การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

Cup with handle ภาค 2

โดย Zyo facebook.com/zyoit 
และเพจ Zyo Books facebook.com/zyobooks

ผมมีไอเดียการหาหุ้นทรง cup with handle อย่างง่ายแบบไม่ต้องคิดมากมาให้ฝากครับ
เพราะช่วงนี้ผมรู้สึกว่า pattern นี้ออกโรงให้ผ่านตาเสียเยอะ หรือบางทีตัวเองเพิ่งให้ความสำคัญกับมันก็ได้ พอเราสนใจอะไรมากๆ สิ่งนั้นก็จะปรากฎผ่านตาเราบ่อยขึ้น
พวกเราน่าจะจำทรงตามทฤษฎีกันได้แล้วเนอะ
เริ่มต้นจากการวิ่งขึ้นมาก่อน แล้วย่อลงหนักไปพักนึง (ทำ Cup) จากนั้นจึงค่อยๆฟื้นตัวขึ้นไปหาไฮเดิม แต่ยังไม่ถุงไฮเดิมก็เจอตั้งขายขวางไม่ให้ไปเสียก่อน ราคาก็ย่อกลับลงไปอีกครั้ง (ทำ Handle) แต่คราวนี้ไม่นาน แป๊บเดียวก็ดีดกลับขึ้นไปทะลุไฮของ handle ไปอย่างง่ายดายเลย

เตรียมตัววิ่งรอบใหญ่
ผมมาลองมโนถึงนัยยะและจิตวิทยาเบื้องหลังของการเกิดรูปแบบราคานี้ดู
ถ้าเราโฟกัสไปที่ผลคือหลังจากที่ราคาข้าม handle ได้ก็วิ่งแรง แสดงว่า ในช่วงที่ราคาย่อทำ cup นั้น มันน่าจะเป็นโหมด "ดูดหุ้น" ซะเป็นส่วนใหญ่ คือพยายามเก็บหุ้นที่กระจัดกระจายจากมือรายย่อยเข้ามาอยู่ในคลังของ Market maker ให้มากที่สุด ครั้นพอดันราคาขึ้นไปก็ยังทำเพื่อเก็บหุ้นอีก เพราะไกล้ๆถึงไฮก็ไม่ยอมไปต่อ ย่อให้คนติดดอยใจแข็งตกใจ ต้องปล่อยหุ้นออกมาให้ก่อนเวลาอันควรอีก เรียกว่า "ดูดจนแทบหมดตลาด" กำจัดเสี้ยนหนามที่น่าจะขวางทางออกไปจนเกือบหมดสิ้น จึงไม่แปลกที่หลังจากราคาถึงไฮเดิมอันป็นต้านใหญ่ก็ไม่เคารพ ทะลุพรวดข้ามไปแบบง่ายๆเลย

พูดง่ายๆคือ มันอย่าไปต่อได้อีกก็เลยต้องพยายามต่อสู้ให้ผ่านอุปสรรคด่านสุดท้าย
ถ้าผ่านได้ก็มีโอกาสเป็นขาขึ้นรอบใหญ่

เทรดเดอร์ไม่กล้าซื้อ
แต่เมื่อเรากลับไปมองจิตวิทยาของเทรดเดอร์แล้ว กลายเป็นตรงกันข้าม
ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่กล้าซื้อ เพราะเขามักจะมองว่า "ราคาขึ้นมาสูงแล้ว" เนื่องจากมีสิ่งอ้างอิงคือจุดต่ำสุดเริ่มต้นที่มันฟื้นตัวขึ้นมา ก็เลยคิดว่า "เราน่าจะได้ซื้อที่โลว์นั้นมากกว่า ราคานี้สูงไป ขึ้นมาเกือบเด้งแล้ว"

.....ครับแต่ก่อนผมก็เคยคิดอย่างนั้น จึงพยายามจับจังหวะหุ้นที่ราคาต่ำๆเพราะอย่ากได้ของราคาถูกที่สุด แต่ลืมนึกถึงความอดทนของตัวเองที่มีขีดจำกัด

โอเค...บางทีเราก็ฟลุคได้ที่จุดต่ำสุดจริง แต่จากนั้นมันไม่ดีดขึ้นแรงๆให้เรากำไรชื่นใจเสียที วิ่งขึ้นทีไรก็โดนตบให้ร่วงหวาดเสียวทุกครั้ง ราคาแช่ออกข้างไปเนิ่นนาน เจอต้านบ่อย ในที่สุดก็ทนไม่ไหวขายออก

และคนอีกส่วนก็ไม่ได้ซื้อ เพราะไม่รู้ว่ามีทรงแบบนี้อยู่ หรือกระทั่งไม่เคยสแกนหา ทำการบ้านรอไว้เลย

ดังนั้น ผู้เล่นในโซนนี้จะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ นักซื้อที่เป็นรายใหญ่ กับนักขายที่ดิดดอย
ก็น่าจะเดาไม่ยากว่าในที่สุดใครจะเป็นผู้ชนะ

กว่านักเก็งกำไรคนนอกจะรู้อีกที ก็เห็นว่าราคาติดชาร์ท 52 week high ไปแล้ว (ซึ่งบางตัวจุดซื้อที่ดีมันส่งสัญญาณก่อนระดับนี้เสียอีก)

ตัวอย่าง
โม้ซะเยอะ มาดูตัวอย่างที่เพิ่งเกิดล่าสุดก่อน
กราฟระยะ 6 เดือนของหุ้น M หรือ เอ็มเคสุกี้ ที่บวกโหดทำแท่งเขียวยาวสองแท่งวิ่งต่อเนื่องที่หลายคนให้ความสนใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นตัวนี้กัน

ผมไม่ขอเอ่ยถึงเรื่องพื้นฐานนะ เพราหลายคนมักจะบอกว่า "มันจะโตได้ยังไง?" "อิ่มตัวแล้ว"
พื้นฐานยังคลุมเครือ แต่กราฟก่อนหน้านั้นน่ะ มีอนาคตมากครับ ดูทรงสิ นี่เห็นเหตุการณ์ก่อนซิ่งนะ
เป็นกราฟวีค ตั้งแต่เข้าตลาดจนถึงต้นเดือนตุลาคม จะเห็นว่าภาพใหญ่ของมันทำทรง cup with handle ที่สมบูรณ์แบบมากๆนะครับ จึงไม่แปลกที่มันจะมาซิ่งโหดแบบกราฟข้างล่างได้

พื้นฐานคลุมเครือ แต่กราฟสตาร์ทเครื่องแล้ว
พอได้จังหวะ เขาก็ไล่ราคาขึ้นพรวดๆๆ จนหาจังหวะตามไม่ทัน
ก็ไม่รู้ว่ามันจะไปได้อีกแค่ไหนนะครับ แต่ที่แน่ๆคือจุดซื้อที่ดีมันเลยมาไกลแล้ว
ล่าสุดไปหยุดที่ 80 บาทแล้ว

เมื่อวาน ก็มีอีกตัวที่เพิ่งดีดข้าม handle ไปได้

มองภาพรวมออกมั้ยว่ามันเป็น cup with handle มาก่อน

จุดซื้อที่ดี ก็ตอนที่มันข้าม handle ไปได้ครับ หรือถ้าท่านมั่นใจว่า การฟื้นตัวขึ้นไปก่อนที่จะข้าม handle นั้นมันมีพลังที่น่าจะไปแรงได้ ก็สามารถดักเสี่ยงก่อนก็ได้ อย่าง D ก่อนเปิด gap ก็ได้ทำแท่ง pivot ส่งสัญญาณล่วงหน้าให้เห็นแล้ว
ขอเตือนท่านอีกครั้งนะครับ ว่าจุดซื้อที่ดีของตัวนี้ได้ผ่านไปแล้ว อีกอย่างพื้นฐานในด้านการทำกำไรก็มีโอกาสตกต่ำเพราะมีโครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่


สรุปวิธีการง่ายๆ ตามแนวคิดของบทความนี้นะ
หาหุ้นเข้าใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ดูกราฟภาพรวมทั้งหมดที่ราคามันทำ ใช้กราฟวีค หรือกราฟรายวันก็ได้ ขอให้เห็นภาพใหญ่ หากอยากกินคำใหญ่ก็ต้องมองป่าทั้งป่าให้ออกก่อนครับ แล้วคัดเอาตัวที่ทำรูปแบบคล้ายๆอย่างที่ผมไกด์ไป แล้วลองหาจังหวะเข้าดู คุณต้องลองเอง อย่าเพิ่งเชื่อผม


ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
ไหนๆก็ทำการบ้านมาบ้าง ก็เลยยกกราฟที่น่าสนใจมาให้ดูกัน ก็ลองไปหาชื่อเอง
ก็อยากได้เหมือนกันนะ แต่เงินหมดเสียก่อน



น่าจะมีอีกหลายตัวนะ เพียงแต่ผมยังหาไม่เจอเท่านั้น
ใครเห็นก่อน ก็มีโอกาสดีก่อนครับ
อ้อ...อีกอย่าง ทุกอย่างมันล้วนไม่แน่นอนนะครับ เผื่อใจให้กับ false break ไว้นิดนึงก็ดี

ปล. ภาคแรกของเรื่องนี้คือ ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern? ครับ ลองคลิกเข้าไปอ่านดู

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน