การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Bullish Flag : Price pattern เงินล้านของพี่ Dan Zanger


พี่ Dan Zanger เป็นนักเทรดชาวอเมริกันที่มีความสามารถในการทำเงินติดสถิติโลกเลยนะครับ
สามารถทำกำไรได้มากที่สุดถึง 29,233 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 12 เดือน เท่านั้น

ภายในเวลาแค่ 2 ปี เขาสามารถทำเงินจาก $10,775 เหรียญ (ซึ่งเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่เขาขายรถเพื่อใช้หนี้โบรกเกอร์และเหลือมาใช้เทรดด้วยแนวทางใหม่) จากเงิน $10,770 เขาทำให้มันกลายเป็น $18,000,000,000

เก่งขนาดนี้ก็ต้องมีเคล็ดลับดีๆซ่อนอยู่แน่นอนครับ!!!
จากการที่ผมได้ทำประวัติของแกไว้ ชื่อ วิธีการเทรดของ Dan Zanger ก็ได้เห็นสิ่งที่แกพยายามจะบอกให้โลกรู้ว่า pattern ทำเงินของแกที่ชอบมากคือ bullish flag นั่นเองครับ

Bullish flag นี้แหละที่เป็นเบื้องหลังส่วนใหญ่ ที่สนับสนุนให้แกเทรดได้กำไรอย่างมโหฬาร รวยเร็ว รวยไว ติดสถิติโลก

เมื่อมันสุดยอดและทรงประสิทธิภาพแบบนี้ ผมเลยขอลงทุนทำบทความเจาะลึกเกี่ยวกับ Bullish flag pattern ทั้งหมดตั้งแต่รูปแบบทางทฤษฎี, เคสจริง, ความเสี่ยง และจิตวิทยาเบื้องหลังมาให้ท่านได้อ่านกันแบบเต็มๆกันในโพสต์เดียวเลยดีกว่า
ถือว่าเรียนรู้ไปพร้อมๆกันนะครับ




หน้าตาของมันเป็นยังไงกันนะ?
ทรงของ bullish flag เป็นแบบนี้ครับ



ส่วนประกอบของมันคือ flag pole แปลเป็นไทยว่า "ด้ามธง"
ปลายด้ามธงคือ flag หรือ "ผืนธง"

เป็นไงครับ คล้ายกันนะ

แล้วมันยังไงต่อ รู้แล้วได้อะไร?
ดูเส้นสีส้มเลยครับ
นักเทรดเขามีความเชื่อว่า ถ้าราคาทะลุกรอบบนของ flag ขึ้นไปได้ มันจะวิ่งไปต่อได้อีกเท่ากับความยาวของ "ด้ามธง" นั่นเอง

ในส่วนของผืนธง ไม่จำเป็นต้องเฉียงลงเท่านั้นหรอกนะครับ
เฉียงขึ้นก็ได้ ขอให้มันบีบตัวแคบๆ



ทำไม bullish flag ถึงวิ่งแรง?
คำตอบง่ายๆคือ มันเป็นส่วนประกอบของ "หุ้นซิ่ง" ไงครับ
ในบทสัมภาษณ์วิธีการเล่นหุ้นของพี่แดน แกจะเผยเคล็ดการเลือกหุ้นด้วย
- คือแกเน้นหุ้นที่สภาพคล่องน้อยๆ หุ้นในตลาดน้อย
- ราคาหุ้นเกิน 50 เหรียญ
- นอกจากนั้น พื้นฐานก็อยู่ในระดับดี ROA ROE สวย มีสเป็คตรงสูตร CANSLIM
เมื่อหุ้นแบบนี้ กำลังจะมีข่าวดี กำไรจะโตแบบก้าวกระโดด
สถาบัน หรือคนทำราคาก็เข้าซื้อสิครับ เพื่อไปรอขายตอนข่าวดีออก
พอมีความต้องการซื้อเข้ามาเยอะ แต่หุ้นในตลาดมีน้อยมาก ราคาจะเป็นไงครับ?
ก็วิ่งกระฉูดสิครับ กลายเป็นหุ้นซิ่งไปเลย
อ่านเพิ่มเติม วิธีการเทรดของ Dan Zanger



ดังนั้น ส่วนประกอบของ bullish flag  ก็คือ
๑) เริ่มต้นที่ "แท่งเขียวยาว" ครับ จะแท่งเดียว หรือหลายแท่งติดต่อกันก็ได้
๒) ต่อมา ราคาพักตัว บีบตัวแคบๆ เป็นกรอบ โดยจะออกข้างแนวตรงก็ได้ เฉียงลง หรือขึ้นก็ได้ครับ ขอให้มันแกว่งแคบลงมากๆ
๓) วอลุ่มในช่วงผืนธงต้องลดน้อยลงไปมาก เมื่อเทียบกับวอลุ่มของแท่งเขียวยาวติดต่อกัน วอล่มช่วงที่เป็นผืนธงต้องน้อยกว่ามากเรียกว่าแห้งกันเลยทีเดียว ยิ่งแห้งยิ่งดีครับ เพราะสื่อว่าไม่มีแรงขายจากมืออาชีพ
๔) ตอนที่ราคาดีดแรง breakout กรอบของผืนธงขึ้นไป แท่งเขียนต้องเขียวยาว มาพร้อมกับวอลุ่มที่สูงกว่าตอนพักตัวเป็นผืนธง 50% ขึ้นไป ยิ่งมายิ่งดี เป็นเท่าตัวได้จะสุดยอดมาก (เดี๋ยวดูเคสจริงจะเห็นภาพชัดขึ้นครับ)
มันก็เป็นเหมือน pivot buy point นั่นเองครับ



จิตวิทยาเบื้องหลัง
มันเป็น "การพักเหนื่อยในขาขึ้น" หรือ continuation pattern รูปแบบหนึ่งครับ
คือก่อนหน้านี้ราคาหุ้นถูกไล่ซื้อขึ้นมาอย่างรุนแรง
เขียวยาวต่อเนื่อง บวกเป็นสิบเปอร์เซ็นต์ บางตัวก็ ceiling แล้วพักก็มี

เมื่อราคาหุ้นบวกแรงมากๆ
คนที่ทุนต่ำและพอใจในกำไรก็เริ่มทยอยขายครับ
ซึ่งคนทำราคาก็รู้แกวว่า ช่วงนี้ต้องมีคนขายแน่ๆ ก็เลยหยุด
ระดับราคาที่หยุด ส่วนใหญ่แล้ว มักจะเป็น
- แนวต้านใหญ่
- ระดับ all time high
- ตัวเลขกลมๆที่มีนัยยะ เช่น 1 บาท, 5 บาท, 10 บาท, 100 บาท

อีกเหตุผลคือ
คนทำราคาเขาไม่ไล่ราคาขึ้นพรวดเดียวจบหรอกครับ
เขา "กลัวไม่ได้ขาย" ครับ
เพราะถ้าไล่ราคาเพลิน เจอคนทุนเยอะ เงินหนา สอยเข้าให้ที่ยอดดอย
คนดอยหุ้น ไม่ได้มีแค่รายย่อยนะครับ
เจ้ามือ ก็มีสิทธิ์โดนได้

ดังนั้น เขาต้องไล่ไปพักไป
บริหารเงินทุน หมุนเงินไปด้วย
ซึ่งเป็นศาสตร์ลึกลับ ที่ผมพยายามหาเบาะแสอยู่

นอกจากช่วงพักตัวเป็นการบริหารเงินทุนของคนทำราคาแล้ว...
ก็ยังเป็นการปล่อยคนที่หมดใจ ลงจากรถไปนั่นแหละครับพูดง่ายๆ
ซึ่งจะมีทั้งคนที่ได้กำไร ขายด้วยความสุข
และคนอึดอัด เพราะดันไปไล่ซื้อ ตอนที่ราคาทำแท่งเขียวยาวกลัวตกรถ

แล้วเราควรจะเป็นคนไหนดีระหว่าง ๒ กลุ่มนี้?
- ถ้ามีหุ้น
ก็รอดูก่อนก็ได้ครับ ว่ามันจะย่อลึกแค่ไหน
ปกติแล้วหุ้นจะไปต่อ มักจะย่อจากยอดไม่เกิน 50%
โดยของดีจะไม่ถึง 30% ด้วยซ้ำไป ยิ่งย่อน้อยยิ่งต้องทนถือ เพราะมีโอกาสไปต่อได้อีกแน่ๆ

- ถ้าใครยังไม่มี
ก็ต้องรอซื้อตอน breakout
ตอนที่มันทำ pivot point นั่นแหละครับ
สังเกตคือ ราคาทะลุกรอบแนวต้านขึ้นไป พร้อมวอลุ่มสูงกว่าตอนพักตัว
แบบนั้น ท่านจะไม่ต้องรอนาน ซื้อแพงกว่านิดแต่ลุ้นกำไรได้ทันทีครับ

ฉะนั้น ข้อดีของรูปแบบราคานี้คือ มันจะช่วยให้ท่านพอคาดเดา "กำไรที่น่าจะได้" แบบง่ายๆ



เคสหุ้นไทยที่ทำ Bullish flag
นี่เป็นตัวอย่างที่ใช้เวลาหา และคัดนานพอสมควรเลยครับ
ต้องการจะบอกว่า ไม่ใช่ทุกตัวที่เป๊ะตามทฤษฎีนะ
เกินครึ่งจะล้มเหลว บอกไว้ก่อนเลย
และอีกอย่างมันก็เป็นการตัดสินจากมุมมองของเม่าโง่ๆคนหนึ่งเท่านั้น
เมื่อเป็นแบบนี้, ท่านต้องเคารพ stop loss ก่อน คิดถึงกำไรนะครับ

แนวทางของผมนะ
จะลากเฉพาะแนวต้านดักเท่านั้นเอง
ถ้ามันข้ามได้ มีวอลุ่มเข้า ก็ตามไปครับ

เนื่องจากผมเชื่อว่า bullish flag นั้นเป็น "หุ้นซิ่ง" ครับ
จึงชอบใช้ EMA10 เป็นตัวช่วยประคองทรง


เริ่มที่เคสของ XO ครับ
ผมมีข้อสังเกตเพื่อให้ท่านมองหาดังนี้
๑) จุดเริ่มต้นของ pattern นี้ คือ gap
๒) แนวรับของการพักตัวเพื่อทำผืนธง คือ EMA10
๓) วอลุ่มและแท่งเขียวยาวมีบทบาทสูงมากต่อการออกตัวรอบใหม่


เคสของ TITLE ต้องการจะบอกว่า
๑) ความชันของเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน มีผลต่อการดีดแรงและไม่แรง
ถ้าราคาพัวพันกับ EMA10 แสดงว่ามันอยู่ในช่วงสร้างฐาน เล่นไปก็ไม่ได้เงินไว
ให้รอราคายกตัวขึ้นไปทำนิวไฮ และย่อทำ flag ลงไปหา EMA10 มันจะไปแรงกว่า
(เรื่องเส้น EMA10 ลองไปอ่านเล่มเขียว "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ดูนะ)
๒) ผมลากเส้นแนวต้านมั่วนะ อย่าเชื่อมาก อิอิอิ


เคสของ S เป็นแนวหุ้นซิ่งครับ
คือเขียวยาว แล้วพักแท่งสั้นสองสามวัน แล้วเขียวยาวต่อ
ดูวอลุ่ม ช่วงพักตัวสิ หดลงไปครึ่งเลย


KTC คล้ายนะ แต่อธิบายไม่ถูก
ตัวนี้ย่อแรงไปเด้งที่ EMA50 กันเลยทีเดียว


เคส AEONTS
ช่วงที่เด้งดี ดีดแรง กำไรงาม มันจะเด้งที่ EMA10
ถ้าไม่ใช่เส้นนี้แล้วล่ะก็ อ่อนปวกเปียกไปเลย


PIMO เป็นหุ้นในฝันของผมเลย
ราคาดีดเขียว วอลุ่มสูง
จากนั้นก็ย่อลงไปหาEMA10 วอลุ่มลด
แล้วก็ดีดแรงเขียวยาว วอลุ่มสูง เป็น pivot point
และทะลุขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่
สังเกต EMA10 นะครับ เฉียงชันขึ้น โมเมนตัมแข็งแรงมาก
หุ้นทรงนี้ ได้ปีละตัวก็อยู่รอดสบายแล้วครับ



ทรงคล้ายๆ Bullish flag
ผมชอบใช้วิธีการเปรียบเทียบครับ
- มันคล้ายกับ High Tight Flag ครับ

พี่มาร์คก็เขียนถึงรูปแบบนี้ไว้ แกเรียกว่า Power Play
ปู้โอนีลก็เขียนถึงเช่นกัน
ทั้งคู่ก็บอกว่า ทรงนี้ วิ่งแรงเอาเรื่อง
แต่ปู่โอนีล ก็เตือนว่า มันแรงจริง แต่ก็เสี่ยงมากๆ
เพราะถ้าขึ้นแรง ก็กลับตัวแรงเอาเรื่องเช่นกัน
ดังนั้น อย่าเผลอเป็นอันขาด
"ใครลุกช้า...จ่ายรอบวง" นะครับ บอกไว้เลย




Stop loss สำหรับ bullish flag อยู่ตรงไหน?
๑) stop loss สำหรับพอร์ตของคุณเอง
คุณมีหน้าที่รักษาพอร์ตตัวเองให้ปลอดภัยครับ
อย่าได้ใช้ "ความหวัง" นำการเทรดเป็นอันขาด
ถ้าราคาลงไปหลุดระดับ stop loss ลงไป แต่ยังไม่ถึงแนวรับ
ท่านต้องหนีก่อน เพราะรุปแบบนี้ไม่ 100% นะครับ 50/50 เท่านั้น

อย่าได้ริไป "วัดได้/เสีย" ที่แนวรับเด็ดขาด
เพราะนั่นเป็นการเทรดแบบ "ใช้อีโก้" ไม่ใช่ "ทำธุรกิจ" แล้วครับ

เพราะการที่ท่านขาดทุน มันบอกว่า "ท่านคิดผิด" อย่างน้อยก็ "เข้าผิดจังหวะ"
ดังนั้น ยอมไปก่อน ถ้ายังนึกเสียดายกลัวโดนหลอก
ก็ให้ลดความเสี่ยงออกไปครึ่งหนึ่ง ถ้ามันทำดี ค่อยซื้ออีกทีก็ได้

อย่างที่ปู่โอนีลบอกแหละครับ เพราะราคามันวิ่งขึ้นแรงมาก
คนที่ได้ทุนต่ำพร้อมขายออกเพื่อเก็บกำไร ดังนั้น ถ้ามีการขายให้ราคาร่วงลงไปเรื่อยๆ
แม้วอลุ่มจะไม่เยอะ แต่มันหาก้นไม่เจอ ท่านต้องขายออกไปก่อน



๒) กรอบล่างของผืนธง
ถ้าเป็น การพักตัวในแนวระนาบ หรือเฉียงขึ้น ท่านสบายเลย เพราะหากรอบง่าย แต่ถ้าพักตัวเฉียงลง ถือว่าเล่นยากไม่น้อยเลยครับ เพราะเราไม่รู้ว่าก้นของมันจะอยู่ตรงไหน บางครั้งจึงต้องใช้เส้นค่าเฉลี่ยมาช่วยครับ

๓) เส้นค่าเฉลี่ย
โดยปกติแล้วหุ้นที่ทำ bullish flag จะเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง
ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ยที่สามารถเป็นแนวรับของโมเมนตัมขาขึ้นได้
ก็มีเส้น 10 วัน กับ 20 วัน
จะเป็น EMA, SMA, WMA หรืออะไรก็ได้ครับที่ท่านใช้ประจำ
ส่วนใหญ่มันควรจะเด้งที่เส้นพวกนี้ครับ
ถ้าเอาไม่อยู่ก็ ตัวใครตัวมันครับ


Take Profit ตรงไหน?
ตรงนี้แหละที่สำคัญ เพราะมันเป็นศิลปะที่มาพร้อมกับประสบการณ์
ซึ่งบอกตรงๆว่า ผมเองก็ยังไม่นิ่งแม้แต่นิด
มีทั้งขายหมูและก็เท่าทุน
เพราะ พอราคาวิ่งแรงก็โลภ อยากได้อีก
ครั้นวันต่อมามันย่อก็ต่อราคา
กว่าจะได้ขาย กำไรก็เหลือน้อยเต็มที บ่อยครั้งก็ถึงขั้นขายขาดทุนไปเลย
ตามตำราเขาบอกไว้ว่า....

๑) วัดเป้าไปเลย ระยะที่มันวิ่งจากด้ามธงขึ้นไปได้กี่บาท
หากทะลุขึ้นไปได้ ก็เอาระยะเท่ากัน
แบบนี้ใช้กันแพร่หลายมาก เพราะมันเป็นสูตร

ความจริงแล้วทรงนี้เหมาะกับการ selling into strength เอามากๆครับ

๒) หากอยากรันเทรนด์
ก็ให้ใช้เส้นค่าเฉลี่ยช่วยครับ
โดยปกติแล้วมักจะเป็นเส้น EMA10  เพราะมันเป็นหุ้นซิ่ง
หรือจะเป็นเส้นอื่นก็ได้ที่ท่านเห็นว่ามันใช้เด้ง
(หนังสือหุ้นซิ่งสวิงเทรด บอกรายละเอียดจัดเต็มมากครับ ลองอ่านดู)



คือถ้ามันย่อลงไปเด้งก็ทนถือไป
ถ้าหลุด ก็ขายไปซะ

แต่แนวนี้จะมีปัญหา ตรงที่หุ้นบางตัว มันดีดแรงมาก
พอได้กลับตัวก็ลงแรงเลย กว่าจะถึง EMA10 ก็กินทุนท่านแล้ว
ต้องจ่ายรอบวงไป

ดังนั้นท่านต้องคิดไวทำไวพอสมควรครับ
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ก็อย่าไปกะเก็งกำไรให้ได้ทุกรอบเลยครับ
เรากำหนดมันไม่ได้หรอก
เอาเป็นว่า ถ้าตลาดให้ก็เอา ไม่ให้ก็รักตัวให้รอด รักษาพอร์ตไว้ก่อน


สิ่งแวดล้อมที่ใช่
ความจริงแล้ว billush flag ก็ไม่ได้เวิร์คทุกสภาพตลาดหรอกนะครับ
ถ้าอ่านบทความแนวทางการเทรดของพี่แดนดู ก็จะรู้เลยว่าแกเป็น Markup trader
หรือนักเทรดที่ทำเงินได้ดีเฉพาะช่วงตลาดเป็นขาขึ้นเท่านั้น

เมื่อเป็นแบบนี้ ก็พอสรุปได้ว่า
bullish flag จะแม่นก็ต่อเมื่อตลาดหรือดัชนีเป็นขาขึ้นสุดคึกเท่านั้น
เพราะอะไร ก็เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เป็นใจนี่แหละครับ
ท่านคิดดูสิ ช่วงไหนที่นักเทรดกล้ามากที่สุด?
ก็ต้องเป็นตอนที่ตลาด หรือดัชนี เป็นขาขึ้นน่ะสิ
หุ้นซิ่ง วิ่งลิ่งกันวันละสองสามตัว แบบนี้แหละครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้
pattern อะไรที่ทฤษฎีว่าไว้ เป็นจริงหมดแหละ เพราะทุกคนสนุก
เหมือนไปดูคอนเสิร์ท นักร้องให้ทำยังไง ก็เฮตามกันหมด ว่าไงว่ากัน


แถมคลิป







สรุปก็คือ ทรง Bullish Flag นั้น คือทรงของหุ้นซิ่งครับ
พี่ Dan Zanger  ใช้ทำเงินได้เยอะมาก
โดยมันจะทรงประสิทธิผลมากที่สุดในตอนที่ SET มีแนวโน้มขาขึ้นสุดคึกเท่านั้นครับ
แต่ท่านต้องระวังอย่างยิ่งยวดเลยนะครับ พยายามตามตอนที่ราคา breakout เส้นกด
อย่าไปตามที่ปลายแท่งเขียวยาวเป็นอันขาด

บทความที่ทีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่ Dan Zanger

(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ