คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม

Image
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี กล่าวว่า “หากคุณต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม” การเป็นนักเทรดที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอไม่ได้หมายถึงการชนะทุกครั้งที่คุณเข้าเทรด แต่หมายถึงการมีวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดเพื่อให้คุณสามารถปกป้องทุนของคุณและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว  นี่คือการขยายความแนวคิดที่ว่า "การเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม" สำคัญอย่างไร: eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://t.co/YaO0CIQq8J 1. ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ในตลาดการเงิน ไม่มีใครสามารถควบคุมผลลัพธ์ของแต่ละการเทรดได้ การเคลื่อนไหวของตลาดขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความสำเร็จจึงไม่ได้มาจากการ "เดาถูก" แต่เป็นการรู้วิธีจัดการความเสี่ยงเมื่อคุณ "เดาผิด" ตัวอย่าง:   สมมติว่าคุณมีเงินทุน 100,000 บาท หากคุณใช้เงินทั้งหมดในการเ

ขั้นตอนการทำราคาของ Market Maker

โดย เซียว จับอิดนึ้ง facebook.com/zyoit และ เพจ facebook.com/zyobooks

บังเอิญผมไปเจอบทความที่สรุปแนวคิดของทวด Richard D. Wyckoff ,ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของตัวผมเอง, ก็เลยอดตื่นใจไม่ได้กับข้อมูลที่เขาเขียนถึง "How Manipulators Operate" ซึีงผมตีความว่ามันน่าเป็น "ขั้นตอนการทำราคาของ Market Maker" พอได้สแกนคร่าวๆแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจ เลยพยายามแปลให้ตัวเองรู้เรื่อง แม้ว่าภาษาของแกจะอยู่ในระดับที่ตัวผมเองเข้าถึงยากมาก แต่ก็ด้วยความอยากรู้จึงพยายามคั้นเอาเฉพาะเนื้อๆ ที่แม้อาจจะไม่เป๊ะตามใจความที่เขาพยายามสื่อ แต่ก็น่าจะพอเห็นภาพได้ในระดับหนึ่งครับ
ใครที่ภาษาอังกฤษคล่องๆ ก็ไปอ่านต้นฉบับได้ที่ลิ้งค์นี้นะ
 https://whatheheckaboom.wordpress.com/2013/01/21/book-review-of-stock-market-technique-number-one-by-richard-d-wyckoff/



ขั้นตอนการทำราคาของ Market Maker
1) เลือกเป้าหมาย
- ทำการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าตอบสนองต่อความกลัวหรือความกล้า
- ถ้าต้องการทำให้ตลาดวิ่งขึ้น, เขาจะทดสอบหุ้นนำตลาดที่มีความต้านทานน้อยสุด
- ที่ต้องเลือกตัวที่มีความต้านทานน้อยสุด เพราะไม่อยากเจอหุ้นจำนวนมากขวางทาง
- จึงต้องเลือกหุ้นที่สามารถไล่ราคาขึ้นไปด้วยการใช้เงินจำนวนน้อยๆ

2) ตามติด
- หลังจากลองซื้อด้วยเงินน้อยๆแล้วราคาวิ่ง, เขาก็จะเริ่มทดสอบด้วยการเสนอราคาที่แพงขึ้นด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้น ทำให้ราคาวิ่งแรง (หรือที่เราเรียกกันว่า "จุดพลุ") เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเทรดเดอร์ทั่วไปให้เข้ามาร่วมวงช่วยซื้อ
- ราคาวิ่งขึ้นบวกแรงพร้อมกับวอลุ่มที่สูงขึ้น และมีการแกว่งตัวในรูปแบบขาขึ้น(คือยกไฮยกโลว์)

3) สร้างการสนับสนุน
- Composite Operator (ที่ประกอบด้วย นายธนาคาร, การรวบรวมเงินเพื่อลงทุน, รายใหญ่, เทรดเดอร์มืออาชีพ) เริ่มมั่นใจว่าตลาดเป็นขาขึ้นแน่แล้ว จึงเข้ามาร่วมวง
- ถ้าเห็นว่าหุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มไม่ยอมวิ่ง(หรือที่เรียกว่า laggard) เขาจะส่งให้โบรคเกอร์เข้าไปช่วยไล่ราคา
- หากพวกหุ้นที่อ่อนแอได้วิ่ง breakout ขึ้นไป,ตลาดก็มีบรรยากาศของขาขึ้นแล้ว



4) แจกจ่ายขายหุ้นเมื่อเห็นว่า demand อ่อนแอ
- เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปต่อเนื่อง,เขาพบว่าแรงซื้อเริ่มอ่อนแอและเหนื่อย
- ก็เริ่มปล่อยหุ้นออกเท่าที่จะทำได้ที่จุดสูงสุดของการแกว่ง และตลอดทางลง

5) ซื้ออย่างเงียบๆหลังจากที่ราคาย่อลงไปลึก 60% จากยอด
- ถ้าราคาบวกขึ้นไปสิบจุด, เขาจะขายจนราคาลงไปถึง 6 จุดจากยอด แล้วจึงค่อยๆแอบซื้อหุ้นที่ขายออกกลับคืน ไม่ได้ตั้ง bid แต่รับที่ offer
- จาก 1000 หุ้นที่ตั้ง offer ที่ราคาหนึ่งๆ เขาอาจจะซื้อ 600 หรือ 700 หุ้น เหลือเอาไว้ 300 หุ้น แบบนี้การสะสมของเขาจะไม่เป็นที่รู้เห็น

6) ขึ้นแบบเขย่า (Engineering shakeouts) เพื่อเก็บหุ้นที่เหลือ ในระดับ 50% retracement
- หลังจากที่เขาดูดหุ้นที่กระจัดกระจายในตลาดไปไว้ ในช่วงที่กลางทางของการย่อจากจุดสูงสุด
- แรงขายเริ่มอ่อนแอและเหือดแห้ง, เขาเริ่มซื้อหุ้นได้น้อยลง จึงต้องขายหุ้นหลายตัวเพื่อกดให้ตลาดอ่อนแอย่อลงไปอีกครั้ง คนก็จะตกใจขายหุ้นเป้าหมายออก จนเขาได้หุ้นครบจำนวน
- เมื่อหุ้นเหล่านั้นอ่อนแอ, หุ้นตัวอื่นก็วิ่งขึ้นน้อยเพราะการซื้อที่จำกัด ดัชนีจึงเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
- คนที่กลัวหุ้นลงต่อก็พากันขายหุ้นออก ทำให้ดัชนีย่อลงไปอีก จึงเข้าทางเหล่า C.O. ให้ซื้อเพิ่มกันใหญ่

7) ตลาดกลับตัว และเริ่มวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆพร้อมกับสะสม
- เมื่อไม่มีหุ้นออกมาวางขายมากๆอีกแล้ว ตลาดก็หยุดลง
- หุ้นที่ถูกขายตั้งแต่จุดสูงสุดลงมาก็ถูกดูดเก็บไปจนหมด
- พอตลาดหยุดลง ราคาก็เริ่มกลับตัวขึ้นไป โดยเริ่มหยุดตั้งแต่ระดับ 60% เพราะคนทำราคาแอบซื้อ และจะดันขึ้นแบบเขย่าให้ราคาขึ้นไปถึงระดับ 50% นี่คือการกลับตัวแบบงงๆ เนื่องจากคนทำราคาสะสมไปเขย่าไปตลอกทางของการกลับตัว



8) เริ่มมีการเสนอซื้อ (bid up) เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับ 30% retracement
- เมื่อราคาดีดกลับขึ้นไปถึงระดับ 3 ใน 5 จุด จากการย่อได้ เขาจะเริ่มไล่ราคาโดยการงับที่ offer
- พอราคาวิ่งไปถึงระดับสูงสุดก่อนหน้า(ไฮเดิม) จะมีการขายครั้งใหญ่เกิดขึ้น เพราะคนที่ติดดอยก็รอปล่อยของเพื่อเอาทุนคืน รวมถึงคนที่แอบเก็บมาตั้งแต่ก้นของการย่อก็ตั้งขายที่ไฮนี้เพราะราคาถึงเป้าหมายที่ต้องการแล้ว
- ราคาจึงแกว่งตัวแคบๆ ไม่ไปต่อ ท่านจึงเห็นรูปแบบราคาประเภท double top ซึ่งเหมาะต่อการชอร์ต
- แต่เหล่า C.O. มองว่าการขายที่บริเวณจุดสูงสุดครั้งนี้ มันไม่มากพอที่จะหยุดพลังของความอยากขึ้นได้ มันยังมีกำลังซื้อแฝงอยู่เพื่อดันให้ราคาวิ่งขึ้นต่อไปได้อีก
- เขาจึงตัดสินใจ ไล่ซื้อหุ้นที่วางขายที่แนวต้านทั้งหมด เพื่อให้ราคาทะลุขึ้นไปทำนิวไฮ เพื่อสร้างกำลังใจ,ความฮึกเหิมให้กับกำลังซื้อแฝงจากภายนอกนั้น(คนที่พร้อม follow buy เมื่อราคา breakout ได้นั่นเอง)

9) กำลังซื้อแฝงจากภายนอกเอาชนะแรงขายได้อย่างเด็ดขาด คนขายหมูรู้ตัวว่าคิดผิด
- แท่งราคาเขียวยาวทะลุระดับจุดสูงสุดเดิมขึ้นไปได้อย่างเด็ดขาด
- คนขายหมูรู้ตัวว่าคิดผิด กลับไปช่วยซื้อหุ้นคืนเพื่อทำกำไรต่อ
- ความคึกคักของขาขึ้นควบคุมสถานการณ์ได้หมดจด ราคาจึงบวก และบวกขึ้นไปได้เรื่อยๆ

10) มีการแอบปล่อยหุ้นตลอดระยะทางขาขึ้นครั้งใหม่
- ในระหว่างขาขึ้นรอบใหม่นี้, นอกจาก C.O. จะช่วยซื้อเพื่อดันราคาขึ้นในช่วงต้น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้พลพรรคนักซื้อแล้ว เขาก็ยังได้ปล่อยหุ้นไปให้กับความต้องการซื้อขนาดใหญ่นี้ด้วย
- เขายังขายไปเรื่อยๆ จนกว่าความต้องการซื้อจะพอใจ
- และแล้วราคาหุ้นก็ถึงจุดอิ่มตัว ความต้องการซื้อมีไม่มากพอที่จะดันราคาขึ้นได้อีก เนื่องจากมีหุ้นวางขายจำนวนมากเกินกว่าที่แรงซื้อระลอกใหม่จะรับได้หมด



11) เกิดการขายอย่างรุนแรง
- เมื่อแรงซื้ออ่อนแอ สู้แรงขายไม่ได้, C.O. ก็รู้ว่าถึงเวลาปล่อยของที่เหลือจำนวนมากแล้ว
- เขาตัดสินใจช่วยไล่ราคาขึ้นไปให้ทำนิวไฮอีกครั้ง เพื่อทำให้คนในตลาดยังเชื่อว่าราคาจะโอกาสไปต่อได้อีก พวกเขาจึงซื้อเพิ่มกันใหญ่
- ทว่า, ความต้องการขายจำนวนมหาศาลถูกวางขวางไว้ไม่ให้ราคาขึ้นไปต่อได้อีกแล้ว เขาก็เริ่มขาย ขาย และขาย
- จากการขายแบบไม่หยุดนี้เอง ทำให้ราคาลงหนัก จนคนทั่วไปรู้สึกระมัดระวัง และในที่สุดก็กลัว
- นั่นคือพวกเขากลัวว่าตลาดจะลงจบรอบไปเลย แต่ก็ยังแอบหวังว่ามันจะฟื้นตัว(กลัวโดนหลอก) จึงมีความขัดแย้งทางอารมณ์ จะขายก็กลัวโดนหลอก จึงกลายเป็นไม่กล้าขายในที่สุด

12) ตลาดร่วงรุนแรง
- ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ เนื่องจากความต้องการซื้อเข้ามารับหุ้นน้อยมาก
- ราคาลงได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ supply ยังคงมีมากกว่า demand
- เล่า C.O. ยังคงขายช็อร์ตเพื่อทำกำไร ตราบใดที่พวกเขายังปลอดภัย และเตรียมเงินกำไรที่ได้ ไปรอรับซื้อในระดับราคาต่ำๆต่อไป

จากข้อ 5-12 พอจะอนุมาณการเคลื่อนไหวได้ดังรูปล่าง ก็อาจจะไม่เป๊ะๆ นะ เพราะผมก็ไม่ใช่เจ้ามือ แต่ก็พอจินตนาการออกมาได้ว่า มันน่าจะออกมาในรูปแบบนี้


-------------------------
 -----(สุดท้าย...ขอโฆษณาแบบเต็มๆ) -----
หนังสือผลงานของผู้เขียนเองครับ
มีสองเล่ม พี่น้อง ดำ - เขียว
ถ้าท่านชอบบทความที่ผมเขียน อยากมีหนังสืออ้างอิงเก็บไว้
อยากอ่านเนื้อหา+เคส เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น


"หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" (เล่มดำ) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้น ด้วย กราฟวีค ก็จะเน้นการดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย price pattern จากนั้นก็รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จบลงที่การขายด้วย price pattern เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ อ่านเล่มเดียวจบ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ 

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" (เล่มเขียว) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 10,20,50, 100, 200 วัน ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness ครบวงจรเช่นกัน
อ่าน สรุปเนื้อหาหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด

ถ้าให้เทียบความต่างของทั้งสองเล่มนะ
เล่มดำเป็นการเขียนถึงภาพรวม ภาคทฤษฎี
ส่วนเล่มเขียว เป็นการเจาะลึก เน้นเคส เป็นภาคปฏิบัติ

อ่านจบสองเล่ม ท่านสามารถเดาใจผมได้หมด ว่าเทรดยังไง
เพราะมันเป็นการกลั่นออกมาจากประสบการณ์และมุมมองของผมเอง

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ส่งข้อความไปที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


ส่วน eBook มีขายที่เว็บ mebmarket.com เท่านั้นครับ
รายละเอียด คลิกที่ชื่อหนังสือเลยครับ
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่

------(ขอบคุณครับ)-----

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino