แนวคิดทางการเทรดของปู่
Stan Weinstein เป็นสไตล์เดียวกับ Jesse Livermore และ Nicolas Darvas ด้วยการพยายามระบุแนวโน้ม(stage)ของตลาดให้เป็นขาขึ้นก่อน จากนั้นจึงหากลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง สุดท้ายจึงหาหุ้นรายตัวที่แข็งแรงที่สุดในอุตสาหกรรมแกร่งนั้น
สรุปง่ายๆคือซื้อหุ้นแบบ top down (เริ่มจากสภาวะตลาด,กลุ่มอุตสาหกรรมและจบที่หุ้น)
เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับพี่มาร์ค มิเนอร์วินี ในเรื่องของ stage หรือการระบุแนวโน้มของราคาหุ้น และแน่นอน, งานเขียนของผมที่ท่านจะได้อ่านก็จะเอาแนวคิดของท่านส่วนหนึ่งมาประยุกต์เช่นกัน
โดยหนังสือที่ดังสุดๆของแกก็คือ
Secrets for Profiting in Bull and Bear Markets ที่แสดงไว้ในรูปซ้ายมือท่านนั่นแหละครับ
มาดูแนวคิดหลักๆของแกเลย
ปู่ Weinstein ใช้เครื่องมือพื้นฐาน 5 ข้อต่อไปนี้ในการวิเคราะห์หุ้นรายตัว
๑) มีแนวต้านในหนทางข้างหน้าน้อยสุด
๒) มีความแข็งแรงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด โดยดู Relative Strength
๓) ราคาหุ้นเข้าสู่ขาขึ้น: โดยใช้ เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์เป็นตัวกรอง
๔) ราคาหุ้น breakout แนวต้านขึ้นไปได้ด้วยวอลุ่ม: เขาใช้เส้นแนวรับและต้านในแนวนอนเป็นหลัก
๕) มีการยืนยันจากวอลุ่มที่สูงในตอนที่ breakout
แนวคิดพื้นฐาน
ประเภทของนักเล่นหุ้น
- เทรดเดอร์ เล่นรอบสำหรับการเคลื่อนที่ 2-4 เดือน
- นักลงทุน เล่นรอบสำหรับการเคลื่อนที่ 12 เดือน
Time frames
- ระยะสั้น รอบ 1-6 สัปดาห์
- ระยะกลาง รอบ 6 สัปดาห์ - 4 เดือน
- ระยะยาว รอบ 4-12 เดือน
การย่อ (Pullback) : ราคาย่อลงไปไกล้ระดับราคาที่เพิ่ง breakout/breakdown
วิธีคำนวน Relative Strength:
ตอนนั้นแกก็ใช้ สูตรง่ายๆ คือ ราคาหุ้น/ราคาเฉลี่ยของดัชนี
แล้วปู่โอนีล ก็เอามาแตกยอดต่อเป็นของแกไง
Stage หรือระยะของหุ้น
ถ้าจะให้สรุปแบบหยาบๆ มันก็เหมือนการเอา Dow theory หรือ Wyckoff มาใส่เส้นค่าเฉลี่ย เพื่อช่วยในการแบ่งแนวโน้มหุ้น ว่าช่วงไหนเป็นขาลง, ขาขึ้น ให้ชัด และดูง่ายขึ้น นั่นเองครับ
Stage 1 สร้างฐาน
วอลุ่ม: แห้ง
ราคา : วิ่งขึ้นลงนัวเนียกับเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์
สัญญาณของการเคลื่อนที่เข้าสู่ stage 2: วอลุ่มเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่วิ่งลงอีก จากนั้นราคาทะะลุแนวต้าน และเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ขึ้นไปพร้อมกับวอลุ่มที่สูงขึ้น
โอกาสซื้อครั้งแรก : ซื้อตอนที่ราคา breakout แนวต้านขึ้นไป และตั้ง stop loss ใต้แนวต้านนั้น
โอกาสซื้อครั้งที่สอง : รอตอนที่ราคาย่อครั้งแรกที่ลงไปไกล้ๆระดับราคาที่เพิ่ง breakout ขึ้นไปได้ก่อนหน้านี้เป็นจุดซื้อ เพราะเสี่ยงน้อย เพราะเราจะเห็นความแข็งแรงของการ breakout และ pullback
Stage 2 ราคาวิ่งขึ้น (ขาขึ้น)
วอลุ่ม : สูงขึ้น หนาแน่นกว่า stage 1
ราคา : ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ได้ตลอด จุดต่ำสุดยกขึ้น
ใน stage นี้ ราคาหุ้นจะแกว่งตัวแรงขึ้น จากปฎิกริยาการเข้าซื้อที่รุนแรง
สัญญาณของการเคลื่อนที่เข้า stage 3: ราคาเริ่มเข้ามาแตะเส้นค่าเฉลี่ย
Stage 3: โซนจุดสูงสุด
วอลุ่ม: มักจะสูงมาก (วอลุ่มพีค)
ราคา : สวิงไร้แบบแผน นัวเนียเส้นค่าเฉลี่ย
เป็นการพบกันระหว่างผู้ซื้อที่เป็นรายย่อยมากันฝูงใหญ่ กับ นักขายที่กระตือรือร้นผู้มีหุ้นทุนต่ำจำนวนมาก
สัญญาณการเคลื่อนที่เข้า stage 4: เส้นค่าเฉลี่ยหยุดเฉียงขึ้น ราคาทะลุแนวรับลง
โอกาส : หนีเท่านั้น!! แต่ถ้ายังอาลัย ให้ขายออกไปครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นให้ตั้ง stop loss ที่แนวรับสุดท้าย
Stage 4: ระยะขาลง
วอลุ่ม: น้อย
ราคา : ลงแรง ต่อเนื่อง ไปอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย ทำจุดสูงสุดที่เตี้ยลง
โอกาส : ขายหุ้นออกให้หมด
สรุปเป็นภาพรวมได้ดั่งรูปนี้
ฐานราคายิ่งยาว ราคายิ่งวิ่งขึ้นแรง
- ยิ่งราคาวิ่งอยู่ใน stage 1 นานเท่าไหร่ เวลาทะลุขึ้นได้ จะวิ่งแรง
- เหตุผลคือหุ้นจะถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งในช่วงของการสะสมที่ยาวนาน รวมถึงผู้ถือหุ้นที่ไม่สนใจกำไรอีกเพราะเบื่อที่ราคาไม่ยอมไปไหนก็ขายหุ้นออกไป จึงทำให้จำนวนคนติดหุ้นเหลือน้อยลง
- ดีที่สุดคือ ราคาหุ้นได้วิ่งขึ้นไปแล้วอย่างมั่นคง 40-50% ก่อนที่จะ breakout
ซื้อหุ้นเมื่อไหร่?
๑) แนวโน้มตลาดเป็นขาขึ้น
๒) กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีกราฟทะลุขึ้นจาก satge 1 ไปสู่ stage 2 พร้อมกับแนวต้านต่อไปเหลือน้อย
อีกทั้งหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นก็เป็นขาขึ้นเช่นกัน
๓) หุ้นรายตัว
- แนวต้านถัดไปควรน้อยๆ หรือถ้ามีก็ต้องอยู่ห่างๆ แต่ถ้าจะให้สุดยอดก็คือไม่ควรมี (All time high)
- ราคาทะลุแนวต้านขึ้นไป
- Stage เปลี่ยนจาก 1 เป็น 2 ราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ที่วิ่งราบหรือเฉียงขึ้น แต่ให้ระวังว่าอย่าไปซื้อในช่วงปลายของ stage 2 เข้าล่ะ
- เส้น Relative Strength วิ่งเฉียงขึ้น หรือข้ามจากแดนลบไปแดนบวก
- วอลุ่ม : ตอนที่ breakout ต้องสูงอย่างมีนัยยะ สำหรับกราฟรายวันควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกราฟรายสัปดาห์ควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว
การซื้อตอนย่อ
- หลังจากการ breakout ที่แข็งแรง, ถ้าราคาย่อลงมาไกล้เส้นค่าเฉลี่ยพร้อมกับวอลุ่มที่ลดลง ถือว่าเป็นอีกจุดซื้อที่ดี
ซื้อในช่วงกลางแนวโน้มขาขึ้น
- ซื้อเฉพาะตอนที่ราคาทำรูปแบบพักตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ที่เฉียงขึ้น และเกิดการ breakout แนวต้านขึ้นไปได้
การตั้งซื้อ
- ถ้าราคา breakout พร้อมวอลุ่มที่สูงเป็นนัยยะ แถมย่อวอลุ่มแห้ง สามารถซื้อตอนย่อได้อีกครึ่งหนึ่งตรงที่ราคาลงมาไกล้ๆระดับที่เพิ่ง breakout ขึ้นไป
- ถ้าวอลุ่มไม่มากตอนที่ราคา breakout ให้ขายออกตอนที่ราคาวิ่งขึ้นไปต่อ หรือขายออกตอนที่ราคาหลุดทะลุระดับที่เพิ่ง breakout ขึ้นไปก่อนหน้า
การตั้ง Stop loss
- ถ้าจุด stop เป็นตัวเลขกลมๆ ให้เลื่อนลงไปต่ำกว่านั้นอีกช่อง เพราะส่วนใหญ่คนมักจะชอบซื้อที่ตัวเลขกลมๆ
สำหรับนักลงทุน
- จุด stop แรกคือระดับราคาที่อยู่ต่ำกว่าแนวรับของกรอบการแกว่งของราคา
- เมื่อเห็นแนวรับต่อไปได้ชัดเจนแล้ว
ถ้าแนวรับอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย ให้ยก stop ขึ้นไปวางที่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยที่อยู่ใต้แนวรับนั้น
ถ้าแนวรับอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย ให้ตั้ง stop อยู่ใต้แนวรับนั้น
- แต่ถ้าหากเส้นค่าเฉลี่ยนั้นวิ่งราบไม่เฉียงขึ้นแล้ว ให้เลื่อน stop ไปอยู่ใต้แนวรับที่เพิ่งทำไว้ล่าสุด
สำหรับเทรดเดอร์
- หุ้นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ ไม่ค่อยย่อไปต่ำกว่าระดับที่เพิ่ง breakout ไปเกินกว่า 4-6%
ดังนั้น ให้ตั้ง stop ที่ไกล้ๆระดับราคาที่เพิ่ง breakout หรือต่ำกว่านั้นไม่เกิน 4-6%
- เมื่อราคาทำแนงรับใหม่ให้เห็นแล้ว ก็ให้ยก stop ขึ้นไปวางที่ใต้แนวรับนั้นเลย
- เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยนั้นวิ่งราบไม่เฉียงขึ้นแล้ว (เป็นสัญลักษณ์ของ stage 3) ให้ยก stop ไปอยู่ใต้แนวรับที่เพิ่งทำไว้ล่าสุด
- ถ้ามันมี trendline ที่เป็นนัยยะ(คือพาดจุดต่ำสุด 3 จุด) ให้ตั้งจุด stop ที่ต้องขายออกครึ่งหนึ่งเมื่อราคาหลุด trendline ลงไป แม้ราคาจะยังไม่ได้ทำแนวรับใหม่ก็ตาม แล้วถ้าหากมันทำแนวรับเหนือ trendline ได้แล้ว ให้ยก stop ไปวางที่แนวรับใหม่นั้น
สรุปแนวคิดเป็นรูปก็จะได้ดั่งนี้