VIDEO
แล้วอะไรทำให้วอลุ่มเข้า?
เท่าที่ผมสังเกตุมานะ มี 2 แบบ คือ
1) เข้าแบบไม่รู้สาเหตุ จู่ๆก็ลากแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว
2) เข้าเพราะมันมีเหตุ
เอาเป็นว่าข้อแรก ผมก็ไม่รู้จะบอกคุณยังไง เพราะมันไม่มีเบาะแสอะไรที่แน่ชัด
จึงข้ามมาดูข้อ 2 กันเลยดีกว่า
ผมว่าสาเหตุหลักๆ ของข้อ 2 มาจากการ breakout ครับ
การ Breakout มี 2 แบบ คือ Breakout แบบปกติ กับ เปิด Gap ต้นเทรนด์ หรือ Breakaway gap
VIDEO
เริ้มที่ Breakout แบบปกติ ก่อน
เอารูปมาให้ดูกันดีกว่า ยกตัวอย่าง STA ผมจะยกกราฟเปล่า กับ trend line เส้นเดียว
ถ้าผมไม่ได้ชี้จุดอะไร คุณพอมองอะไรออกกันมั้ย?
ถ้ายังไม่มีอะไรชัด งั้น เดี๋ยวผมจะเพิ่มอะไรบางอย่างให้ดู
ชัดนะ ว่าทุกครั้งที่ราคาขึ้นไปทดสอบ จุดสูงสุดอ้างอิง (0) มันจะมีปฏิกริยาตอบโต้ ด้วยวอลุ่มที่สูงส่งทุกครั้ง อารมณ์เหมือนมีคนพยายาม follow buy แต่ใครบางคนไม่ยอมให้ผ่าน งัดเอาหุ้นในคลังมาทุ่มใส่ กดถีบให้ราคาลงไปปิดเท่าไฮเดิม และวันต่อมาก็แสดงตัวออกชัดเจน(มากกก)ด้วยการ "ถล่มขาย" ขยี้ กระทืบ ทุบราคาให้ลงหนักจนเสียศูนย์ไปเลย
จากนั้นมาดูภาพต่อมา เลื่อนสายตาไปมองทางขวามือของท่าน
ผมจะยังไม่ชี้บอกนะ ให้สังเกตุกันไปก่อน ว่าเห็นอะไรที่มันพิเศษมั้ย?
ครับ...วอลุ่มที่เข้ามาครั้งที่ 4 นั้นน่ะ มันทะลักล้นเอามากๆ
เรียกว่าแท่งที่ผ่านมานั้นน่ะ จุ๋มจิ๋ม จิ๊บจ้อย เบาบาง ไปเลย
วอลุ่มที่เข้าสูงโดดเด่นแบบนี้ ต้องสูงสุดในรอบ 200 วัน หรือที่เราเรียกว่า โวลุ่มเบรค 200 วัน แน่นอน
ส่วนความหมายของ "หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน" นั้น ขอคัดเอามาจาก
บล็อก ScanHoon ต้นตำหรับ
"หมายถึง หุ้นที่มีโวลุ่มสูงสุดในรอบ 200 วันทำการ (ประมาณ 1 ปี) ซึ่งโดยปกติแล้ว หุ้นจะเบรคราคา 200 วัน พร้อมๆ กับเบรคโวลุ่ม 200 วันไปด้วยกัน แต่ก็มีบางกรณีที่เบรคราคาไปก่อนแล้วค่อยเบรคโวลุ่มในวันถัดมา หรือเบรคโวลุ่มไปก่อนแล้วค่อยเบรคราคาในวันถัดมา สำหรับกรณีหลังเราต้องตรวจสอบว่า เกิดจากการซื้อขาย Big lot หรือไม่ ถ้าเป็นการซื้อขายปกติในตลาดก็จะน่าสนใจกว่า
โดยอาศัยทฎษฎีเทน้ำลงแก้ว สมมติเราเอาแก้วมา 1 ใบ แล้วเราเอาน้ำจำนวนหนึ่งเทลงไปในแก้ว ระดับน้ำก็จะสูงขึ้นมาในระดับหนึ่ง หากเราเทน้ำออก แล้วเทน้ำเข้ามาใหม่ ด้วยปริมาณน้ำที่เท่าเดิม เราก็เชื่อว่าระดับน้ำในแก้ว ก็คงจะสูงขึ้นเท่าครั้งก่อน
น้ำที่เท ก็คือ โวลุ่ม ส่วนระดับน้ำที่ขึ้น ก็คือ ราคานั่นเอง เราจะอาศัยสิ่งนี้ มาประเมินราคาหุ้นที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตได้ นั่นคือ หุ้นที่เบรคโวลุ่มไปก่อน ก็น่าจะเบรคราคาตามมาในไม่ช้า
วิธีหาหุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน ก็คือ เปรียบเทียบโวลุ่มย้อนหลังไป 200 วันทำการ ถ้าพบว่าโวลุ่มปัจจุบันมีค่าสูงสุด หุ้นตัวนั้นก็คือ หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน"
VIDEO
สรุปสั้นๆคือ การที่หุ้นตัวหนึ่งมีวอลุ่มเข้าสูงมากในระดับทีมากสุดในรอบปี มันจะมีนัยยะมาก
คือมีโอกาสไปต่อสูงมาก
......แต่ก็ไม่ใช่ทุกตัวหรอกนะ
เพราะ Market maker บางคนก็ชอบใช้จุดอ่อน ที่คนส่วนใหญ่เชื่อแบบนี้ มาปล่อยของ
มีตัวอย่าง...
เห็นแท่งวอลุ่มยาวๆ 2 แท่งตรงกลามั้ยครับ นี่คือตัวอย่างแรก
คืออารมณ์ประมาณว่าจู่ๆก็เข้า ทำให้อยากแล้วตบหัวทิ่ม
หรือจะเป็นแบบหุ้นประหลาดตัวนี้ วอลุ่มเข้าหนาแน่นมาก แต่ราคาไม่ไปไหน
ดังนั้น..เห็นวอลุ่มเข้าอย่างเดียวไม่พอ อย่าเพิ่งกระโจนเข้า เดี๋ยวจะ "จั่วลม" หรือ "เข้าพรวด"
ต้องรอดูตอนย่อด้วย ว่าพักตัวเพื่อไปต่อหรือ ออกของ
ซึ่งเราไม่มีทางรู้หรอกว่าย่อจะลงได้ลึกแค่ไหน บางคนอาจจะใช้ระดับฟีโบนาชี แนวรับเก่า แนวต้านที่น่าจะกลายเป็นรับ หรือแม้แต่เส้นค่าเฉลี่ย
หลายคนชอบเดา โดยใช้ความรู้เหล่านั้นไปเข้ารับซื้อหุ้น เพราะคิดว่าน่าจะลงสุดแล้ว
แต่ก็มักจะเป็นการเอามือไปรับมีด เพราะมันลงต่อ
ความจริงแล้ว ไม่มีใครรู้จริงๆหรอกว่ามันจะลงไปลึกแค่ไหน จะรู้แน่ๆก็ต่อเมื่อมันเด้งและนิวไฮไปต่อเท่านั้น
ตัวอย่างที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ก็เกิดกับหุ้น VPO นี่แหละ แต่ในเวลาต่อมา...
จากรูป..ครั้งที่ 1 มีการทำแท่งเขียวยาว วอลุ่มสูงสุดในรอบ 200 วัน
แต่ทว่า มันไม่ยอมไปต่อ ราคาเลี้ยงตัวอยู่ข้างบน ย่ำไปย่ำมา ไม่ยอมทำนิวไฮ
สุดท้ายก็โดน กดขายจนร่วงหนักและลงต่อ
พอมาครั้งที่ 2 ราคาก็ดีดแรงเหมือนเคย วอลุ่มก็สูงกว่าเดิม สูงสุดในรอบ 200 วันได้อีก
แต่ครั้งนี้พอย่อแล้ว มีเด้งที่แข็งแรงกว่า เพราะทำนิวไฮได้ ถือว่าเป็นการยืนยันว่ามีโอกาสทำขาขึ้นได้สูงมาก และถ้าจะให้ยืนยันชัด ราคาก็ต้องขึ้นไปทำนิวไฮได้ต่อเนื่อง
Action อีครั้งที่ 2 นี้แหละที่เขาเรียกว่า "ยืนยันขาขึ้น"
เอาล่ะ มาอีกคำแล้ว..."
ยืนยันขาขึ้น "
VIDEO
แต่ก่อนที่จะอธิบายคำนี้...
บางคนอาจยังคาใจมาตลอดว่า....เอ๊ะ...จุดเริ่มต้นของเทรนด์ขาขึ้น มันคือตรงไหน ดูยังไง?
ฟันธงว่ามันน่าจะเป็นคำถามที่มือใหม่หลายคน(รวมถึงผมเอง)สงสัยกันมาก
RSI divergence, EMA Golden cross, MACD ตัด 0 ขึ้น หรืออะไรกันแน่?
ผมพยายามหาคำตอบมาตั้งแต่เข้ามาเล่นหุ้น ก็ยังไม่เจอคำอธิบายที่ตัวเองร้องอ๋อสักที
จนล่าสุดผมได้
แปลสรุปหนังสือ The Perfect Speculator ก็ไปสะดุด บทที่ว่าด้วย "การยืนยัน"
เขาบอกว่า "นักเก็งกำไรจึงควรรอสัญญาณที่ชัดเจนคือราคาทำ higher high (จุดสูงสุดยกขึ้น-ยกไฮ) และ higher low (จุดต่ำสุดยกขึ้น-ยกโลว์) การเคลื่อนที่ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวของชีวิต จึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะวิ่งได้เป็นเท่าตัวในช่วงที่มันวิ่งขึ้นรอบใหญ่นี้"
เออ..ความจริงเราก็ไม่น่าคิดเยอะเลยเนอะ
เอาแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆก่อน คือ "การยกไฮยกโลว์"
จากรูป ทั้งกราฟ a และ b เป็นตัวอย่างง่ายๆเลย ของการกลับตัวเป็นขาขึ้น
กราฟ a ราคายกขึ้นไป breakout ไฮที่ผ่านมาได้ ก็เป็นการยืนยันในขั้นต้นแล้วว่ามันมีโอกาสกลับตัว
และจะยืนยันชัดขี้นอีกเมื่อราคามันยกไป breakout ขึ้นไปทำนิวไฮได้อีก ตามกราฟ b
แค่นี้ก็ถือว่ามันมีโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้นแล้ว ส่วนจะไปต่อไกลแค่ไหน เดี๋ยวไปรอดูหน้างาน
กลับมาดูรูปเดิมกันนะ VPO
ครั้งที่ 2 นั้นน่ะ ชัดเลยนะ ราคามันย่อ แต่ไม่ลึก ไม่ลงต่อ มันมีเด้ง และทำนิวไฮได้
จึงถือว่าเป็นการ "ยืนยันขาขึ้น" (ตามรูปในกรอบขาวที่ผมเอามาแปะเพื่อดูอ้างอิง)
เอาอีกตัว
เกือบลืม STA บ่งบอกถึงความเป็น หุ้นมหาชน
เพราะหลังจาก breakout วอลุ่มเข้าต่อเนื่องและหนาแน่นเอามากๆ
หรือถ้าใครได้อ่านหนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นฯ"
ก็น่าจะเคยผ่านตารูปแบบยืนยันการกลับตัวที่ชื่อ Cup Completetion Cheat
นี่ก็เป็นรูปแบบที่ช่วยให้เห็นภาพการยืนยันราคากลับตัว อย่างง่ายๆได้ดี อีกแนวหนึ่ง
VIDEO
ต่อกับอีกประเด็นต่อเนื่อง คือ..
วอลุ่มคือตัวการสำคัญในการยืนยันแนวโน้มขาขึ้น
อุปมา วอลุ่มเป็นเหมือนเชื้อเพลิงให้กับจรวด
วอลุ่ม = เชื้อเพลิง
จรวด = แนวโน้มการขึ้นของราคา
วอลุ่มเข้าเยอะ ก็พอจะสันนิษฐานว่า ราคามีโอกาสไปไกล
ตรงตามทฤษฏีดาว(Dow Theory) บิดาของเทคนิคอล ที่บอกไว้ว่า
"ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)"
ไม่เชื่อก็ดูตัวอย่าง....
ก็เอาแถวๆนี้แหละ ย้อนกลับไปดูกราฟข้างบนก่อน จะยืนยันได้ดีมาก
แสดงตัวอย่างเท่านี้ก็น่าจะพอแล้วนะ ที่เหลือคุณก็ไปทำการบ้านต่อกันเอง ว่าผมโม้หรือเปล่า
มาถึงการ Breakaway Gap กันบ้าง
SR ให้บทเรียนที่ดี เกี่ยวกับการเปิด Gap วอลุ่ม และการยืนยันขาขึ้น
ผมจะอธิบายให้อ่านเป็นช็อตต่อช็อตกันเลยนะ เลขในวงเล็บที่ชี้ในรูป จะถูกอธิบายข้างล่าง
(1) เริ่มด้วยการเปิด gap วันแรกเขียวยาวเต็มแท่ง
(2)แต่วันที่ 2 เปิด gap จะไปต่อ แต่ว่ายืนไม่อยู่ อาจเนื่องจากมันไปข้ามกับ EMA200 ซึ่งเป็นแนวต้านใหญ่ เป็นครั้งแรกก็เลยโดนขายกดลงมาอย่างแรง ถือเป็นเรื่องปกติ
(3)อีกอย่าง มันเป็น Gap at bottom ที่ดีดจากขาลง เพื่อเปลี่ยนเทรนด์
เป็นขาขึ้นแบบกระทันหัน ทำให้เกิดแรงต้านจำนวนมาก จึงไม่แปลกที่มันยืนไม่อยู่
(4)กระนั้นความน่าสนใจก็คือ ราคาไม่ลงลึก กลับเด้งหลังจากที่ผ่าน EMA50
ก็ควรให้มุมมองที่ดีอยู่บ้าง เพราะมันเหมือนมีคนคอยรับไว้
(5) ต่อมาราคาก็ยกตัวขึ้นอย่างอ่อนแรง วอลุ่มก็น้อยลง ดูเหมือนไม่มีความหวังอะไรเลย
แล้วก็โดนขายกดลงไปอีก
(6) แต่มันก็ไม่ลงลึกไปหยุดที่ราคาปิดของแท่งแดงล่าสุด และก็ยังเป็น EMA20 ด้วย
แสดงว่ามันมีคนคอยรับอยู่อย่างชัดเจน
(7)แม้การเด้งขึ้นที่ 2 จะไม่ผ่าน EMA200 แต่ก็ย่อตื้นมาก
(8) ครั้งถัดไปจึงผ่านได้ แท่งเขียวที่ว่านี้ก็เลยเป็นสิ่งยืนยันเล็กๆว่ามันมีโอกาสไปต่อได้อีก
(9) วันต่อมา มันแดง แต่ก็ไปหยุดเหนือ EMA200
(10) และสิ่งที่คอนเฟิร์มชัดเจนที่สุด ก็คือแท่ง breakout ไฮเดิมนั่นแหละ
ที่ควร follow buy เพราะมันของจริงแล้ว
แม้ต่อมาจะย่อ ก็ให้มองว่ามันเป็นเรื่องปกติของเรื่องการต่อต้าน
(11)ให้ดูจุดเด้งสิ มันดีดตรงจุดที่เรา follow buy พอดี ก็จะเป็นจุดซื้อที่ 2 ได้อีก
(12) และเมื่อมันดีดไปทำนิวไฮได้ก็ถือว่าจบงานเราแล้ว มันทำเงินให้เราแน่
เกาะติดพฤติกรรมหุ้นขาขึ้น
ในเกมส์การเล่นหุ้นมันเหมือนสงคราม ที่มีกองทัพ 2 ฝั่งคือ
กองทัพกระทิงที่อยากซื้อมาก กับ กองทัพหมีท่อยากขายมาก
กระทิงดุดันทรงพลังแต่แฝงไปด้วยความสุขุม จับจ้องรอจังหวะ
หมี ใจร้อน โฉ่งฉ่าง พร้อมขายตลอดเวลา
แต่ละข้างจะเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของอีกฝั่งอย่างไกล้ชิด
เฝ้ารอ รอ เตรียมพร้อมโจมตี เมื่ออีกฝ่ายอ่อนแอ
VIDEO
ขาขึ้น
เมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น กองทัพกระทิงจะเป็นฝ่ายซื้อเพื่อทำเกมส์รุกเพื่อยึดพื้นที่ไปเรื่อยๆ
ส่วนฝ่ายหมีจะคอยตอดเล็กตอดน้อย หาจังหวะอ่อนแอของทีมกระทิงเพื่อเข้าโจมตีตัดกำลัง แต่ก็ทำแบบมักน้อย ส่งทหารเลวออกไปดักซุ่มทำร้ายฝั่งตรงข้าม
กระนั้นฝั่งซื้อก็รู้เห็น ไม่เข้าหักหาญในทันที ปล่อยให้ทหารเลวของอีกฝ่ายเข้ามาได้อย่างง่ายๆ ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบกำลัง
จนกระทั่งเมื่อรู้แน่ชัดว่าหมีมาน้อยมากและเป็นทหารเลวซะส่วนใหญ่ หมดแรง ก็ยกทัพกระทิงฝูงใหญ่กระหนาบหลังเข่นฆ่าหมดเกลี้ยง พร้อมกันนั้นก็รุกคืบกำลังยึดพื้นที่ขึ้นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง เมื่อรุกยึดพื้นที่ได้ระดับหนึ่งก็พักเพื่อทดสอบกำลังอีก
ทัพกระทิงทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เจอหมีฝูงใหญ่ก็ถอนกำลัง ถอยร่นเพื่อตั้งรับ
ในขณะที่ถอย ก็สะสมกำลัง เพื่อรอจังหวะหมีที่รุกกลับอ่อนแรง
เมื่อชัดว่าหมีเหนื่อยล้า ฝูงกระทิงก็ทำการโจมตีกลับอย่างรุนแรงหนัก หักหาญ หนำซ้ำยังเอาคืนทบดอกด้วยการยึดพื้นที่ใหม่ๆเพิ่มได้อีก
เกมการรุก-รับ จะสลับข้าง กลับไปมา แต่เมื่อดูผลงานจะเห็นชัดว่าฝั่งกระทิงยึดพื้นที่ได้มากกว่าอย่างชัดเจน
กระทิงจะรุกคืบกินพื้นที่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอ่อนล้า หรือหมดแรงบันดาลใจ
เมื่อนั้น จะเป็นโอาสทองของกองทัพหมี
เคส INET จังหวะของขาขึ้น (1 รอบ)
เมื่อเอามาประยุกต์กับหุ้น INET ในช่วงขาขึ้นปีที่แล้ว ก็จะเป็นดั่งนี้
0) ยังอยู่ในขาลง ราคาดีดไปเทสเส้น EMA50 แต่ไม่ผ่าน จึงโดนกดลงไปยืนบน EMA20 แต่ก็ไม่ทนได้นาน ถูกกดร่วงลงไปอยู่ใต้เส้นได้อีก แต่ก็ไม่ได้ทำนิวโลว์ วันถัดๆไป,แม้จะมีการขายออก แต่ก็ไม่ค่อยมีแรง เมื่อดูวอลุ่มของ Higher Low จะพบว่าน้อยกว่าโลว์เดิมมาก(เรียกว่าแห้งแทบสนิท) จึงถือเป็นสัญญาณการหยุดลงที่ดี ทาง Wyckoff เรียกว่าช่วง Spring
1) เมื่อไม่นิวโลว์ ก็มีพลังการซื้อมากขึ้น(สังเกตุจากแท่งวอลุ่มที่สูงชัดกว่าช่วงที่แห้ง) พาราคายกขึ้นไปเรื่อยๆ จนข้าม EMA50 ที่เคยเป็นต้านและยืนบนเลี้ยงตัวเส้นนั้นได้
2) มีการพยายามดันราคาไปเทส EMA200 ที่อยู่เหนือขึ้นไปไกล้ๆ แต่ก็มีแรงขายกดลงไม่ให้ผ่าน ราคาจึงทำเส้นสั้นๆใต้ EMA200 และเหนือ EMA50
3) ในที่สุดก็ข้าม EMA200 ขึ้นไปได้ แต่ก็ยืนไม่อยู่ ราคาย่อลงไปอยุดบนเส้น EMA20 ที่คอยรับไว้ จึงไม่ถึง EMA50 มันยกโลว์ขึ้นไปได้อีก
4) ดีดแรงข้าม EMA200 ด้วยแท่งเขียวยาว และยังวิ่งหนีห่างเส้นไปได้อีก กระทั่งค่อยๆอ่อนแรง
5) โดนขายทำกำไร กดราคาลงไปหยุดบนเส้น EMA20 ที่เฉียงขึ้น
6) แล้วก็เด้งขึ้นไปทำนิวไฮ โดนขายกดลงมาเด้งที่ EMA20 ดีดกลับไปทำนิวไฮได้อีก เส้นค่าเฉลี่ยทั้งสาม เฉียงขึ้นพร้อมเพรียง
7) เจอขายทำกำไรต่อเนื่อง กดดันให้ราคาลงหนักจนหลุด EMA20 แต่ก็ยังไปหยุดในจุดที่สูงกว่าโลว์เดิมมาก วอลุ่มขายในช่วงนี้ไม่มากพอเป็นนัยยะ
8) แล้วก็ดีดขึ้นแรง ด้วยวอลุ่มที่สูงกว่าช่วงที่ลงต่อเนื่อง ดันให้ราคาขึ้นต่อเนื่องจนสามารถทำนิวไฮได้ หมายความว่าการลงที่ผ่านมาเป็นการขายของรายย่อยล้วนๆ
9) เกิดปัญหาต่อมาคือ ข่าวดีออกมา ราคาเปิดโดด แต่ไม่ได้แรงซื้อสนับสนุนเลย จึงเป็นจังหวะดีของกลุ่มคนที่อยากขายกระหน่ำกดดันลงอย่างหนัก แต่ก็ยังไม่ถึง EMA20 เพราะวิ่งไปห่างมาก
10) จากนั้นก็มีการสะสมซับแรงขายด้วยแท่งราคาที่สั้นลง วอลุ่มน้อยลง ราคาออกข้างไปพักใหญ่ สร้างกรอบราคา เหนือเส้น EMA20
11) แต่ด้วย ไม่มีการเข้ามารับซื้อหุ้นอย่างชัดเจนของรายใหญ่ ทำให้ พลังของพวกอยากขายมีมากขึ้น กดดันให้ราคาดิ่งลงทะลุกรอบ และ EMA20 ลง แม้วอลุ่มจะไม่มากมาย แต่ด้วยไม่มีรายใหญ่มารับ ราคาก็ดิ่งลงหนัก
12) ราคาไปหยุดลงที่ EMA200 ซึ่งเป็นการทำจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิม
13) จากนั้นก็ฟื้นตัวยกหัวขึ้นด้วยแรงซื้อ ต่อเนื่อง 5 วันติด
14) เปิด gap เพราะงบการเงินออกมากำไรเพิ่มอย่างมีนัยยะ วอลุ่มสูงมาก อันเกิดจากการขายทำกำไรจากคนที่ได้ทุนต่ำ ผสมโรงกับคนติดดอยที่ทนไม่ไหว แห็นแท่งแดงก็อยากออกแล้ว
15) วันที่เปิดกระโดด เจอแรงขายอาละวาด แต่ก็มีน้อยมากเมื่อเทียบกับมุมมองในแง่บวกเนื่องจากกำไรโดดเด่น
VIDEO
16) และจากนั้นราคาก็วิ่งแรงจนสามารถทำนิวไฮได้ โดยการนิวไฮก็ด้วยการเปิด gap ข้ามไปอย่างน่าเกลียด สื่อให้รู้ว่าคึกเอามากๆ
17) ที่น่าหมั่นไส้อีกอย่างคือตอนย่อมันหยุดลงที่ระดับราคาไฮเก่านั่นแหละ นี่คือสิ่งที่เขาเรียกว่า "ต้านกลายเป็นรับ"
18) ขึ้นต่อไปทำนิวไฮได้อีก แต่ด้วยวอลุ่มการขึ้นที่น้อยกว่าเดิม จึงเป็นการขึ้นที่อ่อนแอ
19) ก็เจอพลังขายกดดันตามระเบียบ แต่ก็ไม่มากนัก สื่อว่ารายย่อยขาย ราคาจึงถูกปล่อยให้กดดันจนลงไปหยุดที่ EMA20 ตามเคย และจากนั้เด้งขึ้นเบาๆเพื่อทดสอบแรงขาย ก็ไม่ได้มีมากมายอะไร
20) เมื่อพลังขายหมดเขี้ยวเล็บ รายใหญ่ก็แสดงพลังทันทีด้วยการงัดเขียวซื้อด้วยกำลังอันมหาศาล ส่งให้ทะลวงด่านกองทับนักอยากขายขึ้นไปอย่างสุดแรงต้านทาน ส่งให้เกิดแท่งราคาเขียวยาว ทำนิวไฮได้ วอลุ่มสูงกว่าเก่า
21) ต่อมาราคาก็ยังมีแรงซื้อดันให้ขึ้นไปนิวไฮได้ต่อ แต่ถ้าดูวอลุ่มของแท่งบนสุด มันน้อยลงกว่าเดิม แถมมีการทิ้งไส้ให้เห็น ชี้ให้เห็นลางร้าย
22) เมื่อเห็นสัญญาณอ่อนแอของแรงซื้อ ฝั่งรอขายก็สบโอกาสกระหน่ำโจมตีทันที กดให้ราคาร่วงลงเร็วแรง และมีวอลุ่มขายมากกว่าที่เคยขายกันมาก่อนหน้านี้ และราคาก็หยุดลงที่ EMA20 อย่างที่เคยทำมาตลอด
23) พอเด้งครั้งนี้ กลับเป็นไปด้วยความอ่อนแอ ราคาดีดไปได้สูงกว่าเดิมนิดเดียวเองก็เจอแรงขายกดให้ลงอีก
24) มีจังหวะหยุดดูกำลังของแต่ละฝ่ายด้วยโดจิ บนเส้น EMA20
25) ผลสรุปคือฝั่งขายชนะ ทำแท่งแดงยาวกดหลุด EMA20 และ neckline พรวดเดียวเลย ผลแพ้ชนะรู้กันแล้ว
26) เมื่อใครๆก็มองออก ฝั่งขายชนะขาด ไม่แปลกที่จะเห็นการเปิด gap ลง ด้วยวอลุ่มสูงปรี๊ด อันเป็น Selling Climax
VIDEO
แถมให้อีกประเด็นคือเรื่องของ
วอลุ่มกับการกลับตัว จากขาขึ้นเป็นขาลง และการยืนยัน
ดูรูปกันก่อนเลยนะ
น้องมาลีของผม อาการหนักมาก ทั้งๆที่อะไรก็ยังดูดีแท้ๆ แต่กราฟเสียทรงไปแล้ว
ดูตามที่ผมวงเล็บนะ
(1) สัญญาณอันตรายแรกก็มาจากวอลุ่มนั่นแหละ ราคาทำนิวไฮ แต่วอลุ่มกลับน้อยลง นี่ถือเป็นสัญญาณอันตรายเลย เพราะมันบ่งบอกว่ารายใหญ่ คนเงินหนาไม่เข้าไปร่วมเล่นแล้ว เม่าล้วนๆ
(2) สิ่งที่ยืนยันตัวต่อมาคือ ราคาทะลุลงไปทำนิวโลว์ นี่มันชัดแล้วล่ะว่า ไม่น่ารอด ยิ่งนิวโลว์ครั้งที่ 2 ก็ชัดกว่าเดิมอีก
(3) อย่างที่ 3 คือการเด้ง ตัวเส้น EMA20 น่ะ ถ้าเป็นขาขึ้นจะเป็นผู้อุปถัมภ์ แต่พอเปลี่ยนเป็นขาลงมันจะกลายเป็นซาตานทันที ดูสิราคาเด้งไม่พ้นเส้นนี้เลย ชนแล้วลงต่อ นี่ก็ยืนยันว่าต้องหนี
(4) ยิ่งลง วอลุ่มยิ่งออก แสดงให้เห็นว่ามีคนอีกชุดที่เริ่มไหวตัว เลยปล่อยของออกไม้ใหญ่ๆ
คอร์สสอนเล่นหุ้นออนไลน์ ทำเงินง่าย ๆ เสี่ยง 0 กำไร 1000%
แถมอีกตัว นี่ก็ของดีแต่ทำไมกราฟมันเป๋นะ MEGA
แต่ต้องบอกก่อนนะ การทำธุรกิจเขาอาจจะยังดีอยู่ก็ได้ เพียงแต่กราฟระยะสั้นมันไม่สวยแล้ว
ถ้าใครมีสไตล์การลงทุนแบบวีไอ ถือยาว คุณก็ไม่ต้องมาสนใจเรื่องนี้ก็ได้ เพราะอาจแค่พักฐานใหญ่
แต่ถ้าคนที่เล่นรอบตามแนวโน้ม หากเจอแบบนี้ก็ต้องพิจารณากันหน่อยนะ
ก็น่าจะพอแค่นี้นะ ดูเหมือนยาวมากๆ
สรุปกันก่อนจบ คือ...
ถ้าเห็นวอลุ่มเข้าก็อย่าเพิ่งกระโจนใส่ ดูก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร
ถ้าสนใจอยากเล่นก็รอดูว่ามันพักตัวหรือย่อแล้วไปต่อมั้ย ให้เขายืนยันว่าไปต่อแน่ ค่อยเข้าก็ไม่สาย
หากหลังจากนั้นวอลุ่มเข้าต่อเนื่องแถมราคาก็บวกไม่หยุด ก็ควรถือ ทนรวยไปก่อน
บทความที่เกี่ยวกับ Volume Analysis
(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้