นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่!

Image
นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่! แปลและขยายความจาก  https://x.com/markminervini/status/1850913591630680378 นักเทรดหลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่า “งาน” หรือสิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการทำกำไรให้ได้มากที่สุด ในความจริงแล้ว เป้าหมายของการเทรดคือการทำเงิน แต่งานจริง ๆ ของนักเทรดนั้นคือการปฏิบัติตามและดำเนินกลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างมีวินัยโดยไม่หลุดออกจากกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าคุณสามารถยึดมั่นในกฎการเทรดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ตามมาคือกำไรและความสำเร็จจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป้าหมาย vs งานจริงของนักเทรด - เป้าหมาย  คือการทำเงินและสร้างผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้โดยตรง - งานจริง  ของนักเทรดคือการใช้กลยุทธ์ที่มีโอกาสชนะให้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีวินัย ยึดมั่นในแผนการเทรดที่ตั้งไว้ การทำตามกฎของตัวเองอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้คุณจัดการกับความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ ทำไมวินัยจึงสำคัญในงานของนักเทรด การมีวินัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเทรดมีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น การไม่มีวินัยในการเทรดจะทำให้นักเทรดเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

ซื้อโคตรแพงขายได้แพงโคตร (Buy High Sell Higher)


ที่บอกว่า "ซื้อโคตรแพง ขายได้แพงโคตร" นี่ไม่ได้หมายว่าจะชวนไปซื้อหุ้นมีราคาหลักร้อยหลักพันหรอกนะครับ แต่จะชวนให้มองหุ้นที่ขึ้นมาแล้วสักเด้ง แบบที่ใครๆก็มองว่ามันแพงไปแล้ว(ผมก็เคยมองอย่างนั้น) แต่บางทีมันอาจแค่เพิ่งเริ่มสตาร์ทเครื่องเท่านั้นเอง

แรงดลใจให้ผมจะเขียนบทความนี้ ก็ได้จากการไปอ่านหนังสือ "พ่อมดแห่งวอลสตรีท"
แล้วสะดุดกับบทสัมภาษณ์ พี่ David Ryan
ไอดอลของนักเก็งกำไรสาย CANSLIM เข้าให้

มีอยู่ตอนนึงที่แกบอกเคล็ดในการคัดหุ้น ว่า
หนึ่งในเกณฑ์การเลือกหุ้นของแกคือ.....

เช็คผลงานที่มันทำมาแล้วในอดีต  เช่น
ราคาหุ้นเคยขึ้นเป็น 2 เท่า มาก่อนหรือไม่
(ซึ่งผมคิดว่าผู้แปลน่าจะใชคำที่มันประณีประนอมไปหน่อย
ผมจึงขอตีความไปเองว่า พี่ Ryan น่าจะบอกว่า
"หุ้นตัวนั้นมันต้องวิ่งมาแล้วเท่าตัวเป็นอย่างน้อย")
ครับ....หุ้นที่เขาซื้อหลายตัวได้วิ่งมาแล้ว 1 หรือ 2 เด้ง
ก่อนที่เขาจะซื้อมันเสียอีก

เขาชอบซื้อหุ้นที่ขึ้นมาแล้ว 2 เท่า แทนที่จะซื้อตัวที่อยู่ในช่วงปรับฐานมาอย่างยาวนาน เพราะมันแสดงให้เห็นว่า "มันมีอะไรบางอย่างที่ไม่ธรรมดาอย่างมาก" กำลังเกิดขึ้นอยู่ และถ้าสถานการณ์มันดีถึงขาดนั้น ราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นั้นอาจจะเป็นแค่จุดเริ่มต้น
มันอาจจะเพิ่มเป็น 2 เท่าอีกครั้งก็ได้

พี่ Ryan จะมองหาหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดในตลาด
ทั้งในแง่ของกำไร และเทคนิค



สรุปคือ...พี่เค้าชอบ "ซื้อแพงเพื่อไปขายในราคาที่แพงกว่า"
เพราะการที่หุ้นตัวนึงถูกไล่ซื้อมาอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
Market Maker เขาคิด และวางแผน มาดีแล้ว

ความจริงแล้ว, แนวคิดนี้ พี่ไรอัน ไม่ได้เชื่อคนเดียวนะ
ตำนานนักเก็งกำไรโลก อย่าง นิโคลาส ดาร์วาส ก็ชอบใช้
หนึ่งในตะแกรงร่อนหุ้นของพี่ดาร์วาสจะซื้อนั้นน่ะ...
คือ หุ้นตัวนั้นต้องวิ่งขึ้นสูงกว่าปีที่แล้วอย่างน้อยเท่าตัว
ถ้าหุ้นได้วิ่งขึ้นมาอย่างแข็งแรงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา,นักลงทุนส่วนใหญ่จะกลัวเพราะคิดว่ามันขึ้นมาสูงแล้ว ต่อไปอาจจะลงแรงก็ได้
แต่จากข้อมูลที่ผ่านมาบอกว่า ดาร์วาสประเมินถูกเพราะมันจะไปต่อได้อีก
ถ้าหุ้นได้วิ่งขึ้นอย่างมีพลังแล้ว....
มันก็ได้พิสูจน์ตัวเองว่ามันยังมีแรงเหลือที่จะวิ่งสูงขึ้นไปได้อีก

บอกกันตรงๆ, ไอเดียแบบนี้ มันค้านกับความเชื่อผมมาก
ผมมักคิดว่าหุ้นที่วิ่งมาเป็นเด้งแล้วเนี่ย มันแพงไปแล้วล่ะ มีความเสี่ยงสูง โอกาสดอยสูงมาก
แต่พี่ไรอันกลับบอกว่า "มันต้องมีอะไรซ่อนอยู่ ซื้อตอนนี้อาจได้กำไรอีกเป็นเด้ง"


แถมให้อีกคน คือพี่ Mark Minervini
ผู้เขียนหนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ"
ที่มีคติประจำใจคือ ไม่ต้องซื้อราคาต่ำสุด แต่ต้องขายแพงกว่าราคาซื้อให้มาก ในระยะเวลาสั้นที่สุด
ปล่อยให้คนอื่นเป็นไม้แรกและรอข้อมูลยืนยันให้แน่ชัดก่อนว่า
แนวโน้มอยู่ขั้นตอนที่ 2 และช่วยสร้างโมเมนตัมให้หุ้นด้วย

ขั้นตอน(Stage) ที่ 2 คือ ราคาอยู่เหนือจุดต่ำสุดในรอบปีอย่างน้อย 30% บางตัวที่เก่งๆ อยู่เหนือจุดต่ำสุดนี้ 100% , 300% หรือมากกว่า
ราคาหุ้นต่ำกว่าจุดสูงสุดในรอบปีไม่เกิน 25% (ยิ่งไกล้ยิ่งดี)
และค่า RS ต้องอยู่ในช่วง 80-90-100 ยิ่งมากก็ยิ่งสุดยอด

ถ้าใครได้อ่านหนังสือของแกจะเห็นตัวอย่างกราฟที่แสดง หลายตัวมากที่ราคามันวิ่งขึ้นมาเป็นเด้งแล้ว พี่แกถึงได้จังหวะเข้าซื้อ เพราะรอการย่อเพื่อสร้าง VCP pattern
เหตุผลของพี่มาร์ค น่าคิดมาก แกบอกว่า "หากหุ้นตัวหนึ่งทำจุดสูงสุดใหม่ในช่วง 52 สัปดาห์แรกของตลาดขาขึ้นรอบใหม่ ก็อาจจะเป็นหุ้นดาวรุ่งในช่วงแบเบาะก็ได้"
"ความตื่นเต้นที่แท้จริงยังไม่เริ่ม จนกระทั่งหุ้นมันทำจุดสูงสุดใหม่ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน"
เอากับพี่แกสิ แนวคิดสุดโต่งจริงๆ

ใครที่ไม่รู้จัก ขั้นตอนที่ 2 หรือ Stage 2 ดูรูปนี้ครับ


ผมจะไม่ค้านพี่เค้านะ แต่จะหาหลักฐานมาช่วยสนับสนุนไอเดียนี้ ว่ามันใช่หรือเปล่า
ก็ไม่ได้จะชวนให้คุณเชื่อนะ แต่ผมทำเพื่อตัวเองล้วนๆ
อย่างน้อยมันอาจจะช่วยแก้ "โรคกลัวความสูง" ของผมได้

เพราะอะไรน่ะรึ...
ผมจะบอกว่า ตอนนี้ไม่ค่อยชอบหุ้นที่เพิ่งฟื้นตัวมาจากข้างล่างสักเท่าไหร่
เพราะมัน ขึ้นช้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา มาาาาาาาาก ไม่ทันใจวัยรุ่นเอาเสียเลย

แถมตลาดในช่วง 1600 ไม่พันหกแหล่ ยื้อกันไปกันมาแบบนี้
หุ้นมันเลือกตัวขึ้นครับ ไม่ได้วิ่งกันทั้งแผง

โอเค คุณได้ต้นเทรนด์จริง ทุนต่ำ
แต่จะมีประโยชน์อะไร....ถ้ามันยังนอนแช่ปลักอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว
วิ่งขึ้นช่องสองช่องก็โดนตบกลับไปนอนก้นอยู่ที่เดิมนั่นแหละ




กลับมายังเหตุผลที่ผมจะยกมาสนับสนุน การซื้อแพงเพื่อไปขายในราคาที่แพงกว่า
ตัวอย่างล่าสุดเลย MALEE วิ่งจาก 26.25 - 121.50 รวม 4 เด้งกว่าๆ เกือบ 5 เด้ง ใน 1 ปี
สุดยอดมั้ยครับ ของเค้าดีจริง แต่เชื่อมั้ยว่า มีเม่าน้อยคนนักที่จะกล้้าซื้อ ในตอนที่มันขึ้นมาแตะ 50 บาท
ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มองว่า 50 บาทนโคตรแพงไปแล้ว ไม่กล้าเข้า กลัวดอย
เราไปหาหุ้นที่เพิ่งขึ้นดีกว่า ปลอดภัยดี
แต่เชื่อมั้ย....หุ้นเพิ่งขึ้นที่ผมเลือก ป่านนี้ มันก็ยังนอนแช่ปลักอยู่อย่างนั้น
แต่ MALEE วิ่งต่อไปอีกเด้ง จนไปหยุดที่ 120 กว่าบาท

ย้อนรอยไปดูช่วงที่มันขึ้นมาถึงจุดสูงสุดเสียว แต่ละระดับกันนะ

ตอนที่มันทำ 52 week high ก็น่าจะมีคนคิดเหมือนผม คือถึงจุดสูงสุดแล้ว ขายออกลูกเดียว
แต่ที่ไหนได้ มันย่อให้ 2 อาทิตย์ แล้วเปิด gap วิ่งเบรคทำนิวไฮไปเลย
เหตุผลที่ราคาเปิด gap ก็เพราะว่า งบออกมาดีมาก "กำไรดีสุดในรอบ 4 ปี"
ตลาดก็ตอบรับด้วยอาการ Panic buy และซื้อต่อเนื่องไม่หยุด

จากนั้นก็มาถึงอีกหลักกิโล คือ ราคาวิ่งมาถึง 100% ก็มีเทรเดอร์ที่กลัวความสูง ขายออกมาอีก
จากภาพ ในช่วงที่ราคาย่อ เพราะเจอแรงขายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นมาถึงระดับ 100% (หรือคุณจะเรียกว่า เท่าตัว หรือ 2 เท่า ก็ได้เหมือนกัน) Pattern การพักตัวน่าจะเรียกว่า Flag นะ มันคือ Bullish Flag
ดังนั้น หากเราหรือใครมีความเชื่อในเรื่องของการ Buy High Sell Higher น่าจะได้ซื้อตอนที่ราคามัน Breakout กรอบด้านบนได้ ก็คือ 50 บาท เพราะทุกอย่างมันเป็นใจเหลือเกิน
คือหุ้นมีโมเมนตัมขาขึ้นเป็นพื้นอยู่แล้ว กำไรก็ดี และการ Breakout ครั้งนั้น มันมาพร้อมวอลุ่มทะลักจริงๆ

หลังจากนั้นไม่นานนัก ราคาก็ฝ่าด่านสำคัญได้อีก คือ ทำ All Time High

ซึ่งเมื่อถึงระดับนี้ก็ต้องโดนขายหนักอีกรอบ ผนวกกับช่วงนั้นตลาดเกิด panic sell ด้วย
ราคาจึงมีย่อตามระเบียบ

แต่ด้วยความที่นักลงทุนสถาบัน ยังเชื่อว่าธุรกิจยังทำกำไรได้ดีขึ้นไปอีก ราคาจึงย่อไม่นานนัก

จากนั้นไม่กี่วีค งบออก โชว์กำไรที่ยิ่งใหญ่ ก็วิ่งต่อไปอีก จนขึ้นไปถึง 100 บาทกว่าๆ
ถึงระดับราคานี้ คนที่ซื้อตอนที่ 50 บาท อันเป็นช่วงที่ราคาวิ่งมาแล้วเท่าตัว ก็ได้กำไร 1 เด้ง ภายใน 5 เดือน เท่านั้นเอง มันยอดมั้ยครับ นี่แหละที่ผมยกมาเป็นเคสสนับสนุนไอเดียนี้


มาอีกตัว, ที่ผมเคยเข้าในช่วงสั้นๆ และขายหมูออกไป อย่างน่าตบกระโหลก
ผมได้ทุนมาบาทนิดๆเองนะตัวนี้ แต่ด้วยความที่อ่อนประสบการณ์ เจือกไปขายออกที่ บาทห้าสิบสตางค์
เพราะตอนนั้นมันย่อหนักมาก หลุดทุกเส้นค่าเฉลี่ย ก็เลยหนี
พอมันฟื้นกลับมาได้ ผมก็เข้าซื้ออีกที่ราคาประมาณ 1.70 แล้วก็ขายออกไกล้ๆนั่นแหละ ขาดทุนซะงั้น

นั่นเป็นประสบการณ์ระยะสั้นที่ผมมีกับหุ้นตัวนี้

มามองหลังเกมส์กันบ้างนะ โดยโฟกัสที่ประเด็น Buy High Sell Higher ตามหัวข้อ
เห็นตอนที่ราคามันเขี่ย 2 บาทตาที่ผมขีดให้ดูบนกราฟข้างบนมั้ย

เดี๋ยวผมจะโฟกัสให้ดูไกล้ๆ
ชัดนะ ว่าอีตอนที่มันเขี่ย 2 บาท อันเป็นระดับ 1 เด้งนั้น มีการเทขายกันสนุกสนาน ราคาย่อลงมาสร้างฐานร่วมๆ 2 เดือน หรือ 8 สัปดาห์ พอย่อจนหนำใจก็ดีดแรงข้ามไปทไนิวไฮในแท่งเดียวเลย แจ๋วมั้ย

อีกชาร์ทที่บอกช่วงเวลาในการวิ่ง ท่านจะเห็นชัดเลย
จากหนึ่งบาทไป 2 บาท ใช้เวลาเป็นปี แต่จาก 2 ไป 4 ครึ่งปีก็ได้เด้งแล้ว

อีกตัวที่ผมเคยมีเช่นกัน KOOL ช่วงเวลาการวิ่งจาก 2-4 บาท 2 เดือน นิดๆ

TFG ช่วงเวลาการวิ่งจาก 100% ไป 200% ไม่ถึงเดือน

GL หุ้นในตำนาน

TKN TFG ช่วงเวลาการวิ่งจาก 10 บาท ไป 20 บาท 2 เดือน นิดๆเอง
นี่คือตัวอย่างที่ยกมาให้ดูแบบหอมปากหอมคอนะ ที่เหลือก็ไปเช็คกันเพิ่มเองว่ายังพอมีอีกมั้ย
ขอกระซิบบอกไว้ก่อนเลยว่า หุ้นที่ซิ่งแรงๆจนเป็นตำนานในแต่ละปีนั้นนะ
ทุกตัวมีช่วงแบบนี้กันหมดแหละครับ คือมันมีย่อให้เห็นตลอด แต่เราไม่กล้าเข้ากันเอง
ความที่เราไม่มีหุ้นไง ก็เลยพากันแช่งให้ลง ให้จบรอบกันใหญ่
ที่ไหนได้ ยิ่งแช่ง ก็ยิ่งนิวไฮ All time high แล้ว All time high อีก
น่าเศร้านะ (พูดกับตัวเอง)



ประเด็นต่อมาที่บางคนอาจจะอยากรู้
คือ....แล้วจังหวะซื้อที่ใช่ เป็นยังไง?
คำตอบคือ ... รอจังหวะมันย่อ ที่สร้างสรรค์ หรือ ย่อเพื่อไปต่อ

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น.....คนที่จะอธิบายได้ดีก็น่าจะเป็นพี่มาร์คของผมนี่แหละครับ
เริ่มตั้งแต่การขึ้นไปทำ Stage 2 เลยนะ คือ...
แกบอกว่า "แกจะปล่อยให้คนอื่นเล่นให้ดูกันก่อนเป็นไม้แรก ไล่ราคาไปเลย ให้ราคามันวิ่งไปก่อนจนมั่นใจว่าแกร่ง และรอข้อมูลยืนยันให้แน่ชัดจริงๆว่า ราคาอยู่แนวโน้มอยู่ขั้นตอนที่ 2(หรือเวฟ 3 ของทฤษฏีอีเลียต) และที่สำคัญคือราคาหุ้นมันมีโมเมนตัมที่พร้อมวิ่งแรงๆแล้ว

นึกภาพรถที่สตาร์ทแต่ไม่ยอมออก แบบที่เสี่ยยักษ์ท่านเคยพูดไว้ มั้ยครับ?
อารมณ์เดียวกันเลย หุ้นที่ยังไม่ได้เป็นขาขึ้น ดังที่เขาเรียกว่าขั้นตอนที่ 2 หรือเวฟ 3 น่ะ มันก็ไม่ต่างอะไรไปจากรถที่จอดอยู่กับที่ ให้สตาร์ทแล้วก็ได้ ก็ยังแต่จะเร่งเครื่อง บรึ๊น บรึ๊น บรึ๊น เรียกร้องความสนใจ แต่ไม่ยอมออกตัวสักที ดังนั้นพี่มาร์คก็เลยบอกว่า อย่าเพิ่งให้ความสำคัญกับช่วงนั้นเลย ปล่อยให้มันแสดงออกว่าวิ่งแล้ว แถมวิ่งดีด้วย ค่อยเข้าไปร่วมแจม ก็ยังไม่สาย
เพราะตอนนั้นเครื่องมันร้อนพอดี พร้อมที่เข้าเกียร์ 3 เกียร์ 4 ซิ่งแรงๆได้ทันที

พี่เค้าเลยแนะให้รอซื้อ ที่บริเวณราคาไกล้จุดสูงสุด(ในขณะนั้น อันเป็นช่วงต้นของขั้นตอนที่ 2)
ที่ซึ่งเป็นโซนที่คนติดดอยมาแรมปี กำลังจะได้ปลดเปลื้องภาระที่แบกไว้นานเป็นชาติ
เมื่อราคาถูกดันขึ้นไปจนถึงระดับราคาที่ไกล้ๆทุนตัวเอง
นักลงทุนผู้น่าสงสารเหล่านั้นไม่คิดอะไรแล้วครับ เกินครึ่งตัดสินใจขายทิ้ง เพื่อดึงเงินที่จมมากอดไว้

จังหวะนี้เองที่ Market Maker(MM) จะปล่อยให้ขาย ขาย ขาย จนพอใจ
โดยจุดที่เขารู้ว่ามันเหมาะสมก็คือ วอลุ่มแห้ง+การแกว่งของราคาแคบลงนั่นแหละ
ในตอนนั้นคนก็จะไม่สนใจหุ้นตัวนั้นกันแล้ว ก็เป็นจังหวะ "สวนกลับ" ของ MM
เพราะราคาจะดีดผึง ขึ้นจากอาการนิ่งๆซึมๆ แล้วกลายร่างเป็นนักวิ่งลงกรดไปในบัดดล

ถ้านึกภาพจริงๆไม่ออก ดูรูป




สังเกตุเห็นตามที่ผมชี้และทำเส้นสัญญลักษณ์ให้ดูนะ
ราคาวิ่งขึ้นมาสักพักแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเด้ง หรือเกือบๆเด้ง
จากนั้นมันก็มีการย่อ แบบหนักหนาเลย แต่คุณดูวอลุ่มของพวกเขาสิ มันลดจนแห้งไปเลยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านๆมา ตรงนี้แหละที่เป็นจุดสังเกตุที่ดี เจอแบบนี้ก็ให้เก็บเข้าลิสต์ไว้

พอต่อมา ราคามันฟื้นตัว และมาพร้อมวอลุ่มที่ทะลักทลาย สูงกว่าช่วงย่อเยอะมากๆเป็นหลายเท่าตัว ท่านก็ต้องเตรียมง้างแล้ว แต่อย่าเพิ่งโถมตัว ให้รอราคายืนยันก่อน คือ ทะลุไฮล่าสุดขึ้นไปได้ก่อน
เมื่อเห็นการยืรชนยันแบบนั้น ก็ซัดตามแผนที่วางไว้เลย

(ปล. แต่ไม่แนะนำให้ขายบ้านขายรถมาซื้อนะครับ อะไรมันก็เกิดขึ้นได้ บางทีมันอาจจะเด้งเพื่อลงต่อก็มี ดังนั้นแบ่งเงินให้เหมาะสมกับความเสี่ยง และจุด stop loss ของเรา ว่าหากมันไม่ขึ้น แต่เสือกลง คุณจะให้มันลงได้แค่ไหน คุณจึงจะตัดใจขายมันออก เพราะหุ้นดี คือหุ้นที่วิ่งขึ้นครับ
ตัวไหนวิ่งลง(ถ้าคุณไม่เล่นช็อร์ต) ตัวนั้นเลวหมด



น่าจะนึกออกแล้วนะ
เข้าเรื่องใหม่ไปกันเลย ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
คือรูปแบบของการพักตัว

Pattern แบบไหนที่เขาเรียกว่าย่อเพื่อไปต่อล่ะ? น่าจะมีคนสงสัย
เยอะแยะเลยครับ สาธยายได้อีกยาว
ผมขอเรียกมันแบบรวมๆว่า Continuation Price Pattern
แต่จะไม่ลงรายละเอียดนะ จะแปะรูปให้ดู


เสริมอีกนิด เผื่อบางคนไม่เก็ท กับรูปที่ให้มา
อยากให้โฟกัสที่จุดซื้อ (Buy Point หรือ BP) แต่ละแนวก็จะมีจุดเข้าซื้อที่ใช่ ต่างกันไป
ใครยังไม่เห็นก็ให้ดูเส้นแนวนอนที่พาดผ่านจุดสูงสุดของรูปแบบต่างนั่นแหละครับ
ข้ามไฮเดิมได้ ก็ Follow buy กันได้เลย หากไม่ทันก็อย่าให้เกิน 10% จากจุด breakout นะ
ยิ่งซื้อไกล้จุดที่มันเบรคเท่าไหร่ยิ่งดี (เผื่อเจอเขย่า คุณจะไม่ตกใจไง เพราะ stop loss อยู่ไกล้)

แต่ก็อย่าลืมดูวอลุ่มกันด้วยล่ะ มันคือส่วนประกอบสำคัญของวิธีการนี้เลย
ตอนที่มันย่อน่ะ วอลุ่มต้องน้อยลงกว่าเดิมแบบชัดเจน เรียกว่ายิ่งนานยิ่งน้อย
แต่ทว่าตอนที่ราคามัน breakout ต้องเพิ่มอย่างมีนัยยะนะ
คือต้อง 1000% ร้อยเดียวไม่น่าเชื่อถือ มากมายแบบถล่มทลายยิ่งดี

ก็ขอยกตัวอย่างไว้เท่านี้นะ
ที่เหลืออยากให้คุณไปทำการบ้านต่อ และพิสูจน์เองว่าแนวคิดนี้มันเวิร์คจริงมั้ย?



แต่ช้าก่อน.....อ่านต่อสักนิด
ผมคิดว่า หุ้นที่มันวิ่งดีๆ เร็วๆแรงเหล่านี้ ไม่ได้ซิ่งด้วยความบังเอิญ
มันมีพื้นฐานที่ดีรองรับด้วย
สิ่งนั้นคือ "ความสามารถในการทำกำไร"
ทำกิจการที่เรารู้เราเห็น และจับต้องสินค้าเค้าได้ มีสถาบันสนับสนุน
ได้ออกสื่อบ่อย อย่างน้อยก็ OPPDAY
ไม่พวกสร้างข่าวฝันหวานหลอกเม่า เปลี่ยนโครงสร้าง ทำอะไรภายในที่ยังไม่เห็นผลงานชัดเจนนะ

หุ้นดี นอกจากราคาจะดีแล้ว พื้นฐานต้องสวย ควบคู่ไปด้วยกัน

พี่ David Ryan กับ Minervini ก็ยังมีตะแกรงแบบนี้
1) เขาจะศึกษางบของหุ้น โดยดูที่ earning ย้อนหลัง 5 ปี และเทียบ earning ของ 2Q ล่าสุด โดยดูว่ามีการลดลงของอัตราการเติบโตของกำไรในแต่ละ Q หรือไม่
2) หุ้นที่น่าสนใจ ควรจะมีความแข็งแกร่งบางอย่างใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับกิจการ เช่นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นผู้นำในตลาด และผลิตภัณฑ์ใหม่ของหุ้นระดับ SME น่าสนใจกว่าหุ้นกิจการใหญ่
3) มีผลกำไรและยอดขายในปัจจุบันอนาคตที่จะทำให้ตลาดตื่นเต้น โบรคเกอร์มีการปรับประมาณการหรือราคาพื้นฐานเพิ่มขึ้น
4) หุ้นขนาดเล็ก(จำนวนหุ้นน้อย)จะวิ่งแรงและเร็วกว่าหุ้นขนาดใหญ่

พี่ Darvas นี่ก็ไม่แพ้กัน
1) เลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มีการเจริญเติบโตและมีแนวโน้มผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆ
2) เลี่ยงบริษัทที่ธุรกิจโตมากจนไม่สามารถขยายได้อีกแล้ว
3) เช็คแนวโน้มตลาดโดยรวม เพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
4) ตรวจสอบว่าหุ้นนั้นอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง
มีประสิทธิภาพทางการขึ้นของราคาดีกว่ากลุ่มอื่น
5) เลือกเฉพาะหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้นและมีวอลุ่มเพิ่มขึ้นด้วยเท่านั้น

เอาล่ะ....น่าจะพอหอมปากหอมคอกันแล้ว
ที่เหลือ ก็เอาไปทำการบ้านและลองกับของจริงกันเองนะครับ

สนับสนุนโดยหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" และ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"

ติดต่อสั่งซื้อหนังสือทั้งสองเล่ม ได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่