นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่!

Image
นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่! แปลและขยายความจาก  https://x.com/markminervini/status/1850913591630680378 นักเทรดหลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่า “งาน” หรือสิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการทำกำไรให้ได้มากที่สุด ในความจริงแล้ว เป้าหมายของการเทรดคือการทำเงิน แต่งานจริง ๆ ของนักเทรดนั้นคือการปฏิบัติตามและดำเนินกลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างมีวินัยโดยไม่หลุดออกจากกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าคุณสามารถยึดมั่นในกฎการเทรดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ตามมาคือกำไรและความสำเร็จจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป้าหมาย vs งานจริงของนักเทรด - เป้าหมาย  คือการทำเงินและสร้างผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้โดยตรง - งานจริง  ของนักเทรดคือการใช้กลยุทธ์ที่มีโอกาสชนะให้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีวินัย ยึดมั่นในแผนการเทรดที่ตั้งไว้ การทำตามกฎของตัวเองอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้คุณจัดการกับความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ ทำไมวินัยจึงสำคัญในงานของนักเทรด การมีวินัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเทรดมีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น การไม่มีวินัยในการเทรดจะทำให้นักเทรดเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

Jo's Methods


"ก่อนจะเป็นวีไอที่ประสบความสำเร็จแก่นแท้ข้อหนึ่งที่จะต้องท่องไว้เลยคือ "เราซื้อธุรกิจไม่ได้ซื้อหุ้น" คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าซื้อหุ้น เพราะเขาเชื่อว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้น แต่หากคิดว่าซื้อธุรกิจ เราจะคิดว่าธุรกิจนี้ จะมีกำไรสูงขึ้น ซึ่งมันจะเป็นตัวผลักดันราคาหุ้นให้สูงขึ้น แต่จะคิดแบบซื้อธุรกิจได้คุณต้องศึกษาธุรกิจนั้นอย่างลึกซึ้ง"

"ตรรกะของการทำกำไรจากหุ้นคือ ซื้อถูกขายแพง คำถามต่อไป แล้วเราจะขายได้แพงตอนตลาดเป็นแบบไหน และหากเราจะซื้อของให้ได้ราคาถูก เราจะซื้อได้ตอนที่ตลาดเป็นอย่างไร"

มีนักลงทุนระดับไอดอลบ้านเราอีกคนที่ผมอยากตีความสรุปไอเดียแนวทางการเทรดเอาไว้ นั่นคือพี่โจ ลูกอีสาน ซึ่งแม้จะเป็นคนละแนวทางกัน แต่ก็ด้วยความชื่นชมเลยเป็นแรงบันดาลใจให้ลองดูครับ

ผมชอบเรียกพี่โจ ว่าเป็น "วีไอโฮบริด" เพราะความที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้ดีมากๆ
เท่าที่ตัวเองสังเกตุนะ ขอแบ่งประเภท วีไอ ไว้ 2 แนว ตามยุคสมัย
          แนวคลาสิค ผู้นำคือ ดร.นิเวศ เหมวชิรวรากร ที่เน้นของยุคถูกและดี ซื้อเฉพาะหุ้นดีหนึ่งประเภทหนึ่งเท่านั้นซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสําหรับตอนที่ set ร่วงหนักมากในรอบสิบปีเลยนะผมว่า คือต้องวิกฤติขนาดดัชนีลงไปอยู่ในระดับ 100 จุด ประเภทที่เม่าและเซียนเลือดนองตลาดหุ้นนั่นแหละ แนวนี้ถึงจะชอบ

          แนวไฮบริด ก็แบบ พี่โจ นี่แหละครับ คือไม่รอวิกฤติ เพราะไม่เล่นหุ้นใหญ่ ไม่เอาบลูชิพ เน้นขนาดเล็กและกลางเน้นที่ถูกและดีพอประมาณ เพราะเชื่อว่าของถูกและดีพอใช้มีอยู่เสมอ ถ้าคุณหมั่นพลิกหินดูทีละก้อนในที่สุดก็ต้องมีหุ้นที่เข้าเรดาร์พอสมควร เท่าๆที่ตามงานสัมภาษณ์ของแกนะ พบว่าพี่เค้าจะมีหุ้นในลิสต์อย่างน้อยๆ สี่ห้าสิบตัว ซึ่งแนวคิดแบบนี้แหละที่เหมาะสำหรับ set พันกว่าจุด อย่างปัจจุบันมากครับ

รวยด้วยสมองและสองมือ
- "ผมถือคติว่า ฟังคนอื่นหรือลอกหุ้นคนอื่นชีวิตการลงทุนคงไม่รอด ที่ผ่านมาผมปฏิญาณกับตัวเองว่าจะไม่ใช้ “อินไซเดอร์” ถึงได้กำไรก็ไม่ภูมิใจ เราโกหกคนอื่นได้ แต่โกหกตัวเองไม่ได้ ไม่อยากเงยหน้าอายฟ้า ก้มหน้าอายดิน"


แนวทางการพลิกหินทีละก้อน
- ไล่อ่าน 56-1
- ตามดูคลิป Oppday
- ไล่อ่านรายงานประจำปี
- อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจทุกวัน
- อ่านงานวิจัยจากโบรคเกอร์ทุกแหล่งเพื่อหาเบาะแส
- ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ทุกวันทำการ
- ดูเวปบริษัท
- อ่านรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
ยิ่งติดตามมาก เราก็ยิ่งรู้พื้นฐานมากขึ้น ขอบข่ายความรู้มากขึ้น ยิ่งติดตามมากโอกาสที่จะเจอช้างเผือกก็สูง เวลามีข่าวสารเข้ามาเราก็รู้ทันทีว่าเป็นข่าวดีหรือไม่ดี ซื้อหรือไม่ซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาข้อมูลอีก


อ่านยังไงให้ได้หุ้น?
- ต้องทำทะเลให้แคบก่อน ทำเป็นบึงเป็นสระ ด้วยการคัดตัวที่ไม่เข้าใจออก หุ้นปั่น ธรรมาภิบาลไม่ดี อุตสาหกรรมตกดิน ถ้าเหลือซัก 200 กว่าตัว ส่วนใหญ่ผมติดตามตัวที่สนใจพิเศษ ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ดูว่ามีนัยยะกับกำไรบริษัทหรือเปล่า ตอนเช้า 9 โมงผมจะอ่านข่าวตลาดแล้ว ไม่ได้ติดตามที่ไหนเป็นพิเศษ ผมจะมองล่วงหน้าก่อนหนึ่งปี
- เน้นข่าวที่มีนัยยะต่อผลประกอบการคือกำไรจะโตในอนาคตใน 1 ปีข้างหน้า


ของดีที่ชอบมีหน้าตายังไง?
- "ผมจะชอบหุ้นที่มีแนวโน้มว่ากำไรสุทธิจะเติบโตมากๆ อย่างน้อยต้องขยายตัว 20-30% ต่อปี นั่นแปลว่าบริษทนั้นมีสตอรี่ที่ดีมารองรับแล้ว"
- ผมจะวิเคราะห์ "มูลค่าหุ้นที่ควรจะเป็ นภายใน 1 ปีข้างหน้า" นำมาเปรียบเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อขายในปัจจุบัน ถ้าหุ้นตัวนั้นมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย (margin of safety) ยิ่งมาก..ยิ่งชอบ
- เน้นดูค่า P/E ควรต่ำเข้าไว้ แต่ถ้าคุณภาพดี ก็ไม่ต้องต่ำมากก็ได้ ปกติหากบริษัทนั้นมีคุณภาพที่ดี "ผมจะเพิ่มพรีเมียม..ให้ค่าเฉลี่ย P/E ขึ้ นไปอีก 1 เท่า" แต่ก็ไม่ได้ใช้หลักการนี้ ตายตัว ถ้าคุณภาพ "ดีปานกลาง" จะเพิ่มพรีเมียมค่าเฉลี่ย P/E อีกเพียง 0.5 เท่า จากค่าเฉลี่ยปกติ
- อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ธุรกิจทั่วไปไม่ควรเกิน 1 เท่าไม่เช่นนั้นจะเริ่มเสี่ยง แต่บางธุรกิจมีข้อยกเว้น เช่น กลุ่มธนาคาร และกลุ่มลิสซิ่ง เป็นต้น
- ดูวงจรกระแสเงินสด บริษัทไหนมีเงินนอนอยู่ในบริษัทมากๆ ถือว่าน่าสนใจ
- เลือกหุ้นที่ปลอดภัยพวก Defensive Stock มีปันผลระดับหนึ่ง เวลาลงอาจจะไม่ลงมาก
- ผู้บริหารซื้อหุ้นจำนวนมาก


ไม่ควรมองข้ามวอร์แรนต์
- วอร์แรนต์ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเองดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์ โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ


ตัวเร่งที่รุนแรง
- มองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้ อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน
เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น
การแจกวอร์แรนต์


หุ้นเติบโต
- ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่มคนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ต


ซื้อที่มูลค่า
- หาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าประมาณ 30% ขึ้นไป สมมติว่าหุ้นมีมูลค่าประมาณ 10 บาท ถ้าราคา 7 บาท
เราซื้อได้ ถ้า 5 บาท ยิ่งต้องซื้อ แต่ถ้าเจอหุ้นราคา 3 บาท เราอาจจะใส่เต็มที่เลย
ยังไงก็ควรจะมี "อัพไซด์" ประมาณ 30% ขึ้นไป ถ้าหุ้น มีอัพไซด์ 20% หรือต่ำกว่านั้นคิดว่าเป็นการลงทุนที่"ไม่คุ้ม กับความเสี่ยง"
- ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้ แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำใด้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้ น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่ค่อยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง

หลักในการเลือก
Mcap < 3,000 ล้าน
ดูอดีต: PE ต่ำกว่าตลาด (ราคาต้องถูก)
ดูอนาคต : ต้องมีการเติบโต งบการเงินมีความมั่นคง  D/E ไม่ควรเกิน 1-1.5 เท่า (ไม่อยากเพิ่มทุน) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของกำไร
มีความสามารถในการแข่งขัน อยู่ในอุตสาหกรรมขาขึ้น มีส่วนแบ่งตลาด โดดเด่นกว่าคู่แข่ง
กำไรของธุรกิจต้องเติบโต เช่นถ้าออกข่าวว่า EPS จะโตมากกว่า 15% ต่อปี
ผู้บริหารมีวิชั่น ตั้งใจทำธุรกิจ
ราคาที่เหมาะสม มูลค่าธุรกิจ ดูประเภทธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ผู้บริหาร แบบนี้ ราคาควรเป็นเท่าไหร่


ซื้อเมื่อไหร่?
- ทุกๆ วันจะมองหาหุ้นที่จะซื้อตลอดเวลา มองหุ้นบางตัวอยู่แต่ราคาอาจแพงไปนิด แถมโอกาสชนะมีแค่ 50% ถ้าเป็นแบบนั้น "จะยังไม่ซื้อ" เพราะโอกาสชนะแค่ 50% เหมือนเรา "เล่นการพนัน" จะซื้อก็ต่อเมื่อโอกาสชนะต้องมากถึง 80-90% เท่านั้น
- เมื่อจอยอดหุ้นที่ upside สูงมาก ให้รีบซื้อให้เยอะที่สุด แต่กระนั้นก็ไม่ควรเกิน 40%


ซื้ออย่างไร?
- “ถ้าผมเจอหุ้นที่มีคุณสมบัติอย่างที่ชอบ ผมจะเคาะขวา (ซื้อฝั่ง Offer) เลย เพราะกลัวมีคนมาแย่ง ไม่ต้องตั้งรอ ซื้อแพงหน่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าตัวไหนดูแล้วอัพไซด์ไม่มาก..ก็รอหน่อย! ส่วนใหญ่จะซื้อทีเดียวเลย ถ้าลงมาก็จะซื้อเพิ่มอีก ตัวไหนดีมากจะซื้อไม่เกิน 30% ของพอร์ต ปกติจะมีหุ้นตัวหลักในใจ 6-7 ตัว”


ถือนานมั้ย?
- ที่ผ่านๆมา ถือไม่เคยเกิน 3 ปีเลย ส่วนใหญ่ เกือบๆปี


ขายเมื่อไหร่?
- ตัวไหนมี Margin of Safety น้อยก็ขายไป เน้นตัวที่มีเงินปันผลรองรับ ธุรกิจไม่ผันผวนมาก
- ขายเมื่อเกินมูลค่าที่ควรจะเป็น ขายเมื่อคิดผิด ขายเมื่อเจอตัวอื่นที่ดีกว่า


ข้อคิดสำหรับรุ่นน้องๆ
- อยากให้นักลงทุนที่ยังไม่ถึงเป้าหมาย ศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด อย่าไปคิดว่าซื้ อแล้วหุ้นต้องขึ้นทันที ให้คิดว่าเรา "ซื้อธุรกิจ" ถ้าใครไม่พร้อมก็ให้ไปซื้อกองทุนรวมแทนก็ได้ ปัจจุบันมีหลายกองทุนสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี
- หากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาทีโดยไม่ขึ้นนอยู่กับคนอื่น หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน
- มาร์จิ้น ด้านดีก็มี แต่ผลเสียมหาศาล คนใช้มาร์จิ้นอาจจะมองโลกแง่ดีเกินไป แต่ควรระวังคำว่า "ดวงแตก" ไว้ด้วย


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่