ด้วยความเห็นส่วนตัวของผมนะ ก็แอบมโนว่าหุ้นดาวรุ่งปีนี้น่าจะเป็น WORK
เหตุผลคือ เขาเป็นช่องทีวีที่มาแรงสุดในนาทีนี้แล้ว มันสามารถดึงให้ผมเองที่เป็นคนที่ไม่ชอบดูทีวีเลย ต้องเฝ้าดูรายการย้อนหลังของช่องนี้ผ่านยูทูปทุกวัน
ล่าสุดงบการเงินก็ออกมาเทพมากๆ จน
คุณนิ้วโป้ง Fundamental VI ต้องเอางบมาเปรียบเทียบกับ BEC ว่ามันต่างกัน
ตัวหนึ่งดิ่งพสุธา ขณะที่อีกตัวกำลังบินขึ้นฟ้า
ในบทความแกเขียนอย่างนี้นะครับ ขอลอกมาแปะไว้ในที่นี้เลยก็แล้วกัน
(ใครอยากอ่านต้นฉบับ
คลิกไปอ่านได้ที่นี่ )
==สื่อทีวี 2 ช่อง==
เทียบฟอร์มนักมวย 2 คน จากธุรกิจสื่อทีวี
แชมป์เก่า BEC ช่อง 3 เจ้าของท่าไม้ตาย ครอบครัวข่าว ละครก่อนข่าว และละครหลังข่าว
เจอกับ
ผู้ท้าชิงฟอร์มสด เจ้าของกระบวนท่่าพิสดาร หน้ากากนักร้อง และชิงช้าสวรค์ ไมค์ทองคำ... WORK เวิร์คพ้อยต์ ช่อง 23
ปี 58 ... BEC มีกำไรเป็น 20 เท่า ของ WORK
ปี 59 ... ฺBEC มีกำไรเป็น 6.13 เท่า ของ WORK
ดูตามนี้ วิเคราะห์ได้เร็วๆว่า
ก. BEC กำไรลดลง
ข. WORK กำไร เพิ่มขึ้น
ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.
แน่นอนว่า ตามรูปที่แปะ ตอบข้อ ค.
เมื่อแกะรอยการเคลื่อนไหวของราคา นับจากประมูลทีวีดิจิตอลเป็นต้นมา 3 ปี
WORK ขึ้นมาแล้ว 200%
BEC ลงมาแล้ว -68%
นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า
1. แม้อุตสาหกรรมจะแย่ ... แต่ผู้ชนะที่กิน Market Share ของรายอื่นๆ ขยับขึ้นอันดับสูงขึ้นๆ เพิ่มเรทติ้ง สร้างรายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม... ก็ยังเป็นหุ้นที่น่าลงทุนได้
2. หู้นที่เคยเป็นผู้นำตลาด แม้จะยังรักษาตำแหน่งทางการตลาดที่ No.1 ไว้ได้ แต่! ... รายได้ลด กำไรลด ... ในทางปัจจัยพื้นฐานแล้ว นับเป็นวิกฤต
3. อย่าติดกับดักเงินปันผล ... ผู้ลงทุนที่มองแต่ช่องเงินปันผล มีความเสี่ยงมากที่จะโดนลวงตา เพราะเงินปันผลเป็น lagging indicator คือ มันคิดเงินปันผลของปีที่แล้ว เทียบกับราคาในปัจจุบัน ดังนั้น %Dividend Yield (Dividend/Share Price) ที่เพิ่มขึ้น มันไม่ได้มาจากเงินปันผลที่เพิ่ม ... แต่มันมาจากราคาหุ้นที่ลดลงต่างหาก อย่าให้เลข %Div ลวงตา มีหุ้นในตลาดมากมายที่มีอาการนี้
4. เนื่องจากไตรมาส 4 ที่ผ่านมามีเหตุการณ์พิเศษ ดังนั้น ผู้นำตลาดอย่าง BEC จึงโดนกระทบมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะงบ Q4 ที่โดนเต็มๆ ทั้ง 3 ช่อง... คำถามสำคัญคือ รายได้โฆษณา จะกลับเป็นปกติไหม? และเมื่อไหร่? อะไรคือจุดสมดุลที่งบการโฆษณา จะยังคงอยู่กับทีวี? (งบโฆษณาบนทีวี ไม่ได้หดตัวแรงๆแบบพวกนสพ. นิตยสาร นะ เอาอนาลอค+ดิจิตอล ยังยืนได้) ... เมื่อถึงจุดนั้นก็น่าสนใจกลับมาดู ... ถ้าไม่เห็นจุดนั้น ก็ไปตามดูหุ้นกลุ่มอื่นก่อนก็ได้
5. ในอนาคต ช่องทีวีก็คือคนทำ content ด้วย...ไม่ใช่เจ้าของ platform อย่างเดียว ดังนั้น ช่องทีวีที่รับความเปลี่ยนแปลงได้เร็ว มองหาวิธีทำเงินจาก Digital Platform อื่นๆ โดยเฉพาะสร้างรายได้จาก Youtube, Facebook จึงเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะบอกว่า หุ้นตัวนั้นจะดูดีในระยะยาวหรือไม่
ทำให้ผมนึกถึงประเด็นของ Netflix ที่เข้ามาแทน Blockbuster
คือความเป็น Online จะเป็นตัวพลิกเกมส์ ใครปรับตัวไว คนนั้นสามารถกินแชร์ตลาดในเวลาอันสั้นได้เลย
ก็ไม่ได้อยู่ๆแล้วนึกขึ้นได้หรอก เคยอ่านเจอที่พี่ Mark Minervini บอกไว้ในหนังสือ
กระนั้น, ผมก็ไม่แน่ใจนะว่ามันจะเทียบกันได้หรือไม่
มาดูอีกประเด็น คือบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์หลากหลายค่าย
(1) หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ให้ราคาเหมาะสม 66 บาท
(2) หลักทรัพย์AEC ให้ราคาเหมาะสม 56 บาท
(3) หลักทรัพย์AEC ให้ราคาเหมาะสม 58 บาท
(4) หลักทรัพย์ธนชาตฯ ปรับเพิ่มประมาณการกำไร ขึ้น 10-15% เป้าหมายพื้นฐานใหม่ที่ 62 บาท
ที่มา
settrade.com
เหตุผลคือ
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ธนชาตฯ ปรับเพิ่มประมาณการกำไร ขึ้น 10-15% ในปี 2560-2561 แนะนำซื้อ WORK เรตติ้งที่ดีขึ้น หนุนการขึ้นค่าโฆษณา ให้ซื้อ WORK ด้วยเป้าหมายพื้นฐานใหม่ที่ 62 บาท ด้วยปัจจัยสนับสนุนจาก
1) เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปีก่อน ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มสื่อโดยตรง
2) กำไร WORK ไตรมาส 4 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และคาดว่า จะแข็งแกร่งต่อเนื่องในไตรมาส 1 และ 2 ในปีนี้ จากเรตติ้งที่ดีขึ้น
โดยบางช่วงของ Prime Time มีเรตติ้งสูงเป็นอันดับ 2 รองจากช่อง 7 เพียงช่องเดียว และการขึ้นค่าโฆษณาตั้งแต่ต้นปี 2560 และส่วนรายได้จากธุรกิจออนไลน์ผ่าน YouTube มีแนวโน้มมากกว่าที่คาดไว้เดิม จากเรตติ้งที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน
“กำไรเติบโตเด่น 192% ปีนี้เป็น 579 ล้านบาท และ 41% เป็น 816 ล้านบาท ในปี 2561 ขณะที่ ถ้าพิจารณาในทางเทคนิคอิง TradeCode อยู่ที่ Let Profit Run เป้าหมาย 54.25 และถัดไปที่ 59.5 บาท ขณะที่ สัญญาณทางเทคนิค 4 ใน 5 ตัวบ่งชี้ทิศทางขาขึ้นต่อไป” นักวิเคราะห์ธนชาต ระบุ
ด้าน บล.บัวหลวงฯ WORK เป็นหนึ่งในผู้เล่นดิจิทัลที่ชื่นชอบ จากเรตติ้งที่ยังคงรักษาอันดับ 1 ในกลุ่มผู้เล่นทีวีดิจิทัลรายใหม่ได้อย่างแข็งแกร่ง ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกำไรที่สม่ำเสมอ
ที่มา
เว็บฐานเศรษฐกิจ
หุ้นฮ็อต!! : WORK เดินหน้าทำ All Time High เก็บตอนไหนถึงจะเวิร์ค?
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -24 มี.ค. 60 14:02 น.
WORK ทำ All Time High วอลุ่มเทรดมากกว่าปกติ หลัง "The Mask Singer" สุดยอดเรียลลิตี้มิวสิคโชว์ ดึงเรทติ้งช่วงไพรม์ไทม์ขึ้นอันดับ 1 แซงหน้าช่อง 3-7 ส่งผลขึ้นค่าโฆษณาได้แล้ว 35% ตั้งแต่ต้นปี วงการคาดกำไรปีนี้พุ่ง 160-196% แต่ต้องจับจังหวะเข้าลงทุน เหตุราคาจ่อพื้นฐานแล้ว
บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ราคาพุ่งทำ All Time High ต่อเนื่อง พร้อมวอลุ่มหนาแน่น แม้รายการ "The Mask Singer" รอบแชมป์ชนแชมป์ จะสร้างความผิดหวังให้กับคนดูเมื่อคืนนี้ โดยเปิดที่ 58 บาท ก่อนพุ่งแตะ 59.50 บาท ก่อนปิดการซื้อขายภาคเช้าที่ 58.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 0.87% ปริมาณหุ้นที่ซื้อขายเพิ่มขึ้นเกือบ 400% เทียบค่าเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า ตามฟังก์ชั่น F6 โปรแกรม eFinStockPickUp
WORK เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และซื้อลิขสิทธิ์รายการ นำมาออกอากาศในช่องโทรทัศน์ของบริษัท หมายเลข 23 ช่อง "WORKPOINT" หลายรายการรู้จักกันในวงกว้าง เช่น "ไมค์ทองคำ" "ปริศนา ฟ้าแลบ" และละครซีรีส์ "พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก" เป็นต้น
ผลการดำเนินงานของ WORK แม้กำไรจะลดลงเหลือเพียง 20 ล้านบาทในปี 57 หลังทุ่มเงินประมูลทีวีดิจิทัล แต่ก็สามารถพลิกกลับได้อย่างรวดเร็วในปี 58 จากคอนเทนต์ของช่องที่โดนใจคนดู โดยในปี 58 กำไรสุทธิโต 686% มาอยู่ที่ 163 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 198 ล้านบาท (+21.37%) ในปี 59 แม้ Q4/59 จะขาดทุนจากรายได้ที่ลดลงในช่วงไว้อาลัย แต่ก็เป็นหนึ่งในน้อยช่องทีวีดิจิทัลที่ยังสามารถทำกำไรทั้งปีได้
และที่เป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ในขณะนี้ คือ "หน้ากากนักร้อง : The Mask Singer" รายการเรียลลิตี้เกมโชว์และมิวสิกโชว์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากเกาหลีใต้ ได้สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับคนไทย และส่งผลให้หุ้น WORK ถูกจับตาอีกครั้ง! โดยเฉพาะเมื่อคืนนี้ ที่เรียกกระแสดราม่าตลอดช่วงเช้าวันนี้ หลังสร้างความผิดหวังให้กับผู้ชมในรอบแชมป์ชนแชมป์
ท่ามกลางความผิดหวังของคนดู แต่ The Mask Singer กลับสามารถสร้างเรทติ้งของช่องเวิร์คพอยท์ให้เพิ่มขึ้นไปอีก หลังได้ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ นับตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และดูเหมือนยิ่งดราม่าเพียงใดก็ยิ่งเพิ่มเรทติ้งให้ WORK มากขึ้นไปเท่านั้น
จึงต้องนับว่า WORK เริ่มไตรมาสแรกของปีได้อย่าง "สวยงาม" สวนทางสถานการณ์ปกติที่ Q1 จะเป็นโลว์ซีซั่น โดยนักวิเคราะห์คาดว่าปีนี้กำไรของ WORK จะเติบโตได้ราว 160-196% จากการขึ้นค่าโฆษณาได้เร็วกว่าคาด ตามเรทติ้งที่เพิ่มขึ้นจากรายการ The Mask Singer ประเมินราคาเป้าหมาย 50.50-66 บาท
บล.ทิสโก้ คาด Q1/60 กำไรสุทธิของ WORK จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จากรายได้ธุรกิจทีวีที่กลับมาเพิ่มขึ้นจากอัตราการเช่าช่วงเวลาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 50% และอัตราค่าโฆษณาที่ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 62,000 บาท/นาที และการขายแยกรายการที่มีเรตติ้งสูงกว่า 13 รายการ ได้ปรับค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นราว 33% เป็นเฉลี่ยที่ 2 แสนบ./นาที ประเมินกำไรสุทธิปี60 โต 159% แนะ "ซื้อ" เป้าหมาย 62 บาท
บล.เคจีไอ ระบุว่า เรตติ้งของบริษัทในช่วงไพรม์ไทม์ (18.00 – 22.30 น.) ล่าสุดแซงหน้าช่อง 3 แล้ว และกลายมาเป็นช่องทีวีที่มีเรทติ้งสูงเป็นอันดับ 2 ในบรรดาทีวีดิจิทัลทั้งหมด 25 ช่อง โดยเรทติ้งรายการที่สูงที่สุดคือรายการ "หน้ากาก นักร้อง" ทั้งนี้ คาดว่ากำไรสุทธิจะโตถึง 196% YoY ในปี60 หรือแตะ 588 ล้านบาท และโต 48% ในปี61 อยู่ที่ 870 ล้านบาท
บล.บัวหลวง มองว่า WORK มีกำไรโตสม่ำเสมอ และ Q1/60 เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของปีนี้ เพราะเรทติ้งทีวีดิจิทัลอยู่ในระดับสูงสวนทางกับปกติที่ไตรมาสแรก จะเป็นช่วงโลซีซั่นของธุรกิจมีเดีย แนะนำหาจังหวะย่อตัวและเข้าสะสมอีกครั้ง และยังคงคำแนะนำ ถือ เนื่องจากราคาขยับขึ้นมามากแล้วจากเป้าพิ้นฐานที่ 50.50 บาท
บล.ธนชาต แนะ "ซื้อ" WORK ด้วยเป้าหมายพื้นฐาน 62 บาท จากการเป็นหุ้นเติบโตสูง เม็ดเงินโฆษณาผ่าน Digital TV ขยายตัวดีกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก rating ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และปรับขึ้นค่าโฆษณาขึ้น 35% ตั้งแต่ต้นปี หนุนผลการดำเนินงาน Q1/60 และคาดการณ์กำไรทั้งปีโต 192% ที่ 579 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น WORK ที่พุ่งแรงกว่า 35% ตั้งแต่ต้นปี จนทำจุดสูงสุดตลอดกาล All Time High ที่ 59.50 บาท ทำให้การลงทุนต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะแม้โดยรวมเวิร์คพอยท์ อาจจะเป็น "หุ้นน้ำดี" แต่อาจจะยังไม่เวิร์คที่จะเข้าซื้อในจังหวะนี้ เว้นแต่จะเข้าเก็งกำไรในระยะสั้น ซึ่ง บล.ทรีนีตี้ ให้แนวรับที่ 56.75 บาท และแนวต้าน 59.00 บาท
เป้าหมายของปีนี้(2560) ที่ทีมผู้บริหารวางเป้าหมายไว้ล่ะ
เวิร์คพอยท์เสริมทัพฟอร์แมทรุกสื่อออนไลน์’
คือจะทำให้เรตติ้งสูงขึ้น เพื่อจะได้ปรับค่าโฆษณาได้ จากเดิม 5 หมื่นต่อนาที เป้าคือ 6.5 - 7 หมื่นบาท/นาที โตอย่างน้อย 30%)
ส่วนยูทูป ทำรายได้กว่า 60 ล้านบาทปีนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดอยู่ที่ 80 ล้านบาท(33%) และมีโอกาสสร้างรายได้จากช่องทางเฟซบุ๊คที่จะเปิดตัวโฆษณา pre-roll วีดิโอคอนเทนท์ในปีนี้
“แนวทางทำงานปีนี้เวิร์คพอยท์ จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ชมคอนเทนท์ในทุกช่องทาง และเก็บผู้ชมจากทุกจอ ทั้งจอทีวีและออนไลน์ แพลตฟอร์มที่เติบโตจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียล มีเดีย”
เวิร์คพอยท์ขึ้นโฆษณารายการฮิตพุ่ง4.2แสน/นาที
28 มีนาคม 2560 5176
“เวิร์คพอยท์”ขยับราคารายการเรทติ้งพุ่ง 10% เม.ย.นี้ ประเดิม2 รายการ “หน้ากากนักร้อง-ไอแคนซี ยัวร์ วอยซ์” ราคาเสนอขายแตะ 4.2 แสนบาท/นาที
มีเดีย เอเยนซี รายงานว่าหลังจาก 2 รายการ ทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี คือ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง และ I can see your voice มีเรทติ้งผู้ชมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดรายการหน้ากากนักร้อง (วันที่ 23 มี.ค.)เรทติ้งทั่วประเทศ อายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 13.8 ส่วนรายการ ไอ แคน ซี ยัวร์ วอยซ์ (วันที่ 22 มี.ค.)อยู่ที่ 6.7
ส่งผลให้เวิร์คพอยท์ประกาศปรับราคาโฆษณาทั้ง 2 รายการอีกครั้งในเดือน เม.ย.นี้ จากเดิมราคาเสนอขาย(rate card) อยู่ที่ 3.8 แสนบาท/นาที เพิ่มเป็น 4.2 แสนบาท/นาที หรือปรับขึ้น 10%
โดยก่อนหน้านี้ เวิร์คพอยท์ได้ประกาศปรับราคาโฆษณาตั้งแต่ ม.ค.2560 เพิ่มขึ้น ราคาเฉลี่ยทั้งช่อง จากนาทีละ 50,000 บาท เป็น 55,000 บาท
สำหรับรายการหน้ากากนักร้อง ซีซัน2 ที่จะเริ่มในวันที่ 6 เม.ย.นี้ เวิร์คพอยท์ขายโฆษณาเต็มเวลาแล้ว
การปรับราคาโฆษณา 2 รายการล่าสุดที่ 4.2 แสนบาท/นาที ดังกล่าว ถือเป็นการขยับราคาใกล้เคียงกับราคาละครไพรม์ไทม์ช่อง 3 และช่อง 7 ที่มีราคาโฆษณาเสนอขาย อยู่ที่ 4.8-5 แสนบาท/นาที
นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีภาพรวมเรทติ้งทีวีขยับขึ้นหลายรายการ ทั้งกลุ่มรายการประกวดร้องเพลง ไมค์ทองคำ, ไมค์หมดหนี้ ,ชิงร้อยชิงล้าน
ทั้งนี้ 2 รายการที่เรทติ้งปรับขึ้นสูง คือ The Mask Singer และ I can see your voice ทำให้มีความต้องการลงโฆษณาเข้ามาจำนวนมากและสามารถปรับราคาโฆษณาได้เพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.นี้ พร้อมกันนี้จะเพิ่มผังรายการใหม่ในไตรมาส 2 เกือบทุกเดือน เช่น รายการ My Little TV ซึ่งเป็นรูปแบบการผสานวิธีนำเสนอคอนเทนท์ 2 หน้าจอ ทั้งจอทีวีและออนไลน์เข้าด้วยกัน
นอกจากนี้เตรียมผลิตรายการใหม่ประเภทวาไรตี้ นำเสนอเฉพาะช่องทางออนไลน์ ทั้งยูทูบ แชนแนล และเฟซบุ๊ค ซึ่งจะทยอยเปิดตัวช่วงไตรมาส2 และ 3 เป็นต้นไป การพัฒนาคอนเทนท์ออนไลน์ดังกล่าว เนื่องจากเห็นโอกาสจากการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งมีคอนเทนท์หลายรูปแบบที่เหมาะกับช่องทางออนไลน์ แต่อาจไม่เหมาะกับสื่อทีวี
ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมทั้งยูทูบและเฟซบุ๊ค ถือที่เป็นคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ ทำให้มีโอกาสทำงานร่วมกับลูกค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เดิมปีนี้วางเป้าหมายรายได้ออนไลน์ไว้ที่ 80-90 ล้านบาท แต่ตัวเลขผู้ชมผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งมีแผนนำเสนอวีดิโอคอนเทนท์ผ่านเฟซบุ๊คเพิ่มขึ้นในปีนี้ และการผลิตรายการเฉพาะช่องทางออนไลน์ ดังนั้นมีโอกาสปีนี้จะทำรายได้แตะ 100 ล้านบาท ขณะที่รายได้หลักจากโฆษณาทีวีปีนี้อยู่ที่ 2,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%
ทางด้านกราฟล่ะ (ทำไว้เมื่อ 2 มีนาคม 2560)
เห็นความต่างกันมั้ยครับ
SET กำลังดีดข้าม EMA20 อันสื่อว่าเพิ่งฟื้นตัวจากขาลง
แต่ WORK ดีดไปทำนิวไฮได้แล้วครับ
สิ่งนี้แสดงว่า WORK มีความแข็งแกร่งกว่า SET มาก
ซึ่งมีโอกาสจะเป็นหุ้นผู้ชนะได้ไม่น้อย
ล่าสุด ผมไปเห็น
เพจ Aspen Thai ทำกราฟราคาหุ้น ที่ล้อกับรายการ The Mask Singer ตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศ จนถึงวันนี้ ก็จะเห็นว่า ราคาวิ่งขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างมีพลังแฝงบางอย่าง
แต่กระนั้น อย่าเพิ่งกระโจนเข้า คิดให้รอบด้านก่อน
เพราะอาจารย์นิเวศน์ ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า อุตสาหกรรมทีวี อาจจะไม่ใช่ดาวเด่นอีกต่อไป
เพราะมันไม่มี Moat หรือกำแพงกั้นผู้เข้ามาใหม่อีกแล้ว แถมสามารถเข้ามาได้ทุกทิศด้วย จากออนไลน์
VIDEO
ค่า PE ไม่ควรแพงเกินไป 30 ก็หรูแล้ว
กระนั้น........
แม้ว่าสื่อดิจิทัลจะทวีความร้อนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่อีไอซี(
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ )มองว่าทีวีจะยังคงไม่ได้รับผลกระทบจากสื่อดิจิทัลไปอีกอย่างน้อย 3-4 ปี เนื่องจากทีวีสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างกว่าสื่อดิจิทัล ประกอบกับสื่อดิจิทัลยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวัดผลและประสิทธิภาพของโฆษณา การปั่นยอดเข้าชมโฆษณา (ad fraud) ตลอดจนการกดข้ามโฆษณาก่อนชมวิดีโอ ทำให้บริษัทและเอเจนซี่โฆษณาบางแห่งลังเลที่จะทุ่มเงินโฆษณาลงสื่อดิจิทัลเพียงสื่อเดียว
ทั้งนี้ จากกรณีศึกษาของประเทศพัฒนาแล้วที่ดูฟรีทีวีเป็นหลักเช่นเดียวกับไทย เช่น ฝรั่งเศส และอิตาลี ต่างพบว่าทีวียังคงครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุด และไม่ได้มีสัดส่วนที่ลดลงเลยแม้แต่น้อย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับไทย ส่วนสื่อที่ได้รับผลกระทบจากสื่อดิจิทัลโดยตรงกลับเป็นสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ ที่มีสัดส่วนของเม็ดเงินโฆษณาลดลงราวปีละ 2-3% สะท้อนให้เห็นว่าทีวีจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากสื่อดิจิทัลในระยะสั้น โดยอีไอซีประเมินว่ากว่าสื่อดิจิทัลจะเข้ามาแย่งชิงค่าโฆษณาจากทีวีได้ อาจต้องใช้ระยะเวลานานถึง 3-4 ปี เลยทีเดียว
ที่มา
สงครามเรตติ้งชิงเงินโฆษณา
21 March 2017