คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม

Image
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี กล่าวว่า “หากคุณต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม” การเป็นนักเทรดที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอไม่ได้หมายถึงการชนะทุกครั้งที่คุณเข้าเทรด แต่หมายถึงการมีวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดเพื่อให้คุณสามารถปกป้องทุนของคุณและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว  นี่คือการขยายความแนวคิดที่ว่า "การเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม" สำคัญอย่างไร: eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://t.co/YaO0CIQq8J 1. ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ในตลาดการเงิน ไม่มีใครสามารถควบคุมผลลัพธ์ของแต่ละการเทรดได้ การเคลื่อนไหวของตลาดขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความสำเร็จจึงไม่ได้มาจากการ "เดาถูก" แต่เป็นการรู้วิธีจัดการความเสี่ยงเมื่อคุณ "เดาผิด" ตัวอย่าง:   สมมติว่าคุณมีเงินทุน 100,000 บาท หากคุณใช้เงินทั้งหมดในการเ

EMA20 Dip แล้วเด้ง


สัปดาห์ที่ผ่านมา SET มันอึมครึมมาก เคลื่อนที่ในทางลงมากกว่าขึ้น
ด้วยความที่สไตล์ผมคือ follow buy หุ้นที่ราคาขึ้นไปทำนิวไฮ
เมื่อเจอตัวไหนที่ breakout ก็ต้องตามทันที

ปรากฎว่า ช่วงที่ผ่านมา ผลประกอบการ "เละเป็นโจ๊ก" เลยครับ



คือหุ้นที่เราคิดว่าจะแรงสวนตลาดต่อไป วันถัดมามันกลับเหี่ยวปวกเปียก
ร่วงลงไปเล่นในกรอบราคาเดิมเสียฉิบ
บางตัวลงหนักร้ายแรงมากจนหลุด stop ต้องขายขาดทุนออก

พอว่างๆ จึงมานั่งเช็คหุ้นที่ตัวเองเข้าพลาดเหล่านั้น ดูย้อนหลังว่าเราพลาดตรงไหน
ก็พบความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ

เลยต้องปรับกลยุทธ์การเข้าซื้อเสียใหม่ ให้ปลอดภัยกว่าเดิม
ก็ได้ผลที่น่าพอใจอยู่
จึงเป็นที่มาของบทความนี้ คือ EMA20 Dip แล้วเด้ง

เดี๋ยวลองอ่านกันดูครับ ว่ามันมีไอเดียอะไรที่เอาไปปรับใช้กันได้บ้าง

ดูกราฟตัวอย่างที่สนับสนุนแนวคิดนี้กันก่อน
เริ่มที่ SIMAT นะ
(เครดิตกราฟจากเว็บ siamchart.com)
(1) ครั้งแรกเลย เราเห็นมันข้ามขึ้นไปทำนิวไฮ ก็ follow buy แต่ดันยืนไม่อยู่
แถมร่วงแรง จนต้องตัดขาดทุน
(2) พอลงหนักก็หยุดบนเส้น EMA20 ด้วยวอลุ่มที่น้อยลง ที่สำคัญวันถัดมา เจอขายทำแท่งแดงสั้น+การซื้อขายแทบไม่มีเลย(3)
อีกวันก็เขียวแท่งสั้น วอลุ่มมากกว่าเดิมนิดนึง ดูอ่อนแรง
แล้ววันต่อมาก็มีงัดเขียวยาวขึ้น 2 แท่งติด
สาย follow buy จะได้จังหวะที่ใช่คือ แท่งที่ 2 ผ่านไฮก็ตามทันที
และก็ได้สิทธิ์ดอยในวันต่อมาแบบไม่ต้องรอนาน

(แต่ follow buy ครั้งล่าสุดนี่ ไม่การันตีว่าจะเป็นแบบเดิมนะ ต้องรอดูต่อไป ผมทำกราฟ 1/3/2560)

อีกตัวนึง WINNER
(1) เห็นราคาทำนิวฮได้ ก็ follow buy ผลก็ดูเหมือนจะดีนะ ราคาวิ่งขึ้นไปได้อีก 2 แท่ง
แต่จากนั้นก็เกิดอาเพศ ทำแท่งแดงทิ้งไส้บนยาว แล้วก็พยายามเขียวเด้งขึ้น แต่ไม่นิวไฮ (ทำ whipsaw)
(2) แต่ก็อ่อนแรงลงต่อแบบวอลุ่มน้อย(3) ไปหยุดบน EMA20
แล้วจากนั้นก็ทำแท่งเขียวยาว 2 แท่งขึ้นไปให้เราได้ follow buy อีกที่จุด (4)
เหมือนถูกฟ้าแกล้ง ราคาไม่ยอมไปต่ออีกโดนขายกดลงมาหนักหน่วงปิดเท่าที่เคยเปิด และวันต่อๆมาก็ลงต่อ พอโดนกดลงไปแตะ EMA20 ก็มีแรงซื้อคืนต่อเนื่องจนทิ้งไส้(5) วอลุ่มก็ลดลงจนแห้ง(6)
กระทั่งเมื่อวาน SET กลับมาบวก ราคาก็เลยดีดแรงกลับตัวตาม

จุดร่วม
จากตัวอย่างทั้ง 2 ตัวจะเห็นจุดร่วมที่คล้ายกันคือ
1) เริ่มต้นที่ราคาทำแท่งเขียวยาว วอลุ่มสูง ข้ามกรอบราคาสะสมขึ้นมา(มีการจุดพลุเรียกแขก)
พอเห็นแล้วก็รู้เลยว่ากระทิงมากต้องไปต่อแน่ๆ
2) แต่มันดันกวนตีน ตอนเปิดวันต่อไปดูงดงามมาก เหมือนจะไปต่อ แต่กลายเป็นล่อไปให้โดนตบคว่ำ
3) ช่วงที่ราคาย่อ มันลงไปหยุดบนเส้นค่าเฉลี่ย EMA20 ด้วยวอลุ่มที่แห้งลงไปมากมาย
4) จากนั้นอีกไม่กี่วันก็ทำแท่งเขียวยาววอลุ่มสูง ขึ้นไปทำนิวไฮได้อีก
ถ้าเดาไม่ผิด 5) ก็จะล่อคน follow buy ไปตบอีกรอบ ทำซ้ำแบบนี้จนกว่าจะเปลี่ยนนิสัย



สรุปสั้นๆคือ 
1) เริ่มด้วยการไล่ราคาแรงๆเรียกแขก วอลุ่มสูง
2) ย่อลงมาเด้งบนหรือไกล้ๆ EMA20 วอลุ่มน้อยลง
3) ไปต่อทำนิวไฮได้อีก วอลุ่มสูง

ตัวอย่างอื่นๆ อีกหลายตัว
ก็ให้โฟกัสที่ EMA20 เส้นค่าเฉลี่ยสีฟ้าเข้ม แท่งราคา และวอลุ่มข้างล่างนะ











จิตวิทยาของการทำราคา
มาถึงประเด็นเสริม เกี่ยวกับจิตวิทยา ว่าทำไมต้องย่อลงไปเด้งไกล้ๆ EMA20
ผมมองว่ามันเป็นกระบวนการ "ย่อยแรงขาย" ของ Market maker นะ

เพราะว่า ก่อนที่ราคาจะย่อแล้วเด้งแบบนี้ มันเริ่มต้นการกระชากไล่ราคาแบบแรงๆให้ชาวโลกเห็นก่อน
ภาษานักเล่นหุ้นเขาเรียกว่า "ไล่ราคาเรียกแขก"

เมื่อราคาวิ่งร้อนแรง ก็ต้องมีการขายสวนต้านการซื้อทุกจังหวะ

เมื่อคนทำราคา เค้าไล่ซื้อถึงระดับหนึ่ง แล้วเจอขายใส่หนักๆ ก็จะหยุดซื้อ
ปล่อยให้คนอยากขาย ขาย ขาย
หยุดซื้อเพื่อรอดูกำลังของฝั่งตรงข้าม

แต่ในใจจะมีระดับราคาช่วงหนึ่งที่ตั้งเอาไว้




การย่อเพื่อไปต่อ
เหตุผลง่ายๆนะ ถ้าจะไปต่อได้เร็วๆ ต้องย่อตื้นๆ พอเด้งจะไปนิวไฮได้ทันที

แต่จะดูยังไง?

หากใครที่ใช้ Fibonacci บ่อยๆ
จะรู้ว่าระดับย่อที่ไปต่อได้แรงๆคือ 23.6% นี่เด้งไวและแรงมาก
ต่อมาคือ 38.2% ก็ยังฟื้นตัวได้ง่าย
พอลึกถึง 50% นี่ ก็ลึกเกินไปนิด ต้องโขยกกันหลายสเต็ป

ถ้าคนทำราคา ตั้งใจจะทำราคาให้ไปต่อภายในเวลาไม่กี่วัน
เขาจะไม่ให้ราคาร่วงเยอะ
23.6% กับ 38.2% นี่จะเป็นมาตรฐาน
50% ก็พอได้อยู่
ลึกเกินไปกว่านี้ก็ไม่ไหว ต้องใช้พลังเยอะ

ถ้าใครใช้ฟีโบไม่เป็นก็แนะนำให้ดู EMA แทน
ถ้าเด้งไวก็ย่อไปหยุดบน EMA5 และ EMA10 ตามลำดับ พวกนี้เด้งแท่งเดียวก็นิวไฮได้เลย
ส่วน EMA20 นี่ก็ถือว่ายังพอไหว จะนิวไฮก็ต้อง 2 แท่งเป็นอย่างน้อย
ส่วน EMA50 นี่ก็ออกจะเสียทรงหนักไปหน่อย กว่าจะรวบรวมกำลังก็ต้องใช้เวลา
ก็ไม่รู้ทำไมนะ ราคาชอบหยุดลงโซนเส้นนี้กัน




Bid - Offer
ต่อไป...ดูในส่วนของ Bid - Offer กันบ้าง ช่วงนั้นว่ามันบอกอะไรเรา
ในระหว่างวัน ถ้าใครได้เฝ้าดู bid offer
จะเห็นว่าช่วงที่ปล่อยให้ขายนั้นน่ะ จำนวนหุ้นที่มีอยู่ในแต่ละช่องจะเบาบางมาก
Bid จะถูกขายใส่จนหลุด ทีละช่อง ทีละช่อง
เนื่องจากเป็นการขายของรายย่อย กว่าจะผ่านแต่ละ bid ก็ใช้เวลาพอสมควร
แต่ก็ลงจนได้ ลงไปเรื่อยๆ

กระทั่งลงถึงระดับราคานั้น ที่ Market maker เขาวางเอาไว้
(บางทีอาจทีปล่อยให้หลุดด้วย แต่ก็ถูกซื้อสวนกลับทันที)

และจากนั้นไม่กี่อึดใจ จำนวนหุ้นจะถูกเติมเข้ามาในแต่ละช่อง bid offer จะหนาขึ้นทันที
แสดงว่า เจ้าถิ่นเขาแสดงตัวแล้วว่า จากนี้ไปข้าจะไม่ปล่อยให้เอ็งผ่านลงง่ายๆแล้ว

บางเจ้า ที่ใจร้อนหน่อยก็ซื้อสวนเลย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้คนอื่นๆที่มองขึ้นเหมือนกัน
จึงไม่แปลก คนที่เข้ามาช่วยตั้งซื้อก็จะมีทั้งคนทำราคาและนักเก็งกำไรรายย่อยที่มองออก

แต่เหนืออื่นใด คนทำเกมส์ก็ต้องเป็น Market Maker ว่าเขาจะเริ่มเอาจริงตอนไหน

หน้าที่ของรายย่อยเงินน้อยก็ต้องรอ "จังหวะยืนยัน"
ก็แบบ Dow theory ที่เคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้ ในบทความ วอลุ่มและการยืนยัน
โดยคนที่มีเวลาเฝ้าหุ้นอยู่ตลอด ก็จะได้ราคาดีที่สุดไป เพราะมีความสนใจมากกว่า
ใครที่กว่าจะได้เห็นก็สิ้นวันแล้ว ก็ได้ห่างจากฐานหน่อย ตามความไว ช้า

Follow buy ตามรูปข้างบนนี้ เป็นการซื้อแบบกะเอาชัวร์ที่สุดแล้ว(สำหรับในช่วงนี้นะ)
เพราะหลายครั้งที่รอให้สิ้นวัน มันก็สายเกินไปแล้ว
บางคนใจร้อนอาจมีดักซื้อตั้งแต่เขียวแรกหลังจากวอลุ่มแห้งก็มี
บาคนก็แอบหยอดตั้งแต่วันที่วอลุ่มน้อยๆ bid offer บางๆ กันเลย
หรือบางทีอาจใช้กราฟระดับนาที เพื่อดูการกลับตัวเลยก็ไม่ว่ากัน
แล้วแต่สไตล์และความชอบของแต่ละคน


ทำไมต้องเป็น EMA20?
บอกกันก่อนว่าเส้นนี้เป็นความชอบส่วนตัวของผมเองนะ
คือมักจะสังเกตุเห็นว่าหุ้นที่วิ่งแรงๆ ไวๆ มักจะไม่ค่อยหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
ก็เลยให้มันเป็นตัวสแกนช่วย
ก็ใช้ไม่ไดักับทุกตัวหรอก นี่บอกกันไว้ก่อนเลย
คุณต้องเช็คกับหุ้นของคุณเองอีกครั้งว่ามันเคารพเส้นไหน



ทำไมวอลุ่มต้องแห้งแท่งสั้น?
มันสื่อว่าแรงขายเริ่มที่จะหมดแรง และมีหุ้นจำนวนน้อยมากถูกนำออกมาขายในตลาด
ก็รายย่อยของเรานั่นแหละครับ ขายทำกำไร(หรือตกใจคัท)จนหุ้นหมดมือ
แท่งสั้น บอกว่าการแกว่งตัวแคบลง นักเก็งกำไรไม่เล่น หุ้นไม่ได้รับความสนใจ
พี่ วิลเลี่ยม โอนีล แห่งสำนัก CANSLIM บอกว่าหุ้นแข็งแกร่งที่อยู่ในช่วงการสะสม มักจะแสดงอาการแบบนี้ออกมาให้เห็นเสมอ (คือวอลุ่มแห้ง+แท่งสั้น)

เมื่อเกิด "วอลุ่มแห้ง+แท่งสั้น" แล้ว "การยืนยัน" ก็จะต้องตามมา คือวอลุ่มเพิ่มขึ้นพร้อมกับการ breakout


ใช้ไม่ได้กับทุกตัวหรอกนะ
แต่ช้าก่อน.... เห็นกราฟตัวอย่างแล้วก็อย่าเพิ่งเคลิ้มไป ว่าฉันได้อาวุธเด็ดไปใช้แล้ว

เพราะว่า, ลักษณะที่ผมเจอนี้ ก็ไม่ได้เป็นทุกตัวหรอกนะ อย่ายึดเป็นมาตรฐานไป

อย่าง UKEM

หรือประเภทที่เด้ง แต่มีคนไม่ยอมให้ผ่าน

















เอาเป็นว่ามันมีจำนวนหนึ่งที่ทำนิสัยแบบนี้
ดังนั้น ถ้าเจอแท่งเขียวยาวๆแล้วย่อ ก็อย่าเพิ่งไปมองข้าม รอดูว่ามันหยุดลงตรงไหน
ถ้าเป็นไปตามลักษณะที่ว่าตามโพสต์นี้ ก็รอจังหวะเข้าให้ดี


สรุป
ก็น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ชอบ Buy on Dip ในหุ้นที่เป็นขาขึ้นนะ
ข้อดีของแนวทางนี้คือ Stop loss ของคุณจะแคบมาก แต่ upside ถ้ามันดีดแรงก็ได้กำไรในเวลาไม่นาน
ข้อเสียคือ เราเดาอนาคตไม่ได้ ไม่รู้ว่ามันจะดีดเมื่อไหร่ อาจแช่ไปเป็นสัปดาห์ก็ได้ คุณทนไหวหรือเปล่า
อีกอย่างคือ แม้มันจะดีดขึ้น แต่อาจจะยืนไม่อยู่ ราคาอาจลงมาอยู่จุดเดิม หรือร่วงหนักกว่าเก่าได้อีก

ใครที่ follow buy แล้วพลาดบ่อย(อย่างผมเป็นอยู่) อาจจะลองเปลี่ยนวิธีการใหม่แบบนี้ก็ได้ คือถ้ามันไม่ไปต่อ (หากคุณมั่นใจในหุ้นตัวนั้นมากๆ) อาจจะคัทไปก่อน แล้วไปดักรอตรงจุดนี้ หรือจะแบ่งไม้ก็ได้

จุดประสงค์หลักของเราคือทำกำไรครับ ยึดเป้าไว้อย่าเปลี่ยน แต่ให้ไปปรับวิธีการแทน
เป้าหมายเดียว แต่วิธีการเข้าไปถึงมีเป็นร้อยนะครับ อย่ายึดติด


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino