การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

ที่สุดของเซียว - KOOL

KOOL นับว่าเป็นหุ้นที่ให้บทเรียนที่ดีจากการลงทุนหุ้นเป็นอย่างมาก
(ตอนนี้ผมไม่มีแล้วนะ ขายไปตั้งนาน)

บทเรียนแรกคือ จุดซื้อที่ทรงพลัง
ผมได้ไอเดียในเรื่องของ Breakaway Gap จากคุณน้ำผึ้ง สัตตารัมย์ (ขอยกเครดิตให้เธอเลยครับ ทั้งสวยทั้งเก่งทั้งใจดี) นี่คือหนังสือของเธอครับ "หุ้นลิ่งดาวอังคาร" ขอช่วยโปรโมทแทนคำขอบคุณ

ที่เธอพูดในคลิป(ข้างล่าง) โดยบอกว่า ถ้าเห็นหุ้นราคาเปิด gap ข้ามกรอบสะสม ในช่วงเริ่มต้นของขาขึ้นน่ะ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเวฟ 3 เลยนะ ซื้อได้ ไม่ผิดหวัง (ถ้าเป็น Breakaway Gap ของจริง)



ก็ร้อนวิชาสิ ประจวบเหมาะกับตอนนั้น ไปเจอหุ้น KOOL เปิด gap ตามสูตรพอดี



เธอไม่ได้ใช้กราฟนี้นะ แต่ผมไปค้นเจอแล้วพบว่ามันบอกได้ครบวงจรวัฏจักรดี



อีกภาพที่เห็นชัดหน่อย เธอใช้ภาพนี้ประกอบด้วย (ดูคลิปนะมีตัวอย่างเยอะ)





ต้องบอกกันก่อนนะว่า ผมชอบเล่นหุ้นที่เข้าใหม่ๆ เพราะเคยได้กำไรดีๆจากหุ้นประเภทนี้มาก่อน(เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังอีกทีหลัง) อีกทั้งเราก็พอรู้จักธุรกิจของมันอยู่บ้างว่าทำพัดลมไอน้ำ เซลส์ขยันมาก

ดังนั้นเมื่อเห็นหุ้นในกลุ่มที่ตัวเคยได้ตังค์ และตัวเองก็รู้จักธุรกิจ ก็ไม่ลังเลใจ โดดใส่เลยสิ

โชคดีมาก วันนั้นที่ปิด gap ไปแล้วมันมีย่อลงมา ผมตามถัวช่วงที่ทิ้งไส้นั่นแหละ จนครบโควต้า

ก่อนจะดูการเคลื่อนที่ของราคา
ผมอยากสรุป ไอเดียของ Breakaway Gap ให้เข้าใจตรงกันก่อน
1) ราคาเปิดต้องกระโดดข้ามกรอบสะสม หรือจะไม่ข้ามกรอบสะสมก็ได้
แต่ถ้าข้ามได้ก็จะสวย แบบ KOOL (แต่ก็ไม่เสมอไปนะ ต้องตามดูไม่ให้ขัดข้อ 2)
หากไม่เป็นกรอบสะสม ก็ให้อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยที่เคยเป็นเส้นต้านมาโดยตลอด เช่น

2) ที่สำคัญสุดก็คือ เมื่อมันย่อ ต้องไม่หลุดโลว์ของแท่งที่เปิด gap ถ้าราคาทะลุลงไปได้เมื่อไหร่ก็เลิกทันที เพราะมันไม่ใช่แล้ว ถอนเงินออกไปดูสถานการณ์ข้างนอกก่อน

เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว จุดวัดใจของ Gap trader ก็คือโลว์ของแท่งกระโดดนั้น
ถ้าใครเข้าได้ไกล้ๆจุดต่ำสุด ก็เสี่ยงน้อยหน่อยหากผิดทาง
แต่ถ้าวันนั้นตามไม่ทัน ถ้าชอบก็ให้รอวันถัดๆไป เพราะหลายครั้งที่คนมาทีหลังหัวเราะดังกว่า เนื่องจากราคาจะถูกแรงขายกดลงให้ถอยไปทดสอบแนวรับคือโลว์ของแท่งที่เปิด gap นั้น ตัวอย่างเช่น



โอเค..กลับมาที่ KOOL ต่อ
สิ้นวัน ราคาก็ดีดขึ้นไปปิดบวกได้อย่างสวยงาม ถือว่าการเข้าตัวนี้ ค่อนข้างได้จังหวะมาก ดวงสมพงษ์กัน
วันต่อไป ราคาก็เปิด gap วิ่งขึ้นต่อไปอีก ใจชื้นเลยว่าเรากำไรแน่ ทนรวยไปก่อน
พอวิ่งขึ้นไปสักพัก ก็ออกข้าง และจู่ๆก็พรวดขึ้นไปทิ้งไส้ (ตรงที่มีเส้นตั้งนั่นแหละ) ผมก็เริ่มกังวลนะ เพราะตามสูตรที่เคยเรียนมา ทรงแบบนี้น่ะ มันเป็นท่าจบรอบ เพราะวอลุ่มพีค ราคาทิ้งไส้ข้างบนยาวมากๆ แบบไม่เคยมีมาก่อน แต่กระนั้น ผมก็ไม่ take action อะไร เพราะถือว่าตัวเองยังมีกำไรอยู่ และราคาก็ไม่ได้ลงไปหาแนวรับอันเป็นไส้แท่งเปิด gap แต่อย่างใด

วันต่อมาก็เกิดแท่งแดงพรวดลงไปอีก วอลุ่มก็สูงไม่แพ้วันก่อน ก็ไม่ซีเรียสอะไร เพราะห่างหัวใจเยอะ

อีกวันถัดมา มันไปหยุดลงที่เส้น EMA20 แม้จะวอลุ่มเยอะกว่าเดิม ก็ยังเฉยๆ (ความจริงผมไม่มีปัญหาในการถือนะ ตราบใดที่ราคามันยังบวกอยู่)

รุ่งขึ้นทั้งวันวอลุ่มซื้อขายลดลงมาก แถมราคาก็ยังแขวนอยู่บน EMA20 อีกก็ถือว่า supply หมดแล้ว ต้องมีดีดกันบ้างแหละ

และก็ดีดจริง แต่ในช่วงต่อไป 2-3 วัน ราคายังอ่อนแอ ขาปัดเป๋ สวิงขึ้นลง แต่ก็ไม่เคยหลุด EMA20 ไปได้เลย แสดงว่า มีการดูแลราคากันอยู่ หรือไม่ก็เป็นการสะสม
สังเกตุวอลุมช่วงนั้นนะ แทบแห้งไปเลย


ต่อมาก็ทำแท่งเขียว ยกกรอบราคาขึ้นไปยืนนิวไฮได้อีก วอลุ่มก็สูงกว่าช่วงที่ผ่านมา มากกว่าวันที่ทิ้งไส้ยาวเสียอีก ก็หมายความว่ามันเคลียร์ปัญหา supply กุมอำนาจได้เรียบร้อยแล้ว

ถึงตอนนี้ เมื่อราคามันยกกรอบใหม่ได้อย่างชัดเจน ก็ปลดเข็มขัดได้ครับ (อารมณ์เหมือนเครื่องบินน่ะ เมื่อถึงจุดปลอดภัย ก็ทำตัวสบายๆไม่ต้องเกร็ง)

หลังจากวันนั้น พี่เค้าก็วิ่งขึ้นเอา ขึ้นเอา เริ่มต้นแบบเนิบๆก่อน แล้วก็ไปเร่งสปีดกดคันเร่งมิดไมล์แบบสุดติ่งกระดิ่งแมว ได้ใจกองเชียร์ขาซิ่งยิ่งนัก





เดี๋ยวเรามารีวิวย้อนหลังกันหน่อย ว่ามันมีอะไรที่น่าจับเป็นไกด์ได้บ้าง เผื่อจะเอาไปอ้างอิงกันหุ้นดาวรุ่งของเราในอนาคต ดูกราฟข้างล่างเลย

ดูเส้นสีฟ้าหนาๆที่ผมชี้ขึ้นจากแท่งวอลุ่มไปหาแท่งราคานะครับ
ทุกครั้งที่ราคาเบรกกรอบขึ้นไปทำนิวไฮได้ วอลุ่มจะออกสูงขึ้นไปเรื่อยๆ นี่เป็นรูปแบบของหุ้นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง เจอแบบนี้กอดไว้เลยนะ

ดูการยืนของราคาสิ มันเหมือนกับลอยตัวเหนือ EMA20 รักษาระยะห่างได้อย่างชัดเจนสวยงาม
ต่อไปเจอการแสดงออกของราคาแบบนี้ก็ให้นั่งกระดิกเท้ายิ้มไปเลยครับ ว่าตัวนี้ทำเงินให้เรามหาศาลแน่ๆ เพราะแรงซื้อเข้ามาสะสมแบบหนาแน่นจริงๆ



ไม่รู้ว่าใครจำ ภาพ Accumulation Cylinder ของพี่ลิเวอร์มอร์ของผมได้หรือเปล่า


ถ้าจะใช้ภาษาบ้านเราก็น่าจะเรียกว่า "สะสมขาขึ้น" หรือคุณน้ำผึ้งเธอเรียกว่า "สะสมในแนวเฉียง" เพราะราคาค่อยๆขึ้น เป็นฟันปลา ยกไฮยกโลว์ แบบเนิบๆก่อน พอของครบก็ซิ่งแหลก


มาดูกราฟ KOOL อีกรอบ เมื่อลากเส้นเฉียงขึ้นเลียนแบบ ก็คล้ายๆกันนะ



อีกแนวคิด...ถ้าจะมองว่ามันเป็นกรอบราคา ก็จะเข้ารูปแบบของ Parabolic curve



จำได้ว่าในช่วงนั้นน่ะ ผมแอบแชร์ pattern นี้ลง timeline พอดี ก็ยังมีบางคนตาไว คอมเมนต์บอกเพื่อนว่า "KOOL เลยครับ แบบนี้เป๊ะ" ก็ไม่รู้ว่าตอนนี้ขายหรือยัง


แล้วจากนั้นมา ราคาก็มายืนอยู่ตรงจุดนี้ (ในวันที่เขียนบทความนะ) ก็ไม่รู้ชะตากรรมในอนาคตว่าจะไปยังไง แต่ก็บอกเลยว่า "ขอบคุณ" สำหรับประสบการณ์ดีๆ




ต่อไปผมจะบอกว่าผมขายออกตอนไหน
อันกลายเป็น บทเรียนที่ 2 เรื่องจุดขาย


ดูช่วงที่ผมชี้บอกเลยครับ ตั้งแต่ 4 บาท ผมทยอยขายไปทีละนิดๆ
ไม่ได้รู้อะไรมากหรอก มันคันน่ะ ไม่รู้ว่าใครเป็นเหมือนผมหรือเปล่า พอราคาวิ่งขึ้นแรงๆ ก็เริ่มหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ตัวเองขาย รู้สึกอยากขายที่จุดสูงสุด คิดว่า 4 บาทนี่น่าจะเป็นจดสูงสุดแล้วล่ะ
หรือว่าถ้าราคามันวิ่งแบบ Parabolic แล้วต้องขาย อะไรพวกนี้มันวนเวียนในหัวไปหมด
แต่ที่ไหนได้ครับ ยิ่งผมขาย มันยิ่งขึ้นครับ จาก 4 บาท มันไปถึง 6 บาท

สวนทางกับขาลงมั้ยล่ะ ยิ่งซื้อแม่งยิ่งลงเอ๊า ลงเอา

แบบนี้นี่เองที่เขาเรียกว่า "โมเมนตัม" ผมเพิ่งถึงบางอ้อ ตามคำบอกของทฤษฎีดาว
ที่ว่า หุ้นที่เป็นขาขึ้น มันก็จะขึ้นไปได้เรื่อยๆ จนถึงจุดเปลี่ยน
ขาลงมันก็จะลงไปได้เรื่อยๆ เพราะมันมีโมเมนตัม มีแรงเฉื่อยนี่แหละ

ดังนั้นนะ หุ้นที่เป็นขาขึ้นสวยๆน่ะ อย่ารีบขาย เพราะมันไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอก Market Maker เขาคิดวางแผนมาดีแล้ว

หุ้นที่วิ่งมาแล้ว 100% น่ะ จะไปถึง 200 - 300% มันใช้เวลาอีกนิดเดียวเองนะ
ก่อนที่จะคิดขาย ด้วยเหตุผลที่ว่า ขายตัวที่ขึ้นมาเยอะแล้วไปซื้อตัวที่ยังไม่ขึ้นดีกว่า

คุณอาจจะพลาดอย่างแรง....
เพราะคุณอาจจะหลุดคำนี้ออกมา
"ตัวที่ซื้อใหม่เสือกนิ่ง ตัวที่ขายทิ้งแม่งวิ่งต่อเป็นเด้ง"

นี่เป็นอุทาหรณ์ที่ดีเลยนะ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวหรอก
กว่าคุณจะไปปั้นตัวใหม่ที่ต้องเริ่มนับตั้งแต่ศูนย์ กับคุณทนถือต่ออีกนิดก็จะได้กำไรอีกเท่าตัวน่ะ
อย่างไหนใช้ความพยายามน้อยกว่ากัน
(***อันนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองนะ คือผมเลือกหุ้นไม่เก่งน่ะ ซื้อ 10 มีคัดทิ้งเกือบหมด แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าเลือกและเข้าแม่นทุกตัว ชักดาบแล้วต้องได้เลือด ก็ไม่ห้ามกัน)



กลับมาที่ KOOL อีกครั้ง
และสุดท้ายที่ผมเทขายออกจนหมด ก็ช่วงที่ ผมชี้ให้ดูที่รูปข้างบนน่ะครับ ผมลองลากเส้น neckline แบบโง่ๆ (จะออกตาม follow buy) พอราคาหลุดก็ปล่อยชุดสุดท้ายออกเกลี้ยง ตอนนั้นแม้มันจะมีดีดกลับ(กดหลอก) ก็ไม่ได้เสียใจอะไรนะ เพราะใจมันอยากขาย อยากขาย และอยากขาย ทุกลมหายใจจริงๆ

ไม่ได้ดูเล้ยว่า ตอนนั้นมันติดแคชอยู่
จากนั้นไปราคาก็ออกข้างสวิงขึ้นลง ขึ้นลง ตลอดช่วงที่ติด Cash Balance
แล้วพอหลุดแคช มันก็ดีดดึ๋งๆ ขึ้นไปทำนิวไฮ จนเขี่ย 7 บาทเลยทีเดียว
ตอนนี้แหละเจ็บใจจี๊ดๆ ถ้าถือต่อได้อย่างน้อย 200% ไปแล้ว
กระนั้นก็ตาม, แม้จะหมู ก็ได้กำไรทั้งตัวเงิน และความรู้ ว่าต่อไปหากเจอแบบนี้จะจัดการต่อแบบไหน

จึงขอมอบเพลงนี้ให้เลย ถ้าไม่ได้พบเธอก็ไม่รู้จะเป็นยังไง ขอบ KOOL มาก



ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นนะ ว่าผมขายตัวนี้หมดแล้ว ไม่มีเหลือแม้แต่หุ้นเดียว บทความนี้ก็ไม่ได้ชี้ชวนให้ท่านเล่น แค่อยากแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับจุดเข้า-ออกและบทเรียนเท่านั้น

สรุปบทเรียนนะ
1) Breakaway Gap เป็นจุดเข้าซื้อที่ทรงพลังมาก (แต่ก็ไม่ใช่ทุกตัวจะเป็นแบบนี้นะ ต้องคัดจนได้ตัวดีๆ ซึ่งถ้าคุณเจอตัวเจ๋งๆก็สบายไปเลย)
2) เมื่อกำไรก็อย่ารีบขาย คอยดูพฤติกรรมมันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหลุดจุดออกของเรานั่นแหละ ค่อยทยอยออก หรือจะปล่อยหมดก็แล้วแต่ เพราะกำไรแล้วนี่
คุณอาจจะใช้เส้น EMA50 เป็นจุดออก หรือ Trailing stop หรืออะไรก็ตามสะดวก
3) หากติดแคชบาลานซ์ ก็ให้รอดูพฤติกรรมมันหน่อย ถ้ายืนระดับได้ก็ทนรวยต่อไป
4) Pattern ที่ผมโพสต์ให้ดูทั้งหมด มันเวิร์คมาก จำไว้ให้ดี
เท่าที่จะนึกได้ก็มีแค่นี่แหละ
ก็ขอให้เจอหุ้นที่ทำทรงแบบนี้อีกนะ ใครเห็นก่อนก็สะกิดบอกผมหน่อยก็แล้วกัน



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ