การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

จ่ายตลาดตอนตี 5

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit


มีประโยคของเสี่ยยักษ์ที่ผมได้ยินบ่อยๆ และอยากเอามาตีความต่อยอด คือ
"จุดอันตรายที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด" กับ "จ่ายตลาดตอนตี 5"

ถือว่าท่านมีวิธีคิดที่ contrarian หรือสวนตลาดอย่างชัดเจน ซึ่งใครก็ตามที่คิดแบบนี้ได้และเข้าได้ถูกจังหวะ ต้องมีประสบการณ์ที่โชกโชน อีกทั้งมีมุมมองที่แปลกแยกจาก Mass พอสมควรเลย
(แต่กระนั้น, ไม่ใช่ทุก panic จะเป็นโอกาสเสมอไปนะครับ ต้องดูที่มาหรือบริบทด้วย)

ความแปลกแยกที่ว่านี่คือ "การคิดสองชั้น" คือนอกจากจะอ่านตลาดขาดแล้ว ก็ยังคิดต่อเดาใจนักลงทุนส่วนใหญ่จะทำยังไงด้วย
นี่คือความคิดของคนที่ผมเรียกว่า Smart Money ครับ

ไอเดียหลักของสูตรนี้คือ การเข้าซื้อหุ้นในช่วงที่คนกลัวสุดๆ โดยจับหลักที่ว่า "จุดที่อันตรายที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด นั่นคือ ประมาณ “ตี 5″ ถึง “ตี 5 ครึ่ง” เพราะเวลานั้นคนน้อย ของถูกและดีมีเยอะเราสามารถเลือกจับจ่ายได้ตามใจชอบเท่าที่กำลังเงินเราพอมี

เมื่อหันมามองถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น คนที่จะไปจ่ายตลาดได้ก็ต้องมีของอยู่ 2 สิ่งเป็นอย่างน้อย คือ เงินสด และ ลิสต์สินค้าที่จะไปซื้อ

เงินสด ในกรณีของการลงทุนก็คือ การมีเงินเย็นเหลือเป็น backup อยู่เสมออย่างน้อย 30% เผื่อเอาไว้แก้ไขและใช้ในจังหวะ panic

Cash is King คือของจริงเลย 
ในช่วงวิกฤติ การได้ของถูกนั้นเปรียบเสมือน เงิน 1 บาท จะมีมูลค่าเป็น 6-7 บาททันที
จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราเห็นของถูกและดี วางขายเกลื่อนละลานตาต่อหน้า แต่มันน่าเจ็บใจที่ไม่มีเงินสักบาท

ดังนั้นเราจึงควรกักเงินจำนวนหนึ่งเอาไว้เผื่อใช้ในโอกาสนี้เสมอ ใครมีเงินสดเหลือคนนั้นเป็นราชา

ความตื่นตระหนกขายอันเนื่องมาจากสงคราม, วิกฤติเศรษฐกิจในวงกว้าง คือภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง
เพราะเมื่อมันเกิดแล้วจะลงเป็นเวลานาน

ให้เน้นไปที่ข่าวลือเป็นหลัก

เพราะความคาดหวังคือสิ่งที่ทำให้ตลาดเคลื่อนไหว ไม่ใช่ข่าว
ตลาดหุ้นเป็นโลกที่ขับเคลื่อนโดยความคาดหวัง มันเป็นสถานที่ที่ซึมซับเอาการคาดการณ์ต่างๆในอนาคตมาเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว ในเมื่อโลกยุคนี้การสื่อข่าวสารนั้นทุกคนสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกันถ้าเชื่อมต่อออนไลน์ นักลงทุนในตลาดล้วนได้รับข้อมูลนี้เหมือนๆกัน ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาจะตีความ และคาดการณ์กับข่าวที่ถูกสื่อออกมาอย่างไร

ความคาดหวังในที่นี้ก็รวมถึง "ข่าวลือ" ด้วย

Market maker หรือคนทำราคาจะชอบช่วงเวลาที่คลุมเครือมากๆ ถือเป็นเวลาที่ข่าวลือทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด และส่วนใหญ่ข่าวลือมักจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่าความจริง
มนุษย์ทุกคนล้วนมีจุดอ่อนอยู่เหมือนกันคือ "ชอบคิดอะไรเลวร้าย กว่าคิดถึงเรื่องดีๆ" ดั่งพระท่านว่าจิตเราชอบลงไปหาสิ่งต่ำอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ข่าวลือที่ถูกสร้างพล็อตมาอย่างแนบเนียนจะใช้งานได้ดีเสมอมา

ดังนั้นเราควรฝึกมองตลาดและอ่านใจรายย่อยด้วยกันต่อว่าเขาจะทำยังไง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนตกใจสุดขีด มันยากที่จะ 'กล้า' เป็นคนส่วนน้อย แต่ถ้าคิดเอาไว้ก่อน เราต้องเตรียมตัวอย่างไรในวันที่ตลาดกลับตัว
1.) หาหุ้นตัวที่เราชอบ 
2.) มีพื้นฐานที่ดี 
3.) จำนวนเท่าไร
เพราะถ้ามันกลับตัวเราอาจจะคิดไม่ทัน ถ้าเตรียมตัวไว้เราจะได้ไม่ลังเลการตัดสินใจตอนนั้น นักลงทุนบางคนยังอยากให้ดัชนีลงอีก 100 จุดแล้วค่อยเข้าไปซื้อ เพราะเขาไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อน

คนที่เตรียมตัวก่อน วางแผนรับสถานการณ์ไว้ก่อน ย่อมจะได้เปรียบเสมอ
ถ้าเรารู้ว่าในโลกของตลาดทุน Panic sell มีอยู่เสมอ มันเป็นของคู่กันแล้ว เราก็จะเห็นโอกาสทองที่น้อยคนนักจะได้คว้ามันได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

มาดู keyword กันก่อน ท่านบอกว่า "การเข้าซื้อหุ้นในช่วงที่คนกลัวสุดๆ โดยจับหลักที่ว่า "จุดที่อันตรายที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด นั่นคือ ประมาณ ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง เพราะเวลานั้นคนน้อย ของถูกและดีมีเยอะเราสามารถเลือกจับจ่ายได้ตามใจชอบเท่าที่กำลังเงินเราพอมี"
๑) คนกลัวสุดๆ กับ จุดอันตรายที่สุด
๒) คนน้อย ของถูกและดีมีเยอะ

ประเด็นต่อไปคือกราฟ, ผมอยากชวนคิดว่า ตี 5 ที่ท่านว่านั้น มันอยู่ตรงไหนของวัฎจักร?
ถ้าจะเอากราฟวัฎจักรราคามาเป็นตัวอ้างอิง น่าจะเป็นแบบนี้
ถ้ามองวงจรชีวิตหุ้นในภาพใหญ่ๆ ก็มีอยู่ 3 ช่วง คือ
กลัวสุดขีด เพราะราคาลงหนักสุดๆ ข่าวร้ายประเดประดังเข้ามา คนก็เลยกลัวตัดใจขายหุ้นทิ้งกันใหญ่ เมื่อขายกันต่อเนื่องก็จะเป็นการเข้าสู่เขตขายมากเกินไป หรือ Oversold ในทางอีเลียตเวฟก็น่าจะเป็นปลายขา C ต่อเนื่องไปถึงเวฟ 1-2
ลังเล ราคาเริ่มวิ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ แต่ก็ขึ้นๆหยุดๆ เพราะความไม่แน่ใจของนักลงทุน แต่ถ้ามองให้ดี ราคายกไฮยกโลว์ขึ้นไปตลอด ตรงนี้เป็นเวฟ 3 แน่นอน
กล้าสุดขีด เป็นช่วงที่ราคาวิ่งขึ้นแบบ non-stop เพราะข่าวดี รวมทั้งการยืนยันทางเทคนิคอล เมื่อทุกคนมองว่าชัวร์แล้ว ก็ชักพาให้รายย่อยเข้ามาซื้อกันมากมาย จึงเข้าเขตซื้อมากเกินไป หรือ Overbought ในทางเวฟ ก็น่าจะหนีไม่พ้นเวฟ 5 เรื่อยไปถึงเวฟ C ต้นๆ

ดังนั้น, "จุดที่อันตรายที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด นั่นคือ ประมาณ ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง" ที่เสี่ยยักษ์พูดถึงบ่อยๆ น่าจะเป็นช่วงกลัวสุดขีด คือปลายขา C ต่อเนื่องไปถึงเวฟ 1-2
เพราะปลายเวฟ C นี่คือช่วง Panic Sell หรือ Selling Climax นั่นเอง
ซึ่งจริงๆตอนนั้นผมมองว่าคนยังพลุกพล่านอยู่นะ เพราะแตกตื่นขายกัน ถ้าเข้าผิดจังหวะนิดเดียวก็รับมีดเต็มๆเลย เพราะโมเมนตัมขาลงยังมี
แต่พอหลังจากแตกตื่นแล้วนี่แหละ คือ ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง เพราะเวลานั้นคนน้อย ของถูกและดีมีเยอะ คนน้อยก็เพราะใครๆก็คลายความตึงเครียดกันแล้ว แต่เชื้อของความกลัวก็ยังมีอยู่ไง จึงไม่ค่อยมีคนกล้าออกมาจ่ายตลาด ซึ่งช่วงนี้น่าจะเป็นจังหวะที่เสี่ยท่านออกมาเก็บหุ้นดีราคาถูก

ถ้านึกไม่ออก ในหนังสือจะมีตอนที่กล่าถึง "เฮียประธาน เขาเป็นเจ้าของคอร์ทแบดมินตัน อยู่แถวถนนบางรัก ฉายาเขา คือ พญาอินทรี ถ้าวันไหนที่พวกเรา เละ หรือ เจ๊ง กันหมด เขาจะบินมาเลยเขาจะมาซื้อหุ้น" นั่นแหละครับ สไตล์นี้เลย

"จงกลัว เมื่อคนอื่นกล้า, แต่จงกล้า เมื่อคนอื่นกลัว" ปู่บัฟเฟต์ ว่าไว้
"ซื้อมูลค่า ขายที่ฮิสทีเรีย" จิม โรเจอร์ส ก็พูดทำนองเดียวกัน
"ซื้อเมื่อเลือดนองถนน แม้ว่าเลือดนั้นจะเป็นของคุณเองก็ตาม"  Nathan Mayer Rothschild กล่าว


แล้วจุดซื้อล่ะ แบบไหน อย่างไร?
ท่านใช้เทคนิคอลหรือกราฟช่วยนะครับ เท่าที่รวบรวมจากหนังสือได้สองเบาะแส คือ
๑)  รอเวลาให้กราฟ MACD ยืนยันการ "ตัดขึ้น" ก่อน เราค่อยเข้าไปซื้อ เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงก็จะไม่สูง ระยะเวลา "รอ" ราคาวิ่งขึ้นก็ไม่นานด้วย"
๒) ถ้า MACD ระยะเดือน (Month) อยู่ต่ำกว่าศูนย์ มันจะขึ้นมาที่ศูนย์ก่อน จากนั้นหุ้นจะปรับตัวลงอีกรอบ คือมีการพักตัวรอบใหญ่ แล้วถ้ามันกลับมาที่ “ศูนย์” อีกที บีบตัวแล้ว “ตัดขึ้น” คราวนี้หุ้นจะเป็นขาขึ้น “รอบใหญ่”
แสดงว่า แกดูภาพใหญ่มาก ใช้กราฟรายเดือนเป็นจุดซื้อ โดยรอดูการตัด 0 ขึ้นไป ก็ซื้อ เรียกว่า “ท่าง่ายมาก” มาดูตัวอย่าง กับหุ้นวิ่งรอบใหญ่ล่าสุดกัน

เริ่มที่ MALEE ก่อนเลยครับ จุดซื้อคือแท่ง (1)  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นพอดีเป๊ะเลยครับ คือก่อนหน้านั้น ราคาวิ่งอยู่ในระยะสะสมหรือ stage 1 พอ MACD กราฟเดือนตัด 0 ขึ้นก็เป็นช่วงที่มันข้ามระยะสะสม (stage 1) เป็นขาขึ้น (stage 2) พอดีเลยครับ สำหรับเคสของน้องมาลีของผมนี่ ถือว่าใช้ได้ครับ

TASCO ล่ะครับ ถ้าดูย้อนกลับไปสักสิบปีนะครับ ผมเห็นจุดซื้อ (1) ซึ่ง MACD ตัด 0 ขึ้น ราคาก็กำลังเทสจุดสูงสุดของระยะสะสม 1 พอดีเลยครับ หลังจากนั้นราคาก็ค่อยๆออกข้างเป็นปี แล้วก็วิ่งพรวดขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 8.20 (จุดสูงสุดของสะสม 2 นะครับ) แล้วก็ร่วงกลับมาหาจุดสูงสุดของระยะสะสม 1 เลยครับ แต่ก็ลงไม่ถึง ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ แล้วจากนั้นมันก็ทำการสะสมในกรอบใหม่ที่สูงกว่าเดิม เป็นสะสม 2 ครับ ซึ่งใช้เวลา 4 ปี เลยครับ และในช่วง 4 ปีที่สะสม 2 นี้มันก็มีช่วงหนึ่งที่ MACD อ่อนแรงลงไปมุดใต้ 0 ไปหลายเดือน ก่อนที่จะดันตัวกลับขึ้นไปผุดเหนือระดับ 0 ได้อีกในต้นปี 2013 (ตรงที่ผมลากเส้นจากวอลุ่มขึ้นไปถึงแท่งเทียน 2 นั่นแหละครับ) พอ MACD ยืนเหนือ 0 ได้แล้วราคาก็วิ่งขึ้นไปอีกสามเดือน ราคาก็ย่อกลับลงไปหาก้นอีก จากนั้นก็ค่อยๆออกข้างที่โซนล่างไปร่วมๆ 2 ปี จึงพุ่งขึ้นทะลุจุดสูงสุดของกรอบสะสม 2 แล้วก็ซิ่งแหลก
ปัญหาที่เจอกับตัวนี้คือ มันไม่ซิ่งแรงในทันทีครับ มีสะสมไปอีกเป็นปีๆเลย แต่เมื่อดูจุดซื้อแล้ว คุณไม่ขาดทุนนะครับ เพียงแต่อาจจะเสียเวลาไปพอสมควรเท่านั้นเอง

อีกตัวคือ SOLAR ครับ, ซึ่งผมว่ามันเป๊ะมากกับข้อ ๒ ที่ว่า “ถ้า MACD ระยะเดือน (Month) อยู่ต่ำกว่าศูนย์ มันจะขึ้นมาที่ศูนย์ก่อน จากนั้นหุ้นจะปรับตัวลงอีกรอบ คือมีการพักตัวรอบใหญ่ แล้วถ้ามันกลับมาที่ “ศูนย์” อีกที บีบตัวแล้ว “ตัดขึ้น” คราวนี้หุ้นจะเป็นขาขึ้น “รอบใหญ่”” ตอนที่ MACD ตัด 0 ขึ้นก็คือแท่งที่ผมกำหนดว่าเป็น (1) นะครับ แม้มันจะออกข้างไปอีกสามเดือน แต่ดูสิเดือนที่สี่กับห้า มันซิ่งแหลกเลยครับ และแม้จากนั้นมันจะย่อหนัก แต่ก็ไม่ลงไปถึงทุนนะครับ แล้วหลังจากจุดต่ำสุดนั้นมันก็ซิ่งอีกรอบครับ ใช้ได้เลย

สุดท้าย IFEC , ตัวนี้ก็เวิร์คนะ MACD ตัด 0 ตั้งแต่ 0.76 แล้วจากนั้นก็ค่อยๆวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆครับ แม้ในช่วง 5 บาทจะโดนเขย่าแรงก็กลับขึ้นไปได้ต่อ แล้วจากนั้นอีกปีเดียว ก็ซิ่งแหลกเลยครับ

นี่แหละครับ การตีความประเด็น "จ่ายตลาดตอน ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง เพราะเวลานั้นคนน้อย ของถูกและดีมีเยอะ" ที่เม่าน้อยอย่างผมแอบอ้างวิเคราะห์ให้ท่านเอาไปคิดต่อยอดกัน
เดี๋ยวมีอะไรเพิ่มเติม จะเขียนให้อ่านในตอนต่อๆไปครับ


------(พื้นที่โฆษณา)------
หนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" และ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"
ผลงานเขียนของผมเองครับ


เล่มดำ เปรียบเสมือนภาคทฤษฎี บอกภาพใหญ่
โดยเล่มเขียวคือภาคปฏิบัติ เจาะลึก ภาพเล็ก เคสเยอะมากครับ
ติดต่อสั่งซื้อหนังสือทั้งสองเล่ม ได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ