec ปี 2016 ดัชนี SET บ้านเราลงหนัก

เมื่อสภาพตลาดไม่อำนวย โดยเฉพาะเกิดความกลัวอย่างรุนแรง คนที่ถือหุ้น PTG ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่พระอิฐพระปูน พวกเขาจึงตัดสินใจขายหุ้นออกเพื่อป้องกันความเสี่ยง เนื่องจากตลาดใหญ่ลงหนักมากในช่วงนั้น พอ SET เด้งขึ้นไปได้ไม่เท่าไหร่ ช่วงเดือน Dec 2015 ก็มีแรงขายกดดันให้ลงต่อทำนิวโลว์อีก PTG จึงต้องลงตามเพราะคนในตลาดเกือบทั้งหมดกลัวจนหมดใจแล้ว

ตั้งแต่ต้นปี 2016, SET ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง PTG ก็เช่นกัน
และนี่เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่าหุ้นที่เคยทำนิวไฮได้ มันจะนิวไฮได้อีก ถ้าสภาพตลาดกลับมาดี
เมื่อมาถึงช่วงนี้ ก็จะเข้าสูตรการอธิบายลักษณะของหุ้นนำตลาดได้พอดีเลย
จากข้อมูลที่ผ่านมา PTG มันได้วิ่งเป็นขาขึ้นมาก่อนแล้ว เมื่อตลาดร่วงหนักมันก็ย่อตามตลาด
แต่ครั้นเมื่อ SET ฟื้นแค่ตัวทำนิวไฮในกรอบการย่อด้านล่างเท่านั้นเอง PTG ก็พุ่งพรวดขึ้นไปทำ All time high ได้ทันที
แม้ว่าในช่วงแรกที่ราคาเกิด false breakout เมื่อถึงระดับ All time high ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเรื่องปกติที่มันจะต้องมีคนเล่นสั้นต้องการขายทำกำไร ซึ่งจุดที่มันดีดกลับไปทำนิวไฮได้ก็เป็นจุดเข้าซื้อที่ดีมากๆ เพราะมันได้ส่งสัญญาณว่า "ฉันยังสบายดี พร้อมชกต่อ"

 และเมื่อ SET วิ่งขึ้นแรง PTG ก็ติดปีกซิ่งโหด วิ่งทำกำไรให้ต่อเนื่อง เกือบๆ 100% ในเวลาสองเดือนเท่านั้น

แต่ทุกงานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกรา หุ้นนำตลาดก็ไม่ใช่ผู้นำตลอดกาล
ในช่วงเดือน Sep 2016, SET ร่วงหนักอีกครั้ง PTG ก็ร่วงตาม และเมื่อ SET ดีดขึ้น PTG ก็ดีดตาม
แต่อย่างที่บอก ทุกอย่างย่อมมีวันจบ, หลังจากที่ PTG วิ่งตาม SET ขึ้นไปได้ไม่นาน ก็แสดงอาการอ่อนแรง ราคาย่อกลับลงมาเล่นในกรอบเดิม แล้วก็เด้งขึ้นไปไม่ไหว ราคาร่วงลงไปทำนิวโลว์ไปเรื่อยๆ และจบรอบไปเลย
มันจบรอบ เป็นขาลง ในขณะที่ SET วิ่งออกข้าง มันกลายเป็นหุ้นที่อ่อนแอกว่าตลาดไปแล้วในขณะนั้น


ถึงตอนนี้ (Oct 2017)มันฟื้นตัวกลับมาใหม่ แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะฟื้นตัวเพื่อย่อลงต่อ หรือว่าเป็นการกลับตัวขึ้น อนาคตเท่านั้นที่จะบอกได้ครับ เพราะที่ผมสาธยายให้ท่านได้อ่านมาทั้งหมดก่อนนห้านี้นั้น มันเป็นการระบุจุดที่เกิดในอดีต จะพูดยังไงก็ถูกไปหมดแหละ เก่งหลังเกมก็อย่างี้แหละ

แต่ทั้งนี้, ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวของหุ้น PTG ตั้งแต่ต้น ก็สามารถเป็นอาจารย์ใหญ่ให้เราชำแหละ
เพื่อทำความรู้จัก :
๑) ลักษณะของหุ้นที่เปลี่ยน stage จากการสะสมเป็นขาขึ้นว่ามันต้องผ่านขั้นตอนอย่างไรบ้าง
๒) หุ้นที่มีการสะสมแบบ Base on base หน้าตายังไง และสุดท้ายจะวิ่งแบบ parabolic move
๓) หุ้นแข็งกว่าตลาดจะมีทรงการขึ้นยังไง เมื่อเทียบกับ SET
๔) รู้ว่าหุ้นนำตลาดในที่สุดก็อ่อนแอได้ และจะจบรอบแบบเงียบๆและง่ายๆ

ลองเอาไปต่อยอดและทำการบ้านต่อกันครับ ผมก็เล่าเท่าที่รู้ได้แค่นี้แหละ




(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino