แนะนำอีบุ๊ก "เคล็ดลึกสวิงเทรด"

Image
แนะนำอีบุ๊ก "เคล็ดลึกสวิงเทรด" ซื้ออีบุ๊ก "เคล็ดลึกสวิงเทรด" ลดราคา 20% ที่ https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 หากคุณกำลังมองหาความรู้ที่ลึกซึ้งและใช้งานได้จริงในโลกของการสวิงเทรด หนังสือเล่มนี้คือสิ่งที่คุณไม่ควรพลาด! "เคล็ดลึกสวิงเทรด" ไม่ใช่แค่หนังสือพื้นฐานที่สอนทฤษฎีทั่วไป แต่เป็นคู่มือที่เกิดจากประสบการณ์จริงของนักเทรดมืออาชีพผู้ประสบความสำเร็จ ด้วยเนื้อหาที่ล้ำลึกและกลยุทธ์ที่ไม่ได้เขียนไว้ในหนังสือพื้นฐานทั่วไป คุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการสวิงเทรดที่ใช้ได้จริง พร้อมรายละเอียดที่สามารถนำไปปรับใช้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำไมอีบ๊กเล่มนี้ถึงเหมาะกับคุณ - เขียนโดยนักเทรดตัวจริง ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง ไม่ใช่แค่ทฤษฎีในตำรา - เน้นการใช้งานจริง ทุกกลยุทธ์สามารถนำไปปรับใช้กับการเทรดของคุณได้ทันที - เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่และมืออาชีพ เพราะเนื้อหาถูกเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายแต่ทรงพลัง ใครควรอ่านหนังสือเล่มนี้ - นักเทรดที่ต้องการพัฒนาทักษะสวิงเทรดอย่างก้าวก...

Wyckoff Accumulation vs VCP & Pocket Pivot Buy Point

Wyckoff Accumulation vs VCP & Pocket Pivot Buy Point


ผมคิดว่าทั้ง 3 แนวคิดที่ว่าไปนี้ เป็นการพูดถึงเรื่องเดียวกันแต่ต่างบริบท

เริ่มต้นที่ Wyckoff Accumulation กันก่อน เพราะมีรายละเอียดเยอะ แต่มันก็เป็นพื้นฐานที่ดี

PS -  Preliminary support ราคาลงมาหนักมาก เกิดเป็นแท่งแดงลงมาต่อเนื่อง เริ่มมีคนเฝ้าสังเกตุการลงของราคาบ้างแล้ว เพราะเชื่อว่าการลงไกล้สิ้นสุดในไม่ช้านี้



SC – selling climax เกิดแท่งแดงยาวพร้อมกับปริมาณการซื้อขายมากมายมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงขาลงที่ผ่านมา ในการตกใจขายครั้งนี้กลับมีนักซื้อมืออาชีพคอยรับหุ้นไว้เป็นระยะๆ ที่จุดต่ำสุดนี้เองจะเป็นตัวกำหนดช่วงราคาต่ำสุดของรอบ

AR – automatic rally (ราคาเด้งขึ้นทันที) เมื่อแรงขายหมดกำลัง แต่ความต้องการซื้อยังคงมีมากกว่า เพราะมีคนต้องการ cover short หรือซื้อหุ้นคืนจำนวนมาก จึงผลักดันราคาให้วิ่งขึ้นไปอย่างง่ายดาย ซึ่งจุดสูงสุดของการเด้งครั้งนี้จะเป็นตัวกำหนดกรอบบนของช่วงการซื้อขายในระยะถัดไป

ST – secondary test ราคาไหลกลับลงไปหาโซนต่ำสุดที่เกิด selling climax เพื่อทำการทดสอบ demand/supply ที่บริเวณนี้อีกครั้ง ถ้าเป็นการคอนเฟิร์มว่าต่ำสุดจริง-แรงขายต้องลดลงมากๆวอลุ่มก็น้อยลง แท่งราคาก็ต้องแคบลงอย่างชัดเจน เมื่อยืนยันว่าใช่ – จะยึดถือว่าบริเวณ SC จะเป็นแนวรับ

The “Creek” เป็นเส้นหยักของแนวต้านที่ลากจากยอดสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาที่วิ่งในกรอบ มันมีเส้นแนวต้านย่อยหลายเส้น (เรียกง่ายๆคือ เทรนด์ไลน์ของแนวต้าน) ความสำคัญของเส้นนี้คือช่วยเป็นจุดสังเกตุว่าราคามีการ breakout เปลี่ยนผ่านจากการสะสมเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริงนั่นเอง

“Springs” or “shakeouts” มักเกิดในช่วงปลายของช่วงการสะสม โดยรายใหญ่จะใช้หุ้นจำนวนไม่มากเทขายกดราคาลงไปยังโซนแนวจุดต่ำสุดเก่าและกดให้หลุดลงทะลุไปได้ เพื่อทดสอบว่ายังมีแรงตกใจจากรายย่อยขายตามมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีน้อยมากก็ถือว่าจบพิธีกรรมการสะสม การไล่ราคาขึ้นไปเป็นขาขึ้นก็เริ่มได้ทันที

“Jump” – continuing the creek analogy ราคาวิ่งกระโดดขึ้นไปหาเส้น creek หรือเส้นเทรนด์ไลน์แนวต้าน หากการกระโดดประสบความสำเร็จคือยืนได้ จะเกิดแท่งเขียวยาวพร้อมวอลุ่มมหาศาล



SOS – sign of strength ราคาวิ่งขึ้นต่อไปอย่างรวดเร็วเป็นแท่งเขียวยาวพร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นตาม
หากประสบความสำเร็จ ราคาก็จะ breakout trendline ขึ้นไปได้ พร้อมวอลุ่มมหาศาล และสามารถยืนเหนือแนวต้านได้
ตัว SOS นี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญ

BU (back-up)/LPS (last point of support) เป็นจุดสิ้นสุดแรงแรงต่อต้านหรือการย่อหลังจาก SOS โดยเกิดหลังจาก SOS ที่มีการไล่ราคาร้อนแรง ทำให้มีนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนบางส่วนที่กำไรขายทำกำไร และยังมีอีกบางส่วนที่ติดดอยก็ร่วมขายด้วยเพราะทนไม่ไหว
ด้วยแรงขายมีจำนวนมาก จึงกดให้ราคาลดลงมาหาเส้นแนวต้านที่เพิ่งผ่านมาได้ โดย LPS ก็เป็นแนวต้านที่เป็นจุดสุงสุดเดิม - เมื่อราคา breakout ขึ้นไปได้แล้วก็หมดสภาพความเป็นแนวต้าน แต่นักลงทุนจะเปลี่ยนให้มันเป็นแนวรับ โดยคาดหวังว่าราคาที่ลงมาไม่ควรหลุดเส้นนี้
ซึ่งแท่งราคาที่ย่อลงมาหา LPS นี้ควรจะเป็นแท่งสั้นและวอลุ่มน้อยมากๆ
ถ้าทุกอย่างเป็นดั่งนี้ คือย่อลงมาแล้วเด้งบน LPS ขึ้นไปได้ ถือเป็นจุดเข้าซื้อที่ดีอีกจุดหนึ่ง

ตัวอย่าง
เดี๋ยวผมจะลองยกตัวอย่างของจริงให้ดูกัน เอา COL นี่แหละครับ
เอาตัวที่มันแตกต่างและควรแยกจากพวกก่อน เพราะถ้ารวมกันจะเละ คือ Creek เพราะมันเป็นเทรนด์ไลน์ที่ลากเชื่อมต่อจากจุดสูงสุดถึงกัน ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคามันไม่เป็นเส้นตรง ขึ้นๆลงๆ คลื่นก้อนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ดังนั้นเส้น creek จึงมั่วและเปะปะไปหมด ซึ่งก็ควรจะเป็นอย่างนั้นเพราะถ้าลองนึกให้ดีนะครับ ตอนนั้นเราไม่ได้เห็นภาพใหญ่จากต้นจนแบบนี้ จบวันราคาจะขึ้นมาวันละแท่งเท่านั้น หน้าที่ของเราคือเฝ้าลากเส้นเป็นแนวดักเอาไว้ โดยหวังว่าวันต่อไปมันจะดีดแรงทำ SOS ขึ้นไปทะลุเส้นได้ในที่สุด

ต่อมา ผมจะลองกางกราฟแล้ว เอาลักษณะเด่นของแต่ละจุดมาใส่กัน (เท่าที่จะเป็นไปได้นะครับ)
ก็จะได้ดั่งนี้
จริงๆแล้ว ทรงของหุ้นตัวนี้ก็ไม่เป๊ะตามทฤษฎีทุกจุดหรอกนะ

PS ก็ไม่ลงแล้วเด้งขึ้นแรงเหมือนทฤษฎี แต่ผมอยากให้สังเกตุจุดนั้นให้ดี ว่าแท่ง PS นั้นมันเกิดพร้อมวอลุ่มสูงมาก คือเกิดแรงขายหนัก เป็นเพราะเปิด gap ลงและหลุดแนวรับด้วย ซึ่งถ้าเราอยู่หน้างานในวันนั้นคงจะแอบบคิดว่านี่น่าจะเป็น Selling Climax แต่เนื่องจากมันไม่เด้ง กลับออกข้าง แล้วค่อยๆซึมลง กระทั่งในที่สุดก็เกิดแท่งแดงต่อเนื่องติดต่อหลายวัน และแดงยาวตรงที่ผมชี้ว่าเป็น Selling Climax นั่นแหละครับ

ต่อมาจึงเกิด Automatic Rally ที่เข้าสูตร แล้วก็ย่อลงมาทำ Secondary Test(ST) แบบซึมๆ
สังเกตุมั้ยครับ ST ที่เกิดกับหุ้นตัวนี้มันไม่ลงลึกกว่า SC ตามแบบทฤษฎี สื่อว่ามีคนรีบเข้ามารับซื้อก่อนที่ราคาจะลงไปถึงจุดต่ำสุดของ SC ที่ทำไว้

เมื่อราคาหยุดลง มันก็เด้งขึ้น แต่ก็เป็นการซื้อแบบอ่อนแอ กระนั้น, มันก็ลงแบบอ่อนแรงเช่นกัน
แต่การลงแบบอ่อนแรงนั้นมันมีโมเมนตัมเข้ามาร่วมด้วย คือเมื่อคนเห็นว่าราคามันไม่ไปไหน ยิ่งมาก็ยิ่งลงก็เลยตัดใจขาย เขี่ยให้ราคาลงมาเรื่อยๆ กระทั่งลงไปเจอจุดต่ำสุดของราคาที่ ST ทำไว้ ก็มีการซื้อที่ราคานั้นขึ้นไปทันที แต่ไม่มีคนเล่นด้วย เลยขึ้นไม่กี่ช่อง แล้วก็ลงต่อเพราะขาดศรัทธาว่ามันจะขึ้นได้ไง อีกอย่างมันก็ประจวบเหมาะกับสภาพตลาดด้วยจึงเกิดแท่ง Spring แดงลงไปทำนิวโลว์แล้ววันต่อมาก็มีเขียวซื้อคืนดันกลับไปปิดเหนือแนวรับทันที แบบนี้ค่อนข้างชัดว่า แนวรับ ST นั้นมันยังมีความสำคัญอยู่

และตามสูตรของทฤษฎี เมื่อมี Spring แล้ว มันต้องเกิดการ Jump และ SOS ต่อเนื่อง
ซึ่งมันก็เป็นเรื่องบังเอิญเหลือเกินว่าตอนนั้น พื้นฐานเปลี่ยนพอดี คือบริษัทประกาศเลิกธุรกิจ Online ที่เป็นปัญหาถ่วงกำไรออก ส่งให้นักลงทุนเชื่อมั่น เลยไล่ซื้อกันอย่างบ้าคลั่ง
โดยเริ่มจาก Insider แอบซื้อทำให้เกิดแท่ง Jump
แล้วต่อมา เมื่อนักลงทุนรับรู้กันมากขึ้น จึงเกิดการไล่ซื้อ กลายเป็นแท่ง SOS ในที่สุด



ต่อมา VCP
Volatility Contraction Pattern หรือ VCP ถ้าจะอธิบายความหมายแบบหยาบๆก็คือ การที่ราคาแกว่งตัว ยิ่งมา ยิ่งแคบลง แคบลง จนในที่สุดก็จะมีการไล่ราคาขึ้นไปใหม่

ดูกราฟ COL อีกรอบนะครับ ในมุมของ VCP ว่ามันจะเป็นยังไง
เห็นลักษณะการแกว่งตัวที่แคบลงเรื่อยๆนะครับ
ตัวนี้ก็เลยเข้าสูตร VCP เช่นกัน กระนั้น,มันไม่ตรงเป๊ะกับความต้องการของผู้ให้กำเนิดนัก เพราะเขาต้องการให้มันเกิดในขาขึ้นเท่านั้น ขาลงไม่แนให้เล่น
ก็ดูเป็นไอเดียไปก็แล้วกันครับ ว่าแนวคิดมันเป็แบบนี้

แล้ว Pocket Pivot Buy Point ล่ะมันอยู่ตรงไหน?
คิดว่าบางคนน่าจะนึกออกแล้วนะ
มันก็จะมีอย่างน้อย 2 จุดแน่ๆ คือ แท่ง Jump กับ SOS
อย่าง COL นี่ก็จะเห็นเด่นชัดแค่ Jump คือที่ผมชี้ pivot แล้วแท่ง SOS ก็คือที่ยาวๆนั่น ก็ pivot แน่นอน
ซึ่งสัญลักษณ์อีกอย่างของ SOS คือมันต้องได้ breakout เพื่อข้ามกรอบสะสมไปได้ด้วยนั่นเอง

ลองเอาไปต่อยอดกันดูครับ



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)