เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกบางท่านอยากให้ผมยกตัวอบ่าง Pocket Pivot Buy Point กับหุ้นไทยเยอะๆ
ซึ่งความจริงผมก็มีทำเก็บไว้ดูเองเรื่อยๆนะ เพียงแต่ไม่ได้ตั้งให้ public เห็นเท่านั้นเอง
เพราะบางทีมันจะดูเป็นการชี้นำเกินไป คือผมอยากจะแชร์วิธีหาปลาน่ะครับ ไม่ใช่ตกปลามาป้อนใส่ปากพวกท่าน แต่ไหนๆแล้ว เมื่อท่านขอมา ก็จะเอาเคสที่มันเกิดผ่านๆมาพอสมควรก็แล้วกัน
แต่ก่อนจะเริ่ม ผมอยากทำความเข้าใจให้ตรงกัน ด้วยทฤษฏีของมันก่อนเลย
จะขอเริ่มจากความหมาย
คือ
Pocket Pivot Buy Point เป็นลักษณะพฤติกรรมของแท่งเทียนและวอลุ่มกับสิ่งแวดล้อม(หรือบริบท)ที่ส่งสัญญาณถึงการเตรียมตัววิ่งขึ้นรอบใหม่ ครับ
ถ้าหุ้นตัวใดทำท่าทางตามรายละเอียดดังกล่าวแล้ว มันมีแนวโน้มที่จะพักตัวหรือสร้างฐานเสร็จ และได้ทำการส่งซิกว่ามีความพยายามสตาร์ทเครื่องเพื่อเดินหน้าขึ้นไปอีกครั้ง
- เครื่องมือที่ใช้ประกอบการหาเบาะแส
๑) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะ ema หรือ sma ก็ตามสะดวกท่านเลยครับ ที่ใช้จะมีแค่ 10 กับ 50 วัน
๒) กราฟแท่งเทียน
๓) แท่งวอลุ่ม
- เบาะแสที่เข้าสูตร Pocket Pivot Buy Point
๑) แท่งราคาต้องเขียว แสดงถึงมีความต้องการซื้อมากกว่าความต้องการขาย
๒) ราคาปิด ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน เหนือเส้น 50 วัน
๓) แท่งวอลุ่มต้องสูงกว่าแท่งที่เกิดจากการขาย(แท่งราคาแดง)ในรอบ 10 วันที่ผ่านมา
นอกจากนั้น ยังมี option เสริมคือถ้าเป็นดั่งนี้จะดีมาก
๔) จะดีมากหากเส้นค่าเฉลี่ย 10 อยู่สูงกว่าเส้น 50 เพราะแสดงถึงขาขึ้นที่แข็งแรง ราคาไปต่อได้ทันที
๕) จะดีมากหากราคาปิดอยู่ห่างจากเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันไม่มากนัก เพราะยิ่งมันปิดเป็นแท่งยาวห่างจากเส้นค่าเฉลี่ยสิบวันมากเท่าไหร่ จะเป็นสัญญาณขายให้กับคนที่มีหุ้นทุนต่ำทันที ราคามีโอกาสไม่ไปต่อแถมย่อแรงได้ทันที ซึ่งมันจะเสี่ยงมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาเฝ้าหุ้นในวัน แล้วไปลุ้นซื้อราคา ATO ในวันถัดไป ถ้าซื้อแล้วไม่ไปต่อก็มีสิทธิ์ดอยสูง(ซึ่งมีผลต่อความอดทนของท่านหากราคาลงและแช่ไม่ยอมไปไหนให้อึดอัด) และ stop loss จะห่างมากเกินไปท่านจะเสียหายมาก)
๖) แท่งราคาที่ผมชอบคือแบบ squat อันเแป็นลักษณะแท่งเขียวสั้นแต่วอลุ่มสูง เกิดชิดๆกับเส้น 10 วัน
๗) จะดีมากหากก่อนที่เกิด pocket pivot ทรงการแกว่งของราคามันแคบลงมาเรื่อยๆ
๘) แต่กระนั้น หากก่อนหน้านั้นแท่งราคาแกว่งเป็นแท่งยาววอลุ่มสูงต่ำไม่เป็นระเบียบ pocket pivot ควรเขียวยาวกว่ามากๆ จนบีบให้แท่งที่ผ่านๆมาดูสั้นและแคบไปเลย
๙) ถ้าหากคุณเจอแท่งเขียวยาวที่เข้าสูตร pocket pivot ในวัน ถือเป็นเรื่องดีมาก แนะนำให้เข้าในจุดที่มันอยู่ไกล้ๆไฮของช่วงเวลาที่ผ่านมา เผื่อผิดพลาด ท่านจะได้ใช้จุดนั้นเป็น stop loss
๑๐) จะยอดเยี่ยมที่สุด หากพื้นฐานทางธุรกิจของหุ้นตัวนั้นมีความแข็งแกร่ง
ครับที่คือหลักการหาเบาะแส
ต่อมาคือแหล่งข้อมูล
โดยหัวใจแรกของแนวทางนี้ก็คือ วอลุ่ม
คือผมเป็นนักลงทุนโบราณ ที่เขียนสูตรสแกนหุ้นไม่เป็น แถมเครื่องมือก็เป็นของฟรี
ดังนั้นไอเดียในการหาต่อไปนี้จึงโฟกัสไปที่ของไม่เสียตังค์ครับ
สูตรนี้ผมชอบมาก คือให้เข้าไปไล่ดูทุกตัวที่เขียวจากเว็บ
siamchart.com ได้เลย คุณจะเจอของดีที่มันยังวิ่งไม่แรงแต่เข้าสูตร(ซึ่งไม่ติดสแกน)เยอะมาก ข้อดีอีกอย่างคือคุณสามารถใช้ขอมูลอื่นมาช่วยคัดกรองได้ เช่น เอาตัวที่ P/E มากๆ D/E น้อยๆ ROE ROA สูงๆก็ได้ ของเล่นเพียบ
นอกจากท่านจะสแกนหาได้เองจากการเปิดกราฟเช็คหุ้นที่ติด top gainer สำหรับคนที่มีเวลาเฝ้าแล้ว
แต่ปัญหาของแนวทางนี้คือ หุ้นหลายตัวจะไปไกลเกินไปแล้ว เสี่ยงเกิน
กระนั้นก็ยังพอมีบางตัวที่ยังอยู่ในฐานราคา ต้องเช็คไปเรื่อยๆ
ในบ้านเราก็จะมีเว็บหรือเพจที่รายงานให้เรารู้ตอนสิ้นวัน เช่น
เว็บ
bidschart จะมีหน้าที่รายงานหุ้นที่มีวอลุ่มเปลี่ยนแปลงผิดปกติ
วิธีการก็ดูตามรูปและคำแนะนำข้างล่างเลยนะ
ก็ให้เข้าไปตามลำดับนะ 1-2 ส่วน 3 ก็เป็นตัวเลือกให้ท่านคลิกตัวเลขที่แสดงจำนวนเข้าไป แล้วมันก็จะโชว์รายชื่อหุ้นออกมาให้เราเห็นทั้งหมด ก็ให้เลือกตัวที่ปิดเขียวเข้าไปดู(แบบที่วงรีไว้) ว่าแบบไหนที่ใช่บ้าง
ที่อื่นก็มี.......
เพจหุ้นการบ้าน วอลุ่มเข้าอย่างมีนัยยะ (เอาทางบวกนะครับ)
หรือสแกนจาก efin ใช้ F5 หาหุ้นที่มีวอลุ่มสูงสุด ในรอบ 5 วัน
ต่อมาก็เข้าหัวใจของเรื่องกัน คือตัวอย่าง
ออกตัวก่อนนะ ผมชอบ Buying in the pocket มากกว่าที่จะไปลุ้นเอาตอน breakout เสียแล้วล่ะในตอนนี้
จึงอย่าแปลกใจที่จะเห็นการโฟกัสไปที่จุดนั้น
วิธีการก็ไม่ยากนะ
1) พอเห็นแท่งราคาเขียวปุ๊บ ก็ให้เหลือบมองแท่งวอลุ่มข้างล่างว่าสูงแค่ไหน จากนั้นก็ไล่สายตาย้อนกลับดูแท่งวอลุ่มไปทางซ้ายมือเรา ดูคร่าวๆ เทียบว่ามันมีสูงกว่าแท่งที่เราโฟกัสมั้ย
ถ้าก่อนหน้านั้นราบเรียบต่ำกว่า ก็ใช่
แต่หากมันก้ำกึ่งก็ค่อยๆนับแท่งดูว่ามันห่างเกินสิบแท่งมั้ย
ถ้าแท่งสูงกว่านั้นอยู่ในช่วง 10 แท่งก็ให้ดูแท่งเทียนของมัน ถ้าเขียว ก็อนุโลมให้ผ่าน แต่หากแดงก็ NG
(NG = no go ไม่ให้ผ่านน่ะครับ ภาษาช่างโรงงงาน)
2) ต่อมาก็ดูราคาปิดเทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยหน่อย ควรอยู่สูงกว่าเส้น 50 วัน ถ้าเส้นเรียงกันเป็นขาขึ้น คือเส้น 10 อยู่เหนือเส้น 50 ด้วย จะดีมากๆ
เอาล่ะ ดูตัวอย่างกันเลย
เริ่มที่ Pocket Pivot มีความเสี่ยงสูงก่อน
AS เป็นตัวอย่าง Pocket Pivot คือเป็นประเภท extended pocket pivot ซึ่งน่ากลัวมากสำหรับผม(ในตอนนี้นะ ถ้าหากเป็นก่อนหน้าคงสนุก กับการ cut loss มาก)
ที่น่ากลัวเพราะมันห่าง stop loss คือไฮก่อนหน้านี้มหาศาลจริงๆ อีกอย่างมันเป็นจิตวิทยาว่าหุ้นที่จู่ๆวิ่งแรงๆ ทำแท่งยาวๆ แล้ววันต่อมามักต้องเผชิญแรงขายอย่างมหาศาล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่รอด
HARN คล้ายกัน
ซึ่งถ้าคุณเจอแท่งเขียวยาวดังตัวอย่าง อย่าผลีผลาม ให้รอดูแท่งต่อไปสัก 2 แท่ง เพื่อให้มันทำโลว์อ้างอิงไว้ก่อน
อย่าง EE หลังจาก pivot แรก มันย่อแดงทำโลว์ไว้แล้ว ก็เอาจุดนั้นแหละเป็น stop loss
Pocket Pivot ในขาลง
SEAOIL ดูดีมากนะสำหรับ pivot แท่งนั้น แม้ว่าก่อนที่ราคาเขียวยาววอลุ่มปรี๊ดแบบนี้ มันแกว่งแคบมากๆมาก่อนไง พอเจอแบบนี้ก็อดสนใจไม่ได้ กระนั้นผมจึงให้มันเป็น pivot 1/2 คือ 50/50 น่ะ คือถ้าไม่มีตัวเล่นหรือท่านใจถึง รู้ว่าพื้นฐานดีแน่ๆก็เสี่ยงได้ แต่ถ้าอยากให้ปลอดภัยและน่าเชื่อถือควรรอให้มันยืนยันขาขึ้นให้้เสียก่อนก็ยังไม่สาย หุ้นถ้ามันดีจริง มันไม่หยุดแค่นี้หรอกครับ
THAI ก็ออกไปในทางเดียวกัน
สารภาพเลยว่าจริงๆแล้วแบบนี้ผมจะไม่ค่อยกล้าเข้า เพราะไม่ตรงตามสูตร เนื่องจากยังเป็นขาลงอยู่เลย
ต่อมาคือแบบที่เวิร์ค
Pocket Pivot Buy Point ก่อนเปิด Gap
OTO เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเคสนี้ ดูที่ชี้ pivot แรกนะครับ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่บอกว่ามันมีสัญญาณบอกเหตุก่อนราคาวิ่งแรง อีกอย่างดูก่อนที่มันจะ pivot สิ แท่งแกว่งสั้น โดจิติดต่อกัน แล้วก็เขียววอลุ่มพรึ่บ
ถือเป็น อีกหนึ่งใน Pocket Pivot ในฝัน
UKEM เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะมันสร้างฐานราคา cup with handle ที่สมบูรณ์
ซึ่งในช่วงของ handle นั้น เกิด pocket pivot buy point ที่เรียกกันว่า in the pocket ให้เห็นด้วย
และจากนั้นไม่นาน ก็เกิด แท่ง breakout ฐานราคา ซึ่งเป็น pocket pivot buy point อีกจุด
ถ้าย้อนไปดูในตอนต้น, มันก็ทำ pivot ในช่วงต้นขาขึ้นนะ เขียวยาวแล้วย่อแกว่งแคบออกข้าง แล้วเขียวยาวอีก อารมณ์เหมือนคนไล่ซื้อเก็บของ ยั่วให้ขาย มึงขายกูปล่อยให้ขายจนหมด แล้วกูไล่ราคาใหม่
TPOLY ทำ buyable gap-up พร้อมกับ pivot ด้วย
SQ ออกแนวคล้าย OTO งดงามมาก
HANA เป็นอีกตัวอย่างที่เข้าสูตร vcp แล้วเกิด pivot
SINGER เป็นอีกตัวที่แสดงออกได้ตามสูตร คือเด้งจากเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน พร้อมวอลุ่มสูง
GCAP เด้งจากเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ข้ามไปปิดเหนือเส้น 10 วันเป็นนิสัย ก่อนซิ่ง
SYNEX เป็นตัวอย่างของหุ้นที่ราคาเคารพเส้น 10 วัน ชนแล้วเด้ง มีหลุดแต่แท่งถัดไปไม่นิวโลว์ หากต่อมามันเขียวยาว นั่นแหละมักจะใช่ pocket pivot
SUPER เป็นหุ้นที่ราคาฟื้นจากก้นเลย แท่งเขียวยาวแรกน่ะ มันโหดไปนิดนึง คือถ้าเจอแบบนี้มีโอกาสโดนตบสูงมากเพราะคนที่ติดดอยจ้องขายอยู่แล้ว และมันก็ลงจริงๆ แต่ต่อมามันทำตัวน่าสนใจคือ ออกข้างวอลุ่มน้อยลง แถมแกว่งแคบอีกต่างหาก เมื่อต่อมามันทำ squat ก็ใช่เลย
BFIT เป็นหุ้นสภาพคล่องน้อยที่มีการทยอยไล่เก็บหุ้นกันต่อเนื่อง หุ้นประเภทนี้อย่าไปไล่ราคาต่อจากแท่งเขียวยาวเพราะคุณโดนแน่ ให้รอ squat พร้อมวอลุ่มสูงที่เป็น pivot
TCMC เป็นอีกตัวที่ฟื้นจากก้น แท่งแรกปิดเหนือทุกเส้น จึงคิดว่าน่าสนใจ พอ pivot ที่สองนี่สวยเลย เพราะ stop loss คือไฮที่มันเพิ่งข้ามมานี่แหละ
RCI ถือว่าเป็นอีกตัวที่เตรียมตัวซิ่งได้สวย โดยช่วงแรกๆจะเกาะเส้น 10 วันไปเรื่อยๆ จนได้ทำ pivot ครั้งที่สองก็เป็นจุดเข้าเกียร์ซิ่งไปทันทีเลย
KTIS แท่ง Pivot เกิดหลังจากที่ราคาก่อนหน้านี้ ออกข้าง แกว่งแคบๆ วอลุ่มแห้ง ตัวนี้บาคนอาจสงสัยว่าแท่งวอลุ่มของ pivot ที่ชี้นั้นน่ะ มันต่ำกว่าอันก่อน แต่ด้วยกฎเขาบอกว่าให้เน้นแท่งวอลุ่มที่เป็นวันแท่งขาย(หรือ downday) ดังนั้นแท่งนี้จึงเข้าสูตร
กระนั้น จะว่าไป ผมก็ชี้ไม่ครบนะ แท่งหลังจาก downday ที่วอลุ่มสูงๆนั้นน่ะ ต้องเป็น pivot ด้วยนะ เพียงแต่ว่ามันเกิดในฐานราคาเท่านั้นเอง ตรงนั้นก็ซื้อได้เช่นกัน
EPG ตัวนี้เป็นการเกิดในช่วงของการสร้างฐานอยู่นะ
OISHI ดูสิอยู่ตรงไหน?
AMANAH เพราะหุ้นมีสภาพคล่องน้อย เกิด pivot ทีไรมักจะเป็นแท่งยาว ดังนั้นคนที่ follow buy วันถัดไปจะมีความเสี่ยงเสียหายสูงมาก จึงต้องรอดูให้มันสงบไปก่อนค่อยเข้า
EA ทำ pivot ในฐานราคาที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายของ vcp แล้วนะ (ไม่ได้ชี้ซะด้วยสิ ทายว่าตรงไหน?)
HTECH นี่คือหุ้นที่ทำทรงในฝันเลยสำหรับผม สวยงามมาก แต่ละแท่งทำได้ชัดเจนไม่เคยผิดหวัง ที่วง downday นั้นเพราะจะชี้ให้เห็นว่าตอนมันย่อแดงต่อเนื่องนั้นน่ะ วอลุ่มลดน้อยลง กระทั่งเกิด pivot จึงพุ่ง
SPACK ตัวนี้ก็มีสภาพคล่องน้อย ดังนั้นหลักการของเราคือพยายามหาสัญญาณ pivot ก่อนแท่งเขียวยาวและเข้าตอนนั้น อย่าไปไล่ราคาหลังแท่งยาวเด็ดขาด
STAR นี่ก็สภาพคล่องน้อย และคนทำราคาขยันจริงๆ บาคนอาจสงสัยว่าก่อนหน้าแท่งที่ผมชี้ pivot นั้น มันก็มีแท่งที่น่าจะเข้าสูตรหลายจุดอยู่นะ แต่ผมคิดว่ามันเป็นการฟื้นจากขาลงน่ะ คือเส้นค่าเฉลี่ยยังไม่กลับทิศเลย(ปกติของขาขึ้นคือ เส้น 10 ต้องอยู่เหนือ 50 ไง) เมื่อมันเปลี่ยนเทรนด์ได้ ก็จะน่าเชื่อถือขึ้น
Pocket Pivot หุ้นเข้าใหม่ๆ
ด้วยความที่มันเพิ่งเข้าไม่นานไง เส้นค่าเฉลี่ย 50 วันยังไม่โผล่ ก็อนุโลมให้ใช้เส้นสิบวันได้
แต่ช่วงนี้อย่ามั่นใจกับมันนัก หลุด stop หนีก่อน
แล้วคุณจะตั้งจุดหนียังไงล่ะ? ถ้าอยากล็อกกำไร ให้เข้าไปดู time frame นาทีครับ เลือกเอาสักเวลา คุณจะเห็นแนวทางการเด้งของมัน ก็เอาตรงนั้นเป็นไกด์ หลุดหนีก่อน
ต่อมาคือการพิจารณาคัดตัวดีที่สุด
ต่อมาก็จะเป็นการใช้กึ๋น พิจารณาว่าแบบไหนน่าสนใจ มีโอกาสไปต่อบ้าง
ตรงนี้มันเป็นศิลปะเหมือนกันนะ บอกตรงๆผมก็มั่วไปเรื่อย
อย่ากลัวผิดครับ แค่ให้เราตั้งสมมุติฐานก่อนนิดนึง
คือถ้ามันไปต่อ เราก็คงไม่คิดมากกันใช่มั้ย ดีใจที่กำไร
แต่คิดเผื่อใจไปอีกด้านสักนิด คือถ้ามันพลิกล็อกไม่ไปต่อ เราจะหนีตรงไหนดี
ไม่เอาแบบวีไอจำเป็นนะ แบบติดหุ้นแล้วฉันจะถือต่อน่ะ
คือถ้าคุณคิดจะถือยาว ก็ต้องเตรียมตั้งแต่คิดซื้อแล้วว่าตัวนี้ ฉันมองว่ามันดีแน่ๆ ลงไปเท่าไหร่ฉันก็จะซื้อ แบบนี้โอเค ไม่ใช่ว่าตอนซื้อหวังเต็มที่ว่าวิ่งกำไรแน่ๆ แต่พอมันลงกลับอยากกอดไว้ ไม่เอาไม่ควร
สุดท้ายคือจังหวะขาย
ตรงนี้แหละที่บีบหัวใจมือใหม่ยิ่งนักเพราะพอเห็นหุ้นมันวิ่งขึ้น วิ่งขึ้นก็คันมืออยากขาย เพื่อเอาเงินกำไรไปซื้อตัวที่ยังไม่ขึ้น ณ จุดนี้ ผมขอเตือนท่านก่อนเลยนะว่าอย่าเพิ่งรีบ
เพราะคุณมั่นใจแค่ไหนว่าหุ้นที่จะเปลี่ยนตัวน่ะมันวิ่งทำกำไรให้คุณทันที เผลอๆดวงตกซื้อแล้วมันพลิกล็อคร่วงปุ๊บปั๊บ กำไรที่คิดว่าจะได้กลับหายไปแบบไม่ควร และที่น่าเจ็บใจก็คือหุ้นที่เราเพิ่งขายออกไปมันวิ่งเอ๊าวิ่งเอา (ผมขอบอกว่านี่คือเรื่อจริงครับ เพราะเจอมาแล้ว)
ดังนั้นให้หาอะไรทำซะในตอนนั้น อย่าเฝ้าจอบ่อย เพราะเดี๋ยวคันมือขาย
โอเค....
ตามหลักการของต้นฉบับก็คือ
๑) ถ้าหุ้นเคารพกฎ 7 สัปดาห์ ก็ให้ขายเมื่อราคาหุ้นหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน
โดยกฎ 7 สัปดาห์ก็คือ เมื่อหุ้นได้ทำ Pocket Pivot Buy Point แล้ว ราคาวิ่งขึ้นต่อทันที พอย่อก็ไม่หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 เลยแม้แต่ครั้งเดียว แถมยังวิ่งแบบนี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 7 สัปดาห์ ครับ
๒) หากมันไม่เคารพกฎที่ว่านั้น ก็ให้ใช้เส้น 50 วันเป็นไกด์สำหรับขาย
๓) โดยเงื่อนไขที่คุณต้องตัดสินใจขายคือ วันถัดไปจากที่มันหลุดเส้นค่าเฉลี่ย เพราะบางทีมันอาจจะเป็นการเขย่าเอาของจากฝีมือของคนทำราคาก็ได้ ดังนั้นให้รอดูแท่งถัดไป ถ้ามันไม่ยอมหยุด ลงต่อไปทำนิวโลว์อีก ก็ขายทิ้งทั้งหมดได้เลย
มาดูตัวอย่างกัน
เอา
MALEE ก่อนก็แล้วกัน โดยช่วงนี้ผมจะขอบรรยายแบบนิยายหน่อยนะท่านจะได้ไม่เบื่อ โดยตั้งเงื่อนไขว่าการกระทำของคุณในช่วงนั้นถูกเฝ้ามองจาก "คนที่คุณรู้ว่าใคร" ถ้าท่านเผลอขายหุ้นออกก่อนที่สิ่งแวดล้อมทุกอย่างจะครับ(คือขัดแย้งกับกฎการขายน่ะ)
จะอนุญาติให้ขายได้เมื่อจบวันเท่านั้นคุณจะถูกสาปให้เป็นหิน
เริ่มต้นจากการดูกราฟเปล่า
คุณได้จุดซื้อที่เป็น pocket pivot buy point คือวันที่ 31/3/2016 ให้ปักหมุดเป็นจุดเริ่มต้น
จากนั้นท่านเริ่มนับวันไปเรื่อยๆ
และแล้วต่อมาไม่นานนักมันก็มีหลุดเส้น 10 วันจนได้ คือในวันที่ 12/5/2016
เมื่อมันหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน ก่อนครบ 7 สัปดาห์ แสดงว่าไม่เคารพกฎ
ดังนั้น คุณก็ไม่ได้ขายสิ เพราะจุดที่กำไนดให้ขายคือเมื่อมันหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
ตอนนั้นคุณไม่รู้สึกยี่หระ เพราะกำไรไม่มาก สิวๆ รอไปก่อน
เมื่อระบบไม่ให้คุณขาย คุณก็ต้องรอต่อไป
ในใจคุณตั้งไว้ว่า ถ้าได้สักเด้ง หรือ 100% ก็ดีสินะ
และแล้ว เวลาทองที่คุณรอคอยก็มาถึง โอ้โห...หุ้นวิ่งบวกมา 100% แล้วด้วย คัน คัน คัน อยากขายจริงๆ
เรื่องของเรื่องก็คือ......
ตั้งแต่วันที่ 10/10/2016 ราคาหุ้นเปิด gap ลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน แต่ตามกฎก็คือถ้ามันยังไม่หลุดเส้น 50 วันห้ามขาย จากนั้นมันก็เอาอีก ลงอีก หลุดไปปิดนิวโลว์ แต่ยังเหนือเส้น 50 วัน
และแล้ว วันที่ 12/10/2016 ก็ทำให้คุณกำหมัดแน่น กำลังยื่นมืออันสั่นเทาไปคลิกเพื่อส่งคำสั่งขาย
แต่......ก่อนที่จะคลิก ดันเกิดเหตุอาเพท ให้มีคนไล่ซื้อดันราคาให้กลับไปปิดเหนือเส้น 50 วันจนได้
ครับ...คุณวืดอีกครั้ง เพราะระบบไม่ให้ขาย รอดูวันต่อไป
วันต่อมา โชคเข้าข้างแล้ว ราคาเปิดต่ำกว่าเส้น 50 วัน นี่มันช่างเหมาะเจาะมาก ฉันจะได้ขายเสียที กำไรตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่....เวรหนอเวร กฎมันบอกไว้ว่า ถ้าราคาไม่ลงไปหลุดปลายไส้ของแท่งที่หลุดเส้น 50 วัน ก็ห้ามขาย ซึ่งไอ้หุ้น(เลวสำหรับคุณ)ตัวนี้มันไม่ลงต่อ แถมยังมีการซื้อดันไปปิดเหนือเส้น 50 วันได้อีก
เมื่อหวยมันออกมาเช่นนี้ คุณก็ทำอะไรไม่ได้ กัดฟัน หลืนน้ำตา ทนรวยต่อไป
ในใจคิดเดี๋ยวก็จบรอบ หลุดเส้น 50 วันคราวหน้าฉันขายออกหมดแน่
คุณต้องทำใจรอไปอีกร่วมๆ 3 เดือน กว่าจะได้ขายจริงๆ
เหตุการณ์มันเริ่มตั้งแต่วันที่ 10/1/2016 แท่งราคาลงไปหลุดเส้น 50 วัน แต่มีการซื้อไล่ขึ้นไปปิดเหนือได้
คุณก็ปักหมุดไว้แล้วว่า หลุดไส้นี้ ฉันจะเป็นไทแล้ว ขายทันที ขายทันที
พอสองวันต่อมามันก็แดงนะ แต่ไม่ยอมหลุดไส้ของแท่งวันที่ 10 คุณก็ได้แต่กัดฟันจิกหมอน ลุ้นให้ลง
กระทั่งวันที่ 10/1/2016 นั่นแหละที่ทุกอย่างมันลงล็อค
เพราแท่งราคาลงไปหลุดโลว์ของแท่งวันที่ 10 และไม่อาจฟื้นตัวกลับขึ้นไปได้
ซูมดูชัดๆอีกที หลุดชัดเจนนะแม้มันจะดีดกลับไปปิดที่ปลายไส้ของวันที่ 10 ก็ตาม แต่มันหลุดอ่ะ
หรือถ้าคุณเริ่มเสียดาย ให้รอวันต่อไปก็ได้ ซึ่งมันก็หลุดอยู่ดี
สรุปคือ ดีล MALEE นี้คุณซื้อประมาณ 35 บาท (คิดเผื่อซื้อหลายไม้)
ได้ขายที่ 105 บาท กำไรประมาณ 300% ภายในเวลาร่วมๆ 10 เดือน
พอใช้ได้นะ
ตัวอย่างอื่นๆ
กราฟข้างล่างต่อไปนี้ ผมจะไม่เฉลยนะ
ลองทำการบ้านต่อกันเองดูครับ
(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
คลิกลิ้งนี้ครับ
https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้
https://www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos