การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

เทรดแบบ Hongvalue

คุณ HongValue หรือ  สถาพร งามเรืองพงศ์ นี่ ผมถือว่าเป็นนักลงทุนที่มีแนวคิดที่น่าสนใจมากนะครับ
ชื่อเสียงของเขาเคยดังมากพักนึง ตอนที่วิธีการลงทุนแนววีไอกำลังบูมมากๆ
และก็ได้ออกหนังสือ 2 เล่ม ชื่อ
รวยได้ด้วยหุ้น โดยเซียนหุ้นอัจฉริยะ
กับ รวยหุ้นได้จริง โดยเซียนหุ้นอัจฉริยะ เล่ม 2


แต่หลายปีมานี้ ผมไม่ค่อยได้เห็นข่าวของเขามากนัก
เพิ่งมาเห็นอีกทีก็เป็นรายงานจากตลาดหลักทรัพย์ว่าได้เข้าซื้อหุ้นตัวหนึ่งเพิ่มเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่ตัวแรกหรอก ถ้าคุณไปค้นให้ดีๆจะเห็นชื่อเขาติดเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หลายบริษัท

นับเป็นนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมากคนหนึ่งในบ้านเรา

พอว่างๆ ผมก็เลยกลับไปดูคลิปเก่าๆที่คุณฮงเคยให้สัมภาษณ์รายการทีวี แล้วเอามาสรุปแนวคิดเอาไว้

ก็ไม่แน่ว่าปัจจุบันนี้เขาจะเปลี่ยนแนวทางแล้วหรือไม่นะ เพราะไม่ค่อยมีข่าว









ดูภาวะอุตสาหกรรมก่อน ว่าตัวไหนจะดี
ต่อมาก็จะไปสแกนแผนธุรกิจว่าบริษัทไหน เพิ่มกำลังการผลิต ตัวไหนแกร่งสุด

ถ้าเล่นหุ้นในอุตสาหกรรมที่ไม่ดี แล้วจะไปหาตัวดีๆในนั้น เราจะกำไรยากมาก
เกาะในอุตสาหกรรมที่โดดเด่น แล้วไปเลือกตัวที่ดีสุดในกลุ่ม

ถือหุ้น 5 - 8 เดือน แต่ก็ไม่ fix ถ้าราคาขึ้นไปถึงเป้าหมายไวกว่านั้นก็จะขาย
หาหุ้นที่จะวิ่งขึ้นแรงๆในเวลาไม่นาน
ไม่แช่เงินเอาไว้ในหุ้นที่ไม่เติบโต เพราะจะเสียโอกาส



ดูอุตสาหกรรม
หาบริษัท หาสตอรี่แผนการเติบโต เช่น ขยายกำลังการผลิตเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์จากเดิม จะขายยังไง ขายได้มั้ย มีความต้องการซื้ออยู่จริงหรือเปล่า
 D/E สูงมั้ย ไม่ชอบการเพิ่มทุน
คัดเอาบริษัทที่จะโตแบบมีคุณภาพจริงๆ คือขยายการผลิตอย่างโดดเด่น มีความต้องการซื้อรออยู่ และ ไม่เพิ่มทุน ที่สำคัญ อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต

ใช้กราฟเพื่อหาจังหวะซื้อ
ซื้อเมื่อราคาหุ้นทะลุแนวต้าน เพราะเชื่อว่า "ของดี คนจะแย่งกันซื้อ"
แนวต้านเดิม มีคนติดหุ้นอยู่ กำลังขอชีวิตคืน เมื่อราคากลับขึ้นไปถึงต้นทุนของพวกเขา ก็จะขายออกมา
ดังนั้นแนวต้านเดิม จะผ่านยาก
แต่เมื่อมันผ่านแนวต้านที่แข็งแกร่งได้แล้ว ผนวกกับบริษัทนั้นมีแผนการเติบโตที่มีคุณภาพด้วย
แบบนี้เรามีสิทธิ์ได้หุ้นที่จะวิ่งเร็วๆแรงๆ ในเวลาไม่นาน
ย้ำว่าต้องซื้อตอนที่มันเพิ่ง breakout นะ ไม่ใช่ผ่านไปแล้วเป็นเดือน วิ่งไปไกลแล้วจึงคิดเข้า



สรุปขั้นตอนกันอีกทีนะ
๑) ดูพื้นฐานมาก่อน เก็บไว้ในลิสต์
๒) ต่อมาจึงเฝ้ากราฟ รอจังหวะ breakout แนวต้านสำคัญ

Breakout หลอกก็เจอบ่อย
เมื่อดูงบก็พบว่าไม่ได้ดีดั่งคาด ก็ขายออก
ขาดทุนเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องให้น้อยที่สุด
ยามกำไร ก็ต้องกินคำใหญ่ๆเท่าที่จะทำได้
ขาดทุนเสียให้น้อย พอกำไรก็เอาให้เยอะๆ

Stop loss ไม่เกิน 8%
ตัดขาดทุนไว ทำให้เงินไม่ไปจมอยู่ในหุ้นที่ไม่ขึ้น
ถ้าคัทแล้วเด้ง ก็ต้องทำใจ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ต้องควบคุมความเสี่ยง
เนื่องจากตอนที่มันหลุดแนวรับลงไป เราก็ไม่รู้ว่ามันจะเด้งกลับมาได้ตอนไหน
แล้วถ้ามันลงต่อไปเรื่อยๆล่ะ ยิ่งเสียหายหนัก



จะขายเมื่อไหร่
มีหลายแบบ
๑) เมื่อกำไรออกมาไม่ดีอย่างที่คิด ก็ขายออก แม้ราคาจะวิ่งขึ้นก็ตาม เพราะมันฟลุ๊ค
๒) เมื่อราคาวิ่งไปถึงเป้าหมาย ก็ขายเช่นกัน

กำไรอย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 30%
ถ้าจะเอาแค่ 5-10% ก็จะไม่คุ้มค่าเสี่ยง เพราะตั้งขาดทุนที่ 8%
หากขาดทุน 3-4 ตัว แล้วไปกำไรตัวเดียวก็ cover หมด
เมื่อ limit ขาดทุน(ข้างล่าง)ไว้แล้ว 8% เมื่อกำไร(ข้างบน)ก็จะต้องขอเยอะๆหน่อย



ในสนามการเล่นหุ้น "เราเลือกได้"
เงื่อนไขก็ต้องตั้งไว้สูงๆหน่อย เพื่อ safe ตัวเอง

การทบต้นสำคัญกว่า let pro fit run
ถ้าหุ้นตัวที่ถืออยู่ มี upside เหลือน้อย แล้วไปพบอีกตัวที่มองว่ามีโอกาสขึ้นแรงกว่า มี upside มากกว่าก็จะย้ายตัว

กราฟกับพื้นฐานควรจะไปด้วยกัน
ถ้าหุ้นดีจริง กำไรติบโต แผนธุรกิจที่ทำได้จริง นักลงทุนเริ่มมองเห็น แต่ราคาไม่ยอมวิ่ง กลับดิ่งลง คุณฮงจะไม่ยอมทนถือ เพราะถ้ามันอาจเป็นสัญญาณว่าเขาคิดผิด

โลกของการลงทุนไม่มีอะไรเป๊ะๆ เพียงแต่เวลาที่เรากำไรก็ต้องเอาเยอะๆ คิดได้แบบนี้จะสบายใจ
ถ้ามัวแต่กลัว ขายแล้วไปต่อ คัทแล้วเด้ง เราก็จะทุกข์ตลอดเวลา



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ


www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ