ทำไมถึงบอกว่า "ระบบเทรดนี้ไม่เวิร์ค"? คุณเข้าใจอะไรผิดอยู่หรือเปล่า?

Image
ทำไมคุณถึงบอกว่า "ระบบไม่ทำงาน(ไม่เวิร์ค)"? แปลจาก  https://x.com/samuraipips358/status/1874848124210139494 ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986 ถ้าคุณเคยพูดว่า "ระบบไม่ทำงาน(ไม่เวิร์ค)" สิ่งนี้อาจเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ: 1. คุณใช้ตัวอย่างข้อมูล (sample size) ในการตัดสินใจน้อยเกินไป เช่น ทดสอบระบบเพียงไม่กี่ครั้งแล้วสรุปว่ามันไม่ได้ผล 2. ตัวอย่างข้อมูลที่คุณใช้ทดสอบระบบในตอนแรกมีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ดูไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ครอบคลุมสถานการณ์ที่หลากหลาย eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 หลักการสำคัญที่ต้องเข้าใจ ตราบใดที่คุณทำตามกฎของระบบ: - การขาดทุน (Stop-loss) - หรือการขาดทุนสะสม (Drawdown) ถือเป็นหลักฐานว่าระบบกำลังทำงาน เพราะการขาดทุนเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของระบบ ไม่ใช่สัญญาณว่าระบบล้ม...

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?


ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆสมาชิกมีความสงสัยหรือไม่เคลียร์เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าฐานราคา "Cup with Handle" แบบผมหรือเปล่า ยอมรับออกสื่อเลยว่าผมเป็นคนหนึ่งที่มองไม่ออกว่าแบบไหนที่ใช่ แบบไหนที่เรียกว่าสมบูรณ์ คือผมรู้สึกว่ามันเป็นแพทเทิร์นที่ "อาร์ต" มากครับ งงมาตลอดว่าเซียนเขามองออกได้ไง

(แนะนำงานเขียนใหม่ล่าสุด)

๑. เล่มนี้จะเปิดเผยอีกด้านของการเทรดแนวเทคนิคอล
จากมุมมองของนักเทรดประสบการณ์ 10-40 ปี
มือใหม่ควรอ่านนะครับ จะได้ใช้เทคนิคอลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มือโปรเขามองการวิเคราะห์ทางเทคนิคว่ายังไงบ้าง มีจุดแข็งอยู่ตรงไหน?
อะไรคือจุดอ่อนของเทคนิคอล แล้วจะใช้งานมันยังไงเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด?
๒. ทำไมทั้งที่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน หรือใช้ Price Pattern ก็ตัวเดียวกัน
...แต่ทำไมนักเทรดมือโปรได้กำไรสม่ำเสมอ?
...ทว่ามือใหม่กลับเอาตัวไม่รอด...ขาดทุนซ้ำซาก?
ปัญหามาจากเทคนิคอล? หรือมาจากส่วนอื่นกันแน่?
๓. นำเสนออีกมุมของเทคนิคอล ที่ไม่มีใครบอกคุณตรง ๆ ว่าแท้จริงแล้วเทคนิคอล
...เทคนิคอลไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มหัศจรรย์หรือเป็นสูตรวิเศษอะไรเลย?!
... มือโปรไม่ได้มองแบบที่มือสมัครเล่นมองเลยแม้แต่น้อย!!
๔. ไม่เหมาะสำหรับคนที่บูชาเทคนิคอลแบบงมงาย
...ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรวยเร็ว ๆ จากการเทรด
... แต่เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้เทคนิคอลให้ถูกต้องแบบที่มือโปรเขาใช้กันเป็นบรรทัดฐานครับ
eBook :  การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นักเทคนิคอลมือโปร ประสบการณ์ 10 ปี++ อยากบอกมือใหม่ รู้ก่อน...รอดก่อน มีขายที่ mebmarket นะครับ  ตามลิงค์นี้นะ http://bit.ly/436mRyO
+++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++

จึงขอใช้พื้นที่นี้รวบรวมข้อมูลมาอ่านและศึกษาพร้อมกัน ออกตัวก่อนว่านี่เป็นข้อสังเกตุแบบมั่วๆเม่าๆของผมเท่านั้นนะ ใครมีไอเดียที่นอกเหนือจากนี้แชร์มาทางคอมเมนต์ทางเฟสบุคได้เลยนะครับ



ทำไมต้องเป็น Cup with Handle?
เพราะปู่โอนีลบอกว่ามันเป็นฐานราคาที่ทรงประสิทธิภาพมาก(คือมีโอกาสไปต่อสูง)
ดังนั้นถ้าเรารู้จักมัน โอกาสในการเจอหุ้นดี วิ่งแรงและเร็ว ก็น่าจะมากขึ้นก็ได้

แล้ว Cup with Handle มีหน้าตายังไง?
ดูรูปข้างล่างเลยครับ

แล้วแบบไหนที่จะเรียกว่า "สมบูรณ์"?
ตรงนี้ก็ถือเป็นเครืองหมายคำถามตัวใหญ่เหมือนกันครับ
ถ้าคัดข้อสรุปจากหนังสือก็จะได้รายละเอียดดังนี้

ก้นถ้วย หรือ Base
๑) ขาขึ้น คือก่อนที่จะย่อเพื่อสร้างฐาน ราคาควรวิ่งขึ้นมาก่อนแล้วอย่างน้อย 30%
๒) ระยะเวลา หรือ Base Length ควรใช้เวลาสร้างตั้งแต่ 7-65 สัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่จะมีระยะ 3-6 เดือน
๓) ความลึก คือ การย่อหรือปรับฐานจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุด ตั้งแต่ 12-15% และลึกจนถึง 33%
๔) ความแน่น คือ ในระหว่างการย่อทำก้นถ้วยนั้น ไม่ควรทำทรงตัว V เพราะมันดูหลวม จะให้ดีมันต้องมีการสวิงขึ้นลงสัก 2 หรือ 3 ขยัก บริเวณส่วนก้นของถ้วย เพราะมันได้สลัดเอาผู้ถือหุ้นที่ใจอ่อนแอออกไป และทำให้นักเก็งกำไรคนอื่นๆหันเหความสนใจออกไปจากหุ้น



หูถ้วย หรือ Handle
๑) ใช้เวลามากกว่า 1-2 สัปดาห์
๒) มีลักษณะของแท่งราคาที่เรียกว่า Shakeout หรือเขย่า สังเกตุง่ายๆคือแท่งเทียนที่ทิ้งไส้ยาวๆ
๓) โดยทั่วไปแล้วในช่วงนี้ วอลุ่มไม่ควรสูงขึ้น
๔) ราคาควรอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10 สัปดาห์ ถ้าอยู่ใต้เส้นนี้ มีโอกาสล้มเหลวสูง เพราะความต้องการซื้อไม่แข็งแรงพอ เนื่องจากการย่อในช่วงนี้มันลึกเกินไป
๕) การย่อที่เหมาะสมควรอยู่ที่ราวๆ 8-12% จากยอด
๖) ลักษณะการเคลื่อนที่ของราคาไม่ควรเชิดขึ้น หรือออกข้าง เพราะมีแนวโน้มล้มเหลว แต่จะดีมากถ้าราคาเคลื่อนที่ลงแล้วต่อมางัดขึ้น เพราะมันเป็นขั้นตอนของการเขย่าคนใจฝ่อออก ราคาจึงควรลดลงเพื่อกดดันให้มีการตกใจและปล่อยหุ้นออกมา ดังนั้นจึงควรจะมีการเขย่าแรงแบบ shakeout ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๒



ข้อสังเกตเพิ่มเติม
๑) cup-with-handle จะไม่น่าเทรด ถ้าดัชนีเป็นขาลงหรือพักฐาน
๒) รูปแบบนี้จะทรงพลัง เมื่อมันเกิดกับหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งซึ่งมีกำไรโตขึ้น
๓) วอลุ่มในช่วงที่ราคาย่อทำรูปถ้วย ควรทำทรงตัว U ด้วย คือขอบวอลุ่มสูง ช่วงก้นถ้วย วอลุ่มควรลดลง ยิ่งแห้งได้ยิ่งดี เพราะมันสื่อว่าคนไม่สนใจซื้อขายกันแล้ว

จบแล็คเชอร์กันแล้วนะ
ต่อมา ดูรูปตัวอย่างกันบ้าง ขอเอามาจากหนังสือนะครับ เพราะมีข้อสังเกตุที่น่าสนใจ




จากรูปท่านสังเกตุเห็นอะไรที่เหมือนๆกันบ้างมั้ยครับ
คือนอกจากจุดซื้อที่ราคาต้องยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10 สัปดาห์
ในช่วง handle ราคาลงไปเด้งหรือเคารพเส้นค่าเฉลี่ย 10 สัปดาห์
แล้วอย่างอื่นไม่เคลียร์เลย

นี่แหละครับที่มันสร้างปัญหาให้ผมมาก คือสงสัยว่า เขามองยังไงถึงเห็นเป็นรูปถ้วยกัน(วะ)
เพราะอย่างที่เราเห็นในรูปตัวอย่าง ว่าทรงจริงๆของมันราคาไม่เรียงกันเป็นทรงโค้งจนเป็นรูปถ้วย ป็นรูปตัว U เหมือนทฤษฎี สวยงามเลยสักนิด  โดยจากตัวอย่างเราเห็นราคามันวิ่งขยุกขยิก ย่อ-เด้ง ย่อ-เด้ง ออกไปทางตัว V แต่ไม่ลงพรวด มียึกยัก เป็นขั้นๆ เท่านั้นเอง

แต่พอเซียนเขาเห็น ก็ลากเส้นโค้งหงายครึ่งแล้วขีดเส้นหักศอก - จบ

เขาสรุปแบบง่ายมาก ในขณะที่เราเอ๋อแดก
เพราะมันไม่ make sense ในสายตาเราไง



เอาล่ะเพราะปัญหานี้ ผมก็เลยพยายามหาจุดร่วมเพื่อจะช่วยให้ตัวเองเห็นเหมือนเซียนสักนิดก็ยังดี
ออกตัวก่อนนะว่า เป็นข้อสังเกตุแบบมวยวัดล้วนๆ ใครเห็นต่างก็เม้นแชร์ไอเดียผ่านเฟสได้เลยครับ

มองยังไงให้เป็นรูปถ้วย
๑) จากรูปที่ถ่ายออกมาจากหนังสือ มันทำให้ผมนึกถึงว่าในทรงนี้ มันมีส่วนประกอบของอีก pattern ซ่อนอยู่ในนั้น คือ double bottom ของปู่โอนีลนั่นแหละ ใครจำไม่ได้ ดูรูป

แต่, ความต่างระหว่างสองรูปแบบนี้ที่ผมจับได้ ก็คือ
ถ้าเป็น double bottom นั้น ราคาจะ breakout ทะลุไฮล่าสุดพรวดไปเลยและไม่มีย่อ
แต่ Cup with handle นั้น พอไปถึงไฮ มันจะย่อเหมือนต้องการจะให้คนใจฝ่อขายหุ้นออก เพราะกลัวมันจะลงต่อ ย่อหนักลงไปหาโลว์เดิมอีก คือถ้าไม่ได้มองในเชิงกราฟ ทางจิตวิทยาก็เหมือนเป็นเกมส์การสะสมหุ้นของคนทำราคานั่นเอง พยายามเขย่าและเก็บหุ้นเพิ่มให้มากที่สุด ดังนั้น ทุนของพวกเขาจึงอยู่ในช่วงของตัว U นี่เอง จึงไม่แปลกที่เขาต้องไล่ราคาขึ้นไปให้สูงมากๆเพื่อจะได้กำไรเยอะๆ

๒) จากรูปล่างสุด คุณสังเกตุเห็นรอยลากเส้นดินสอจางๆมั้ยครับ? คุณเห็นเป็น pattern อะไร?
มันคล้ายกับ inverse head and shoulder เลยใช่มั้ย
ซึ่งจริงๆแล้วมันอาจจะไม่เป๊ะหรอก แต่ก็น่าจะช่วยให้เรามีภาพจำที่เป็นจุดสังเกตุได้ง่ายขึ้นนะ

๓) VCP (Volatility Contraction Pattern) กับ Cup with Handle
ผมรู้สึกว่า VCP ก็คือการอธิบายทรงของ Cup with handle ไปในอีกภาษาหนึ่ง ดูภาพก่อนนะ

จำกฎของ VCP ได้มั้ยครับ
๑) เป็นขาขึ้นมาก่อน
๒) ราคาย่อลงและเด้งขึ้น ในขอบเขตการแกว่งที่แคบลง แคบลง
๓) ในที่สุดก็ breakout ขึ้นไปทำนิวไฮได้อีก

จิตวิทยาของการเกิดรูปแบบนี้คือ

ที่บริเวณราคาไกล้จุดสูงสุด ซึ่งเป็นโซนที่คนติดดอยมาก่อนกำลังจะได้ปลดเปลื้องภาระที่แบกไว้นานเป็นชาติ เมื่อราคาถูกดันขึ้นไปจนถึงระดับราคาที่ไกล้ๆทุนตัวเอง นักลงทุนผู้น่าสงสารเหล่านั้นไม่คิดอะไรแล้วครับ เกินครึ่งตัดสินใจขายทิ้ง เพื่อดึงเงินที่จมมากอดไว้
จังหวะนี้เองที่ Market Maker(MM) จะปล่อยให้ขาย ขาย ขาย จนพอใจ
โดยจุดที่เขารู้ว่ามันเหมาะสมก็คือ วอลุ่มแห้ง+การแกว่งของราคาแคบลงนั่นแหละ
ในตอนนั้นคนก็จะไม่สนใจหุ้นตัวนั้นกันแล้ว ก็เป็นจังหวะ "สวนกลับ" ของ MM
เพราะราคาจะดีดผึง ขึ้นจากอาการนิ่งๆซึมๆ แล้วกลายร่างเป็นนักวิ่งลมกรดขึ้นไปในบัดดล

แบบนี้มันเป็นเรื่องเดียวกันกับช่วงที่ราคาฟื้นตัวจากก้นของ cup ขึ้นไปถูกเขย่าในระยะ handle ชัดๆเลยนะ

หรือถ้ามองว่ามันเป็นภาพรวมของ cup with handle ก็ได้นะ
คือเริ่มแรกราคาก็วิ่งขึ้นมาเป็นขาขึ้นก่อนใช่มั้ย จากนั้นก็ย่อ
ในช่วงที่ราคาย่อลงไปสู่ก้นของ cup น่ะ มักจะลงแรง วงการแกว่งก็กว้างที่สุด
จากนั้นเมื่อมันเด้งขึ้นไปจากก้นถ้วย การแกว่งก็จะแคบกว่าเดิม เพราะส่วนใหญ่ของ handle ราคามักจะไปไม่ถึงไฮของขอบถ้วยอยู่แล้ว คนที่ติดดอยบางส่วนชิงขายออกมาก่อน ทำให้เกิด handle ไง เพราะคนที่ชิงขายออกในช่วงหูถ้วยเป็นรายย่อยที่ติดหุ้น กำลังจึงน้อย การย่อเลยไม่ลึก วอลุ่มก็เบาบาง ซึ่งมันเป๊ะกับคาแร็คเตอร์ของ handle เอามากๆ คุณว่ามั้ย?



ก็พอจะเห็นภาพหรือได้ไอเดียไปหารูปแบบ cup with handle กันนะครับ
งั้นก่อนจบ ดูรูปกันอีกรอบ ว่าผมมโนเห็นอะไรในนั้น

รูปนี้มันออกแนวทรง VCP เลยนะ เพราะราคาแกว่งแคบลง ย่อ 3 ครั้ง แล้ว breakout กลายเป็นจุดซื้อ


นี่คือ inverse head and shoulder ชัดๆเลย


รูปนี้ทำ double bottom แล้ว breakout ได้ แต่ไม่ไปต่อทันที ทำการเขย่าอีกรอบ

ผมมาสุดทางได้แค่นี้จริงๆครับ

บทความเพิ่มเติม
Cup with handle ภาค 2
Q&A : Cup with handle

(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ


www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน