การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น

จากบทความที่แล้ว ผมเขียนถึง วอลุ่มและการยืนยันแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก
มาครั้งนี้จึงอยากจะย้อนกลับไปอธิบายความสำคัญของวอลุ่ม(หรือเรียกได้อีกอย่างว่าปริมาณการซื้อขาย)
ว่าไอ้เจ้าแท่งยาวๆที่อยู่ใต้กราฟนั้น มันช่วยบอกเบาะแสะอะไรเราบ้าง

(แนะนำงานเขียนใหม่ล่าสุดครับ)

๑. เล่มนี้จะเปิดเผยอีกด้านของการเทรดแนวเทคนิคอล
จากมุมมองของนักเทรดประสบการณ์ 10-40 ปี
มือใหม่ควรอ่านนะครับ จะได้ใช้เทคนิคอลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมขอบอกเลยว่า แค่รู้เทคนิคอล ยังไม่พอจริง ๆ
เล่มนี้จะบอกความจริงให้คุณ แบบที่ไม่เคยมีใครบอกมาก่อน
มือโปรเขามองการวิเคราะห์ทางเทคนิคว่ายังไงบ้าง มีจุดแข็งอยู่ตรงไหน?
อะไรคือจุดอ่อนของเทคนิคอล แล้วจะใช้งานมันยังไงเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด?
๒. ทำไมทั้งที่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน หรือใช้ Price Pattern ก็ตัวเดียวกัน
...แต่ทำไมนักเทรดมือโปรได้กำไรสม่ำเสมอ?
...ทว่ามือใหม่กลับเอาตัวไม่รอด...ขาดทุนซ้ำซาก?
ปัญหามาจากเทคนิคอล? หรือมาจากส่วนอื่นกันแน่?
๓. นำเสนออีกมุมของเทคนิคอล ที่ไม่มีใครบอกคุณตรง ๆ ว่าแท้จริงแล้วเทคนิคอล
...เทคนิคอลไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มหัศจรรย์หรือเป็นสูตรวิเศษอะไรเลย?!
... มือโปรไม่ได้มองแบบที่มือสมัครเล่นมองเลยแม้แต่น้อย!!
๔. ไม่เหมาะสำหรับคนที่บูชาเทคนิคอลแบบงมงาย
...ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรวยเร็ว ๆ จากการเทรด
... แต่เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้เทคนิคอลให้ถูกต้องแบบที่มือโปรเขาใช้กันเป็นบรรทัดฐานครับ
eBook :  การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นักเทคนิคอลมือโปร ประสบการณ์ 10 ปี++ อยากบอกมือใหม่ รู้ก่อน...รอดก่อน มีขายที่ mebmarket นะครับ  ตามลิงค์นี้นะ http://bit.ly/436mRyO
+++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++

********
แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 
ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo



***********

เผื่อใครยังไม่รู้ว่า วอลุ่มอยู่ตรงไหน ดูรูปครับ จาก EFIN ที่ผมคิดว่าครบเครื่องที่สุด

ความจริงแล้ว ปริมาณการซื้อขาย หรือวอลุ่ม มันก็แสดงของมันอยู่อย่างนั้นแหละครับ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ตลาดต้องรายงานให้สาธารณะรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นตัวหนึ่ง
นอกเหนือไปจากราคาเปิด ปิด ก็มีวอลุ่มนี่แหละ

ในเว็บของตลาดหลักทรัพย์ set.or.th ก็มีแสดงนะ ไม่รู้ว่าใครเคยสังเกตุหรือเปล่า
แต่ถ้าเราเห็นตัวเลขในตารางแบบนี้ ก็คงไม่เห็นคุณค่าของมันเท่าไหร่หรอกนะ
เพราะไม่รู้จะเอาไปวิเคราะห์ยังไง



ถ้าเอาไปใส่ในกราฟประกอบกับราคา ก็จะได้เปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น
อย่างรูปข้างล่างนี้ เราก็จะเห็นความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก
(กราฟจากเว็บ siamchart.com)

สังเกตุนะ ว่าผมขีดเส้นใต้คำว่า "วิเคราะห์"
กระบวนการที่ผมว่านี้ มันก็คือ การวิเคราะห์วอลุ่ม นั่นเองครับ

แล้วมันคืออะไรกันแน่?



การวิเคราะห์วอลุ่ม(Volume Analysis) นี่น่ะครับ มันเป็นกระบวนการแสวงหาความจริงที่ซ่อนอยู่ในการเคลื่อนไหวของราคา โดยการมองผ่านเลนส์ของอุปสงค์และอุปทาน อันจะเป็นปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้

แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือ เป็นวิธีการเอาแท่งราคามาใช้ร่วมกับวอลุ่มเพื่อประมวลผลหาเบาะแสว่าแนวโน้มราคาจะไปทางไหน นั่นเอง

Volume Analysis เป็นการเจาะลึกเข้าไปในเรื่องของอุปสงค์(Demand) และอุปทาน(Supply)
การซื้อขายหุ้นคือการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ (หรือการเปลี่ยนมือในตลาดประมูล) ปริมาณหุ้นที่ซื้อมักจะตรงกับปริมาณการขายตามคำสั่งดำเนินการ

เมื่อราคาเพิ่มขึ้นก็สะท้อนให้เห็นว่ามีความต้องการเกินอุปทาน (demand มากกว่า supply) หรือตลาดที่ผู้ซื้อเป็นใหญ่ หุ้นมีน้อยกว่าความต้องการซื้อ ถ้าอยากได้ก็ต้องเสนอราคาที่แพงขึ้นเรื่อยๆ

ในทำนองเดียวกันเมื่อราคาตกก็หมายถึงอุปทานได้เกินความต้องการหรือเป็นช่วงผู้ขายป็นใหญ่
จำนวนคนต้องการขาย/จำนวนหุ้น มีมากกว่าคน/ความต้อการซื้อ ถ้าอยากขายก็ต้องเสนอราคาต่ำลงเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจของคนซื้อ

มันจึงเกิดเป็นวัฏจักรของการสะสมหุ้นเพื่อจะไปแจกจ่าย แบบนี้วนไปวนมาไม่มีที่สิ้นสุด...

การวิเคราะห์วอลุ่ม จึงเป็นการเจาะลึกเข้าไปในแนวโน้มราคาเหล่านี้เพื่อตรวจสอบว่า ราคาปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากวอลุ่มหรือไม่

เป้าหมายของการวิเคราะห์วอลุ่มคือ การระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก ความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ใด ๆ ราคากับวอลุ่ม(ปริมาณการซื้อขาย)นั่นเอง

ทั้งนี้, ก็เพื่อจะหาเบาะแสว่าราคาและวอลุ่มที่แสดงออกในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น
มันจะส่งให้เกิดแนวโน้มอะไรในอนาคตได้บ้าง


เล่มนี้มีการเขียนถึงวอลุ่มเยอะเลยครับ

....Volume นั้นสำคัญไฉน?....
คนส่วนใหญ่สนใจราคา แต่ลืมเหลียวมองวอลุ่ม
ทั้งที่จริงแล้วปริมาณการซื้อขายเป็นวัตถุดิบชั้นดีของ technical analysis เลยก็ว่าได้

เบนจามิน เกรแฮม มักจะเรียกตลาดว่าเป็น "เครื่องลงคะแนนเสียง"

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว วอลุ่มหรือปริมาณการซื้อขาย ก็คือ กล่องลงคะแนนเสียง

วอลุ่มเป็นภาพที่แท้จริงของอำนาจที่อยู่เบื้องหลังกองกำลังของอุปสงค์และอุปทาน
วอลุ่มเป็นที่เข้าใจว่าเป็น.......
- ตัวตรวจสอบของราคา
- แหล่งที่มาของสภาพคล่อง
- เป็นเครื่องพิสูจน์ของข้อมูล
- เป็นตัวแสดงความเชื่อมั่น,
- เป็นการเปิดเผยของความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
- เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงของตลาด
- เป็นการแสดงของความจริงและพลังงานที่อยู่เบื้องหลังความเร็วของเงิน

ถ้าคุณเชื่อข้อมูลที่ว่าทั้งหมดนี้ มันจะเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจในการลงทุน, ดังนั้นการวิเคราะห์วอลุ่มเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแน่



ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)ใช้ตรวจสอบราคาได้

ปริมาณการซื้อขายมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์หลักทรัพย์
การซื้อขายในตลาดหุ้นมันเริ่มต้นที่คำว่า “เท่าไหร่?”

เกรแฮมมักบอกว่ามันคือการโหวต (ในกระดานก็ยังมีคำว่า Bid กับ Offer นี่คือคำยืนยัน)

วอลุ่มคือปริมาณหุ้นที่ซื้อขายในตลาด
เมื่อมีการเสนอราคาขึ้นมาในตลาด(price) สิ่งที่ยืนยันว่าราคานั้นมันเหมาะสมคือวอลุ่ม
สมมุติว่าตลาดเสนอราคา A ถ้ามีปริมาณซื้อขายมากแสดงว่าราคา A มันเหมาะสมกับเวลานั้น มีคนเห็นด้วยว่าราคานั้นถูกต้อง

แต่ถ้าปริมาณการซื้อขายต่ำ(ไม่มีใครสนใจซื้อ) แสดงว่ามีความเห็นต่างกันแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่มีความเห็นแย้งราคาที่ว่า(อาจจะถูกไปหรือแพงไปก็ได้) ราคานั้นก็จะถูกมองข้าม

ยิ่งผู้คนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการเคลื่อนไหวของราคามากเท่าไหร่ การเคลื่อนไหวของราคานั้นก็จะได้รับการเชื่อถือมากเท่านั้น

สำหรับสายเทคนิคอลแล้ว วอลุ่มเป็นตัวตัดสินคุณภาพของราคา



ปริมาณการซื้อขายคือการปล่อยสภาพคล่อง
จากตัวอย่างอีเบย์ สมมติว่าสินค้านั้นมีผู้ขายเพียงคนเดียวและไม่มีผู้ซื้อ ในกรณีนี้เราจะทำยังไงให้สามารถในขายของใด้ในราคาที่ตั้งไว้ล่ะ

เอริค โจนส์ และ เจมส์ &โรเบิร์ต ดัลตัน ได้เสนอวิธีแก้ปัญหานี้ว่า
"วอลุ่มเป็นตัวบ่งชี้ที่แท้จริงและน่าเชื่อถือที่สุดของความสามารถของตลาด
ที่จะสนับสนุนการแลกเปลี่ยน(ซื้อง่ายขายคล่อง)
ตลาดที่ขายของไม่ได้จะอยู่ไม่รอดแน่"
พูดง่ายๆคือ วอลุ่มต่ำขายยาก วอลุ่มมากขายง่าย


ปริมาณการซื้อขายใช้พิสูจน์ข้อมูลของการซื้อขายได้
นอกจากปริมาณการซื้อขายจะใช้ตรวจสอบราคาได้แล้ว มันก็ยังมีส่วนช่วยในการสร้างราคาเช่นกัน
เมื่อข้อมูลใหม่มีการเผยแพร่ให้สาธารณะรับรู้ ปริมาณการซื้อขายจะเผยให้เห็นการตอบสนองต่อข้อมูลนี้

โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการซื้อขายในตามลักษณะของข้อมูลที่ถูกปล่อยออกไป, เทรดเดอร์สามารถบอกได้ว่าข้อเท็จจริงใหม่ถูกดูดซึมโดยนักลงทุนในตลาดรวดเร็วแค่ไหน

ด้วยวิธีนี้วอลุ่มจึงสามารถใช้พิสูจน์ความสำคัญของข้อมูลใหม่
ถ้าวอลุ่มเพิ่มขึ้นก็แสดงว่านักลงทุนใหม่ให้ความสำคัญกับมันมากจึงเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่ม
ตรงกันข้าม, ถ้าข่าวสารหรือข้อมูลนั้นไม่ได้สร้างผลกระทบสักเท่าไหร่ วอลุ่มของการเข้ามาของนักลงทุนหน้าใหม่ก็ไม่มาก



ปริมาณการซื้อขายเผยความเชื่อมั่น
ปริมาณการซื้อขายหุ้นมักจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่แท้จริงของตลาด
สมมติว่าคุณได้ยินข่าวมาว่า นักลงทุนที่มีชื่อเสียงเพิ่งซื้อหุ้น X ไปเมื่อเวลาไม่นานนี้เอง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคุณซื้อหุ้น X จำนวน 1,000 หุ้น ทันที

แต่แล้วต่อมา คุณได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักลงทุนที่มีชื่อเสียงคนนั้น ซื้อมันไปแค่ 100 หุ้นเอง
เชื่อเลยว่า คุณก็ชักจะเริ่มไม่มั่นใจในตัวหุ้น X นั้นแล้วแล้วล่ะ อาจจะขายหุ้นทิ้งก็ได้

ทั้งนี้เพราะคุณคาดหวังว่านักลงทุนที่ร่ำรวยที่จะซื้อ สักล้านหุ้น
แต่ถ้าไม่เป็นไปดังคาด ก็จะเกิดความไม่เชื่อมั่นนั่นเอง


มาดูในโลกของความเป็นจริงบ้าง
ผมชอบเรียกช่วงนี้ว่า Volume Divergence
ดูรูปกันก่อน

หากราคาวิ่งสูงขึ้น แต่ไม่มีวอลุ่มสนับสนุน ก็จะไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน
ในไม่ช้าราคาก็จะถูกเทขายลงมา เพราะคนไม่แน่ใจในการขึ้นครั้งนั้น

แถมอีกรูป


วอลุ่มแสดงออกถึงความสนใจและความกระตือรือร้น
การลงทุนคือการย้ายที่อยู่ของเงิน
มีเพียงสองเหตุผลที่นักลงทุนเลือกที่จะลงทุนคือ
๑) เมื่อเห็นโอกาส
๒)  เพื่อลดความเสี่ยง

ดังนั้นเมื่อปริมาณการซื้อขายมีการเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่านักลงทุนเชื่อว่ามีความน่าสนใจมากขึ้นและความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาในตลาด (ไม่ว่าจะเป็นในด้านการซื้อหรือขาย)
หากวอลุ่มลดลงแสดงให้เห็นว่านักลงทุนมองไม่เห็นโอกาสในการทำกำไร



วอลุ่มหมายถึงความต่างของความเห็น
ปริมาณการซื้อขายสามารถสอนให้นักลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างกันในความคิดเห็น
บ่อยครั้งที่ข้อมูลและความเห็นผลักดันลงทุนเลือกข้างโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงขั้นพื้นฐาน(หรือเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัด)

ปริมาณการซื้อขาย คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ว่ามีความคิดเห็นแตกต่าง แต่ละฝั่งก็พนันในข้างที่ตนเองเชื่อ ยิ่งเห็นต่างยิ่งมากผลตอบแทนจากความคาดหวังจากการพนันก็ยิ่งมากตาม

ถ้าวอลุ่มออกมาสูง เท่ากับความเห็นต่างต่อราคานั้นมีมาก
กลุ่มคนที่ยังคิดว่าราคานี้ยังถูกเกินไปก็ไล่ซื้อ
ส่วนกลุ่มคนที่คิดว่าราคานี้แพงเกินไปแล้วก็ขายออก
จึงเกิดภาวะหมีและกระทิงสู้กัน

ส่วนวอลุ่มที่น้อยก็สามารถแสดงถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
มันคือความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าราคาเหมาะสมแล้วในขณะนั้น

ยกตัวอย่างเหตุุการณ์จริงให้เห็นภาพ
หุ้น 2S เมื่อวานนี้ ดูแท่งแดงไส้ยาวแท่งสุดท้าย ที่ผมลากเส้นตั้งผ่านนะ นั่นเป็นแท่ง 1 วัน

เมื่อเรามีโอกาสเฝ้าดู bid offer และกราฟราย 1 นาที คุณจะเห็นแบบนี้

น่าจะเห็นภาพชัดขึ้นนะ

มีทริกเล็กน้อย



จากรูป ถ้าคุณใช้โหมด Buy/Sell Volume Analysis ของ EFIN จะเห็นชัดว่าในแต่ละแท่งนั้นมันแสดงออกถึงความขัดแย้งกันของฝั่งซื้อและขายได้ชัดเจนมากๆ
สีส้มคือฝั่งซื้อพนันว่าจะขึ้นก็เลยซื้อ
สีม่วง แสดงออกถึงฝั่งที่มองว่าราคาจะลงต่อ ก็เลยขายออก

ถ้าใครยังไม่รู้ก็ เข้าไปหาตามรูปนะ



ปริมาณการซื้อขายคือน้ำมันเชื้อเพลิงของตลาด
เครื่องยนต์จะทำงานได้จะต้องใช้เชื้อเพลิง เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงของตลาด
ก็คืออุปทาน (ความต้องการขาย / supply) และอุปสงค์(ความต้องการซื้อ / demand)
วอลุ่มเป็นตัววัดยอดรวมดีมานด์และซัพพลายที่มาจากนักลงทุนในตลาด

วอลุ่มจึงเป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยให้ตลาดขับเคลื่อนไปข้างหน้า


ปริมาณการซื้อขายคือการตีแผ่ความจริง
หากราคาคือความจริง
ปริมาณการซื้อขายช่วยให้ราคาเที่ยงตรง

ความจริงแล้วสถาบันหรือนักลงทุนใหญ่ต้องการที่จะซื้อหรือขายอย่างเงียบๆ
แต่เป็นว่าพวกเขาไม่สามารถทำได้เพราะด้วยจำนวนเงินที่มหาศาล พวกเขาจึงต้องเลือกหลักทรัพย์ที่จะหลีกเลี่ยงผู้ที่ส่งผลกระทบต่อราคาจากการเข้าซื้อของพวกเขาเอง
หลังจากที่ซื้อแล้ว สถาบันจะต้องระมัดระวัง: ถ้าคนอื่นรู้ก่อนล่ะ? อาจจะมีการดักซื้อก่อนได้ ....

ในอีกด้าน
วิธีการหนึ่งที่จะซ่อนการขายล็อตใหญ่ได้ คือการขายที่ "offer" หรือซื้อได้ที่ "bid" ในขณะนั้นเลย........
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูวอลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงมหาศาลก็ยังตามเจออยู่ดี


วอลุ่มก่อเกิดให้ความเร็ว
ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น

Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น

ถ้าใครเล่น Daytrade ด้วยกราฟรายนาที ภาพแบบนี้คุณต้องคุ้นกันแน่ๆ
วอลุ่มเข้าราคาวิ่ง ราคานิ่งวอลุ่มแห้ง

ราคาที่วิ่งแรงๆ จะมาพร้อมกับวอลุ่มที่สูงเสมอ


สรุป
สรุปว่า วอลุ่มการซื้อขายเป็นส่วนสำคัญของข้อมูลการลงทุน
เพราะมันสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นในสองส่วนที่สำคัญมากๆคือ
1) โดยระบุการเปลี่ยนแปลงของราคาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

สำหรับ Day trader วอลุ่มแท่งแรกคือสิ่งสำคัญที่สุด มันคือจุดประกาย จุดเปลี่ยนเกมส์


2) และด้วยการช่วยให้นักเทคนิคอลตีความหมายของการเปลี่ยนแปลงของราคาที่มันเกิดขึ้น


จบในบทของความหมาย เดี๋ยวตอนหน้ามาว่ากันเรื่องใหม่
ส่วนประเด็นการ Daytrade ผมจะมีอีกบทความเฉพาะเรื่องนี้มาให้อ่านในโอกาสต่อไปครับ


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ