Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...
เพราะคุณ Richard D. Wyckoff เจ้าของทฤษฎีเขามองว่า การเล่นหุ้นก็เหมือนกับธุรกิจซื้อมาขายไปดีๆนี่เอง คือกว้านซื้อของราคาถูกๆเอาไว้เยอะๆเพื่อเก็บเอาไปขายในตอนที่ราคาแพงๆ โดยสิ่งที่จะทำให้ของราคาแพงก็คือ "ข่าว" เพราะคนจะมีความต้องการซื้อมากก็จะไล่ราคากัน
ดังนั้น main idea ของทฤษฏีนี้ก็คือการทำความเข้าในช่วง "สะสม" หรือ Accumulation เป็นหลัก
เพราะมันเป็นสาเหตุ(Cause) อันจะนำไปสู่ผล(Effect)คือ ไล่ราคาและแจกจ่าย
อันเป็นหนึ่งในกฎพื้นฐาน 3 ข้อ ดังนี้
การย่อกลับลงไปนี้เรียกว่า Secondary test (ST)
ซึ่งมันจะเป็นชื่อนี้จริงๆก็ต่อเมื่อแรงขายน้อยลงกว่าตอน panic และแท่งราคาก็สั้นกว่า ที่สำคัญคือราคาต้องปิดเหนือหรือเท่ากับ SC ด้วย
แต่ถ้าหาก ST ลงไปต่ำกว่า SC ก็แสดงว่าราคาทำโลว์ใหม่นั่นจะส่งผลให้การรวบรวมหุ้นต้องยืดออกไปอีกพักหนึ่งเพราะแรงขายยังไม่หมดกำลัง
ช่วงราคาระหว่างจุดสูงสุดของ AR ลงไปจนถึงจุดต่ำสุดของ SC หรือ ST นี่แหละที่เราเรียกว่า Trading Range (TR) ซึ่งเราจะใช้เป็นกรอบของการสะสมหุ้นสำหรับช่วงต่อไป
บางครั้งขาลงอาจจะจบแบบไม่ต้องมีแท่งแดงยาว วอลุ่มสูงปรี๊ดก็ได้ แต่มันก็ต้องมี PS, SC, AR และ ST อยู่ดี เพราะว่ากรอบราคาลักษณะนี้มันจะเป็นโครงสร้างของการเข้าสะสมหุ้นของรายใหญ่หรือสถาบันในเฟสต่อไป
ส่วนกรอบของการสะสม(TR)รอบใหม่(ซึ่งเกิดในช่วงขาขึ้นระยะยาว) เราจะไม่เห็นจุดที่เป็นตัวแทนของ PS, SC และ ST ได้ชัดเจนเท่าเฟส A แต่มันก็จะออกไปในแนวทางคล้ายกัน โดยจะสะสมเพื่อรอขายมากกว่า
ส่วนใน เฟส B-E กรอบการสะสมจะคล้ายกับ A เพียงแต่มักจะใช้เวลาสั้นกว่าและการแกว่งของราคาแคบกว่า
Phase B เป็นช่วงที่เรียกว่า Building a Cause คือ สร้างเหตุ(สะสมหุ้นราคาถูกให้มากที่สุด) เพื่อให้เกิดผล(ขาขึ้นรอบใหม่)
การเกิดวอลุ่มน้อยๆในตอนเขย่าหรือ spring จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าหุ้นตัวนั้นพร้อมขึ้นแล้ว และถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะเข้าซื้อเพื่อกินคำโตรอบใหญๆ
ส่วนการปรากฎตัวของ SOS จะเกิดขึ้นหลังจาก spring ภายในเวลาที่ต่อเนื่องกัน แต่ถ้าการทดสอบ supply ยังไม่สำเร็จ คือยังมีแรงขายสะสมอยู่อีกมาก ก็จะไม่เกิด spring นั่นหมายความว่า Phase C ยังทำไม่ได้