การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

สรุป How to Trade in Stocks by Jesse Livermore

อย่าห่วงกำไร เพราะกำไร-สามารถดูแลตัวเองได้
แต่ขาดทุนน่ะ-ไม่สามารถ, ดังนั้นอย่าปล่อยให้การขาดทุนทำลายความมั่งคั่งในพอร์ตคุณ

บทความนี้แปลจาก https://whatheheckaboom.wordpress.com/2011/11/22/book-review-of-how-to-trade-in-stocks-by-jesse-livermore/
ใครอังกฤษแข็งแรงควรอ่านต้นฉบับเองครับ เพราะผมก็มั่วเกินครึ่ง
ปล. รู้สึกคุ้นๆว่า คุณมด แมงเม่าคลับ เคยแปลเล่มนี้นะ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว น่าเสียดายมาก ปกแบบนี้


Top Down Trading
ลิเวอร์มอร์ชอบเลือกหุ้นแบบมองภาพใหญ่ไปหาภาพเล็ก
1. Market - เช็คแนวโน้มดัชนี หรือ SET ว่าอยู่ในแนวโน้มไหน
2. Industry Group - เช็คว่าอุตสาหกรรมไหนที่ทำตัวตามแนวโน้ม เช่นถ้า SET เป็นขาขึ้นอุตสาหกรรมนั้นๆก็ต้องทำขาขึ้นด้วย
3. Sister Stock - เช็คตัวหุ้นนั้นและ sister stocks (น่าจะหมายถึงหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่วิ่งตามมาติดๆ) ว่ามาวิ่งดาหน้าพร้อมเพรียงกันหลายๆตัวมั้ย
4. ตัวหุ้นนั้นๆเอง - ต้องตรวจสอบสุขภาพของหุ้นตัวนั้นว่า เช่นถ้าตลาดเป็นขาขึ้น ก็ต้องแน่ใจว่าหุ้นที่เราสนใจมีโมเมนตัมที่ดีกว่าตลาด (คุณอาจจะดูค่า RS แบบปู่โอนีลก็ได้)
5. Pivotal Point - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหุ้นคุณกำลังซื้อกำลังทำ Pivotal Point ที่น่าเชื่อถือ และใช้จุดนี้เป็นจุดหนีถ้ามันไม่ไปต่อ
เขาเชื่อมั่นในการซื้อขายหุ้นที่มีคุณภาพสูงสุดไม่ใช่หุ้นที่ laggard
หุ้นที่ทำนิวไฮเป็นสัญญาณของความแข็งแกร่งในสายตาของ Livermore และหมายความว่าหุ้นตัวนั้นได้หักด่านขัดขวางของนักขาย(ตรงแนวต้าน) ซึ่งในวันนี้เราเรียกว่า "breakout stock"
เขาเป็นหนึ่งในเทรดเดอร์รายแรกที่ตระหนักว่าหุ้นมักจะวิ่งขึ้นเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ได้วิ่งแบบโดดเดี่ยว
เขาไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นกูรูผู้เชี่ยวชาญในทางการเทรดเลย, ลิเวอร์มอร์ระลึกเสมอว่าตัวเป็นนักเรียนที่ต่ำต้อยในตลาด


Go with Strongest Industry Groups เลือกเฉพาะอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งที่สุด
- การลงมือทำความเข้าใจในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น-ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นในการเทรดที่ประสบความสำเร็จ
- ทำไมกลุ่มอุตสาหกรรมที่วิ่งกันเป็นพรวนถึงจะดี?
เพราะมันสื่อว่าตลาดกำลังนิยมหุ้นกลุ่มนั้นไง มีเงินเข้าไปเล่นกันมากมาย ความคึกคักก็เกิด จะเล่นเก็งกำไรก็ง่าย
หรือบางทีมันจะเริ่มต้นจากหุ้นตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมที่วิ่งแรงมากเป็นตัวนำไปก่อน บวกไป 50% แล้วจากนั้นหุ้นตัวอื่นในกลุ่มก็จะวิ่งตามในที่สุด
- อย่าสนใจกลุ่มอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ เลี่ยงหุ้น laggard ในอุตสาหกรรมที่ laggard
หุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันจะกลับตัวจากจุดสูงสุดในเวลาไล่ๆกัน และก็จะมีอีกกลุ่มเข้ามาแทนที่ ให้ออกจากอุตสาหกรรมที่อ่อนแอและย้ายไปเข้ากลุ่มใหม่ซะ


Tandem Trading เทรดหุ้นที่วิ่งเป็นกลุ่ม
หุ้นในกลุ่มเดียวกันมักจะวิ่งในเวลาไล่ๆกัน การติดตามหุ้นสองตัวจะเพิ่มมิติทางจิตวิทยาที่ดีขึ้น เพราะคุณจะเห็นภาพว่ามันเคลื่อนไหวควบคู่กันไปถือว่ายืนยันซึ่งกันและกัน


เทรดเฉพาะหุ้นนำตลาดเท่านั้น
พยายามทำความเข้าใจและศึกษาการเคลื่อนไหวของตลาดที่มีความโดดเด่นในแต่ละวันโดยเฉพาะหุ้นนำตลาด(หุ้นที่วิ่งดีกว่าตลาด) ว่ามันมีการกระทำแบบไหน-อย่างไร ถ้าคุณไม่สามารถทำเงินได้จากหุ้นผู้นำ-คุณก็ไม่สามารถรวยจากตลาดหุ้นได้
เชื่อมั่นในหุ้นนำตลาด, เล่นเฉพาะหุ้นที่ทรงพลังที่สุดในกลุ่มนำนั้น อย่าไปแลหุ้น laggard หุ้นที่ยังไม่วิ่ง บางครั้งหุ้นตัวเล็กๆ-ที่มีการจัดการที่ดี ก็สามารถเป็นผู้นำตลาดได้ บางทีก็เป็นหุ้นที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และน็อคผู้นำเก่าล้มลง คุณต้องตื่นตัวตลอดเวลา-เลือกหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดของกลุ่มเท่านั้น-อย่าเสียเวลาชีวิตกับหุ้นที่ลงหนักๆแล้วซื้อเพื่อหวังเด้ง


ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนลงมือ
ไม่มีใครสามารถประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นได้เว้นแต่ว่าเขาจะได้รับความรู้พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์และทำความคุ้นเคยกับเงื่อนไขทุกอย่าง เช่น ตำแหน่งทางการเงินของ บริษัท ประวัติความเป็นมาความสามารถในการผลิตตลอดจนสถานะของอุตสาหกรรมที่ บริษัท ดำเนินธุรกิจ และ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวม
ในท้ายที่สุดก็คือรายได้ - ผลกำไรและศักยภาพในการทำกำไรคือเจ้ามือตัวจริงที่ขับเคลื่อนราคาหุ้น-ไม่ใช่อารมณ์ เช่น ความหวัง และความโลภ
การวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย, คือผลกำไร และข้อเท็จจริงและจินตนาการ, ที่จะผลักดันราคาหุ้นให้วิ่งในที่สุด และจำไว้ว่าความเป็นจริงมักจะเฉลยในตอนจบเพื่อสร้างข้อสรุปขั้นสุดท้ายสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมและหุ้นตัวนั้นๆ


TRADING TECHNIQUES
Trade only on Pivotal Points
- Pivotal Points เป็นตัวช่วยระบุเวลาที่เหมาะสมในการเข้าเทรด
(Pivotal Points คือจุดกลับตัว ที่บ่งชี้ว่าราคาพร้อมวิ่งขึ้นไปต่อ)
- หนึ่งในจุดที่สำคัญที่สุดของเขา-ในการซื้อหุ้นคือการพยายามซื้อให้ใกล้เคียง Reversal Pivotal Point (กลับตัว) หรือ Continuation Pivotal Point(ต่อเนื่อง) ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่
... ถ้าหุ้นวิ่งสวนทางจาก Pivotal Point (ซื้อแล้วย่อไม่ไปต่อ)เขาจะขายทิ้งทันที เมื่อกำไรเราจะรู้สึกผ่อนคลายและสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวของหุ้นทั้งหมดอย่างสงบและก็ไม่ต้องทำอะไรจนกว่าจะถึงเวลาที่จะขายทำกำไร
- การจับจังหวะ Pivotal Points ที่แม่นยำ จะช่วยให้คุณสามารถซื้อหุ้นไม้ครั้งแรกได้ถูกต้องเพื่อให้คุณมีต้นทุนราคาถูกนับตั้งแต่เริ่มต้นเทรนด์ มันจึงประกันว่าเขาจะไม่เคยอยู่ในตำแหน่งขาดทุน [... เพราะเขา 'กำไร' ตั้งแต่เข้าซื้อ] จากนั้นจึงสามารถทนความผันผวนของราคาหุ้น(เขย่า)โดยไม่ต้องกังวลว่ามันจะขาดทุน
- ทุกครั้งที่เขาสูญเสียความอดทน และล้มเหลวในการ Pivotal Points และเล่นสั่นกินกำไรคำเล็กๆ เมื่อนั้นเขาจะเสียเงิน
- ถ้าคุณซื้อก่อนที่ราคาหุ้นจะเกิด Pivotal Point จะมีความเสี่ยงมาก-เพราะราคาหุ้นอาจไม่วิ่งขึ้นจนก่อให้เกิด Pivotal Point ที่เหมาะสมเพื่อให้เห็นทิศทางของมันได้ชัดเจน
- และอีกอย่างที่คุณต้องระมัดระวังคือ - ถ้าคุณซื้อในระดับที่ราคาเหนือจุดเริ่มต้นของ Pivotal Point ไป 5% หรือ 10%  คุณอาจจะไปงานเลี้ยงสาย เพราะมันอาจจะเป็นช่วงที่มีการเขย่าพอดี
คือถ้าราคาวิ่งแรงๆหลัง breakout น่ะ มันต้องมีคนขายทำกำไรอยู่แล้วล่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันจะย่อลึกมั้ย ซึ่งถ้าคุณไปซื้อที่ปลายๆของการขึ้นแล้ว อีตอนที่มันเกิดการ take profit ของคนเล่นสั้น ราคาอาจจจะลงลึกจนเกิน limit loss ของคุณไง คุณก็ต้อง stop ออกมา ทำให้ออกจากหุ้นดีก่อนเวลาอันควร แต่ครั้นถ้าหากคุณไม่ยอมตัดขาดทุนล่ะ


Reversal Pivot Points
- จุดเปลี่ยนของทิศทางตลาดแบบง่ายๆ - เป็นจังหวะที่เหมาะสมทางจิตวิทยาสำหรับการเริ่มต้นเคลื่อนที่แนวโน้มใหม่
- Reversal Pivot Points มักจะเกิดพร้อมๆกับวอลุ่มที่เพิ่มสูงขึ้น หรือ การซื้อที่บ้าคลั่ง (climax buying) เพื่อที่จะเอาชนะกำแพงการขายที่แข็งแกร่ง
การเพิ่มของวอลุ่มนี่แหละที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำความเข้าใจ Reversal Pivot Points - เพราะมันเป็นตัวช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือ เพราะในตลาดหุ้นมันคือสงครามระหว่างนักซื้อกับนักขายอันเป็นต้นตอให้ราคาหุ้นเกิดการกลับทิศไม่ว่าจะเป็นกลับจากจุดสูงสุดหรือจากจุดต่ำสุดก็ตาม
Reversal Pivot Points เป็นจุดสตาร์ทของแนวโน้มใหม่ ฉะนั้น,มันจึงต้องมีวอลุ่มช่วยยืนยันว่าสิ้นวันนั้นต้องเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย 50%-500%
- Reversal Pivotal Points มักจะเกิดหลังจากที่ราคาวิ่ง(ทำแนวโน้มขึ้นหรือลง)มาเป็นเวลานานแล้ว ด้วยความที่มันอย่างนานนี่เองจึงทำให้ลิเวอร์มอร์ทนไม่ไหวขายออกก่อน-ทำให้พลาดรอบใหญ่ไป ดังนั้น,คุณต้องมีความอดทนให้มาก-รอจนการกลับตัว Reversal Pivotal Points อย่างแท้จริงได้ยืนยัน ถึงค่อยขาย(หรือซื้อ)หุ้น
- จุดยืนยัน Reversal Pivotal Points อีกอย่างคือ, ดูหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้ามันทำทรงเดียวกันคือกลับตัวพร้อมวอลุ่มก็ถือว่ามันมีความน่าเชื่อถือมากๆ


Continuation Pivotal Points
- มันเกิดในช่วงที่ราคาพักฐาน(หยุดการขึ้นชั่วคราว) ซึ่งเป็นนิสัยปกติของราคาหุ้น
- มักเกิดในระหว่างการเคลื่อนไหวตามแนวโน้ม ซึ่งเป็นการกระทำตามธรรมชาติของหุ้นที่มีแนวโน้มชัดเจน
- มันมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นจุดเริ่มต้น-ในการเคลื่อนที่ต่อเนื่องจากแนวโน้มเดิม แถมยังเป็นโอกาสที่จะซื้อหรือช็อร์ตเพิ่ม โดยคุณต้องรอให้มันทำ Continuation Pivot Point ซึ่งวิ่งไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มเดิมก่อนหยุดพักฐาน แล้วจึงลงมือ
- - อย่าไล่ราคา ถ้ามันวิ่งแรง(จนไกลจากจุดเริ่มต้นไปเกิน 5% แล้ว) ปล่อยมันไป ให้รอดูตอนที่มันพักฐานครั้งต่อไป-และทำ Continuation Pivotal Point ครั้งใหม่ เนื่องจาก Continuation Pivotal Point จะเป็นการยืนยันและการประกันว่าหุ้นน่าจะยังคงวิ่งต่อไปในทิศทางเดิมนั้น
การพักฐาน(หยุดขึ้น)ทำให้หุ้นมีโอกาสที่จะพักเหนื่อยและสะสม ได้เวลามันก็จะไปต่อได้ในที่สุด


Buy on Breakouts ซื้อตอนที่ราคา breakout
- เมื่อเห็นราคา breakout ทำนิวไฮหลังจากที่มันพักฐาน เขาจะรีบซื้อหุ้นให้ไวที่สุด
- หุ้นจะไม่เคยถูกแจกจ่ายในตอนที่ราคาวิ่งขึ้น แต่มันจะถูกแจกในตอนที่มันวิ่งลง เหตุผลง่ายๆก็คือ-คนทั่วไปมักจะไม่ขายขาดทุน พวกเขาจะทนถือเพื่อรอให้ราคาหุ้นกลับมาคืนทุนก่อนจึงค่อยขาย นี่คือเหตุผลว่าทำไมตอนที่ราคาเด้งกลับไปหาจุดสูงสุดเดิม-จึงขึ้นแบบยึกยัก(ขึ้นย่อ-ขึ้นย่อ) เพราคนที่ทุนสูงกำลังรอดักขายที่ราคาทุนของพวกเขา เนื่องจากความกลัว กลัวมันจะกลับลงไปทำให้ขาดทุนอีก จึงขายเอาเงินเก็บไว้ก่อน
- นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ลิเวอร์มอร์ซื้อหุ้นในตอนที่มันเพิ่ง breakout ทำจุดสูงสุดใหม่ได้ กล่าวได้ง่ายๆว่า-ด้วยการทำนิวไฮ-มันไม่มีหุ้นที่รอที่รอดักขายในตลาดเหลืออีกแล้ว หนทางข้างหน้าไร้สิ่งกีดขวาง ทุกคนกำไร

(สำหรับผมนะ, คนที่สามารถอธิบายแนวคิดการซื้อหุ้นของลิเวอร์มอร์ได้ดีที่สุด คือปู่โอนีล ของผมนี่แหละครับ ถ้าท่านอ่านข้างบนไม่เคลียร์นะ รูปนี้คือคำอธิบาย)

สัญญาณอันตราย
- ให้พยายามมองหาความผิดปรกติที่เกิดในการเคลื่อนไหวของตลาด เพื่อใช้เป็นสัญญาณในการออกจากตลาด
- สัญญาณผิดปกติ (ตรงนี้ไม่เข้าใจ เลยไม่กล้าแปล)
An abnormal reaction is a reaction in one day of 6 or more points from an extreme price made in that same day)
The next morning it extends its reaction another point or so, and then once more starts to advance, closing very strong. But the following day, for some reason, it does not carry through.

- ราคาหุ้นไม่ไปต่อหลังจากที่เกิด Pivotal Points ไปแล้ว
นี่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายเลย ถ้ามันไม่ยอมไปต่อตามที่เราคิด คุณต้องให้ความสำคัญกับมันด้วยการเฝ้าดูอย่างไกล้ชิด

- One Day Reversal มักจะเกิดเมื่อ
๑) ราคาวิ่งไปทำนิวไฮได้(สูงกว่าวันก่อน) แต่
๒) ราคาปิด กลับปิดต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อน(เอาราคาปิดเท่านั้นไม่นับไส้) และ
๓) วอลุ่มของวันนั้น-สูงกว่าของวันก่อน
(ด้วยเหตุนี้, ลิเวอร์มอร์จึงไม่ชอบที่จะเห็นความผันผวนของราคาที่มาพร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 50% เพราะมันมักจะนำไปสู่ “One Day Reversals”)



- การเปลี่ยนแปลงของวอลุ่ม
- มันเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือน-ที่ลิเวอร์มอร์ไม่เคยตั้งคำถามว่า "ทำไม?" แต่จะยอมรับมัน ซึ่งเหตุผลจะเผยให้รู้ก็ต่อเมื่อโอกาสในการทำเงินมันหมดไปแล้ว
What is considered normal volume?(ตรงนี้ไม่แน่ใจ)
At the beginning of the move you will notice a very large volume of sales with gradually advancing prices for a few days.
Then what I term a “Normal Reaction” will occur. On that reaction the sales volume will be much less than on the previous days of its advance.


ติดตามกระแสเงิน
ลิเวอร์มอร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าอำนาจหลักของตลาดกระทิง-คือ "เงิน" เท่านั้น
จำนวนเงิน, ทัศนคติ และอารมณ์ที่แท้จริงของบุรุษและสตรีและไม่ว่าจะเป็นคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะซื้อหรือขายหุ้น - เขามักจะติดตามกระแสเงินสดให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้


MONEY MANAGEMENT
Rule #1: ระบบการชิมลาง
ปัจจัยที่ 1: อย่าซื้อไม้เดียว
มันเป็นเรื่องที่ผิดและอันตรายที่จะซื้อหุ้นไม้เดียวที่ราคาเดียว
ปัจจัยที่ 2: รอการยืนยัน - ค่อยซื้อเพิ่ม
ตรรกะง่ายๆเลย คือคุณเทรดเพื่ออะไร? กำไรใช่มั้ย ถ้าอยากกำไรคุณก็ต้องรอให้หุ้นมันยืนยัน ว่าพร้อมวิ่งไปในทิศทางที่คุณกำไร นั่นคือสิ่งพิสูจน์ว่าคุณคิดถูก แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณขาดทุนก็แสดงว่าการตัดสินของคุณผิด
ปัจจัยที่ 3: กำหนดจำนวนหุ้นที่ต้องการซื้อทั้งหมด หรือระบุจำนวนเงินที่คุณต้องการกระทำก่อนที่จะเริ่มทำการเทรด
- ก่อนอื่นคุณต้องมีจำนวนหุ้นหรือจำนวนเงินที่คุณต้องการเทรดอยู่ในใจแล้ว ตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการซื้อหุ้นทั้งหมด 1000 หุ้น คุณอาจเริ่มต้นด้วยการซื้อ 200 หุ้น ตอนที่เกิด pivot point แล้วต่อมา,ถ้าราคาเพิ่มขึ้น ก็ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 200 หุ้นซึ่งเป็นตอนที่มันทำ pivot point  อีกครั้ง, แล้วหากราคายังคงเพิ่มขึ้น-ก็ให้ซื้อหุ้นอีก 200 หุ้น จากนั้นดูว่ามันตอบสนองอย่างไร, ถ้ามันบวกเพิ่มขึ้นหรือย่อ-แล้วดีดกลับขึ้นไปอีกครั้ง,คุณสามารถซื้ออีก 400 หุ้นที่เหลือ


Pyramiding
- เขาจะเริ่มซื้อไม้แรกตรงที่ราคาได้ทำ pivotal point ครั้งแรก, และก็จะซื้อเพิ่มถ้ามันได้ทำ Continuation Pivotal Point (ตอนที่ราคาฟื้นตัวจากการพักฐานด้วยความแข็งแกร่ง) หมายความว่าเทรดเดอร์อย่างเรา ควรรอให้ราคาหุ้นได้พิสูจน์ตัวเองด้วยการ breakout เพื่อวิ่งต่อด้วยลักษณะของ Continuation Pivotal Point นั่นเอง
- - เวลาสุดท้ายที่เทรดเดอร์สามารถ Pyramiding ก็ต่อเมื่อราคาหุ้นได้ breakout ขึ้นไปทำนิวไฮด้วยวอลุ่มที่สูงมหาศาล นี่เป็นสัญญาณดี เพราะมันน่าจะหมายความว่าไม่มีหุ้นที่อยากขายตกค้างอยู่ในตลาดอีก(จะได้ไม่มีการตั้งขายจำนวนมากดักขวางทางข้างหน้าอีก)
- Pyramiding จะอันตรายเมื่อต้องซื้อในตอนที่ราคาวิ่งไปไกลจากฐานมากแล้ว ลิเวอร์มอร์จะ Pyramiding ก็เฉพาะในตอนที่ราคาเพิ่งเริ่มเคลื่อนที่(คือเพิ่งทำ pivot point ครั้งแรก) และอีกครั้งก็ตอนที่มันทำ Continuation Pivotal Point (ตอนที่ breakout ขึ้นไปจากการทำนิวไฮ)

ปล. Pyramiding  เป็นวิธีการเพิ่มขนาด position โดยใช้กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการซื้อขายที่ประสบความสำเร็จเพื่อเพิ่มอัตรากำไร Pyramiding เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มการถือครองโดยการใช้มูลค่าเพิ่มที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการถือครองหุ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมนี้เป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการใช้เงินสดในการซื้อหลักทรัพย์
(แปลจาก A method of increasing a position size by using unrealized profits from successful trades to increase margin. Pyramiding involves the use of leverage to increase one's holdings by making use of an increased unrealized value of current holdings. Since the use of leverage is involved, this is a riskier strategy than one which only makes use of cash to purchase securities.)


Rule #2: Bucket Shop Rule
ข้อนี้คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกันเลยไม่แปล (ขี้เกียจน่ะ บอกตรงๆ)


กฎข้อที่ 3: ถือเงินสดไว้รอโอกาส
- นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จต้องเก็บเงินสดออกมาจากตลาดอยู่เสมอ
- ในตลาดหุ้น,โอกาสมีมาหาคุณเรื่อยๆ และถ้าคุณพลาดโอกาสที่ดีไปแล้ว -ก็ให้รอสักครู่อดทนอีกนิด เดี๋ยวจังหวะดีๆก็จะมาอีกไม่นาน
- ความปรารถนาที่จะ "เล่นทุกจังหวะ" เป็นหนึ่งในศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักเก็งกำไร-ในด้านการจัดการเงินของพวกเขาเอง
- บ่อยครั้งที่แค่เรานั่งอยู่เฉยๆ-ก็สามารถเข้าหุ้นได้ถูกจังหวะและถูกตัว ดังนั้นให้คุณอดทน-รู้จักรอ-อดทน-รอให้เป็น นี่คือกุญแจของการไปสู่ความสำเร็จ
ไม่ต้องรีบรวยหรอก เวลาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของนักเก็งกำไรคนเก่งที่สุด-ถ้าเขาใช้มันถูกต้อง


Rule #4: Cut your Losses — Let your Profits Run
- เกาะติดหุ้นผู้ชนะ - ทนรวยไปจนกว่าคุณเห็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าควรขาย ตอนที่ลิเวอร์มอร์กำไร-เขาไม่เคยกังวลหรือกลัวอะไรเลย ทำไมรึ? เขาก็แค่ “using the track’s money — the stock market’s money,” and if I lost all this profit — well then I had lost money I never had in the first place. (แปลไม่ออก)


Rule #5: Take Money Off the Table (ดึงเงินออกมาเก็บไว้ครึ่งนึง)
- นักเก็งกำไรควรทำเป็นกฎเหล็กไว้เลยว่า-ทุกครั้งที่เขากำไร ต้องเก็บ 50% ของก้อนนั้นล็อกไว้ในตู้เซฟเลย ถ้าไม่ทำแบบนี้นะ เดี๋ยวก็เอาไปเล่นแล้วคืนเขาหมดในที่สุด(The only money that is ever taken out of Wall Street by speculators is the money they draw out of their accounts after closing a successful deal)
- ไม่มีอะไรดีไปกว่ากำไรหุ้นแล้วเก็บเงินสดออกมา มันจะเป็นกระสุนลับของคุณที่ต้องเอามาใช้ในยามจำเป็น
- นี่คือความเสียใจหนึ่งเดียวของลิเวอร์มอร์ - คือเขาไม่ได้จริงจังกับกฎข้อนี้มากพอ


TRADING PHILOSOPHY
(ปรัชญาการเทรด)
ทำไม Technical Analysis ถึงเวิร์ค?
- ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา, เทรดเดอร์ได้ดำเนินการซ้ำๆในแบบเดียวกันในตลาด-อันเป็นผลมาจากความโลภ,ความกลัว, ความไม่รู้ และ ความหวัง นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เกิดรูปแบบที่สามารถคาดเดาได้
- ไม่มีอะไรใหม่ใน Wall Street หรือในการเก็งกำไรหุ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นอีกครั้งและอีกครั้งและอีกครั้ง เนื่องจากลักษณะของมนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงในธรรมชาติของมนุษย์


รอจังหวะที่ใช่เท่านั้น
- ไม่ใช่ความคิดหรอกที่จะทำเงินให้คุณ การ "นั่งอยู่เฉยๆ" และ "รอ" ต่างหากเล่า
- - มีบางครั้งที่การลงทุนและเก็งกำไรในหุ้นก็ทำเงินให้เรา แต่คุณจะไม่มีทางทำเงินได้อย่างสม่ำเสมอจากการเทรดทุกวันหรือทุกสัปดาห์ในระหว่างปี (ซึ่งมีแต่เฉพาะคนโง่เท่านั้นที่จะลอง) การจะลงทุนหรือเก็งกำไรให้ได้ตังค์นั้น-คุณต้องมีมุมมองว่าราคามีแนวโน้มจะวิ่งไปทางไหนให้แม่นมั่นก่อน-จึงค่อยเข้าเทรด
- คนที่เก็งกำไรจากการแกว่งของราคาในระยะสั้นๆเพื่อจะทำกำไรทุกวัน มักจะไม่ได้ประโยชน์อย่างจริงจัง
- ลงทุนแบบ Top down ดีกว่า จงรู้จักอดทน (เดี๋ยวโอกาสก็จะมาหาเอง)
- เมื่อมีข่าวชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ-ให้ถามใจตัวเองและวิเคราะห์ว่ามันจะมีผลกระทบต่อตลาดหรือไม่ โดยเฉพาะทางจิตวิทยา หากคุณเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบให้ตลาดบวกแรงหรือลงหนักแน่ๆ-ก็อย่ากลับคำตัดสินจนกว่าการกระทำของตลาดจะยืนยันความเห็นของคุณ
- คุณสามารถคาดการณ์ถึงการเคลื่อนไหวของตลาดหรือหุ้นได้ แต่ไม่ต้องยังไม่ลงมือจนกว่าตลาดจะยืนยันว่าคุณคิดถูกต้องด้วยการกระทำของมัน: อย่าคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดด้วยเงินสดที่ได้มาอย่างยากเย็นของคุณ ... บ่อยครั้งตลาดจะวิ่งสวนทางกับสิ่งที่นักเก็งกำไรคาดการณ์ไว้
ในเวลาเช่นนี้-นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จต้องละทิ้งการคาดการณ์ของเขาไว้-จากนั้นก็แค่ติดตามการกระทำของตลาด นักเก็งกำไรที่ชาญฉลาดจะไม่เถียงกราฟ: ตลาดไม่ผิดพลาด - ความคิดเห็นของคุณนั่นแหละที่เป็นปัญหา
- ให้แน่ใจว่าคุณมีเงื่อนไขเข้าเทรดที่คุณโปรดปราน จากนั้นก็ให้รอ อดทนจนกว่าจังหวะที่ใช่นั้นมาหา แล้วค่อยลงมือ อย่ารีบ รอวงสวิงที่ใช่เท่านั้น
- อย่าปล่อยให้ตัวเองท้อแท้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าหุ้นของคุณบวกน้อยจัง จงอดทนกับมัน เพราะ Good securities in time appreciate sufficiently to make it well worthwhile to have had patience.


อย่าถัวเฉลี่ยขาดทุน
- ถ้าหลังจากคุณซื้อไม้แรกแล้ว-ราคาไม่ไปต่อ,แถมวิ่งสวนทางให้ขาดทุน จากนั้นคุณกลับซื้อเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ย-ถือเป็นความน่าอดสูยิ่ง
- หุ้นที่มีการซื้อขายในตำแหน่งที่สูงๆ-ไม่ได้หมายว่ามันจะขึ้นต่อไม่ได้ (มันยังไปต่อได้อีก)
หุ้นที่มีการซื้อขายที่ตำแหน่งต่ำๆ - ก็ไม่ได้หมายว่ามันจะลงต่อไม่ได้ (สามารถถูกได้อีก)
- ทุกการเทรดที่ประสบความสำเร็จของลิเวอร์มอร์มาจากการซื้อหุ้นที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ เช่นเดียวกับการขายช็อร์ต-อย่าขายเพิ่มจนกว่าราคาจะทำจุดต่ำสุดใหม่
นี่แหละคือความหมายที่แท้จริงของการเทรด-กำไรคือตัวพิสูจน์ว่าคุณคิดถูก
- จากประสบการณ์ของเขา,บอกว่า-เงินที่ทำได้จากการเก็งกำไรมักมาจากจังหวะที่เขาซื้อแล้วมันกำไรตั้งแต่ไม้แรก(ซื้อแล้วกำไรทันที)
- หากมาร์เก็ตติ้งของคุณโทรหา, แล้วบอกว่าควรใช้มาร์จินเพิ่มนะช่วงนี้-เพราะราคาหุ้นย่อน่าซื้อ ก็ให้ตอบเขาไปว่า,ขายหุ้นออกมาให้หมด
ขายหุ้นที่ขาดทุนออกให้ไว-อย่าหาเงินมาซื้อเพิ่ม-และอย่าได้ถัวเฉลี่ย


เน้นดีกว่ากระจาย
- อย่าถือหุ้นเยอะ มีน้อยดูแลง่ายกว่า
- ทำให้จักรวาลการเทรดของคุณมีขนาดเล็กและสามารถควบคุมได้ เพื่อให้คุณสามารถมุ่งเน้นและซื้อขายหุ้นที่มีศักยภาพมากที่สุด


อย่าหาเหตุผลว่าทำไมราคาวิ่ง(ทั้งขึ้นและลง)
- ยึดมั่นอยู่กับแผน,กล้าลงมือทันทีเมื่อผิดทาง ตลาดไม่มีที่ว่างให้กับคนขี้กลัว/สงสัย ไม่ต้องรอให้ใครมาอธิบายหรือเห็นใจ ผิดทางรีบหนีก่อน เดี๋ยวเหตุผลก็มาเอง(เยอะด้วย-ซึ่งมักจะมาช้าเสมอ)
- ทฤษฎีของลิเวอร์มอร์คือ-การเกาะกระแสแนวโน้มรอบใหญ่-เพราะมันเป็นพลังที่ไร้แรงต้าน
รู้แค่นี้พอแล้ว อย่าไปเสียเวลาสงสัยว่าอะไรอยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนไหวครั้งนั้น
เรารับรู้แค่ว่า "มันวิ่งแล้ว" และพยายามใช้ประโยชน์จากมันด้วยการเกาะกระแสแนวโน้มไปก็พอ


ต้องมีสภาพคล่อง(อย่าติดหุ้น)
- ให้เงินทุนของคุณมีสภาพคล่องและทำงานให้กับคุณ! อุปสรรคของการเก็งกำไรก็คือการขาดเงินหมุนเวียนที่เหมาะสม - ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะติดหล่มตรงนี้กันเกินครึ่ง
- ลิเวอร์มอร์สามารถรอ-เป็นวัน, สัปดาห์, เดือน จนกว่าราคาหุ้นเป้าหมายจะวิ่งไปอยู่ในตำแหน่งที่เขาชอบและทุกปัจจัยมันเข้าทาง เขาจะซื้อเมื่อจังหวะเป๊ะจริงๆ
แต่เมื่อซื้อแล้ว,ราคาไม่ไปตามที่คิดไว้-ภายในเวลาที่เหมาะสม,เช่น 1-2 สัปดาห์, เขาจะขายทิ้งทันที แม้ราคาหุ้นจะแค่นิ่งอยู่ก็ตาม (ไม่รอให้ขาดทุน แค่ไม่วิ่งตามเวลาที่คิดไว้ว่าควรจะต้องวิ่ง ก็ขาย)
- ดังนั้น, เขาจึงมี stop loss อยู่ 2 แบบ คือ time stop กับ price stop
เขาจะไม่ทนถือหุ้นที่ขาดทุน(แม้จะไม่กี่เปอร์เซ็นต์) ถ้ามันเริ่มวิ่งสวนทางกับที่ได้คิดไว้
และเขาจะไม่ทนถือหุ้นต่อ-ถ้าราคาหุ้นไม่ยอมเคลื่อนไหวไปในทางที่เขาคาดตามเวลาที่เหมาะสม



กำหนด Profit Target – a Risk Reward Ratio ก่อนเข้าเทรด
- นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้กันก่อนลงมือ ทั้งที่มันจำเป็นและควรลองทำดู
- ลิเวอร์มอร์ต้องการโอกาสกำไรอย่างน้อย 10 จุด ต่อหุ้นหนึ่งตัว


ขายเอาเงินสดมาเก็บไว้ ถ้ากลัวว่าแนวโน้มจะเปลี่ยน
- ลิเวอร์มอร์ชอบเทรดตาม Line of Least Resistance - ที่ซึ่งเขาสามารถเกาะไปตามกระแสมวลชน,อุปทานหมู่, ตลอดเวลา
หากเขาเริ่มสังเกตุเห็นว่า "แนวโน้มเปลี่ยน" ส่งให้ตลาดรวมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง-อันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากในการทำเงินตามกระแสนั้น เขาจะเริ่มต้นหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้น
- ซึ่งเขาก็พร้อมเสมอที่จะแยกตัวเองออกจากความคิดที่ใครๆก็เห็นด้วยกันทั้งตลาด, กลุ่มคิดไปในทิศทางตรงกันข้าม, เพราะเขาเชื่อในความเป็นวัฎจักร-ก็เหมือนชีวิตคน,มีขึ้นและลง
- อย่าลงทุนในตลาดตลอดเวลา - มีหลายครั้งที่เขาถือเงินสดไว้กับตัว,โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาไม่แน่ใจทิศทางของตลาดและรอการยืนยันการเคลื่อไหวครั้งต่อไป
- เพื่อตรวจสอบในสิ่งที่ตัวเขาได้ประเมินไว้ในใจ-ว่าแนวโน้มตลาดอาจจะเปลี่ยน เขาจะลองแหย่ด้วยหุ้นจำนวนน้อยๆก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นไปตามที่เขาคิดไว้หรือไม่


การตีความเหตุการณ์ข่าว
- ประการแรก, เขาพยายามที่จะตีความอิทธิพลที่จะเกิดทันทีและโดยตรงต่อความคิดเห็นและการ action ของเทรดเดอร์-ที่เกี่ยวกับหุ้นนั้น
- ประการที่สอง, เขาจะดูราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจริงเพื่อตรวจสอบว่าข่าวดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการซื้อและขายหุ้นในอุตสาหกรรมการตลาดประเภทใด


เกมของตลาดหุ้น
- จากที่เขาได้ค้นพบเรื่อง Pivotal Points และใช้ทำเงินได้ ก็ประจักษ์ว่าการค้นคว้าหาความรู้,และหาหุ้นได้ด้วยตัวเองนั้น-มันจะสร้างความสุข,ความพึงพอใจให้กับคุณถ้าคุณได้กำไรจากมัน เพราะมันเป็นความสำเร็จจากการเทรดที่เกิดจากการตัดสินใจที่มาจากหนึ่งสมองและสองมือของตัวเอง คุณจะพบว่ามันเป็นผลกำไรที่คุณภูมิใจมากกว่าได้หุ้นจากการบอกต่อจากคนอื่น
(พูดง่ายๆนะ ไม่มีอะไรจะสุขมากกว่า การได้กำไรจากหุ้นที่หามาเอง เจอเองหรอกนะ ยิ่งได้เป็นเด้งๆ ก็ยิ่งโคตรฟินเลย ขอบอก)
- เขาชอบแก้ปริศนามากกว่าทำเงินจากตลาดหุ้น แต่ทุกครั้งที่เขาแก้ได้-เงินจะไหลหลั่งมาหาเขา
- ตลาดหุ้นเป็นเกมปริศนาที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดที่คนเคยคิดค้นขึ้นมา อีกทั้งยังจ่ายรางวัลใหญ่ที่สุดให้กับคนที่แก้ได้


ความกลัว และ ความหวัง
- มนุษย์เราจะเริ่มกลัว-เมื่อเขาเริ่มเสียเงิน(ขาดทุน) , เมื่อกลัว-ประสิทธิภาพของการตัดสินใจจะบกพร่องทันที
- ความหวังคือเพื่อที่ดีที่สุดของนักลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จ
- มีแค่สองอารมณ์ที่อยู่ในใจของคนในตลาดหุ้น คือ ความหวัง และความกลัว
ความหวังมักจะเกิดจากความโลภ - ความกลัวมักจะเกิดจากความไม่รู้
- เมื่อหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วและฉับพลัน: มันถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัว
แต่เมื่อมันขึ้น: ก็จะถูกขับเคลื่อนด้วยความหวัง
ถ้าคนหวังว่าหุ้นจะบวกเพิ่มขึ้นได้อีก-พวกเขาจะถือไปเรื่อยๆ
แต่หากเทรดเดอร์กลัวว่าหุ้นจะร่วง-พวกเขามักจะขายหุ้นอย่างรวดเร็วและทันที นั่นคือเหตุผลที่ทำไมการลดลงของราคาจึงลงหนักและแรง


ทำไมคุณต้องเล่นชอร์ต?
- ตลาดหุ้นน่ะ 1/3 ของรอบจะเป็นขาขึ้น อีก 1/3 จะsideway และที่เหลืออีก 1/3 คือขาลง
ถ้าคิดจะเล่นแค่ขาขึ้นคุณก็จะว่างมากเกินไป ทำไมไม่เล่นชอร์ตในขาลงด้วยล่ะ
(ไอเดียของทวดเค้านะ ผมไม่เกี่ยว)


วิธีคิดให้รอบคอบ
- การออกและรอให้ตลาดฟอร์มตัว(ในรูปแบบที่คุณชอบ)เป็นเรื่องยากมากในขณะที่คุณลงทุน เนื่องจากเมื่อลงทุนไปแล้ว-คุณจะมีอคติอัตโนมัติไปยังทิศทางที่คุณอยากให้มันเป็น
- เหตุผลที่เขามักจะขายหุุ้นเอาเงินสดออกมาและประเมินตลาดใหม่(ถ้ารู้สึกไม่สบายใจ) เขาเสียค่าคอมมิชชั่นไปเยอะ แต่ลิเวอร์มอร์ก็มองว่ามันเป็นค่าเบี้ยประกันภัยขนาดเล็กที่มีผลต่อเป้าหมายโดยรวมของเขา (คือถ้าเขาไม่ขาย ก็อาจจะต้องขาดทุนหนักไงครับ ถ้าเกิดมันลงแรง ค่าคอมคือการประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดเรื่องร้ายนั่นเอง)


เครียดก็อย่าเล่น
- ทำทุกวิถีทางในการรักษาจิตใจให้ชัดเจนอันจะทำให้การตัดสินใจของคุณถูกต้อง
- วิธีการของลิเวอร์มอร์ก็คือ เข้านอนให้ไว, เพลาๆการกินและดื่ม(ให้น้อยที่สุด), หมั่นออกกำลังกาย, ยืนดูกราฟหุ้น, ยืนคุยโทรศัพท์ และที่ทำงานต้องเงียบ


ระวังข้อมูลอินไซด์
มีทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จในการเก็งกำไร - ด้วยการทำงานหนัก, ทำงานให้หนักตลอดเวลา (คือรวยหุ้นด้วยหัวสมองและสองมือของตัวเอง ประเสริฐที่สุด)


Scope of the Livermore Market Key
- จุดมุ่งหมายของเขาคือการจับความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่, เพื่อระบุจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการเคื่อนไหวที่มีความสำคัญ
- สูตรที่เขาใช้ได้ผล, มักใช้ได้ดีกับหุ้นที่มีราคาตั้งแต่ $30 ขึ้นไป


Key Price
- การดูความเคลื่อนไหวของหุ้นตัวเดียว อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย จะดีมากถ้ามีหุ้นอย่างน้อยสองตัววิ่งมาคู่กันเพราะจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของแนวโน้มต้องได้รับการยืนยันโดย action ของ Key Price
- (แปลไม่ออก ไม่เข้าใจ) When a recording point has been reached — that is, a move of 6 points average by each of the two stocks — I continue to set down in that same column the extreme price made any day, whenever it is higher than the last price recorded in the Upward Trend column or is lower than the last price recorded in the Downward Trend column.


หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- คัดหุ้นชั้นยอดด้วยระบบชั้นเยี่ยม ในมุมมองส่วนตัวของผมนะ เล่มนี้ขยายแนวทางทางเทคนิคอลของลิเวอร์มอร์ได้ดีมากที่สุดแล้วครับ ใครที่อยากรู้ Trading system ของทวดเค้า ปู่โอนีลจัดให้แล้วครับ
- เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ ต่อยอดจากเล่มแรก ถ้าไม่เข้าใจ ก็มาแคะต่อที่เล่มนี้ได้
- Trade like O'Neil Disciple งาน apply ไอเดียของปู่โอนีลจากมุมมองของลูกศิษย์ รออ่านฉบับแปลไทยนะ เห็นสำนักพิมพ์ Nsix เปิดตัวแล้ว คงอีกไม่นาน


เสริมอีกนิด
"บันทึกลับเซียนหุ้น" ผมขอเรียกว่า "บันทึกการเทรดของลิเวอร์มอร์" เพราะในเล่มนี้จะไม่มีการพูดถึงเรื่องส่วนตัวเลย เน้นเรื่องการเทรดล้วนๆ
คนอ่านจะได้เรียนรู้วิธีคิด มุมมอง พัฒนาการของวิธีเทรด ที่มีทั้งกำไรและหมดตัว เราจะรู้ว่าอะไรทำให้เขาชนะและที่แพ้จนหมดตัวเพราะอะไร
ผมมองว่านี่เป็นกรณีศึกษาที่ดีมากสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน เหมือนกับที่เขาว่า "ชีวิตคุณไม่ได้ยืนยาวมากพอที่จะทำผิดพลาดได้ทุกอย่างหรอก จงเรียนรู้จากคนอื่นให้มากที่สุด"
ด้วยความที่เป็นหนังสือที่เล่มหนามาก แต่อ่านสนุก เพราะมีเกร็ด คำคม ทริกการเทรดแทรกอยู่มากมาย ผมอ่านและจดบันทึกไปด้วยเพราะไม่อยากให้ตัวเองพลาดสิ่งดีๆที่มีในเล่มนี้ไปแม้แต่นิดเดียว บอกเลยว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่ผมประทับใจมาก
ใครที่ไม่เคยอ่านก็ขอแนะนำเลยครับ เหมาะมากสำหรับคนที่เคยขาดทุนหนักๆ เล่มนี้จะช่วยปลุกกำลังใจของคุณให้ลุกขึ้นสู้ได้ครับ
ขอแชร์เนื้อหาแบบสรุปตามความเข้าใจของผม เรียงตามลำดับชีวิต ดังนี้

ชัยชนะครั้งแรก
- อายุ 14 เริ่มเล่นหุ้นชนะครั้งแรกในร้านบัคเก็ต โดยใช้องค์ความรู้จากการสังเกตุราคาและวอลุ่ม(หรือที่เรียกเทป) ที่มักจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ มาใช้ในการซื้อหรือช็อตหุ้นได้อย่างแม่นยำ(ชนะ 7 ใน 10 ครั้ง) จากการที่เขาสังเกตุได้ว่า ท้ายสุดไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ตัวเลขมักจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาเสมอ ในแบบที่ซ้ำๆ จึงทำให้เกิดรูปแบบที่สามารถคาดเดาได้

เก่งเกินวัยจึงถูกกีดกัน
- อายุ 15 เก็บเงินได้ $1000 จากการเล่นหุ้น แต่เพราะความที่ร้านบัคเก็ตคล้ายกับบ่อน เจ้ามือไม่ชอบคนที่เล่นชนะตลอดอยู่แล้ว เขาจึงถูกกีดกันไม่ให้เล่นหุ้น หรือถ้าเข้าไปเล่นได้ก็จะถูกเอาเปรียบและโกง
- อายุ 20 เคยมีเงินเก็บมากกว่า $10,000 ต่อมามีเล่นเสียหลายครั้ง แต่โดยรวมยังกำไร

เดินทางสู่นิวยอร์ค
- อายุ 21 เดินทางเข้านิวยอร์คพร้อมมีเงินเหลือติดตัวเพียง $2,500 จากนั้นก็ขาดทุนหมดตัว เขาพบว่าวิธีการเทรดของเขาใช้ในร้านบัคเก็ตได้ผลกำไรมากกว่าการเทรดในตลาดหุ้นที่นิวยอร์ค
- อายุ 22 ทำเงินได้ $50,000 แต่ก็ขาดทุนหมดตัวอีกครั้งจากตลาดหุ้นนิวยอร์ค จึงเริ่มรู้สึกตัวและปรับตัวว่าแยกความต่างไม่ออกระหว่างการเก็งกำไรกับการพนันในหุ้น

ยกระดับการเทรด
อายุ 27 เปลี่ยนวิธีการเทรดจากการคิดจะเอากำไรแค่ 1-2 จุดเป็นเล่นตามแนวโน้มใหญ่ ซื้อแล้วถือจนกว่าตลาดจะเปลี่ยนแนวโน้ม เข้าใจการเคลื่อนไหวของหุ้นรายตัวจะเป็นไปในทางเดียวกับแนวโน้มใหญ่ เริ่มศึกษาพื้นฐานและการเหวี่ยงของราคาจากสภาวะตลาดโดยรวม เขามองภาพใหญ่ขึ้นโดยดูทิศทางตลาดมากกว่าการดูหุ้นเป็นรายตัว ถือว่าเป็นการยกระดับการเทรดไปอีกขั้น

ชอร์ตหุ้นจนตลาดพัง
เริ่มมีชื่อเสียงจากการชอร์ตหุ้น ในปี 1907 ตลาดวิกฤติอย่างหนัก เขาทำกำไรได้อย่างมากมายจากการชอร์ตหุ้นในช่วงนี้ จนธนาคารต้องมาขอร้องให้หยุด

กำไรฝ้าย
เริ่มเข้ามาเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะมองว่าระยะยาวแล้วมันจะเกี่ยวข้องกับ อุปสงค์ และอุปทาน เท่านั้น เริ่มต้นด้วยการเทรดฝ้าย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จากระบบการเทรดแบบใหม่ที่เขาคิดขึ้นมาเพื่อทดแทนที่การเล่นแบบการพนัน นั่นคือการซื้อถัวเฉลี่ยขาขึ้น ทุ่มเมื่อถูกทาง และรีบตัดขาดทุนเมื่อรู้ว่าผิดทาง ตอนนี้เขาโด่งดังมากๆ

ขาดทุนเพราะเชื่อเพื่อน
จากนั้นเขาก็ขาดทุนอย่างหนัก เพราะไม่เชื่อในระบบเทรดของตัวเอง ไปหลงเชื่อคารมโน้มน้าวใจจากคนที่เขาชื่นชม ทำให้ทุ่มซื้อฝ้ายอย่างหน้ามืดตามัว แม้จะผิดทางเขาก็ยังดันทุรังซื้อเพื่อพยุงราคา แม้จะได้กำไรจากข้าวสาลี แต่กลับขายออกเพื่อเอาเงินมาซื้อฝ้าย (ในบันทึกบอกว่าตอนนั้นสุขภาพเขาเริ่มแย่อีกด้วย) สุดท้ายยอมขายขาดทุน โดยเหลือเงินอยู่ไม่กี่แสน


หมดตัวอีกครั้งหนำซ้ำเป็นหนี้หลักล้าน
เพราะความที่มีปัญหาสุขภาพ และการใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อ ทำให้มันมีผลต่อการเทรดของเขา ที่ทำไปแบบคนร้อนเงิน พอขาดทุนก็รีบเอาคืนเพราะเชื่อว่าในที่สุดตลาดหุ้นต้องทำกำไรให้เขาในท้ายที่สุด ส่งผลให้เขาขาดทุนอย่างต่อเนื่องกระทั่งหมดตัว แถมยังติดหนี้โบรคเกอร์ และเพื่อนอีกเป็นล้านเหรียญ ทำให้เขาหดหู่มาก

ไม่ยอมแพ้
เริ่มกลับมาเทรดใหม่โดยใช้เงินน้อยๆ จากเครดิตของบริษัทเล็กๆที่ยังเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเขา เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำเงินเพื่อเอาไปคืนเจ้าหนี้ให้ได้

คืนวงการด้วยการเป็นฉากบังหน้า
มีโบรกเกอร์ติดต่อเขาให้เข้าสูวงการอีกครั้ง โดยเสนอเงินให้เขาเทรด $25,000 ฟรีๆ เพื่อให้เป็นฉากบังหน้าการเทรดของคนในบริษัทที่เล่นหนักเหมือนกัน พอได้เงินนั้นไปเทรดเขาก็ทำกำไรได้ในทันทีจนมีเงินคืน เริ่มมีความมั่นใจ แต่ก็ถูกทำลายลงไปอีกเพราะโบรกเกอร์ที่ให้เงินเขาเริ่มมีการจำกัดอิระในการเทรดแถมบังคับให้ซื้อขายหุ้นที่ขัดแย้งกับระบบเทรด เขาเลยตัดสินใจออกไปเทรดที่อื่นแต่ก็ยังขาดทุน ในตอนนี้นี่เองที่เขาหมดกำลังใจในการเทรดเป็นครั้งแรกในชีวิต

ทบทวนตัวเองพบทางสว่่าง
เริ่มกลับมาทบทวนตัวเองอย่างหนัก พบว่าปัญหาไม่ใช่วิธีการอ่านเทป แต่เป็นที่ความกระวนกระวายเกี่ยวกับหนี้ เพราะความที่เขาตั้งมั่นว่า "ต้องผ่านช่วงเวลาหมดตัวนี้ไปให้ได้" เขาเลยไปเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ให้ปลดหนี้ไปก่อน ก็ได้รับการตกลง

เป็นอิสระ
เมื่อเขาเป็นอิสระ ก็กลับไปเริ่มต้นเทรดใหม่ด้วยจำนวนจำกัดเพียง 500 หุ้นเท่านั้น ซึ่งผลจากการที่เขาเตรียมตัวมาดี มีการศึกษาสภาวะตลาดทั่วไปและพยายามคิดเรื่องของจิตวิทยาของคนอื่นๆ และรู้จักตัวเองให้ดีก่อน เขาได้เรียนรู้ว่าความสำคัญของการอ่านเทปสำคัญเท่าๆกับการอ่านตัวเอง นอกจากจะศึกษาภาวะตลาดแล้ว เขายังมีการวิเคราะห์งบการเงินด้วย

กลับมากำไรอีกครั้ง
และเขาก็กลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง จนมีเงินทุนพอที่จะเทรดในระดับที่เหมาะสม เขาพบว่าก่อนหน้านี้เขาถูกรบกวนและเทรดผิดตลอด เพราะถูกเจ้าหนี้คอยรังควาน และขาดแคลนเงินทุน เมื่อไม่มีสิ่งรบกวน เขาก็เทรดได้ชนะตลอดทาง

ใช้หนี้ได้หมดในครั้งเดียว
ปี 1917 เขาสะสมกำไรจนมีเงินเหลือ ให้สามารถจ่ายหนี้คืนได้หมด ซึ่งเป็นการจ่ายคืนทั้งก้อนในครั้งเดียว ส่วนเงินที่เหลือ เขาเริ่มรู้จักเอาไปซื้อพันธบัตร ซื้อกองทุนให้เมียและลูก เพื่อเป็นหลักประกัน ว่าลูกเมียจะปลอดภัยจากเขา

ปั่นหุ้น
การกลับมาชนะตลาดในครั้งนี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นกว่าเดิมอีก จึงมีคนเข้ามาติดต่อให้เขาเป็นคนทำราคาหุ้นให้ และก็ยังมีคนอาศัยชื่อเสียงของเขาเพื่อเป็นเครื่องมือในการดึงรายย่อยมาซื้อหุ้นอีกด้วย
..................................................................
..................................................................
นิสัยของลิเวอร์มอร์
- ชอบและเก่งคณิตศาสตร์มาก มีความจำดี คิดคำนวนเลขได้เร็วกว่าคนอื่น
- ขี้สงสัย ช่างสังเกตุ สามารถหาความหมายของสิ่งต่างๆได้จากการเฝ้าสังเกตุ
- ชอบจดบันทึก ชอบพิสูจน์ความเชื่อ ว่าแนวคิดมีความแม่นยำเพียงใด สิ่งที่คาดการณ์ไว้ถูกต้องหรือไม่
- มีวิธีคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่สังเกตุ ตั้งทฤษฎี ตั้งสมมุติฐาน พิสูจน์ และสรุป
- ไม่เชื่อใครง่ายๆ ดูข้อมูลที่ตัวเองมีก่อน ค่อยตัดสินใจด้วยตัวเอง
- มีลางสังหรณ์?
- ขาดวินัย หลักการดี ถ้าทำตามแผนจะชนะ 7 ใน 10 ครั้ง แต่เพราะเลือกเทรดตามความพอใจ ไม่ทำตามแผน เลยขาดทุน
- พอผิดพลาดแล้วจะกลับมามองตัวเองก่อน ไม่เคยโต้แย้งกับข้อมูลที่เทปแสดงออกมา(ไม่โทษตลาด)
- ชอบทำอะไรๆ คิดด้วยตัวเอง ลงมือเอง ผิดก็โทษตัวเองก่อน
- คิดบวก มองความล้มเหลวและขาดทุนทุกครั้งเป็นบทเรียน และพยายามไม่ให้ตัวเองผิดซ้ำในแบบเดิมอีก
- ไฝ่รู้ ชอบอ่าน ชื่นชมคนเก่ง ชอบศึกษาวิธีคิดของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ
- ใจอ่อน มีสำนึกรู้คุณคน ทำให้ขาดทุนเพราะเพื่อนหลายครั้ง
- มีการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาของนักเก็งกำไร
- เชื่อว่าชีวิตคือการเรียนรู้
- ใจสู้ ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา
..................................................................
..................................................................
เกร็ดและคำคมที่น่าสนใจ
++ การสังเกตุ ประสบการณ์ ความจำ และ ตัวเลข เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จต้องมี นอกจากนักเก็งกำไรจะต้องสังเกตุให้แม่นยำเพียงอย่างเดียวแต่ต้องจำได้ตลอดเวลาถึงเรื่องที่เขาสังเกตุว่าเห็นอะไรบ้าง เขาไม่ควรเสี่ยงบนความไม่มีเหตุผลและความไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามความมั่นใจส่วนตัวอาจจะเกิดจากความไม่มีเหตุผลต่างๆหรือความไม่มั่นคงที่เขาอาจจะรู้สึกว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขาต้องเสี่ยงบนความน่าจะเป็น นั่นคือ การลองวิเคราะห์คาดการณ์ความเป็นไปได้ของมัน เวลาหลายปีแห่งการเรียนรู้และฝึกฝน การศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และการจำการเทรดของตัวเองได้จะทำให้เราสามารถตัดสินใจในการเทรดได้ทันที ถ้ามีเรื่องที่ไม่คาดคิดเข้ามา
++ ผมค้นพบว่าประสบการณ์เป็นเหมือนคนจ่ายเงินปันผลให้เราอย่างสม่ำเสมอในเกมการลงทุน และการสังเกตุก็เป็นการบอกข่าวที่ดีที่สุด พฤติกรรมของหุ้นเป็นสิ่งเดียวที่คุณต้องการ คุณต้องสังเกตุมัน จากนั้นประสบการณ์ก็จะแสดงให้คุณเห็นว่าคุณจะทำกำไรได้ยังไง
++ หน้าที่ของผมคือการเทรดที่ยึดติดกับข้อเท็จจริงมากกว่าไปคิดถึงเรื่องที่คนอื่นๆจะทำยังไงกับมัน
++ ผมมีความสนใจในทุกช่วงการลงทุนของผม และแน่นอนว่าผมเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นๆ เหมือนกับที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง
++ การศึกษาปัจจัยของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อโดยปราศจากเงื่อนไข หรือแม้กระทั่งเรื่องที่พวกเขายอมให้ตัวเองถูกจูงใจโดยความโลภหรือความไม่ใส่ใจคนอื่น ความกลัวและความหวังของคนเรายังคงเหมือนเดิมทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นการศึกษาเรื่องของจิตวิทยานักเก็งกำไรเป็นเรื่องที่มีค่าที่สุด
++ องค์ประกอบสำคัญของการประสบความสำเร็จในการเก็งกำไรมักจะขึ้นกับสมมุติฐานของคนที่จะทำผิดพลาดแบบเดียวกับที่พวกเขาเคยทำในอดีต
..................................................................
..................................................................
ประวัติส่วนตัวของเจสซี ลิเวอร์มอร์
ลิเวอร์มอร์เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1877 ที่ชูส์เบอรี่ รัฐเมสซาชูเสส พ่อแม่เป็นชาวนาที่ยากจน พ่อเข้มงวดมาก แต่แม่ตามใจ
ตอนเด็กเขาผอมและขี้โรค เขาชอบอ่านหนังสือและจินตนาการ มีโลกส่วนตัว จึงทำให้มีกระบวนคิดที่เป็นเหตุเป็นผล
ที่โรงเรียนเขาเก่งคณิตศาสตร์มาก คิดเลขเร็วสุดๆตอบได้ไวก่อนใครเพื่อน หรือสามารถใช้วิธีที่แตกต่างเพื่อหาคำตอบได้ด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาเคยแข่งแก้โจทย์คณิตสุดซับซ้อนชนะครูมาแล้ว ทำให้เขาถูกยกให้ไปเรียนคณิตในระดับที่ยากกว่าหลักสูตรสำหรับอายุเท่าเขา เขามีสมองที่คำนวนได้ไว จำตัวเลขได้แม่น ถึงกับจัดรูปแบบตัวเลขได้ เรียกว่ามีสมองคอมพิวเตอร์ได้เลย
พออายุ 13 พ่อให้ออกจากโรงเรียนมาเป็นชาวนา แต่แม่ไม่เห็นด้วยจึงให้หนีไปบอสตัน ไปสร้างอนาคตด้วยตัวเอง เขามีการโปรแกรมชีวิตที่ต้องการเอาไว้แล้วว่าไม่ต้องการเป็นแบบพ่อที่ทำงานหนัก แต่ก็ยังจน อยากประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงด้วยการทำงานด้วยสมอง
เขาเลยเลือกไปทำงานเป็นคนบอกราคาหุ้นในโบรคเกอร์แห่งหนึ่ง เขาชอบทุกอย่างเกี่ยวกับงาน มีความฝันว่าสักวันหนึ่งเขาจะสร้างระบบเทรดของตัวเองและเขาจะรวย ดังนั้นในระหว่างงานเขาชอบที่จะไปสอบถามพูดคุยกับโบรคเกอร์ ลูกค้า เพื่อหาข้อมูล เขารู้ว่าคนในออฟฟิสหาเงินจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ต่อมาชีวิตเขาก็จะเป็นแบบที่หนังสือบันทึกลับเซียนหุ้น ซึ่งผมจะไม่ขอเขียนซ้ำนะ ลองไปอ่านกันเองนะ

ช่วงปี 1922 ลิเวอร์มอร์ อายุ 45 ปีเขาได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีคิด เทคนิคและประสบการณ์ในตลาดหุ้นกับนักข่าวชื่อ Edwin เพื่อตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ลงคอลัมน์รายสัปดาห์ในหนังสือพิมพ์ The Saturday Evening Post และบทความเหล่านั้นเองที่ภายหนังได้ถูกนำมารวมเล่มทำเป็นหนังสือที่โด่งดังชื่อ "Reminiscences of a Stock Operator" ซึ่งเป็นหนังสือบันทึกลับเซียนหุ้น เล่มที่ผมสรุปนี่แหละครับ

ช่วงปี 1925 -1928 เป็นปีทองของลิเวอร์มอร์ เพราะเขาทำกำไรทั้งจากตลาดหุ้นและตลาดสินค้าเกษตร ได้กำไรจำนวนมากหลายสิบล้านเหรียญ โดยเฉพาะในปี 1929 เขาทำการชอร์ตเซล หุ้นครั้งใหญ่จากการถล่มของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงวิกฤติการเงิน Great Depression หรือวิฤตฟองสบู่วอลสตรีท ทำให้เขาได้กำไรรอบนั้นมากกว่า 100 ล้านเหรียญ ชีวิตของลิเวอร์มอร์ หลังจากนั้นก็ยิ่งหรูหรา เขามีคฤหาสหลังใหญ่ มีเรือยอร์ช มีทุกสิ่งที่เศรษฐีจะมีได้ แต่ชีวิตเขาก็ใช่ว่าจะมีความสุข เพราะปัญหาจากลูก ที่ติดยาเสพติด ชอบปาร์ตี้ และจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ทำให้ตัวเขาเองเป็นคนที่ล้มเหลวในชีวิตในชีวิตครอบครัว และส่งผลให้เกิดความเครียด และกลายเป็นโรคซึมเศร้า

ประกอบกับวัย 56 ปีเขาได้รับการวินิฉัยโรคจากหมอว่าเป็นโรคความจำเสื่อมแบบเฉียบพลัน และมีโอกาสจะเป็นโรคสมองเสื่อม หลังจากนั้นไม่นาน Jesse Livermore ก็ประสบกับปัญหาการขาดทุนจากหุ้นอย่างหนักจนหมดตัว Jesse Livermore ถึงแม้จะขาดทุนอย่างหนักแต่ยังพอมีเงินจากกองทุนและผลตอบแทนจากพันธ์บัตรทำให้เขาสามารถ ใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่สามารถกลับมาสร้างผลกำไรได้เหมือนเดิม

การฆ่าตัวตาย
วันที่ 28 พฤษจิกายน 1940 ลิเวอร์มอร์ยิงตัวตายในโรงแรม ที่แมนฮัตตัน ตำรวจพบจดหมายลาตายในสมุดบันทึกของเขา ซึ่งต่อมาตำรวจได้เปิดเผยว่าเขาเขียนถึงภรรยา มีใจความว่า “My dear Nina: Can’t help it. Things have been bad with me. I am tired of fighting. Can’t carry on any longer. This is the only way out. I am unworthy of your love. I am a failure. I am truly sorry, but this is the only way out for me. Love Laurie”
เขาเหลือเงินลงทุนและทรัพย์สินเงินสด ณ วันที่เสียชีวิตกว่า 5 ล้านดอลล่าร์ มีการคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเขาเป็นโรคซึมเศร้าและปัญหาภายในครอบครัว ในช่วงปีสุดท้ายของการมีชีวิตของเขา

แถมคลิป "คัดหุ้นสไตล์ Jesse Livermore"





Jesse Livermore's Methods
การเลือกหุ้น, หนทางสู่ความสำเร็จ, การตีความข่าว, ตลาด
จาก Jesse Livermore's Methods of Trading in Stocks

เป็นบทสัมภาษณ์ที่ให้กับ Richard D. Wyckoff หลังจากที่ล้มละลายครั้งแรกแล้วกลับมาทำเงินได้อีกครั้งและสามารถใช้หนี้ได้หมดในเวลาไม่นาน ซึ่งตอนนั้นผู้คนฮือฮามาก
ผมจะคัดเอาเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่สนใจและพอแปลได้เข้าใจนะ

#เลี่ยงหุ้นราคาถูกๆ
ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดของนักลงทุนมือใหม่ก็คือการซื้อหุ้นที่ถูกซื้อขายในราคาถูกๆ เพราะความจริงก็คือราคาไม่ได้บอกมูลค่าที่แท้จริงเสมอไป ควรดูอย่างอื่นด้วย เช่นการจ่ายปันผล ความสามารถในการทำกำไร ฯลฯ

#หาธุรกิจที่แข็งแกร่ง
- ในการเลือกหุ้น, นักลงทุนควรดูว่าอุตสาหกรรมไหนอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแรง ธุรกิจไหนที่อ่อนแอกว่า อ่อนแอที่สุด ฯลฯ

- หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ
- นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เคยแยกว่าหุ้นตัวไหนแข็งแรงตัวไหนอ่อนแอ แถมแยกไม่เป็นด้วย ทำให้พลาดโอกาสงามๆไปบ่อยครั้ง จึงควรเลี่ยงอุตสาหกรรมที่อ่อนแอและหุ้นที่ราคาต่ำมากๆ เพราะมันบ่งบอกว่ามีพื้นฐานที่ไม่มั่นคง
- ให้เกาะกระแสอุตสาหกรรมที่แข็งแรงไว้ พวกที่มีอนาคตสดใสและเติบโตได้อีก

#หุ้นมีฤดูกาลและแฟชั่นของมัน
- นักลงทุนควรเข้าใจว่าหุ้นหรือธุรกิจนั้นล้วนมีฤดูกาลและแฟชั่นของมัน เช่น ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับหุ้นรถยนต์และยาง ซึ่งราคาจะวิ่งดีในช่วงนั้นแล้วจากนั้นก็จะร่วงเพราะจบช่วงเวลาที่ดีไปแล้ว
.
#หนทางสู่ความสำเร็จ
- การประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นมีวิธีการเดียวเท่านั้น - คือ การหาข้อมูลอย่างหนักก่อนลงทุน โดยเฉพาะทางด้านพื้นฐานของกิจการ ประวัติ และสถานการณ์ของเศรษฐกิจในขณะนั้น

- สิ่งที่ทำให้ลิเวอร์มอร์ประสบความสำเร็จก็คือ "ความรู้+ความอดทน" น้อยคนนักที่ประสบความสำเร็จในตลาดได้โดยปราศจากความอดทน คนส่วนใหญ่อยากรวยเร็วๆ ผลคือไปไล่ซื้อหุ้นที่ยอดดอยกัน
ในระยะยาวแล้ว, ความอดทนจำเป็นเหนือกว่่าสิ่งอื่นใด ความรู้ก็จำเป็น หาข้อมูลให้มากก่อนซื้อหุ้น อย่าหวั่นไหวหากราคาไม่ไปไหน มันจะวิ่งเมื่อถึงเวลา,โดยเฉพาะในช่วงตลาดขาขึ้น อย่าลืมเลือกหุ้นแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่แข็งแรง และให้ซื้อเมื่อคุณเห็นว่ามันกำลังจะวิ่งขึ้นเท่านั้น

#วิธีการหาข้อมูลจากข่าว
นอกจากการที่เขานอนไวและตื่นเช้า ลิเวอร์มอร์ใช้เวลาหนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนอาหารเช้าเพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ โดยเน้นไปที่การเจาะหาความจริงจากข่าวนั้นๆ หาข้อมูลที่น่าจะมีผลต่อตลาด, ธนาคาร, การค้าต่างประเทศ, การเงิน, ผลิตผลการเกษตร, รายงานของบริษัท และสถิติการซื้อขาย

#วิธีการตีความข่าว
หลังจากที่อ่านข่าวตอนเช้า, เขาจะได้ข้อมูลทางพื้นฐาน แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาตัดสินใจซื้อเลย แต่จะดูเทป(หรือในปัจจุบันก็คือติ๊กเกอร์รวมถึงกราฟ) ข่าวจากเทปจะบอกให้เขารู้ถึงความเคลื่อนไหวและพัฒนาการล่าสุดของมันที่ถูกสะท้อนจากทุกส่วนของโลก เพราะตลาดจะเป็นตัวสะท้อนความเห็นของผู้เล่นทุกคนซึ่งบางคนอาจมีพลังมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์ตลาดให้คนอื่นๆตัดสินใจซื้อหรือขายตามได้ ลิเวอร์มอร์ชอบอ่านความนัยเพื่อค้นหาว่าทำไม "พวกเขา" ถึงได้พยายามทำสิ่งนั้น
การตีความข่าวของเขานั้น, ทำได้สองทาง
๑) เพื่อตัดสินว่าคนส่วนใหญ่/หรือรายใหญ่คิดจะขายเพื่อกดทั้งตลาดหรือเพื่อทุบหุ้นแค่บางตัว
จากนั้น ๒) เขาจะดูติ๊กเกอร์เพื่อหาหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากข่าวนั้น เพื่อดูว่ามันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายในหุ้นบางตัว
การตีความข่าวของเขาอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างจากการแสดงออกของตลาด แต่เขาก็รู้ว่าการพัฒนาการนั้นมีความสำคัญเพียงพอ, มันจะส่งผลต่อเทปในอีกไม่ช้า

ตลาดต้องการ "#การทำความเข้าใจ"
ลิเวอร์มอร์บอกว่า "ทุกคนคิดว่าความสำเร็จของเขานั้นขึ้นอยู่กับโอกาสที่อาจจะมาจากข้างนอกตลาด ซึ่งเป็นทัศนคติที่ผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว ปัญหาใหญ่สุดของใครก็ตามที่ซื้อหุ้นก็คือเขามองว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ควรมีใครสักคนเข้าใจว่าการลงทุนหุ้นนั้นต้องการ “การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัว” ซึ่งไม่ต่างจากการเรียนกฎหมายหรือแพทย์เลย คนมากมายบอกว่าที่ผมกำไรหุ้นเป็นเพราะความโชคดี ทั้งที่ความจริงแล้ว, ผมใช้เวลาตลอด15 ปีเพื่อเรียนรู้มันอย่้างไกล้ชิด จะว่าผมอุทิศชีวิตให้กับมัน, อีกทั้งยังลงมือทำให้ดีที่สุดอีกด้วย

-------------------------------------------
----------------------
----------------------

"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)