การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Stan Weinstein' Method

แนวคิดทางการเทรดของปู่ Stan Weinstein เป็นสไตล์เดียวกับ Jesse Livermore และ Nicolas Darvas ด้วยการพยายามระบุแนวโน้ม(stage)ของตลาดให้เป็นขาขึ้นก่อน จากนั้นจึงหากลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง สุดท้ายจึงหาหุ้นรายตัวที่แข็งแรงที่สุดในอุตสาหกรรมแกร่งนั้น
สรุปง่ายๆคือซื้อหุ้นแบบ top down (เริ่มจากสภาวะตลาด,กลุ่มอุตสาหกรรมและจบที่หุ้น)
            เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับพี่มาร์ค มิเนอร์วินี ในเรื่องของ stage หรือการระบุแนวโน้มของราคาหุ้น และแน่นอน, งานเขียนของผมที่ท่านจะได้อ่านก็จะเอาแนวคิดของท่านส่วนหนึ่งมาประยุกต์เช่นกัน
           โดยหนังสือที่ดังสุดๆของแกก็คือ Secrets for Profiting in Bull and Bear Markets ที่แสดงไว้ในรูปซ้ายมือท่านนั่นแหละครับ
มาดูแนวคิดหลักๆของแกเลย

ปู่ Weinstein ใช้เครื่องมือพื้นฐาน 5 ข้อต่อไปนี้ในการวิเคราะห์หุ้นรายตัว
๑) มีแนวต้านในหนทางข้างหน้าน้อยสุด
๒) มีความแข็งแรงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด โดยดู Relative Strength
๓) ราคาหุ้นเข้าสู่ขาขึ้น: โดยใช้ เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์เป็นตัวกรอง
๔) ราคาหุ้น breakout แนวต้านขึ้นไปได้ด้วยวอลุ่ม: เขาใช้เส้นแนวรับและต้านในแนวนอนเป็นหลัก
๕) มีการยืนยันจากวอลุ่มที่สูงในตอนที่ breakout

แนวคิดพื้นฐาน
ประเภทของนักเล่นหุ้น
- เทรดเดอร์ เล่นรอบสำหรับการเคลื่อนที่ 2-4 เดือน
- นักลงทุน เล่นรอบสำหรับการเคลื่อนที่ 12 เดือน

Time frames
- ระยะสั้น รอบ 1-6 สัปดาห์
- ระยะกลาง รอบ 6 สัปดาห์ - 4 เดือน
- ระยะยาว รอบ 4-12 เดือน

การย่อ (Pullback) : ราคาย่อลงไปไกล้ระดับราคาที่เพิ่ง breakout/breakdown


วิธีคำนวน Relative Strength:
ตอนนั้นแกก็ใช้ สูตรง่ายๆ คือ ราคาหุ้น/ราคาเฉลี่ยของดัชนี
แล้วปู่โอนีล ก็เอามาแตกยอดต่อเป็นของแกไง

Stage หรือระยะของหุ้น
ถ้าจะให้สรุปแบบหยาบๆ มันก็เหมือนการเอา Dow theory หรือ Wyckoff มาใส่เส้นค่าเฉลี่ย เพื่อช่วยในการแบ่งแนวโน้มหุ้น ว่าช่วงไหนเป็นขาลง, ขาขึ้น ให้ชัด และดูง่ายขึ้น นั่นเองครับ

Stage 1 สร้างฐาน
วอลุ่ม: แห้ง
ราคา : วิ่งขึ้นลงนัวเนียกับเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์
สัญญาณของการเคลื่อนที่เข้าสู่ stage 2: วอลุ่มเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่วิ่งลงอีก จากนั้นราคาทะะลุแนวต้าน และเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ขึ้นไปพร้อมกับวอลุ่มที่สูงขึ้น
โอกาสซื้อครั้งแรก : ซื้อตอนที่ราคา breakout แนวต้านขึ้นไป และตั้ง stop loss ใต้แนวต้านนั้น
โอกาสซื้อครั้งที่สอง : รอตอนที่ราคาย่อครั้งแรกที่ลงไปไกล้ๆระดับราคาที่เพิ่ง breakout ขึ้นไปได้ก่อนหน้านี้เป็นจุดซื้อ เพราะเสี่ยงน้อย เพราะเราจะเห็นความแข็งแรงของการ breakout และ pullback

Stage 2 ราคาวิ่งขึ้น (ขาขึ้น)
วอลุ่ม : สูงขึ้น หนาแน่นกว่า stage 1
ราคา : ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ได้ตลอด จุดต่ำสุดยกขึ้น
ใน stage นี้ ราคาหุ้นจะแกว่งตัวแรงขึ้น จากปฎิกริยาการเข้าซื้อที่รุนแรง
สัญญาณของการเคลื่อนที่เข้า stage 3: ราคาเริ่มเข้ามาแตะเส้นค่าเฉลี่ย

Stage 3: โซนจุดสูงสุด
วอลุ่ม: มักจะสูงมาก (วอลุ่มพีค)
ราคา : สวิงไร้แบบแผน นัวเนียเส้นค่าเฉลี่ย
เป็นการพบกันระหว่างผู้ซื้อที่เป็นรายย่อยมากันฝูงใหญ่ กับ นักขายที่กระตือรือร้นผู้มีหุ้นทุนต่ำจำนวนมาก
สัญญาณการเคลื่อนที่เข้า stage 4: เส้นค่าเฉลี่ยหยุดเฉียงขึ้น ราคาทะลุแนวรับลง
โอกาส : หนีเท่านั้น!! แต่ถ้ายังอาลัย ให้ขายออกไปครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นให้ตั้ง stop loss ที่แนวรับสุดท้าย

Stage 4: ระยะขาลง
วอลุ่ม: น้อย
ราคา : ลงแรง ต่อเนื่อง ไปอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย ทำจุดสูงสุดที่เตี้ยลง
โอกาส : ขายหุ้นออกให้หมด

สรุปเป็นภาพรวมได้ดั่งรูปนี้


ฐานราคายิ่งยาว ราคายิ่งวิ่งขึ้นแรง
- ยิ่งราคาวิ่งอยู่ใน stage 1 นานเท่าไหร่ เวลาทะลุขึ้นได้ จะวิ่งแรง
- เหตุผลคือหุ้นจะถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งในช่วงของการสะสมที่ยาวนาน รวมถึงผู้ถือหุ้นที่ไม่สนใจกำไรอีกเพราะเบื่อที่ราคาไม่ยอมไปไหนก็ขายหุ้นออกไป จึงทำให้จำนวนคนติดหุ้นเหลือน้อยลง
- ดีที่สุดคือ ราคาหุ้นได้วิ่งขึ้นไปแล้วอย่างมั่นคง 40-50% ก่อนที่จะ breakout

ซื้อหุ้นเมื่อไหร่?
๑) แนวโน้มตลาดเป็นขาขึ้น
๒) กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีกราฟทะลุขึ้นจาก satge 1 ไปสู่ stage 2 พร้อมกับแนวต้านต่อไปเหลือน้อย
อีกทั้งหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นก็เป็นขาขึ้นเช่นกัน
๓) หุ้นรายตัว
- แนวต้านถัดไปควรน้อยๆ หรือถ้ามีก็ต้องอยู่ห่างๆ แต่ถ้าจะให้สุดยอดก็คือไม่ควรมี (All time high)
- ราคาทะลุแนวต้านขึ้นไป
- Stage เปลี่ยนจาก 1 เป็น 2 ราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ที่วิ่งราบหรือเฉียงขึ้น แต่ให้ระวังว่าอย่าไปซื้อในช่วงปลายของ stage 2 เข้าล่ะ
- เส้น Relative Strength วิ่งเฉียงขึ้น หรือข้ามจากแดนลบไปแดนบวก
- วอลุ่ม : ตอนที่ breakout ต้องสูงอย่างมีนัยยะ สำหรับกราฟรายวันควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกราฟรายสัปดาห์ควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว

การซื้อตอนย่อ
- หลังจากการ breakout ที่แข็งแรง, ถ้าราคาย่อลงมาไกล้เส้นค่าเฉลี่ยพร้อมกับวอลุ่มที่ลดลง ถือว่าเป็นอีกจุดซื้อที่ดี

ซื้อในช่วงกลางแนวโน้มขาขึ้น
- ซื้อเฉพาะตอนที่ราคาทำรูปแบบพักตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ที่เฉียงขึ้น และเกิดการ breakout แนวต้านขึ้นไปได้

การตั้งซื้อ
- ถ้าราคา breakout พร้อมวอลุ่มที่สูงเป็นนัยยะ แถมย่อวอลุ่มแห้ง สามารถซื้อตอนย่อได้อีกครึ่งหนึ่งตรงที่ราคาลงมาไกล้ๆระดับที่เพิ่ง breakout ขึ้นไป
- ถ้าวอลุ่มไม่มากตอนที่ราคา breakout ให้ขายออกตอนที่ราคาวิ่งขึ้นไปต่อ หรือขายออกตอนที่ราคาหลุดทะลุระดับที่เพิ่ง breakout ขึ้นไปก่อนหน้า

การตั้ง Stop loss
- ถ้าจุด stop เป็นตัวเลขกลมๆ ให้เลื่อนลงไปต่ำกว่านั้นอีกช่อง เพราะส่วนใหญ่คนมักจะชอบซื้อที่ตัวเลขกลมๆ
สำหรับนักลงทุน
- จุด stop แรกคือระดับราคาที่อยู่ต่ำกว่าแนวรับของกรอบการแกว่งของราคา
- เมื่อเห็นแนวรับต่อไปได้ชัดเจนแล้ว
ถ้าแนวรับอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย ให้ยก stop ขึ้นไปวางที่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยที่อยู่ใต้แนวรับนั้น
ถ้าแนวรับอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย ให้ตั้ง stop อยู่ใต้แนวรับนั้น
- แต่ถ้าหากเส้นค่าเฉลี่ยนั้นวิ่งราบไม่เฉียงขึ้นแล้ว ให้เลื่อน stop ไปอยู่ใต้แนวรับที่เพิ่งทำไว้ล่าสุด

สำหรับเทรดเดอร์
- หุ้นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ ไม่ค่อยย่อไปต่ำกว่าระดับที่เพิ่ง breakout ไปเกินกว่า 4-6%
ดังนั้น ให้ตั้ง stop ที่ไกล้ๆระดับราคาที่เพิ่ง breakout หรือต่ำกว่านั้นไม่เกิน 4-6%
- เมื่อราคาทำแนงรับใหม่ให้เห็นแล้ว ก็ให้ยก stop ขึ้นไปวางที่ใต้แนวรับนั้นเลย
- เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยนั้นวิ่งราบไม่เฉียงขึ้นแล้ว (เป็นสัญลักษณ์ของ stage 3) ให้ยก stop ไปอยู่ใต้แนวรับที่เพิ่งทำไว้ล่าสุด
- ถ้ามันมี trendline ที่เป็นนัยยะ(คือพาดจุดต่ำสุด 3 จุด) ให้ตั้งจุด stop ที่ต้องขายออกครึ่งหนึ่งเมื่อราคาหลุด trendline ลงไป แม้ราคาจะยังไม่ได้ทำแนวรับใหม่ก็ตาม แล้วถ้าหากมันทำแนวรับเหนือ trendline ได้แล้ว ให้ยก stop ไปวางที่แนวรับใหม่นั้น

สรุปแนวคิดเป็นรูปก็จะได้ดั่งนี้

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ