การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Breakaway Gap Winning & Losing Trade : RPH vs WPH

โดย  เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

วันนี้อยากแชร์ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก gap กันครับ
เอาแบบที่เล่นจริงเจ็บจริงให้เห็นกันเลย เพราะทฤษฎีเอ่ยกันมาเยอะแล้ว

เอาเป็นว่า ถ้าใครอยากรู้ว่าการเทรด gap แบบง่าย
จะได้เป็นไอเดียสำหรับคนที่ไม่รู้จะบริหารจัดการกับ gap ยังไง
เล่นแบบไหน จะหนีตรงไหน ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง?

บทความนี้ผมจะเปิดเผยแนวทางแบบหมดเปลือกให้อ่านกันเลยครับ

ก็อย่างที่ทราบกันว่า ผมชอบ gap มาก โดยเฉพาะ breakaway gap เพราะมันเป็นต้นเทรนด์ของหุ้นขาขึ้นบางส่วน ซึ่งก็เคยได้ตังค์มาแล้วกับ MEGA กับ KOOL
ซึ่งผมก็อวดให้ท่านอ่านทั้งในบทความ
- หุ้นเด้งของผม KOOL
- MEGA การขายหมูครั้งใหญ่ของผม

โดยแรงบันดาลใจก็มาจากคุณน้ำผึ้งครับ คลิปนี้เลยครับ
(ต้องให้เครดิตเธอเลย พูดกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ)


ปรากฎว่าใช้ดีเลยครับ จึงเอามาต่อยอดให้ท่านอ่าน
โดยในหนังสือทั้งสองเล่ม เขียว+ดำ ซึ่งมีทั้งเคสที่เล่นเอง และหุ้นที่โดดเด่นเข้าสูตร
เพราะชอบมากและใช้บ่อย จึงมักจะเห็นเคสเจ๋งๆมากมาย และเอาไปใส่ในหนังสือแบบจัดเต็ม

ใหนๆ ก็ไหนๆ เอ่ยถึงหนังสือ ขอโฆษณาเสียหน่อย
อยากได้เคสเพิ่มเติมก็ สั่งซื้อได้ครับ ตามลิ้งค์ในรูป


กลับมาเข้าเรื่องกัน
วิธีคิดเบื้องหลังของการหาหุ้นของผมคือ เน้นไปที่ "หุ้นดาวรุ่ง" ครับ
ดาวรุ่ง ก็คือหุ้นที่ทำต้นเทรนด์ขาขึ้นนั่นแหละครับ
จะทำยังไงให้ได้ของดี ซื้อแล้วมั่นใจ ก็ต้องดูพื้นฐานประกอบ
อธิบายง่ายๆแบบนี้เลย


ถ้าคุณได้อ่านงานของพี่มาร์ค แกจะพูดถึงหุ้นดาวรุ่ง อยู่ตลอดทั้งเล่ม
"หุ้นดาวรุ่ง" ของพี่มาร์ค มันมีลักษณะอย่างไร?
แกก็ใช้หลักการ SEPA หรือ Specific Entry Point Analysis เพื่อหาหุ้นตัวเต็งชั้นยอด
หุ้นที่มีศักยภาพเป็นหุ้นดาวรุ่งได้ เพื่อให้มีโอกาสชนะมากที่สุด

มี ๕ องค์ประกอบ ดังนี้...
๑) แนวโน้ม หุ้นจะวิ่งในช่วงที่พวกมันมีกำไรโต
๒) ปัจจัยพื้นฐาน คือกำไรปรับตัวดีขึ้น ก่อนที่มันจะโดดเด่น ราคาก็เริ่มเป็นขาขึ้นแล้ว
๓) ตัวกระตุ้น เป็นเชื้อเพลิงของการวิ่งเวฟ 3 เลย เช่น ได้รับใบอนุญาติจาก FDA, ได้สัญญาใหม่, ได้ CEO ใหม่, สินค้าใหม่ที่เขย่าตลาดให้เกิดความต้องการซื้อ หรือแม้แต่รอบวัฎจักรที่ได้จังหวะเริ่มขาขึ้นใหม่พอดี พวกนี้แหละที่ทำให้สถานสนใจอยากเห็น
๔) จุดเข้าซื้อ หาและรอตอนที่มีความเสี่ยงต่ำ และต้องทำในตอนที่ตลาดเป็นขาขึ้น
๕) จุดขายออก ขายเมื่อมันไม่เป็นอย่างคิด (stop loss) และ take profit เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของช่วงผลกำไรโดดเด่น

นี่เป็นไอเดียของพี่มาร์คนะครับ
ก็จะเป็นทฤษฎี กว้างๆ หลวมๆ นะ เอาไปใช้งานจริงยังไงก็ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม

หุ้นที่เข้าสูตร SEPA ของพี่มาร์คที่สุด จากประสบการณ์ของผมนะ คือ MEGA ครับ
ลองไปอ่านดูนะ MEGA การขายหมูครั้งใหญ่ของผม

ถ้าไม่ได้อ่าน ผมจะสรุปแบบง่ายๆคือ
๑) ผลประกอบการดีเยี่ยมครับ หรือกำลังจะมีสตอรี่ที่ทำให้กำไรโตเท่าตัว
๒) แต่ขณะตลาดยังไม่ให้ความสำคัญ หรือให้ราคาของมัน ท่านต้องรอให้มันเกิดการส่งสัญญาณขาขึ้นรอบใหม่ หรือถ้าได้ต้นเทรนด์รอบใหญ่ได้ก็ยิ่งดีครับ

สำหรับเคสของ MEGA เรื่องพื้นฐานเรารู้กันดีอยู่แล้ว ถ้าทำการบ้านมา ว่ามันมีความเติบโตมาอย่างเงียบๆ เพียงแต่กราฟดันแกว่งออกข้างรอเลือกทาง จนกระทั่งมีวันหนึ่งมันเปิด gap ขึ้นไป เป็น breakway gap นั่นแหละครับรถสปอร์ต ได้ออกตัวแล้ว 


ดังนั้น สูตรผม คือ 
๑) มองหาหุ้นที่มีสตอรี่ growth ในอนาคตอันไกล้ (ที่เราเข้าใจมันด้วยนะ เอาง่ายๆ)
๒) มองหาการเปิด gap ต้นเทรนด์ หรือที่เรียกว่า breakaway gap
๓) โดยหุ้นที่ผมให้ความสนใจมากที่สุดคือ หุ้นใหม่เพิ่งเข้าตลาด ที่โดนเทขายจนนอนก้น
เป็นหุ้น Class B ครับ


ใครไม่เข้าใจการแบ่ง class ก็เข้าไปอ่านได้ที่ https://www.zyo71.com/2018/08/5-class.html

อีกข้อคือ หุ้นจดทะเบียนต้องไม่เยอะครับ
เพราะหุ้นในตลาดไม่มาก เวลาเขาไล่ราคา มันจะไปแรงมาก
ผมจะเน้นไปที่หุ้นจดทะเบียนไม่ถึง 1,000 ล้านครับ
300 - 700 ล้าน กำลังสวย
ยิ่งถ้ามีเจ้าของถือ 30-50% ด้วยนะ สุดยอด
ถ้าสตอรี่มา กำไรโชว์ให้เห็น มีพัฒนาการเติบโตที่ดี
ฝันถึงกำไรเป็นเด้งได้เลย


ยกตัวอย่างล่าสุด ผมไปสะดุดกับหุ้น โรงพยาบาล ๒ ตัว ที่มีสตอรี่เติบโตคล้ายๆกัน
คือ RPH โรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่น
https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=rph&ssoPageId=3&language=th&country=TH

กับ WPH โรงพยาบาลวัฒนาการแพทย์ จังหวัดตรัง/กระบี่
https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=wph&ssoPageId=3&language=th&country=TH
ทั้งคู่ กำลังก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่เหมือนกัน

ทำไมต้องเป็นโรงพยาบาล บางท่านอาจสงสัย?
ในความเห็นส่วนตัวของผมนะ มันเข้าใจไม่ยากจนเกินไปนัก

แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังไม่รู้เรื่องค่าเสื่อม 
ต้องขอบคุณแอดมินเพจ labhoon ที่เล่าถึงหุ้นโรงพยาบาล จึงได้ความรู้เพิ่มขึ้น
จากคลิปนี้ครับ 

เขาเตือนมาว่า ระวังค่าเสื่อมตอนเปิดให้บริการ เพราะมันจะมาอย่างมหาศาลแน่
และเคสนี้มันเคยเกิดกับ BCH ไปแล้ว และราคาหุ้นก็จะโดนเทขายอย่างหนัก
จนกว่าทุกอย่างจะเข้ารูปเข้ารอย มีคนเข้ามาใช้จนถึงจุดคุ้มทุนนั่นแหละ
ราคาจึงจะได้วิ่งแรงรอบใหญ่

(งานของเพจนี้ดีนะครับ ท่านสามารถไป subscribe ช่องเขาได้)


มาดูกราฟกัน เดี๋ยวผมจะอธิบายให้เห็นเป็นจุดๆไป พร้อมอธิบายที่มาที่ไป


RPH : ตัวนี้ ผมเคยเข้าพลาดตอนที่ชี้ว่า FOMO (0)
FOMO คือ กลัวไม่ได้หุ้น รีบไปเข้าซื้อตอนที่ราคาย่ำฐาน ต้องการได้ราคาต่ำสุด
ผลก็คือ มันยังต่ำได้อีกน่ะสิ ต้องขายออกทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงไปก่อน

จากนั้นก็เฝ้าดู รอโอกาสดีๆ มาโดยตลอด จนกระทั่งมันเปิด gap (1) จึงเป็นฤกษ์งามยามดี
เพราะมันเป็นลักษณะของ buying strength พอดิบพอดี (หาอ่านได้ใน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" นะ)

หลังจากที่มันเปิด gap ไปแล้ว ก็ย่ำฐานออกข้างไปเป็นสัปดาห์
จากนั้นจึงดีดแรงขึ้นไปทำแท่งเขียวยาว
แต่ก็ไปต่อไม่ได้ เพราะไม่มีแรงซื้อเข้ามาสนับสนุน จึงต้องแกว่งออกข้าง
ก่อนที่จะโดนทุบให้ร่วงลงไปทดสอบระดับที่เพิ่งเปิดกระโดดขึ้นมา


ตามรูปครับ มันย่อลงไปไม่ถึงระดับที่เปิดกระโดด
ก็กลายเป็นว่า ความเป็น breakaway gap นั้นสมบูรณ์มากครับ

ทีนี้ ผมเองก็ไม่ได้ซื้อที่โลว์หรอกครับก็ได้ประมาณราคาปิด
ขอให้ท่านเลื่อนไปดูรูปก่อนน้านี้นะครับ เส้นประที่ผมลากพาด ระบุที่ปลายว่า (ทุน) น่ะ
ตอนที่ราคาร่วงลงมาทดสอบนั้น ก็สร้างความหวาดเสียวไม่น้อยเลยครับ
เพราะจากกำไรย้อนกลับมาขาดทุน ทำให้ปวดใจพอสมควร
แต่ด้วยความที่เราให้ stop loss ที่โลว์ของ gap จึงรอดตัวไป

นี่คือโลกจริงของการเทรด gap ครับ
มันไม่ได้กระโดดแล้ววิ่งเป็นม้ารวดเดียวไปเลย
แต่มันจะต้องมีการย่อเพื่อทดสอบแรงขาย ว่ายังเหลือมั้ย?
ถ้ายังมีความต้องการขายเหลือ ก็จะลงต่อแบบ WPH (เดี๋ยวจะให้ดูกราฟต่อด้านล่าง)
แต่ถ้าคนอยากขายน้อยลงมาก ราคาก็จะย่ำออกข้างแบบ RPH

พอถึงเวลาเล่น ก็จะมี demand เข้ามาไล่ซื้อ
ดันให้ราคาดีดขึ้นแรงอย่างที่เห็น
ปล. ราคาในตอนนี้ไม่น่าเล่นแล้วนะ เสี่ยงเกินไป

เมื่อกี้พาดพิงถึง WPH
ตัวนี้ผมก็เคยมีอยู่นะครับ เพราะสตอรีมันได้ แถมเปิด gap เหมือนกันอีก เข้าสูตรสิ
แต่ว่า ปลายทางของหุ้นสองตัวนี้ต่างกันคนละองศาเลยล่ะครับ
RPH ราคาวื่งขึ้น โลกสวยสดใส มีความหวัง
ส่วน WPH ยังย่ำที่โลว์ โดนขายกดดันน่ากลัว

มาดูกราฟกันเลยครับ WPH

อย่างที่บอก, ตัวนี้ผมก็เข้าเหมือนกันครับ
เพราะเปิด gap มาแบบนี้ เข้าทางเลย ซื้อตอนที่มันทำแท่งแดงเปิดกระโดด
จากนั้นก็ทำตัวคล้ายกับ RPH เลยครับ วิ่งขึ้นแรง
และมันก็ย่อหนักคล้ายกันอีกต่างหาก

แต่ความต่างคือตัว WPH นั้น ไม่ใช่ breakaway gap น่ะสิ
ผมก็อุตส่าห์ต่อราคายอมแดงติดลบ เพื่อวัดกันเลยว่า gap จะเอาอยู่มั้ย
เมื่อรู้ว่าไม่ไหว ก็ต้องยอมขายออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยง

นี่แหละครับ เคสการใช้งานจริงหุ้นที่เปิด gap โดยเราคาดหวังว่ามันจะเป็น breakaway
แต่ถ้ามันไม่ใช่ ก็ต้องหนีไปก่อน
เพราะทำตัวอ่อนแอ ไม่ตรงสเป็คหุ้นดาวรุ่งตามที่เรากำหนด

ปล. ทิ้งท้าย
แต่ต้องเตือนท่านไว้ก่อนนะ นี่เป็นความเชื่อส่วนตัวของผมเท่านั้น
ผิดเกินครึ่งนะครับ บอกไว้ก่อน
เพราะทุกโรงพยาบาลที่เข้าตลาดก็ต้องการระดมทุนสร้างตึกใหม่กันทั้งนั้น


ดู LPH สิ ร่วงซะหมดรูปเลย ดังนั้นอย่าไว้ใจผม อย่าลอกแบบคนร้อนเงิน
เพราะท่านจะซวยขาดทุนไปแบบเต็มๆ ถ้าไม่มีการคิดถึงความเสี่ยง

แนวทางการเคารพความเสี่ยง อ่านจากบทความนี้ครับ
Stop loss ง่ายขึ้นแน่ แค่คิดแบบนี้!
การเคารพความเสี่ยงแบบพี่มาร์ค

พวกนี้ผมเจอเองมาหมดแล้ว ถึงได้เขียนเตือนท่านเอาไว้
ก็คงมีน้อยคนนักที่จะบอกท่านในเรื่องแบบนี้


-------------------------
-------------------------
 -----(เซียว จับอิดนึ้ง ภูมิใจนำเสนอ) -----
หนังสือผลงานของผู้เขียนเองครับ
มีสองเล่ม พี่น้อง ดำ - เขียว
ถ้าท่านชอบบทความที่ผมเขียน อยากมีหนังสืออ้างอิงเก็บไว้
อยากอ่านเนื้อหา+เคส เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น


"หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" (เล่มดำ) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้น ด้วย กราฟวีค ก็จะเน้นการดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย price pattern จากนั้นก็รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จบลงที่การขายด้วย price pattern เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ อ่านเล่มเดียวจบ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ที่นี่

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" (เล่มเขียว) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 10,20,50, 100, 200 วัน ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness ครบวงจรเช่นกัน
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นซิ่งสวิงเทรด ที่นี่

ถ้าให้เทียบความต่างของทั้งสองเล่มนะ
เล่มดำเป็นการเขียนถึงภาพรวม ภาคทฤษฎี
ส่วนเล่มเขียว เป็นการเจาะลึก เน้นเคส เป็นภาคปฏิบัติ

อ่านจบสองเล่ม ท่านสามารถเดาใจผมได้หมด ว่าเทรดยังไง
เพราะมันเป็นการกลั่นออกมาจากประสบการณ์และมุมมองของผมเอง

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ส่งข้อความไปที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


ส่วน eBook มีขายที่เว็บ mebmarket.com เท่านั้นครับ
รายละเอียด คลิกที่ชื่อหนังสือเลยครับ
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่

------(ขอบคุณครับ)-----

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ