การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

หุ้นเด้งของผม GCAP

โดย Zyo : facebook.com/zyoit
สนับสนุนโดย ร้าน Zyobooks : facebook.com/zyobooks
หนังสือหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ : facebook.com/bigmovebook

ปีนี้ผมได้หุ้นเด้งแล้วตัวนึง คือ GCAP ก็ได้อย่างฟลุ๊คเช่นเคยครับ
เหตุผลที่ซื้อตัวนี้น่ะเหรอ? เพราะเห็นว่าช่วงนั้นหุ้นลีสซิ่งวิ่งกันเป็นอุตสาหกรรมไงครับ GCAP ก็เริ่มมีกระตุก ก็เลยคิดว่ามันน่าจะถูกเก็งกำไรตามกลุ่มแน่

ที่เลือะคิดว่าตัวนี้น่าจะวิ่งได้เป็นเด้งคือ จำนวนหุ้นน้อยครับ 200 ล้านหุ้นเอง เจ้าของถือโดดเด่นมาก 25% แบบนี้ถ้าไล่ราคาจริง น่าจะวิ่งไว และที่สำคัญมันอยู่ในอุตสาหกรรมนำตลาดด้วยไง มีโอกาสไปสูง
ปล. นี่ก็มโนเอาเองล้วนๆครับ

ดูกราฟกันก่อนว่าภาพรวมเป็นยังไง
ปลายปี 2016 ราคายังอยู่ที่ประมาณ 2.7 บาท ส่วนปัจจุบัน - โน่น 7 บาท วิ่งเกินเด้งไปแล้ว
จะว่าไปแล้วนะ ตัวนี้ผมจ้องมาตลอด เพราะมันมีหุ้นน้อยมาก ก็แอบเก็งอยู่เหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะวิ่งเสียที และแน่นอนครับ ผมไม่ได้แอบดอดเก็บที่ก้นแน่นอน เพราะเข็ด

มาดูต่อว่าผมซื้อและขายออกตรงไหน?

ก็คิดว่าตัวเองซื้อได้ดีแล้วนะ เพราะราคาเปิด gap ข้ามไฮเดิมได้ ก็คิดว่าน่าจะเป็น Breakaway gap นะ
แต่ที่ไหนได้ผ่านไปไม่กี่วัน ราคาก็ดิ่งลงหนักจนไปปิด gap ซึ่งผมขาดทุนแน่นอนครับ จากนั้นก็ยังลงต่อไปหยุดแล้วเด้งที่ 3 บาท

ทำไมผมถึงผ่านช่วงนี้มาได้โดยไม่ตกใจขาย?
เพราะตอนนั้นมัวแต่เขียน "หนังสือหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" อยู่ไงครับ เลยไม่ได้เฝ้าจอแบบจริงจัง บางวันก็ไม่ได้ดูเลย นี่ไงครับที่ผมพูดได้อย่างไม่อายใครว่าฟลุคสุดๆ

ก็ยอมรับว่าหุ้นตัวนี้ก่อนขึ้นมันเขย่าหนักหน่วงเอาเรื่องเลยนะครับมันสร้างฐานราคาซ้อนกันในช่วงการเขย่าถึงสองครั้งคือทำ cup with handle ในครั้งแรก ต่อมาก็ flag แล้วจึงซิ่งแหลก

แต่ด้วยเพราะช่วงนั้นผมมุเขียนหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตาย ก็เลยรอดพ้นช่วงเลวร้ายนั้นไปได้

และผลของการอดทน(หรือเปล่า?) ก็ให้รางวัลตอบแทนที่ดีมากครับ
คือมันซิ่งจาก 4.5 ไป 8 บาทภายในเดือนเดียวเอง ตอนนั้นนั่งเคลิ้มเหมือนคนเมากาวเลย

เมื่อดูจากผล คือราคาวิ่งแรง ก็ต้องเดาว่าเหตุคือการเขย่าสร้างฐานซ้อนฐานก่อนหน้านี้น่าจะเป็นกระบวนการเขย่าเอาของ สะสมหุ้น ดึงเข้าเก็บในคลังของ Market maker แน่นอนเลย

จากนั้นก็ถึงจุดขายครับ จำได้ว่าเป็นช่วงที่ผมขับรถเดินทางกลับจากต่างจังหวัดพอดี และได้ดู streaming ผ่านจอมือถือ ก็พบว่าราคาย่อแรงมากครับ เปิดตลาดมันถูกดันขึ้นไปเขี่ย 8 บาทซึ่งเป็นไฮเดิมแล้วยืนไม่อยู่ แล้วจากนั้นก็กราวรูดเป็นคนขี้แตกเลยครับ ตกใจสิครับ ผมเห็นท่าไม่ดีก็เลยจอดรถขายทิ้งที่โซน 7 บาทนั่นเอง  คือต้องการจะล็อกกำไรให้ได้อย่างน้อยสักเด้งก็เอาแล้ว อีกอย่างคือผมมองว่าเมื่อใดที่ราคาสวิงแรงวอลุ่มพีคก็มักจะเข้าเขต distribution แล้ว ถ้าพอใจกำไรก็ขายเถอะ

หลังจากเหตุการณ์จบไปแล้ว เรามาดูย้อนหลังกันอีกนิด
ถ้าเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาใช้เป็นตัวช่วยถือหุ้นตัวนี้

ถ้าใช้เส้น EMA10 มาช่วย ก็ถือว่าเสียของครับ เพราะราคาลงแรงมากในช่วงที่มันสร้างฐาน
แต่พอมันตั้งลำวิ่งขึ้นได้แล้ว ก็เคารพ EMA10 ได้ตลอดนะครับ ถ้าซื้อตอนที่ราคาทะลุ flag ขึ้นไปได้ ก็ราคาสักประมาณ 4.5 บาท ไปขายออกตอนที่ราคาละเมิดก็ 6.5 บาท กำไรประมาณ 44% ก็ใช้ได้อยู่นะ

สำหรับเคสนี้ก็ตอกย้ำว่าผมฟลุ๊คสุดๆ ที่สามารถทนถือข้ามช่วงเวลาการเขย่าในโซนสร้างฐานไปได้ จนกระทั่งเมื่อมันวิ่งแรงก็ออกผลกำไรให้เราได้อย่างเต็มอิ่มครับ

ก็ได้ข้อคิดเรื่องการสร้างฐานซ้อนนะ หุ้นตัวไหนที่สร้างฐาน Base on base พอข้ามไปได้ก็มักจะซิ่งแรง
EMA10 ใช้ได้ดีกับหุ้นที่มีการไล่ราคาแรง ถ้ามันเป็นฐานการวิ่ง แล้วเราเข้าได้จังหวะ กำไรไวเลยครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ