การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

$20 Auction

โดย Zyo: facebook.com/zyoit
สั่งหนังสือที่เพจ Zyobooks: facebook.com/zyobooks


คลิปข้างบนนี้เป็นตัวอย่างจำลอง เกม "การประมูล 20 ดอลล่าร์"  ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นต้นคิดกันแน่นะ
แต่ผมขออ้างจากนหังสือ Sway หรือบ้านเราตั้งชื่อว่า "เขว" เป็นหลักอ้างก็แล้วกันครับ

ในเล่มเขาอ้างถึงเกมของศร.แม็กซ์ เบเซอร์แมน ที่โรงเรียนธุรกิจของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ชวนนักศึกษาในห้องเล่นเกมประมูลเงิน 20 ดอลล่าร์ แข่งกัน
โดยมีกฎ 2 ข้อคือ ข้อแรก ต้องเสนอราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 ดอลล่าร์ ข้อสอง คนชนะจะได้เงินไป คนยอมแพ้ในบั้นปลายต้องจ่ายเงินให้คนชนะ

พอเริ่มประมูลใครๆก็แย่งกันเสนอราคากัน เพราะเล็งเห็นโอกาสได้เงินถูกๆ เพราะเริ่มต้นทีละดอลล่าร์ จึงราคาเกทับกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เบเซอร์แมน บอกว่า การประมูลจะเริ่มต้นขึ้นอย่างดุเดือดเลือดพล่าน จนกระทั่งราคาประมูลไปแตะที่ระดับ 12 - 16 ดอลล่าร์ สถานการณ์เริ่มกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

พวกเขาเริ่มคิดว่าไม่ง่ายที่จะได้เงินไป นักศึกษาทุกคนถอนตัวจากการประมูล
ยกเว้นผู้เสนอราคาสูงสุดสองคน

พวกเขาไม่รู้เลยว่าต่างมาถึงจุดที่ถอนตัวไม่ได้แล้ว คนแรกเสนอราคา 16 ดอลล่าร์ อีกคนเสนอ 17 ดอลล่าร์ คนแรกต้องให้เพิ่มเป็น 18 ดอลล่าร์ ไม่งั้นต้องจ่าย 16 ดอลล่าร์
ถึงจุดนี้ทั้งสองคนอยากได้เงินนั้น ไม่มีใครอยากเป็นไอ้น่าโง่ที่เสียเงินไปเปล่าๆโดยไม่ได้อะไรเลย จึงต้องเดินหน้าลุยเล่นเพื่อไม่ให้แพ้ ราคาจึงพุ่งขึ้นต่อ 18 19 20
และแน่นอนว่าเกิน 20 ในที่สุด

ถ้าว่ากันตามเหตุตามผลแล้ว ทั้งคู่ควรตัดสินใจยอมรับการขาดทุนและถอนตัวจากการประมูลก่อนที่มันจะเลยเถิดจนควบคุมไม่ได้ แต่ด้วยอิทธิพลจากพลังดึงดูดของการประมูลและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นถ้าหากถอนตัว ยอดขาดทุนจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปตามราคาประมูล

พวกเขายึดติดกับเส้นทางที่เลือกแล้ว ว่าไม่อยากแพ้ กระตุ้นให้ยืนหยัดประมูลต่อไป เสนอราคาสูงขึ้นอีก ทำให้ความสูญเสียยิ่งเลยเถิดกันใหญ่ การเสนอราคาเพิ่มขึ้นเป็น 21 22 50 100 และทำสถิติในราคาสูงสุด 204 ดอลล่าร์

เป็นไงครับ พอดูคลิปนี้ ท่านรู้สึกยังไง?
นึกขบขันไอ้บ้าสองคนนั่น ทำไมมันสมองน้อยจัง แย่งกันประมูลแบงค์ยี่สิบ ด้วยเงินที่สูงกว่าเท่าตัว

โคตรโง่เลย คุณคงคิดอย่างนั้น


นี่เป็นภาพสะท้อนความเป็นตลาดหุ้นได้ดี ว่าทำไมคนส่วนใหญ่ไม่กล้าตัดขาดทุน แถมยังหน้ามืดถัวเฉลี่ยขาลง เพราะเขาไม่คิดหมอบ ในช่วงที่เสียน้อย เพราะขาดทุนไม่มาก และเมื่อขาดทุนมากก็ไม่ยอมแพ้เพราะเสียเยอะต้องเอาคืน ไม่งั้นแพ้ จึงเกิดความสุญเสียจำนวนมหาศาลในที่สุด 

พวกเขารู้สึกติดลม อารมณ์คล้ายการพนันในบ่อนคาสิโน การแทงพนันครั้งแรกมักจะนึกสนุกเท่านั้น พอเสียสะสมมากขึ้นเรื่อยๆก็ทุ่มมากขึ้นเพื่อหวังว่าโชคจะเข้าข้างพวกเขา แต่กว่าจะรู้เดียงสาก็หมดตัวไปแล้ว

สิ่งที่ผมได้จากคลิปหรือนี้ คือไว้เป็นอุทาหรณ์หรือสำนึกดึงสติให้ตัวเองตอนที่พอร์ตเริ่มมีการขาดทุน ให้รีบตัดสินใจและวางแผนเตรียมตัวรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ จะหนีเมื่อไหร่ ยังไง กำหนดให้ชัด เมื่อถึงเวลาจะได้ไม่ลนลานครับ

ที่สำคัญกว่านั้นคือเมื่อไรที่คุณขาดทุนก็ให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราต้องไม่เป็นแบบสองคนสุดท้ายนั่นเด็ดขาด เราต้องไม่ใช้อีโก้เพื่อเอาชนะในสิ่งที่มูลค่าต่ำกว่าการลงแรงเป็นอันขาด ต้องรีบตัดขาดทุน รีบวางแผนเพื่อหนีก่อนที่ทุกอย่างจะถลำลึกเกินไป

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน