AR – automatic rally (ราคาเด้งขึ้นทันที) เมื่อแรงขายหมดกำลัง แต่ความต้องการซื้อยังคงมีมากกว่า เพราะมีคนต้องการ cover short หรือซื้อหุ้นคืนจำนวนมาก จึงผลักดันราคาให้วิ่งขึ้นไปอย่างง่ายดาย ซึ่งจุดสูงสุดของการเด้งครั้งนี้จะเป็นตัวกำหนดกรอบบนของช่วงการซื้อขายในระยะถัดไป
ST – secondary test ราคาไหลกลับลงไปหาโซนต่ำสุดที่เกิด selling climax เพื่อทำการทดสอบ demand/supply ที่บริเวณนี้อีกครั้ง ถ้าเป็นการคอนเฟิร์มว่าต่ำสุดจริง-แรงขายต้องลดลงมากๆวอลุ่มก็น้อยลง แท่งราคาก็ต้องแคบลงอย่างชัดเจน เมื่อยืนยันว่าใช่ – จะยึดถือว่าบริเวณ SC จะเป็นแนวรับ
The “Creek” เป็นเส้นหยักของแนวต้านที่ลากจากยอดสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาที่วิ่งในกรอบ มันมีเส้นแนวต้านย่อยหลายเส้น (เรียกง่ายๆคือ เทรนด์ไลน์ของแนวต้าน) ความสำคัญของเส้นนี้คือช่วยเป็นจุดสังเกตุว่าราคามีการ breakout เปลี่ยนผ่านจากการสะสมเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริงนั่นเอง
“Springs” or “shakeouts” มักเกิดในช่วงปลายของช่วงการสะสม โดยรายใหญ่จะใช้หุ้นจำนวนไม่มากเทขายกดราคาลงไปยังโซนแนวจุดต่ำสุดเก่าและกดให้หลุดลงทะลุไปได้ เพื่อทดสอบว่ายังมีแรงตกใจจากรายย่อยขายตามมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีน้อยมากก็ถือว่าจบพิธีกรรมการสะสม การไล่ราคาขึ้นไปเป็นขาขึ้นก็เริ่มได้ทันที
“Jump” – continuing the creek analogy ราคาวิ่งกระโดดขึ้นไปหาเส้น creek หรือเส้นเทรนด์ไลน์แนวต้าน หากการกระโดดประสบความสำเร็จคือยืนได้ จะเกิดแท่งเขียวยาวพร้อมวอลุ่มมหาศาล
SOS – sign of strength ราคาวิ่งขึ้นต่อไปอย่างรวดเร็วเป็นแท่งเขียวยาวพร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นตาม
หากประสบความสำเร็จ ราคาก็จะ breakout trendline ขึ้นไปได้ พร้อมวอลุ่มมหาศาล และสามารถยืนเหนือแนวต้านได้
ตัว SOS นี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญ
BU (back-up)/LPS (last point of support) เป็นจุดสิ้นสุดแรงแรงต่อต้านหรือการย่อหลังจาก SOS โดยเกิดหลังจาก SOS ที่มีการไล่ราคาร้อนแรง ทำให้มีนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนบางส่วนที่กำไรขายทำกำไร และยังมีอีกบางส่วนที่ติดดอยก็ร่วมขายด้วยเพราะทนไม่ไหว
ด้วยแรงขายมีจำนวนมาก จึงกดให้ราคาลดลงมาหาเส้นแนวต้านที่เพิ่งผ่านมาได้ โดย LPS ก็เป็นแนวต้านที่เป็นจุดสุงสุดเดิม - เมื่อราคา breakout ขึ้นไปได้แล้วก็หมดสภาพความเป็นแนวต้าน แต่นักลงทุนจะเปลี่ยนให้มันเป็นแนวรับ โดยคาดหวังว่าราคาที่ลงมาไม่ควรหลุดเส้นนี้
ซึ่งแท่งราคาที่ย่อลงมาหา LPS นี้ควรจะเป็นแท่งสั้นและวอลุ่มน้อยมากๆ
ถ้าทุกอย่างเป็นดั่งนี้ คือย่อลงมาแล้วเด้งบน LPS ขึ้นไปได้ ถือเป็นจุดเข้าซื้อที่ดีอีกจุดหนึ่ง
ตัวอย่าง
เดี๋ยวผมจะลองยกตัวอย่างของจริงให้ดูกัน เอา COL นี่แหละครับ
เอาตัวที่มันแตกต่างและควรแยกจากพวกก่อน เพราะถ้ารวมกันจะเละ คือ Creek เพราะมันเป็นเทรนด์ไลน์ที่ลากเชื่อมต่อจากจุดสูงสุดถึงกัน ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคามันไม่เป็นเส้นตรง ขึ้นๆลงๆ คลื่นก้อนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ดังนั้นเส้น creek จึงมั่วและเปะปะไปหมด ซึ่งก็ควรจะเป็นอย่างนั้นเพราะถ้าลองนึกให้ดีนะครับ ตอนนั้นเราไม่ได้เห็นภาพใหญ่จากต้นจนแบบนี้ จบวันราคาจะขึ้นมาวันละแท่งเท่านั้น หน้าที่ของเราคือเฝ้าลากเส้นเป็นแนวดักเอาไว้ โดยหวังว่าวันต่อไปมันจะดีดแรงทำ SOS ขึ้นไปทะลุเส้นได้ในที่สุด
ทฤษฎี Gap หุ้น อยาบอกกับท่านผู้อ่านว่า Gap คือหนึ่งใน setup จุดเข้าซื้อหุ้นของผมครับ ผมมักจะได้กำไรหุ้นงามๆ จากการเปิด gap ที่เข้าสูตร breakaway gap อยู่หลายตัว ฉะนั้น ถ้าหุ้นที่ผมทำการบ้าน มันส่งสัญญาณซื้อ แบบเปิด gap ผมจะชอบมาก แต่ถึงกระนั้น มันก็ไม่ได้เป๊ะทุกตัวนะครับ มีล้มเหลวเกินครึ่ง เราต้องคอยคัดตัวที่ไม่ดีออก เหลือตัวเจ๋งๆ แรงๆ ให้มันวิ่งทำเงินให้เราไป ทฤษฎี gap หุ้น ทริกเด็ดๆ เรื่อง Gap จากคุณน้ำผึ้ง สัตตารัมย์ เป็นการ Live ครั้งแรกของเธอ ที่แสดงให้เห็นภาพคลื่นแบบต่างๆ อีเลียตเวฟจะศักดิ์สิทธิ์เมื่อเอามาใช้ร่วมกับวอลุ่ม ในคลิปนี้เธอจัดเต็มเรื่องของ gap ซึ่งถือว่าครบเครื่องเอามากๆ ทฤษฎี gap ที่เกี่ยวข้องกับเวฟ มีดังนี้ Common gap ในเวฟสอง(sideway)เป็นสัญญาณการเก็บหุ้นของเจ้ามือที่หวงของ เพราะเขาจะตบขึ้น/ลงเพื่อให้เม่าคายหุ้นคืน ยิ่งมีเยอะยิ่งน่าสนใจ gap ประเภทนี้มักจะมีการลงมาปิดในเวลาอีกไม่นาน เพราะราคายังอยู่ในกรอบ sideway เพื่อเก็บหุ้น โดยจะถูกกระชากขึ้นและตบลง เป็นรูปแบบเวฟ complex ประเภท double three Breakaway gap เป็นการกระโดดข้ามเวฟสอง...