การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

หุ้น Fast & Furious

ปั้นน้ำเป็นตัวโดย เซียว จับอิดนึ้ง

เย็นวันหนึ่ง ช่วงที่รอเวลา ก่อนที่ ไบรอัน โอคอนเนอร์ กับ โดมินิค ทอเร็ตโต้ (ดอม) จะลงแข่งดริฟท์ขำๆกับกลุ่มขาซิ่งในละแวกไฮเวย์บางนา-ตราด ไบรอันก็ได้พูดคุยกับดอมหลายเรื่อง ตามประสาเพื่อนซี้

หลังจากที่เกิด dead air พักหนึ่ง เพราะหมดเรื่องคุย ไบรอัน ก็เริ่มบทสนทนาที่แปลกออกไป
"เออ...ช่วงนี้ ตลาดหุ้นมันขึ้นแรงใช้ได้อยู่นะ ปู่ SET วิ่งทะลุ 1,600 จุด ไปอย่างหน้าตาเฉย"
"นั่นสิ ฉันน่ะโคตรแฮปปี้เลยว่ะ ทำเงินได้ดีมากเลย" ดอมผสมโรงอย่างเห็นด้วย
"นายว่าไงนะ ดอม...แกเล่นหุ้นด้วยเหรอ?" ไบรอัน ถามอย่างประหลาดใจ
"ก็เล่นสิวะ เงินมันเหลือๆ ฝากธนาคารก็ไม่ได้ เอามาเล่นหุ้น กำไรดีกว่าฝากธนาคารเยอะด้วย
แถม มันส์ สูบฉีดหัวใจดีไม่แพ้แข่งรถเลยนะพวก" ดอมสำทับด้วยอาการกระหยิ่ม

"แล้วนายเล่นยังไง? วีไอเหรอ?" ไบรอันชักสนุก รุกถามต่อ
"หน้าอย่างกูเนี่ยนะจะไปเป็นวีไอ? เรื่องซิ่งนะ ไม่จำเป็นต้องอยู่บนถนนเท่านั้นหรอกนะพวก ในตลาดหุ้นมันก็มีเลนให้ซิ่ง มันส์ไม่แพ้กัน แถมไม่ถึงชีวิตด้วย" ดอมโพล่งสวนทันที

"น่าสนใจ แล้วนายทำยังไง เล่าให้ฟังหน่อยสิ ช่วงนี้พวกเราก็ไม่ค่อยมีงานซะด้วย อยากลองดูบ้าง" ไบรอันถามต่อทันทีด้วยความอยากรู้
"เอาล่ะๆ...เดี๋ยวค่อยๆ เล่าให้นายฟัง ทะละช็อตนะ" ดอมก็ชักรู้สึกคันปากอยากเล่าเหมือนกัน

"ตอนแรกแกต้องมั่นใจว่าตลาดมันเป็นขาขึ้นก่อน" ดอมเริ่มอารัมภบท

ไบรอัน: ขาขึ้น ดูยังไง?
ดอม: นายยังดูกราฟไม่เป็นใช่มั้ยล่ะ ก็ต้องไปส่องเพจหุ้น โบรคเกอร์ดู ถ้าทุกแหล่งคอนเฟิร์มว่า เป็นขาขึ้นกันหมด ก็เชื่อขนมได้ว่า ตลาดมันเป็นขาขึ้น
ต่อมาแกก็ต้องไปดูหุ้น นายจะเห็นเลยว่ามีการซื้อขายกันคึกคัก มีหุ้นลิ่งให้เห็นทุกวัน  หุ้นส่วนใหญ่ทำแท่งเขียววิ่งต่อเนื่อง 3-4 วันติด ราคาทำนิวไฮได้เรื่อยๆ ทุกวัน

ที่สำคัญวอลุ่มก็ต้องสูงขึ้นตามแท่งด้วยนะ เอาแบบว่าวันก่อนๆที่ราคายังไม่ได้วิ่งน่ะ วอลุ่มแทบมองไม่เห็นยิ่งดี เพราะมันบ่งบอกว่าขาขึ้นกำลังเริ่ม

ไบรอัน: ทำไม?
ดอม: วอลุ่มสูงๆ มันหมายความว่ามีการแลกเปลี่ยนหุ้นกันอย่างคึกคักไง
เหมือนมึงไปตลาดสดน่ะ ยิ่งคนเยอะ ก็ซื้อขายกันสนุกใช่มั้ยล่ะ ตลาดหุ้นก็เหมือนกัน
ราคา bid-offer มันทำหลอกกันได้ แต่ Volume ไม่มีใครทำหลอกกันได้หรอก เพราะมันต้องใช้เงินจริงในการซื้อหุ้น
ดังนั้น ถ้าเจอหุ้นที่ราคาบวกเยอะๆ แถม Volume สูงปรี๊ดต่างกับวันก่อนหน้า 10 เท่า มีโอกาสจะวิ่ง

ไบรอัน: ทำไมต้องทำวอลุ่มต้องเยอะด้วย?
ดอม: เพราะเจ้ามือต้องการซื้อหุ้นเพื่อให้ชนะแนวต้านไง? ใครขายใส่เขาก็รับหมด รับเพื่อต้องการเอาไปขายที่ราคาเป้าหมาย อีกอย่างการสร้างวอลุ่มให้เยอะๆก็เป็นการเรียกแขกให้มาสนใจด้วยไง เพราะมันจะไปเข้าเกณฑ์สแกนหุ้นของทุกสำนักด้วยไง เมื่อใครๆรู้ว่าตัวนี้วอลุ่มเข้า มันก็จะเป็นจุดสนใจของนักเก็งกำไรทั้งหลายให้เข้ามาสนุกด้วยกัน

ไบรอัน: ดูยังไงว่าหุ้นตัวนั้นต้องซิ่งเร็วๆนี้?
ดอม: ก่อนอื่นนะหุ้นตัวนั้นต้องเป็นขาขึ้น และต้องส่งสัญญาณต่อสาธารณชนคนเล่นหุ้นให้รู้ทั่วกันก่อน นักเก็งกำไรเขาเรียกว่า "เรียกแขก" สัญญาณที่ว่านั้นคือ
แท่งเขียวยาวใหญ่ + Volume มหาศาล เป็นการป่าวประกาศให้โลกรู้ว่าหุ้นตัวนี้มีการทำราคาให้เล่นกันแล้ว ใครยังไม่ทันก็เข้ามาได้ ยังไม่สาย


ไบรอัน: เมื่อกี้นายพูดถึง "แนวต้าน" มันคืออะไรทำไมต้องเอาชนะ?
ดอม: แนวต้านคือช่วงราคาที่ราคาหุ้นไม่เคยขึ้นผ่านไปได้ไง ในช่วงราคานี้จะมีทั้งคนที่ติดหุ้นที่ราคานั้น และคนที่เล่นรอบสั้นๆ พร้อมใจกันมาตั้งขายที่ตรงนั้นกันไง ถ้าไปดูสตรีมมิ่งที่ offer จะมีจำนวนหุ้นมากๆ มากว่าช่องอื่นแบบเยอะๆ ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าแนวต้าน

การที่มีใครสักคนขนเงินจำนวนมากมาไล่ซื้อไล่เก็บหุ้นที่ตั้งขายในแนวต้านให้หมด แสดงว่าเขามองเห็นว่าอนาคตมันต้องมีอะไรดี ดีพอที่พอข่าวออกมาแล้วคนจำนวนมากๆ เข้ามาแย่งซื้อหุ้นต่อจากเขาในราคาที่แพงกว่านี้โดยไม่ได้คิดมาก
เราจะเริ่มสนใจเมื่อราคาทะลุกรอบแนวต้านไป เช่นกรอบแนวต้านเดิม 2-2.96 บาท แล้วราคาเบรค 2.96-3 บาท มาพร้อมวอลุ่มที่สูงแบบทะลักทลาย และปิดที่ 3.18 เป็นแท่งเขียวยาว เรียกว่าเป็นการเบรคจริงๆ แต่ถ้าราคาปิดยืนไม่อยู่เหนือแนวต้าน กลับทิ้งไส้ ก็จะเป็นแท่งที่มีปัญหา ราคาวันรุ่งขึ้นมีโอกาส ลงกลับมาในกรอบ แสดงว่าเจอเบรคหลอกแล้ว

ไบรอัน: เจอหุ้นที่มีแท่งยาวที่มาพร้อมวอลุ่มแล้วทำไงต่อ?
ดอม: รอดูตอนมันย่อและพักตัว จับตาที่วอลุ่มในช่วงนั้น มันต้องแห้งมาก แสดงว่า แรงขายหมด

จากนั้นก็รอ รอจนกระทั่งราคาขึ้นไปทะลุไฮล่าสุดพร้อมกับวอลุ่มสูงทะลักอีกครั้ง จึงเป็นจุดเข้าซื้อ เพราะรายใหญ่รู้แล้วว่าแรงขายหมด จึงตัดสินใจเข้าไปไล่ราคา จะขึ้นได้สูงมาก โดยใช้เงินลงทุนน้อย การที่หุ้นพักตัวเสร็จ เราสามารถดูได้ "ใน 30 นาทีแรกของการซื้อขาย" เราจะซื้อวันที่เขียวยาวนี้ เรามั่นใจได้เลยว่ามันจะขึ้นแรงๆ ทำกำไรให้เราแน่ๆ


ไบรอัน: กำไรทันทีเลยเหรอ Fast and Furious ปานนั้นเชียว?
ดอม: Fast กว่ากามนิตหนุ่มเลยล่ะพวก แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องไปต่อนะ และถ้าอยากจะปลอดภัยต้องดู "ระยะพักตัวที่ใช่" ให้เป็น

ไบรอัน : "ระยะพักตัวที่ใช่" เขาดูกันยังไง?
ดอม: ให้ดูแท่งเทียนก่อน มันจะเป็นแท่งเล็กๆแคบๆ แบบโดจิ หรือมีเนื้อก็เป็นแบบบางๆ ถ้ามีไส้ก็ต้องไม่ยาวมาก ต่อมาให้ดูวอลุ่ม ต้องมีน้อยกว่าวันที่เกิดแท่งเขียวยาวแบบฟ้ากับเหว



ไบรอัน: ทำไมต้องเป็นรูปแบบนี้เสมอ?
ดอม: เพราะเป็นช่วงที่รายย่อยขายหุ้นออกมาให้เจ้ามือหมดวันสุดท้าย คือตอนแรกน่ะ หุ้นมันจะโดนขายให้ลงหนัก ราคาจะทำเป็นแท่งแดงยาว แต่ถ้าดูภาพใหญ่ของการขึ้นรอบล่าสุดน่ะ มันย่อไม่ลึกมากจนเสียทรง คือไม่ควรเกินครึ่งของรอบการขึ้น

พอต่อมาแท่งราคาจะแกว่งแคบลง แคบลง จนแทบจะเป็นเป็นโดจิ ซึ่งยิ่งเป็นโดจิยิ่งดีใหญ่  เพราะมันหมายความว่าคนที่อยากจะขายมันน้อยลงแล้ว เมื่อกดก็ไม่ยอมลง ต่อไปจะไล่ราคาขึ้นก็ง่ายแล้ว

ไบรอัน: อยากรู้แล้วล่ะ ว่าซื้อตอนไหนดี?
ดอม: ตอนที่มันเริ่มวิ่งไง เอาแบบว่ามันจะออกวิ่งแน่ๆ จึงบอกว่าตอนพักตัวอย่าเพิ่งเข้า เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะพักตัวไปตลอดกาลไม่มีวันฟื้นเลยหรือเปล่า หรือเจ้ามือโรคจิตกดราคาไว้ให้อึดอัดนานเท่าไรก็ไม่รู้
หรือถ้านายโรคจิตกว่า กูจะซื้อตอนวอลุ่มแห้งแท่งสั้นนี่แหละ หลุดโลว์ของแท่งเมื่อวาน กูหนี ก็ได้

ไบรอัน: ตอนที่มันเริ่มวิ่ง ดูยังไง?
ดอม: แน่นอนต้องเกิดแท่งเขียว หรือบางตัว bullish มากๆก็อาจจะเปิด gap ขึ้นเราต้องเข้าตอนที่มันเริ่มวิ่งนะ ซื้อตอนที่ราคามันบวกไปไม่เยอะ ไม่ควรเกิน 5 ช่อง เพราะเราต้องคิดเผื่อจุด stop loss ของเราด้วย
สัญญาณการเริ่มวิ่งให้ดูที่วอลุ่มด้วย ตัวนี้สำคัญ จุดเปรียบเทียบคือวอลุ่มวันที่มันพักตัว ที่ว่าวันวอลุ่มแห้งนั่นแหละ ให้เราเอาวอลุ่มจากวันที่แห้งมาเป็นตัวตั้ง วันถัดไปถ้าภายในชั่วโมงแรกมากกว่า 1/4 ของวันก่อนหน้า จุดนี้คือ จุดที่หุ้นได้พักตัวเสร็จแล้ว และถ้าหุ้นเป็นบวก เราก็ซื้อก่อนไม้หนึ่งทันที จากนั้นถ้าหุ้นขึ้นต่อ จึงค่อยซื้อไม้สองและสามตามและรันกำไร




ไบรอัน: ทำไมต้อง 1/4 ?
ดอม : อ้าว ไอ้นี่...หุ้นน่ะ วันนึงเขาเล่นกันแค่ 4 ชั่วโมง มึงก็แบ่งดูสิ ถ้าชั่วโมงแรกมันสูงกว่าวันก่อนทั้งวันแล้ว ก็แสดงว่ามันน่าจะเอาจริง

ไบรอัน: พูดถึงเรื่องจุด stop loss ยังสงสัย ว่าตั้งยังไง?
ดอม: stop loss เป็นวิธีคิดที่มีไว้เผื่อหุ้นมันไม่ไปต่อไง เราต้องมีจุดตัดขาดทุนที่เราไม่บาดเจ็บมาก เพราะเงินทุนคือหัวใจของการเก็งกำไร คนไม่มีเงินเขาไม่ให้เก็งกำไรนะ ดังนั้นการรักษาเงินต้นถือเป็นหน้าที่หลักของนักเก็งกำไร
จุด stop loss เราจะตั้งที่ราคาเปิดของวันที่มันวิ่งนั่นแหละ จึงบอกว่าถ้าเราไปซื้ออีตอนที่มันวิ่งบวกไปหลายสิบช่องแล้ว จุดคัทก็อยู่ไกลไง เป็นสิบเปอร์เซ็นต์ เงินหายไปอื้อเลยนะ
ดังนั้นใครที่เข้าซื้อที่ต้นสัญญาณได้ก่อนใครก็จะได้เปรียบทั้งกำไรและทนการเขย่าได้มากกว่าไง

ไบรอัน: เขย่าคืออะไร?
ดอม: ถ้าดูกราฟแท่งเทียนตอนสิ้นวันเราจะเห็นเป็นแท่งสีแดงหรือเขียวใช่มั้ย
แต่ถ้าเราเฝ้าหน้าจอดูสตรีมมิ่ง จะเห็นเลยว่าราคามันไม่ได้ขึ้นเป็นเส้นตรงหรอก มีขึ้น มีลง มีนิ่ง ไอ้ช่วงลงนี่แหละเขาเรียกว่าเขย่า มันย่อมาจาก "เขย่าเอาของ" ถ้าถามว่าทำไมต้องเขย่า ก็ต้องบอกว่าเจ้ามือเขาอยากได้ของถูกไง ก็ต้องทุบให้เม่ากลัว บางคนเข้าซื้อช้าก็ทุนสูง พอเจ้ามือทุบให้ราคาต่ำกว่าทุนก็ต้องรีบขายออกมาเพราะคิดว่ามันจะลงต่อ จากนั้นพอเจ้ามือได้ของครบก็ไล่ราคาขึ้นกลับไปอีก เม่าที่เพิ่งขายก็ตาค้างสิ ไม่กล้าเข้าแล้ว
เพราะตอนที่เจ้ามือทำการไล่ซื้อหุ้นในราคาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ระยะนี้จะมีรายย่อยเข้ามาสู่ด้วย สักพักเจ้าต้องหยุดไล่ราคาแล้วรายย่อยจะขายทำกำไรออกมา เพราะเล่นสั้น เพื่อเอาหุ้นคืน ที่รายย่อยแย่งซื้อจากเขาไป เรียก ระยะหุ้นพักตัวเพื่อสะสมครั้งสุดท้าย

ไบรอัน: เมื่อซื้อหุ้นได้แล้ว จะเอาไปขายตอนไหนดี?
ดอม: ราคาหุ้นถึงเป้าหมาย(กำไรอย่างน้อย 10% ยิ่งดี) แต่ก็ต้องดูทรงราคาด้วยว่ามันมีแนวต้านตรงไหน ถ้าไกล้มันชนไม่ผ่านก็ต้องขายเก็บกำไรไว้ก่อน

ไบรอัน: ถ้าซื้อแล้วไม่ขึ้น?
ดอม: ราคาหลุด stop loss ก็ขายทิ้งไม่ให้เหลือซาก

ไบรอัน: ถ้าคัทแล้วเด้งล่ะ?
ดอม: ช่างมันสิ ถือว่าเราทำตามระบบ ถ้ายังอาลัยอาวรณ์กับมันก็รอซื้อตอนที่มันเบรคไฮล่าสุด แสดงว่ามันต้องการไปต่อ ก็ซื้อตามระบบ แล้วก็อย่าลืมตั้ง stop loss ล่ะ


.................ติ๊ดๆ ติ๊ดๆ ติ๊ดๆ ติ๊ดๆ ติ๊ดๆ 
เสียงเตือนดังแว่วมา
ดอมชวนเพื่อซี้ก้าวเดินไปที่รถเพื่อเตรียมขับสตาร์ทรถซิ่ง

แต่ทว่า ดอมเดินไปได้ไม่กี่ก้าว ก็รู้สึกขาอ่อนปวก เหมือนเหยียบอากาศ ล้มคว่ำไปฉับพลัน

......โครม!!

"โอ้ย!!!" ดอมร้องขึ้นมาดังๆ ลืมตาขึ้นมาก็พบตัวเองนอนอยู่ในห้องคนเดียว ไบรอัน เพื่อนรักของเขา และกลุ่มแก๊งซิ่งละแวกบางนาอันตรธานไปหมดสิ้น เหลือเพียงเขากับความงุนงง
เขาพบตัวเองนอนแบ่บบนพื้นห้อง ...เขาเผลอพลิกตัวจะปิดนาฬิกาปลุก แต่คงรีบร้อนไปหน่อย จึงพลัดตกเตียง

"เราฝันไปเหรอนี่?" ดอมรำพึงกับตัวเอง
"ฝันอะไรประหลาดๆไปวะเนี่ย มันมีจริงด้วยเหรอ เรื่องแบบนี้?"
"โม้แน่ๆ......" ดอมพูดกับตัวเอง จากนั้นก็ลุกขึ้นไปนอนบนเตียงต่ออย่างอาลัยฟูก

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ