เคยได้คุยจากเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งว่าอยากให้แปล หนังสือ Stan Weinstein Secrets for profiting in bull and bear markets ของปู่ Stan Weinstein ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับพี่มาร์ค มิเนอร์วินี ในเรื่องของ Market Stage ให้คนไทยได้อ่านกันหน่อยก็ดีนะ
ซึ่งไอเดียนี้ก็ตรงกับใจของผมพอดี เพราะชอบในประเด็นของการประยุกต์ใช้เส้นค่าเฉลี่ย เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถหรือสมรรถนะในการเทรดได้ดีขึ้นอยู่แล้ว จึงรับปากเอาไว้ และทยอยแปลสะสมไว้เรื่อยๆ
ก็ตามสไตล์นะครับ ผมจะไม่ทำทั้งหมดหรอก เอาเฉพาะส่วนที่คิดว่าน่าสนใจและเอาไปประยุกต์ใช้ได้เลย และขอแจ้งให้ทราบว่าการจัดทำในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อให้ความรู้กับผู้อ่านเท่านั้น ไม่มีเจตนาแสวงหากำไรหรือทำเพื่อเชิงพาณิชย์ใดๆที่สิ้นครับ
และที่สำคัญคือ ถ้าผู้แปลคิดเห็นว่าเนื้อหาที่โพสต์ไปแล้วมีความสุ่มเสี่ยงหรือนำความไม่สบายใจมาให้ ขอลบหรือระงับการเผยแพร่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าครับ
ปรัชญาการซื้อหุ้นของ Stan Weinstein
1. อย่าลงมือซื้อหรือขายหุ้นก่อนเช็คกราฟ
2. อย่าซื้อหุ้นตอนข่าวดีออกมา โดยเฉพาะพบว่าราคาวิ่งขึ้นมาก่อนมีข่าว
3. อย่าซื้อหุ้นเมื่อพบว่ามันลงมาเยอะแล้ว-คิดว่าถูกมากแล้ว เพราะมันมีโอกาสลงต่อไปได้อีก ยังจะถูกได้อีก
4. อย่าซื้อหุ้นที่กราฟบอกว่าเป็นขาลง
5. อย่าทนถือหุ้นที่ราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ไม่ว่า P/E จะลงต่ำมากแค่ไหน เพราะเดี๋ยวคุณก็จะรู้เหตุผลที่แท้จริงในไม่ช้า
6. ทำจิตมั่นคง มีวินัยต่อแผนการเทรดของตัวเอง
ก่อนจะเข้าถึงเนื้อหา ขอแนะนำส่วนประกอบของชาร์ทราคา และคำศัพท์ ที่เราควรรู้เอาไว้เป็นพื้นฐาน
Support area คือบริเวณที่ราคาย่อลงไปเพื่อหาจุดสมดุลแล้วจากนั้นก็เด้งและวิ่งขึ้น(อย่างน้อยก็ระยะสั้น) มันเป็นเหมือนกับพื้นดินที่ลูกบอลตกลงมาชนแล้วเด้ง
แต่ให้จงระวัง, อย่ายึดที่ราคาเดียวอย่างที่นักเทคนิคอลส่วนใหญ่ชอบคิด ให้มองเป็นโซน อย่างในภาพนี้ แนวรับที่แสดงในช่วงซ้ายมือบน แนวรับคือ 26 - 26 1/2 ซึ่งจุดต่ำที่สุดคือ 26 เหนือขึ้นไปคือ 26 1/2 ซึ่งการย่อครั้งที่สามได้หยุดลงที่ 26 1/4 และจุดขายออกคือเมื่อมันหลุด 26 ลงไปได้
ปล. ช่วงราคาการซื้อขาย(หรือ bid - offer) ของประเทศสหรัฐ แบ่งเป็นสัดส่วน 1/8 นะครับ ตัวอย่างเช่น
10
10 1/8
10 2/8 (แต่ปกติจะอ่านเป็น 10 1/4)
10 3/8
10 4/8 (ซึ่งก็คือ 10 1/2)
10 5/8
10 6/8 (ซึ่งก็คือ 10 3/4)
10 7/8
และ 11
โปรดระวังว่า การที่ราคาทะลุราคาต่ำสุดของแนวรับลงไปได้ มันจะส่งความหมายในทางลบมาก ยิ่งราคาลงไปทดสอบแนวรับบ่อยครั้งเท่าไหร่ เวลาที่มันลงไปทดสอบนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งสัญญาณว่าแนวรับนั้นมีโอกาสถูกทำลายในไม่ช้า เมื่อแนวรับแรกถูกทำลาย แนวรับถัดไปก็จะรออยู่ อย่างในกราฟ XYZ โซนแนวรับที่ว่านั้นก็คือ 8.00 - 8 1/2
Resistance แนวต้าน หรือโซนปล่อยของ (supply zone) ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขวางไม่ให้ราคาวิ่งผ่านไปได้ เช่นเดียวกัน, โซนนี้ยิ่งถูกทดสอบมากเท่าไหร่ โอกาสในการทะลุขึ้นไปก็จะยิ่งมากขึ้น อย่างในกราฟ XYZ แนวต้านด้านซ้ายบนก็คือช่วงราคา 30 และหากทะลุลงไปได้ โซนถัดไปก็เป็นด้านล่างเลย คือ 11 1/2 -12
Trading Range คือโซนที่เป็นกลางที่การต่อสู้อย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีใครแพ้ชนะ เมื่อหุ้นอยู่ในขาขึ้น กองทัพผู้ซื้อจะต้องมีกำลังกล้าแข็งกว่าผู้ขายอย่างชัดเจน จึงจะส่งผลให้ราคาวิ่งขึ้นได้
ในขาลง, ก็จะตรงกันข้าม คือฝั่งกองทัพนักขายจะทรงกำลังมากกว่าฝั่งนักซื้ออย่างเป็นเอกฉันท์
แต่ในโซนที่เป็นกลาง, ทั้งสองฝ่ายจะมีกำลังที่เท่าเทียมกัน ถ้าดูกราฟ XYZ โซนเป็นกลางคือ 8 -8 1/2 (สำหรับแนวรับ) 11 1/2 -12 (สำหรับแนวต้าน) และยังรวมถึงระดับราคาด้านบนคือ 26 - 30
Moving Average(MA) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเครื่องมือทางเทคนิคอลเพื่อการแจ้งเตือนในเรื่องของแนวโน้มทั้งระยะสั้นและยาวที่สำคัญมาก มันเป็นการเกลี่ยราคาที่แต่ละวันแกว่งไร้ไร้ระเบียบให้เป็นเส้นแนวโน้มต่อเนื่อง ที่แม้แต่โปรแกรมการซื้อขายสมัยใหม่ไม่สามารถทำได้ จากที่ได้ทำการศึกษามาหลายปี เขาพบว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 30 สัปดาห์ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนระยะยาว ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย 10 สัปดาห์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเทรดเดอร์
ไม่ควรซื้อ-หากราคาหุ้นอยู่ใต้เส้น 30 สัปดาห์ , โดยเฉพาะตอนที่เส้นค่าเฉลี่ยเอียงลาดลง
ไม่ควรขายช็อร์ต-หากราคาหุ้นอยู่เหนือเส้น 30 สัปดาห์, และเส้นค่าเฉลี่ยเอียงขึ้น
สำหรับนักลงทุนระยะยาว, จุดซื้อในอุดมคติคือเมื่อตอนที่ราคาหุ้นได้ breakout แนวต้านขึ้นไปโดยราคาเคลื่อนที่เหนือเส้น 30 สัปดาห์ด้วย ซึ่งเส้นนี้จะต้องไม่เอียงลง
สำหรับเทรดเดอร์, เวลาที่เหมาะที่จะซื้อหุ้นคือเมื่อราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ที่ลาดเอียงขึ้น โดยจุดเข้าซื้อที่เหมาะสม คือหลังจากที่ราคาหุ้นยกกรอบราคาขึ้นบีบตัวสะสมอยู่ในระดับที่สูงขึ้น และย่อกลับลงไปไกล้หรือชิดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แล้วเด้งกลับขึ้นไป breakout แนวต้านขึ้นไปได้
Breakout เมื่อราคาเคลื่อนที่ไปยืนเหนือจุดสูงสุดของโซนแนวต้าน (ในการฟ XYZ คือ 12) สำหรับเคสนี้, จะถือว่ามันได้ breakout ก็ต่อเมื่อราคาได้ไปถึง 12 1/8 เพราะโซนแนวต้านถูกทำลายได้อย่างราบคาบแล้ว
คุณภาพของการ breakout มี 2 เบาะแสที่ควรจำ คือ
๑) ยิ่งราคาวิ่งอยู่ใต้แนวต้านยาวนานแค่ไหน หากมันสามารถการ breakout ขึ้นไปได้ จะมีนัยยะมากเท่านั้น
๒) ยิ่งวอลุ่มที่เกิดในตอนที่ breakout มากเท่าไหร่ มันจะส่งสัญญาณ bullish มากท่านั้น
Breakdown เหมือนการ breakout เพียงแต่มันเกิดเมื่อราคาลงไปทะลุโซนแนวรับลงไปได้ (ในรูปตัวอย่าง XYZ ก็คือ 26) ในเคสนี้ การ breakdown จะใช่ก็ต่อเมื่อราคาลงไปถึง 25 7/8 เพราะจุดต่ำสุดของแนวรับถูกทำลายลงไปได้ แต่กระนั้น, การ breakdown จะไม่ต้องการวอลุ่มที่มากมายเหมือนการ breakout โดยมันอาจจะเพิ่มก็ได้ แต่ด้วยแรงขายแบบปกติธรรมดาหากทะลุลงไปได้ก็ถือว่ามันเป็นการยืนยันได้ว่าหลุด
Pullback หลังจากที่ราคาหุ้นได้ breakout ขึ้นไปจาก trading range แล้ววิ่งต่อ มักจะมีการขายทำกำไรออกมาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งมันจะกดดันราคาให้ไหลลงไปไกล้จุดที่มันเพิ่ง breakout ขึ้นมาได้(สำหรับเคสนี้ก็คือ 12 1/8 ตรงนี้จะเป็นโอกาสที่สองในการซื้อหุ้น(โดยเฉพาะวอลุ่มของการ pullback ครั้งนั้นออกมาน้อยมากๆ) ในอีกด้าน, หลังจากที่ราคาหุ้นได้ทะลุแนวรับลงไปได้ แล้ววิ่งลงต่อ มักจะมีสักครั้งที่ราคาดีดกลับขึ้นไปหาแนวรับที่มันได้ทะลุลงมาได้(ในตัวอย่าง XYZ นี้คือ 25 7/8) โดยถ้าหากการเด้งขึ้นครั้งนั้นมีวอลุ่มสนับสนุนน้อยมาก ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีต่อการขายชอร์ต
Trendline ถ้าคุณใช้บรรทัดทาบจากจุดต่ำสุดของแท่งราคาอย่างน้อย 2 จุด แล้วลากเส้น คุณก็จะได้เส้น trendline กระนั้น, มันก็มีความต่างอย่างมากระหว่าง trendline ทัวไป กับ trendline ที่มีนัยยะ
โดย "trendline ที่มีนัยยะ" จะต้องลากเชื่อมจุดต่ำสุดอย่างน้อย 3 จุด
อย่างในกราฟ 1-7(Skyline) จะแสดงให้เห็นว่า trendline ที่มีนัยยะ หน้าตาเป็นอย่างไร เพราะมันเป็นเส้นที่ลากผ่าน 4 จุดต่ำสุด ก่อนที่จะเกิดการ breakdown ลงไปได้ในครั้งที่ 5 หมายความว่ามันได้ทดสอบเส้นนี้ไปถึง 4 ครั้ง ก่อนที่จะทำลายลงไปได้ในครั้งที่ห้า นี่เป็นเส้นที่ควรใช้เป็นตัวล่งสัญญาณเตือนเมื่อมันถูกละเมิด เพราะเมื่อใดที่มันถูกทำลายลงไปได้ จะหมายถึงการเปลี่ยนแนวโน้มครั้งใหญ่
การทะลุ trendline ที่เฉียงขึ้น ถือเป็นการส่งความหมายในทางลบออกมา
แต่หากมีการทะลุ trendline ที่เฉียงลง ขึ้นไปได้ จะเป็นการส่งสัญญาณทางบวก
ซึ่งจากเคสที่เกิดกับหุ้น Skyline นั้น การที่ราคาทะลุ trendline ลงไป ถือเป็นการจบรอบขาขึ้นอย่างแท้จริง
ความชันของ trendline ก็มีความสำคัญไม่น้อย
ถ้า trendline มีความชันมาก หากราคาทะลุลงไปได้ ถือว่าไม่ค่อยน่ากลัว (ดังภาพ 1-8) เพราะมันเป็นการบอกว่า ราคาอาจจะวิ่งขึ้นต่อ แต่ในอัตราเร่งที่ช้าลง
แต่หาก trendline ไม่ชัน แล้วเกิดการ breakdown ลงไป แบบนี้จะส่งภาพลบอย่างมาก (ภาพ 1-9)
เพราะยิ่ง trendline มีความชันที่ไกล้ๆกับแนวระนาบ จะยิ่งส่วภาพลบหากเกิดการ breakdown ลงไปได้
ในทางกลับกัน สำหรับขาลง
trendline ที่ลาดเอียงมาก หากถูกทะลุขึ้นไปได้ จะไม่ค่อยน่าเชื่อถือถึงความเป็น bullish มากนัก (ดูรูป 1-10) เพราะมันอาจจะเป็นการสื่อว่าราคา ลงจะต่อด้วยอัตราเร่งที่ช้ากว่าเดิม
แต่หาก trendline ที่ลาดเอียงน้อย ยิ่งไกล้แนวระนาบมากเท่าไหร่ ถ้ามีการ breakout ขึ้นไปได้ จะมีความน่าเชื่อถือว่ามีความ bullish สูง
ที่น่าสนใจและเป็นนัยยะอีกอย่างคือ การทะลุที่ trendline ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ย (MA)
หากราคาทะลุ trendline ขึ้นไป ในช่วงที่เส้นค่าเฉลี่ยเฉียงขึ้น จะส่งสัญญาณ bullish ที่น่าเชื่อถืออย่างมาก
ตรงกันข้าม, หากราคาทะลุ trendline ลงไป ในขณะที่เส้น MA เฉียงลง ถือว่าส่งสัญญาณในทางลบเอามากๆเช่นกัน
Uptrend (แนวโน้มขาขึ้น) ลักษณะของราคาที่ยกจุดสูงสุดใหม่ และจุดต่ำสุดใหม่ สูงขึ้น (ยกไฮยกโลว์) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ จนถึงปี
Dowtrend (แนวโน้มขาลง) ลักษณะของราคาที่ย่อลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ และจุดสูงสุดใหม่ ที่ต่ำกว่าเดิม ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ จนถึงปี